ทิฏฐิเจตสิก (ความเห็นผิด)
ท่านอาจารย์ แต่ว่าตามความเป็นจริง เวลาที่เราบอกว่าเป็นผู้ที่มั่นคงในกรรม และผลของกรรม ต้องไม่ใช่เพียงเรื่องราว ต้องสามารถที่จะรู้ถึงเหตุที่จะให้เกิดวิบากคือกรรม และก็กุศลจิต และอกุศลจิตด้วย
อ.วิชัย ก็จะกล่าวเรื่องของมิจฉาทิฏฐิ ก็ขอทบทวนว่าความเห็นผิดที่เกิดขึ้นว่านเหตุ ความเห็นผิดที่เกิดเป็นสภาพธรรมอย่างหนึ่งที่เห็นคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงคือเห็นผิดจากความเป็นจริง ซึ่งสภาพที่เป็นทิฏฐินี่เป็นเหตุหรือว่านเหตุ
ผู้ฟัง เป็นนเหตุ
อ.วิชัย เป็นนเหตุ ไม่ใช่เหตุ เป็นสเหตุกะหรืออเหตุกะ
ผู้ฟัง สเหตุกะ
อ.วิชัย เป็นสเหตุกะ เมื่อทิฏฐิเจตสิกเกิดขึ้นไม่มีเหตุได้ไหม
ผู้ฟัง ไม่ได้
อ.วิชัย ไม่ได้ เหตุในที่นี้ผมหมายถึงเหตุเจตสิก ๖ ประเภท หมายถึงสภาพธรรมที่เป็นเหตุ ไม่ได้กล่าวถึงมุ่งหมายถึงความเป็นเหตุปัจจัย แต่มุ่งหมายถึงสภาพธรรมที่เป็นเหตุเป็นมูลราก เมื่อทิฏฐิเจตสิก (ความเห็นผิด) เกิดขึ้นไม่มีเหตุได้ไหม เกิดขึ้นร่วมกันได้ไหม ไม่ได้ ทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมกับเหตุกี่เหตุ สองเ หตุ ก็คือโลภเหตุ และโมหเหตุ เมื่อเหตุเกิดขึ้นไม่มีทิฏฐิเกิดขึ้นได้ไหม จริงๆ ก็เป็นธรรมที่เกิด คือสภาพธรรมที่มีเหตุมีใช่ไหม เมื่อเกิดขึ้นแล้วไม่มีทิฏฐิได้ไหม ได้ เช่นอะไรบ้าง ขณะใดบ้าง เมื่อโลภเหตุเกิดขึ้น โมหเหตุเกิดขึ้น มีทิฏฐิเกิดขึ้นร่วมด้วยทุกครั้งหรือไม่ ไม่ทุกครั้ง เพราะเหตุว่าโลภมูลจิตเกิดขึ้นมีเหตุเกิดร่วมด้วย ๒ เหตุ บางขณะก็คือไม่มีทิฏฐิเจตสิกเกิดร่วมด้วยเลย ดังนั้นทิฏฐิเจตสิกก็เป็นธรรมอย่างหนึ่ง ทิฏฐิเจตสิกเป็นธรรมที่มีเหตุเกิดร่วมด้วย ทิฏฐิเจตสิกมีโทสเหตุเกิดร่วมด้วยหรือไม่ ไม่มี เพราะเหตุว่าทิฏฐิไม่เกิดร่วมกับโทสเหตุเพราะเหตุว่าเกิดร่วมด้วย ๒ เหตุ ก็คือโลภเหตุ และโมหเหตุ ทิฏฐิเจตสิกทำกิจอะไร ทำชวนกิจ ทิฏฐิเกิดร่วมด้วยกับโทมนัสเวทนาได้ไหม ในขณะที่มีความเห็นผิดมีโทมนัสเวทนาเกิดร่วมด้วยหรือไม่
ผู้ฟัง ต้องเกิดร่วมกับโลภะ ทิฏฐิมักจะมีความพอใจเกิดร่วมด้วย ไม่พอใจเป็นโทสะก็คงไม่ใช่
อ.วิชัย เพราะว่าโทมนัสเวทนาเกิดพร้อมกับโทสมูลจิต ฉะนั้นทิฏฐิเจตสิกเกิดกับเวทนาที่เป็นโสมนัสเวทนา และก็อุเบกขาเวทนา
ที่มา ...