เจตสิกเป็นสัมปยุตตปัจจัยแก่จิต


    ผู้ฟัง ที่เราใช้คำว่าเจตสิกเป็นสัมปยุตตปัจจัยแก่จิต จะใช้ตรงกันข้ามได้ไหมว่าจิตเป็นสัมปยุตตปัจจัยแก่เจตสิก ในเมื่อมาด้วยกัน ดับด้วยกัน เกิดด้วยกัน

    ท่านอาจารย์ ที่กล่าวว่าจิตกับเจตสิกเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน ไม่แยกกันเลย และเวลาที่กล่าวว่าจิตเป็นปัจจัยแก่เจตสิกโดยสัมปยุตตปัจจัย หมายความว่าเมื่อเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน นามธรรมก็คือจิต และเจตสิกเท่านั้นที่เป็นสัมปยุตตปัจจัย เพราะฉะนั้นคำถามของคุณเด่นพงศ์ว่าถ้ายกจิตขึ้นเป็นสัมปยุตตปัจจัย เจตสิกเป็นสัมปยุตตปัจจยุบบัน คือเป็นปัจจยุบันของจิตที่เป็นสัมปยุตตปัจจัย จะกล่าวว่าเจตสิกเป็นปัจจัย และจิตเป็นปัจจยุบบันได้ไหมใช่ไหม

    ผู้ฟัง ผมถามกลับกัน

    ท่านอาจารย์ จิตเป็นปัจจัยแก่เจตสิกโดยสัมปยุตตปัจจัย เพราะฉะนั้นจะกล่าวว่าเจตสิกเป็นปัจจัยแก่จิตโดยสัมปยุตตปัจจัยได้ไหม ถ้าเราเข้าใจแล้วเราคิด ต้องถูก ผิดไม่ได้เลย เพราะฉะนั้นตอบว่าได้หรือไม่ได้

    ผู้ฟัง ผมว่าได้

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง เหตุผลต้องเป็นเหตุผล ความจริงต้องเป็นความจริง

    ผู้ฟัง เพราะส่วนใหญ่จะใช้คำอย่างที่พูดกัน เลยไม่แน่ใจว่าถ้าตรงกันข้ามกันจะใช้ได้หรือไม่

    ท่านอาจารย์ แสดงถึงอินทริยปัจจัยอีกอย่างหนึ่งเท่านั้นเอง แต่จริงๆ แล้วขณะนี้เรากำลังพูดถึงอีกปัจจัยหนึ่งคือสัมปยุตตปัจจัย

    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 108


    หมายเลข 7773
    22 ม.ค. 2567