ทิฏฐิเจตสิกไม่เกิดร่วมกับโทสเจตสิก
แล้วก็ไม่ใช่เรื่องที่เราจะไปพยายามพากเพียรจำ แต่ว่าเมื่อมีความเข้าใจที่ถูกต้อง เช่น ทิฏฐิเจตสิกเป็นความเห็นผิดจะเกิดกับโทสะได้อย่างไร ในเมื่อโทสะปฏิเสธอารมณ์ ไม่ชอบอารมณ์นั้น ไม่ยินดีในสิ่งนั้นก็ไม่ติดข้องในสิ่งนั้น เพราะฉะนั้นก็จึงไม่ยินดี แต่เวลาที่มีความติดข้องเกิดขึ้นก็จะติดข้องในความเห็นที่ผิด
ถ้ามีความเห็นถูก มีความเข้าใจเหตุผลของสิ่งที่ถูกชื่อว่าติดข้องหรือไม่ เพราะความถูกต้องเป็นกุศล เพราะฉะนั้นนี่ก็เป็นการที่จะได้เห็นความต่างกันของกุศลจิตกับอกุศลจิต อกุศลจิตจะเป็นกุศลจิตไม่ได้ กุศลจิตก็จะไปเป็นอกุศลจิตไม่ได้ฉันนั้น เพราะเหตุว่าขณะนั้นเป็นความเห็นถูก เมื่อเป็นความเห็นถูกขณะนั้นจะเป็นความเห็นผิดไม่ได้ แต่การศึกษาถ้าไม่ละเอียดก็อาจจะทำให้มีความเห็นผิดเกิดขึ้นได้ เพราะฉะนั้นก็ต้องเป็นผู้ที่ไม่ประมาทที่จะรู้ว่าธรรมที่ทรงแสดงเป็นทางที่จะทำให้เข้าใจลักษณะของสภาพธรรมที่มีจริงๆ ซึ่งต้องตรงกันด้วย
ที่มา ...