การพิจารณาโดยไม่แยบคาย


    สำหรับประการที่ ๔ การพิจารณาโดยไม่แยบคาย อโยนิโสมนสิการคือขณะที่กำลังฟังไม่ว่าเมื่อไหร่ขณะไหน เหตุใกล้จริงๆ ซึ่งก็ต้องมาจากเหตุเดิมๆ นานแสนนานที่ได้สะสมมาแล้ว ก็จะทำให้เราฟังธรรม เราพิสูจน์จนกระทั่งถึงความจริงหรือเปล่า แม้แต่คำที่ได้ยินได้ฟัง ถ้าเป็นคำที่ถูกต้องจะไม่ขัดกันเลย แต่ถ้าเป็นความที่ไม่ถูกก็จะทำให้ขัดกัน ไม่เป็นความจริง อย่างบางท่านก็ถามว่ารูปนั่ง รูปนอน รูปยืน รูปเดิน ปฏิบัติหรืออบรมเจริญสติปัฏฐานไม่ได้หรือเพราะว่ามีกล่าวไว้ในมหาสติปัฏฐานสูตร เท่านี้แล้ว เราจะมีโยนิโสมนสิการหรือไม่โยนิโสมนสิการ หรือฟังมาก็ฟังไป ใครว่ายังไงมาก็ว่าตามกันไป หรือว่าเราจะเป็นผู้ที่ศึกษาด้วยความละเอียด ธรรมคือสิ่งที่มีจริงๆ ที่สามารถจะปรากฏลักษณะนั้นๆ ได้ ทางหนึ่งทางใดใน ๖ ทางคือทางตาคือมีสิ่งที่กำลังปรากฏจริงๆ ทางหูก็มีธรรมปรากฏจริงๆ ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ที่มีจริงในชีวิตประจำวันที่สามารถจะรู้ได้ แล้วก็เวลาที่ก่อนจะได้ฟังธรรมมีใครไม่รู้ว่านั่ง ทุกคนรู้ใช่ไหม มีใครไม่รู้ว่ายืน ทุกคนก็รู้อีก แต่ก็จะมีคำกล่าวว่าถึงรู้ก็ไม่รู้ว่าเป็นรูปธรรม ถ้าเรารู้ว่ารูปที่ตัวที่แข็งที่อ่อน ที่เย็น ที่ร้อน ไม่ได้โกรธใช่ไหม เราก็จะเห็นความต่างว่าโกรธจะเป็นรูปนี้ไม่ได้เพราะว่ารูปนี้ยังไงๆ ก็ไม่โกรธ จะนอนจะเดิน รูปก็ไม่ริษยา รูปก็ไม่เมตตาเพราะว่าไม่ใช่สภาพรู้ ถึงยังไงๆ ก็ต่างกันอยู่แล้ว เราจะไม่ใช้คำว่า “รูป (รูปา) ” เราจะไม่ใช้คำว่า “รูปธรรม” แต่ในความรู้สึกของเราก็รู้ว่าสิ่งเหล่านี้ต่างกัน คือสิ่งที่ไม่สามารถจะรู้อะไรเลยก็มี และสิ่งซึ่งเป็นสภาพรู้ก็มี นี่คือว่าเราไม่ไปติดในคำ แต่เราจะเป็นผู้ที่พิจารณาละเอียดแล้วก็ถ้าสิ่งใดเป็นความจริง เราสามารถที่จะซักถามจนกระทั่งได้เข้าใจในความจริงนั้นถูกต้อง

    เพราะฉะนั้นไม่ใช่เพียงให้รู้ว่าเป็นรูป เพราะถ้ารู้ว่าเป็นรูปบางคนในภาษาไทยก็จะบอกว่ารูปคือรูปภาพ ถ้าเห็นรูปภาพเมื่อไหร่ก็บอกรูป พอถึงเสียงบอกว่าไม่ใช่รูป เพราะไม่เห็นว่าเป็นภาพต่างๆ นี่ก็คือความที่ใช้ภาษา แล้วก็ไม่ได้เข้าใจถึงทางธรรมก็ใช้ภาษา จำเป็นต้องใช้ แต่ภาษาที่ใช้มีความหมายให้เข้าใจถึงสภาพธรรมจริงๆ ที่ต่างกัน เพราะฉะนั้นก็ต้องเข้าใจให้ถูกต้องจริงๆ ว่าอย่าเพิ่งหยุดถ้าได้ยินได้ฟังอะไรมา ถ้าต้องการเข้าใจให้แจ่มแจ้ง สอบถามจนกระทั่งเป็นความเข้าใจที่ไม่คลาดเคลื่อน และถูกต้องจริงๆ นั้นก็คือเป็นสิ่งที่เป็นโยนิโสมนสิการ ไม่ใช่เพียงรับฟังแล้วก็บอกว่ามีในพระไตรปิฎก แต่ก็ไม่ได้แสดงหนทางที่จะอบรมเจริญปัญญาว่ารูปจริงๆ นั้นต้องมีลักษณะที่ปรากฏให้รู้ได้ จึงสามารถที่จะกล่าวได้ว่าขณะนั้นจริง รูปนั้นจริงเพราะปรากฏ ถ้าปรากฏก็จะต้องมีทางที่จะปรากฏว่าปรากฏทางไหน ทางตา หรือทางหู หรือทางจมูก หรือทางลิ้น หรือทางกาย มีเรื่องมากมายที่จะพิจารณาไตร่ตรอง เพราะฉะนั้นไม่ว่าจะเป็นเรื่องหนึ่งเรื่องใดก็ตาม จะเป็นเรื่องข้อความในมหาสติปัฏฐาน หรือว่าข้อความในพระสูตร ก็สามารถที่จะค่อยๆ คิด ค่อยๆ พิจารณา ค่อยๆ ไตร่ตรองจนกระทั่งเป็นความถูกต้องได้อย่าเพียงแต่ว่าได้ยินได้ฟังแล้วก็คล้อยตาม อย่างนั้นก็คือว่าไม่ใช่โยนิโสมนสิการ

    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 129


    หมายเลข 9149
    26 ม.ค. 2567