ความเข้าใจในกรรมและผลของกรรม
เราศึกษาเราทราบว่าผลของกรรมก็คือทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เช่น ขณะนี้ที่เห็นได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสเป็นผลของกรรม แต่จะรู้ขณะนั้นตัวผลของกรรมก็ต้องเป็นสภาพธรรม คือขณะที่เห็นรู้ว่าลักษณะนั้นเป็นนามธรรม หรือว่าทางตา หู จมูก ลิ้น กายก็รู้ลักษณะของสภาพธรรมนั่นเอง เพราะฉะนั้นถ้าไม่ใช่วิปัสสนาญาณ เราสามารถที่จะเห็นความต่างของผลของกรรม และกรรมไหม เช่นเวลาที่เป็นภวังค์ ไม่มีอะไรปรากฏเลย แต่เวลาเห็นต้องมีการอุบัติ หรือการเกิดขึ้นโดยที่ใครก็ยับยั้งไม่ได้เลย เพราะเหตุว่าโดยการศึกษาเราทราบว่าต้องมีจักขุปสาทแล้วก็มีรูปารมณ์ซึ่งเกิดแล้วยังไม่ดับเป็นปัจจัยให้จิตเห็นเกิดขึ้น แต่เวลาคิดนึกไม่ได้อาศัยการอุบัติอย่างนี้เลยใช่ไหมไม่ต้องมีจักขุปสาท และไม่ต้องมีรูปารมณ์ด้วย ไม่ต้องมีการอุบัติขึ้นของจักขุปสาท ของรูปารมณ์ และจักขุวิญญาณ แต่จิตคิดนึกก็เกิดได้ เพราะฉะนั้นลักษณะที่คิดนึกไม่ใช่ลักษณะของการอุบัติซึ่งเป็นผลของกรรม แต่ว่าเป็นกุศล หรืออกุศลก็แล้วแต่ว่าขณะนั้นเป็นนามธรรม หรือรูปธรรม แต่ว่าจริงๆ แล้วสภาพธรรมเกิดแล้วก็ดับเร็วมาก เพราะฉะนั้นขณะนั้นสำหรับผู้ที่อบรมเจริญปัญญาที่จะรู้ความไม่ใช่เราก็ต้องมีลักษณะของรูป หรือนามเป็นอารมณ์ด้วยเหตุนี้จึงสามารถรู้ลักษณะของสภาพนามธรรมที่คิดกับนามธรรมที่เห็นกับที่ได้ยินว่าต่างกัน และสามารถจะรู้ว่าการอุบัตินั้นแหล่ะตามกรรมคือเป็นไปตามเหตุที่ได้กระทำแล้ว ไม่เหมือนกับว่าเห็นแล้วจิตจะเป็นกุศล หรืออกุศลอีกเรื่องหนึ่ง และตามการสะสมที่ได้สะสมมา เพราะฉะนั้นปัญญาก็จะเข้าใจเรื่องราวที่ได้ยินได้ฟัง และก็รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ได้ยินได้ฟังมาด้วยๆ การรู้ว่าเป็นธรรมแต่ละลักษณะซึ่งไม่ใช่เรา เพราะฉะนั้นแม้แต่การเข้าใจเรื่องของปริยัติก็จะมีความมั่นคงขึ้น เพราะว่าปริยัติก็คือสภาพธรรมที่จะรู้แจ้งได้ด้วยการอบรมเจริญปัญญาในระดับของปฏิปัตตินั่นเอง
ที่มา ...