เจตสิกรู้อารมณ์เดียวกับจิต แต่ไม่ใช่จิต


    อ.วิชัย อันนี้คือเรากล่าวถึงเรื่องของการเกิดขึ้นพร้อมกันของธรรมที่มีทิฏฐิเกิดร่วมด้วยในขณะนั้น ก็มีธรรมที่เกิดพร้อมกันนั่นแหล่ะเป็นปัจจัยให้ทิฏฐิเกิดขึ้น แต่ถ้ากล่าวถึงโดยความเป็นอารมณ์ แม้ทิฏฐิเองก็ต้องมีอารมณ์เป็นปัจจัยให้ทิฏฐินั้นเกิดขึ้นด้วย ทิฏฐิเจตสิกเกิดขึ้นรู้อารมณ์ไหม

    ผู้ฟัง รู้อารมณ์ เพราะว่าเกิดกับจิต

    ท่านอาจารย์ ตัวทิฏฐิเองรู้อารมณ์ไหม

    ผู้ฟัง รู้ เพราะจิต และเจตสิกเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน

    ท่านอาจารย์ นามธรรมที่เกิดขึ้นมีสองอย่าง ทั้งจิตกับเจตสิกทั้งสองอย่างเป็นสภาพรู้ แต่ต่างกันตรงที่จิตไม่ใช่เจตสิกเพราะว่าจิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งลักษณะของอารมณ์ แต่เจตสิกแต่ละประเภทที่เกิดขึ้นเป็นสภาพรู้ด้วย และรู้อารมณ์เดียวกับจิตนั่นเอง ไม่ใช่แยกอารมณ์กัน แต่ว่าทำกิจของเจตสิกแต่ละประเภท เพราะฉะนั้นเจตสิกก็เป็นสภาพที่รู้อารมณ์ด้วย แต่ว่าไม่ใช่จิต


    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 129


    หมายเลข 9144
    28 ส.ค. 2567