ต้องรู้ตัวเราว่าถึงระดับไหน
ผู้ฟัง กว่าจะแยกสมมติบัญญัติ และปรมัตถ์ ตรงนี้
ท่านอาจารย์ ปรมัตถธรรม ก็มี จิต เจตสิก รูป เท่านั้น นิพพาน ด้วย
ผู้ฟัง เราก็จะไปทิ้งสมมติบัญญัติ ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ไม่มีใครทิ้งอะไร แต่หมายความว่า
ผู้ฟัง หมายถึงว่าเราจะพิจารณา จิตที่จะพิจารณาว่า นี่คือสมมติ นี่คือปรมัตถ์
ท่านอาจารย์ ขณะใดที่เข้าใจถูกก็เป็นจิตประเภทที่ดีประกอบด้วยปัญญา ก็ไม่ใช่เรา ต้องไม่ใช่เราไปจนตลอดถึงความเป็นพระอรหันต์ ก็อบรมต่อไป เข้าใจขึ้นทีละเล็กทีละน้อยนิดเดียว การฟังพระธรรม หรือว่าการอ่านพระไตรปิฎกต้องเข้าใจด้วยว่า พระธรรมที่ทรงแสดงนี่ จริง แต่ปัญญาของเราระดับไหน อย่างบอกว่าโลภะเป็นอกุศลต้องดับโลภะ ใช่ไหม ถ้าจะรู้แจ้งอริยสัจจธรรมก็ต้องคลายความติดข้อง เราก็รู้ตัวเราใช่ไหมว่าถึงระดับไหน ไม่ใช่ไปทำอย่างคนที่ได้อบรมเจริญสติปัฏฐาน แล้วก็สามารถที่จะรู้ลักษณะของนามธรรม และรูปธรรมจนกระทั่งประจักษ์การเกิดดับค่อยๆ ชิน จนกระทั่งค่อยๆ คลาย ก็ยังไม่ถึงระดับนั้น ก็ต้องรู้ตามความเป็นจริงว่า แม้ว่าจะทรงแสดงสภาพธรรมตามความเป็นจริง แต่เราอยู่ตรงไหน ไม่มีใครไปฝืนได้ ใช่ไหม อย่างคนที่เพิ่งได้ยินคำว่า จิต เจตสิก รูป จะให้เข้าใจไปตลอดจนถึงความเป็นอายตนะ เป็นธาตุ เป็นปฏิจจสมุปบาท เป็นไปไม่ได้เลย หรือว่าแม้จะได้ฟัง ได้เรียน ได้อ่าน ได้จำ แต่ไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏ ก็ไม่ได้เข้าถึงอรรถของคำว่าอายตนะหรือธาตุ เพียงแต่ว่ารู้ว่าคำว่า ธาตุ หมายความว่าอะไร คำว่า อายตนะ หมายความว่าอะไร เพราะฉะนั้นไม่ใช่ว่าให้เราไปฝืน หรือไปพยายามทำ ในสิ่งซึ่งเรารู้ว่า ไม่ใช่ความสามารถ แต่ความสามารถขณะนี้สำหรับแต่ละคน ที่จะรู้จักตัวเอง ก็คือว่า เป็นความสามารถที่สามารถจะอดทน มีความเพียรที่จะฟังเพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์ และก็ค่อยๆ เข้าใจขึ้น
การศึกษาธรรมหรือการสนทนาธรรม ก็คงไม่หลงประเด็น ว่าเราจะต้องไปติดที่ชื่อ แต่รู้ว่าสิ่งที่เราจะได้ยินได้ฟังหรือสนทนากัน ก็เพื่อที่จะให้เข้าใจสิ่งที่มี แต่ว่าเราไม่เคยรู้มาก่อน โดยเฉพาะคือที่ตัวของเราเอง ซึ่งเคยยึดถือว่าเป็นเรา ความจริงก็เป็นสภาพธรรมซึ่งเกิดดับ และสภาพธรรมใดที่เกิดแล้วดับแล้วก็ ไม่เหลือเลย
เมื่อวานนี้ยังมีอยู่ไหม ไม่เหลือเลย ใช่ไหม เราคงไม่ต้องย้อนไปถึงกับชาติก่อน เพียงแค่วันนี้แล้วเราคิดถึงเพียงเมื่อวานนี้ พอที่จะรู้ได้ไหมว่า อะไรเกิดมาก วิบาก เกิดแน่นอนเพราะว่ามีกรรมที่ได้กระทำแล้วที่ทำให้มีการเห็น การได้ยิน ซึ่งเลือกไม่ได้เลย แล้วแต่ว่าเป็นกาลของกรรมใด แต่ว่าหลังจากนั้นแล้ว กิเลส และกุศลที่สะสมมา ที่เป็นอาสยะ แต่ละขณะที่เกิดแล้วดับแล้วเมื่อวานนี้ไม่ได้ไปไหนเลย
ที่มา ...