ปัญญาจะรู้ว่าธรรมใดเป็นอสัทธรรม


    อ.กุลวิไล สำหรับเหตุที่ทำให้เกิดความเห็นผิดคือการฟังแต่อสัทธรรมหรือว่าไม่ได้ฟังพระสัทธรรมเลย ฉะนั้นบุคคลที่จะมีความเห็นผิดเพราะเหตุที่ว่าคุ้นเคยหรือว่าเสพคุ้นกับความเห็นผิดนั่นเอง ก็คือฟังแต่ธรรมที่ไม่ใช่เป็นพระสัทธรรมหรือว่าธรรมที่ไม่ได้ทำให้สงบ ซึ่งก็ได้สนทนากันไปแล้วคือพระธรรมที่พระผู้ทีพระภาคเจ้าทรงแสดงนั่นเอง เพราะว่าเป็นพระธรรมของผู้ที่สงบซึ่งเป็นปัจจัยให้กุศลเจริญขึ้นถึงความที่ดับกิเลสเป็นสมุทเฉท อันนี้ก็คือพระสัทธรรมที่ทรงแสดง ส่วนความเป็นผู้มีมิตรชั่ว อันนี้แน่นอน เพราะว่าจริงๆ แล้ว ถ้าหากว่าสภาพธรรมเป็นจริงอย่างไรก็คือเป็นจริงอย่างนั้น เพราะว่าโดยสภาพธรรม สัตว์ บุคคล ตัวตนไม่มี คำว่ามิตรชั่วก็คือสภาพธรรมที่เป็นอกุศลธรรมนั่นเอง เพราะฉะนั้นถ้าเราคบหรือเสพคุ้นกับอกุศลธรรมบ่อยๆ แน่นอนเราต้องมีความคล้อยตามหรือว่าเห็นด้วย หรือว่าพอใจในความไม่ดีนั้นก็คือยินดีในสภาพธรรมที่เป็นอกุศล เห็นว่าเป็นสิ่งที่ดี ฉะนั้นเราก็จะมีความประพฤติทางกาย ทางวาจาที่คลาดเคลื่อน

    อ.วิชัย สองข้อแรกนี่สำคัญ หนึ่งคือไม่ฟัง คืออสัทธรรมนี่ไม่ใช่แต่ก็นึใช่แล้วยังไปคบมิตรชั่วอีก อันนี้สองข้อนี้จะให้ข้อคิดยังไงสำหรับคนที่ถลำไปแล้ว

    ท่านอาจารย์ ต้องเป็นผู้ตรงคือฟังพระธรรม ไม่ใช่ฟังบุคคล แม้ในขณะนั้นเราก็มีการสนทนาธรรม และก็การฟังธรรมจากผู้ที่ได้ศึกษามาแล้วบ้างหรือว่าสนทนากับผู้ที่อ่านมาก รู้มากก็เป็นไปได้ ในการที่อ่านแล้วก็พิจารณาด้วย แต่จริงๆ แล้วต้องเป็นปัญญาของเราเอง สิ่งที่ลืมไม่ได้เลยก็คือว่าปัญญาเป็นความรู้ถูก ความเห็นถูก ตรงกันข้ามกับความเห็นผิด ตรงกันข้ามกับความไม่รู้ สำหรับอวิชชาก็เป็นความไม่สามารถจะรู้ไม่เข้าใจสิ่งที่มีจริงๆ ที่กำลังปรากฏ แล้วเมื่อมีความไม่รู้ มีความไม่เข้าใจ มีความติดข้องก็เป็นทางที่จะให้เกิดความเห็นผิด ยึดมั่นในความเห็นที่คลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้ เพราะฉะนั้นการที่จะเป็นผู้ตรงต่อการฟังธรรม และการเข้าใจพระธรรมต้องเป็นผู้ละเอียดคือต้องไตร่ตรองด้วยตัวเอง ต้องเป็นปัญญาของเราจริงๆ ว่าสิ่งที่กำลังได้ยินได้ฟังถูกต้องไหม เป็นจริงไหม พิสูจน์ได้ไหม ถ้าสิ่งนั้นเป็นสิ่งที่มีจริงแล้วเราสามารถที่จะค่อยๆ เข้าใจสิ่งนั้นขึ้นได้ นี่คือประโยชน์ที่แท้จริงของการฟังพระธรรม เพราะฉะนั้นจึงเป็นสิ่งที่ต้องตั้งต้นตั้งแต่ปัญญาที่รู้ว่าสิ่งใดควรแก่การฟัง การพิจารณา และสิ่งใดไม่มีประโยชน์เลยในการที่จะฟัง ในการที่จะศึกษา ฟังต่อไปเพราะเหตุว่าไม่ได้ทำให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องในสิ่งที่ปรากฏได้ เพราะฉะนั้นข้อหนึ่งถึงข้อสุดท้ายในเรื่องของกุศล ในเรื่องของการที่จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมก็เป็นเรื่องของปัญญาจริงๆ ถ้าไม่มีปัญญาในขั้นแรกที่จะรู้ว่าสัทธรรมคืออย่างไร อสัทธรรมคือธรรมที่ไม่ได้นำไปสู่ความสงบคือการดับกิเลส ไม่ได้ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจในสิ่งที่กำลังปรากฏ เราก็หลงฟังอสัทธรรม ต้องเป็นผู้ที่ทีปัญญาที่จะรู้ว่าสัทธรรมกับอสัทธรรมนี่ต่างกัน ถ้าไม่มีปัญญาขั้นนี้ เจริญต่อไปไม่ได้เลยในทางฝ่ายปัญญาเพราะเหตุว่าไม่มีปัญญาแม้แต่การจะรู้ว่าสิ่งที่ฟังอยู่เป็นสิ่งที่จริงหรือเปล่า ก็เป็นเรื่องที่สำคัญ ถ้าจะเห็นผิดก็คือว่าฟังแต่ไม่ไตร่ตรองเลย ฟังแล้วก็เชื่อตาม ฟังแล้วก็คือว่าเป็นปัญญาหรือเป็นอวิชชา หรือเป็นทิฏฐิความเห็นของคนอื่นผิดๆ ถูกๆ แต่ว่าตัวเองไม่ได้ไตร่ตรองว่าสิ่งใดผิดสิ่งใดถูกเพราะว่าสิ่งที่ผิดต้องผิด ใครจะกล่าวยังไงก็ตามเมื่อผิดก็ต้องผิด สิ่งที่ถูกไม่ว่าคนๆ นั้นจะเป็นใคร จะกล่าวมากกล่าวน้อยยังไง แต่ความถูกต้องในสิ่งนั้นก็ต้องมีตามสมควร เพราะฉะนั้นก็เป็นสิ่งที่สำคัญ ถ้าเราไม่มีการพิจารณาไตร่ตรองให้เป็นปัญญาของเราจริงๆ เราก็จะมีความเห็นผิดเกิดขึ้นได้ ข้อที่หนึ่งพึ่งตัวเองด้วยการพิจารณา ด้วยการไตร่ตรองรู้ว่าฟังสัทธรรมหรือไม่ใช่สัทธรรม


    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 129


    หมายเลข 9146
    28 ส.ค. 2567