ความเข้าใจเกี่ยวกับ สัมปฏิจฉันนจิต กับ สันตีรณจิต
ผู้ฟัง ขอความเข้าใจในเรื่องสัมปฏิจฉันนะ และ สันตีรณะ คือสัมปฏิจฉันนะมีอยู่ ๒ ประเภท คือกุศลวิบาก ๑ และอกุศลวิบาก ๑ ส่วนสันตีรณะก็มี ๒ ประเภทด้วยใช่ไหม
ท่านอาจารย์ สันตีรณะเป็นชาติอะไร
ผู้ฟัง เป็นชาติวิบาก
ท่านอาจารย์ สันตีรณะมีกี่ประเภท หรือกี่ดวง
ผู้ฟัง ๓ ประเภท
ท่านอาจารย์ ๓ ประเภท แล้วเป็นวิบากทั้ง๓ หรือไม่
ผู้ฟัง เป็นวิบากทั้ง ๓
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นไม่ต้องพูดถึงเรื่องกิริยา กุศล อกุศล เพราะสันตีรณะเป็นวิบาก
ผู้ฟัง วิบากก็มีเพียงแค่กุศลวิบากกับอกุศลวิบาก
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ผู้ฟัง แต่เนื่องจากว่ามี ๓ ดวง อีกดวงหนึ่งที่ท่านอาจารย์กล่าวว่าคืออุเบกขา
ท่านอาจารย์ สำหรับสันตีรณะ ๓ ดวง เป็นอุเบกขา ๒ ดวง ทำไม ๒ เป็นกุศลวิบาก ๑ อกุศลวิบาก ๑ แต่สำหรับอีกดวงหนึ่งเป็นวิบาก แต่เวทนาไม่ใช่อุเบกขา เป็นโสมนัส เพราะว่าขณะใดที่รู้อารมณ์ที่ประณีต อุเบกขาสันตีรณกุศลวิบากไม่เกิด แต่ โสมนัสสันตีรณกุศลวิบากเกิดตามอารมณ์ที่ดีที่ประณีต
อ.วิชัย สำหรับสัมปฏิจฉันนะ และก็สันตีรณะ ถ้าเป็นผลของอกุศลกรรม ก็เป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ เช่นการเห็นในสิ่งที่ไม่ดี ก็มีอารมณ์ที่เป็นวัณณะรูปมากระทบกับปสาทเป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้น วิถีจิตแรกปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ที่มากระทบ และเป็นปัจจัยให้จักขุวิญญาณที่เป็นอกุศลวิบาก ถ้าเห็นในสิ่งที่ไม่ดี หลังจากที่จักขุวิญญาณดับไปแล้ว จิตคือสัมปฏิจฉันนะที่เป็นอกุศลวิบากก็เกิดสืบต่อ เพราะเหตุว่าเป็นผลของอกุศลกรรมที่ทำให้จิตเกิดขึ้นรู้อารมณ์ในสิ่งที่ไม่ดี ส่วนที่เป็นสันตีรณะ ถ้าเป็นอารมณ์ที่ดียิ่ง สันตีรณะที่เป็นโสมนัสเวทนาก็เกิดขึ้น แต่ถ้าเป็นอารมณ์ที่ธรรมดา อุเบกขาเวทนาก็เกิดขึ้น
ผู้ฟัง สรุปแล้วก็คือสันตีรณะจะมีอุเบกขาทั้ง ๒ ประเภท
ท่านอาจารย์ สันตีรณะมีเท่าไหร่ก่อน
ผู้ฟัง ๓
ท่านอาจารย์ ต่างกันอย่างไร
ผู้ฟัง ต่างกันด้วยอารมณ์
ท่านอาจารย์ ตัวจิตไม่ไปยุ่งเกี่ยวกับอารมณ์
ผู้ฟัง ตัวจิตก็คือเป็นกุศลวิบาก ๒ และก็อกุศลวิบากหนึ่ง
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ที่มา ...