แม้สติปัฏฐานเกิดแล้ว โลภะก็ยังติดตามไป
ผู้ฟัง ถ้าไม่อยากมากไป เราก็ไม่ศึกษา
ท่านอาจารย์ มิได้ ศึกษาเพราะเหตุว่าเป็นประโยชน์ ศึกษาเพราะเห็นว่า เป็นประโยชน์สูงสุด และก็ยากด้วย เมื่อยากแล้วจะรู้อย่างรวดเร็วไม่ได้ เมื่อรู้อย่างรวด เร็วไม่ได้ถึงกาลของอกุศลจะเกิด เขาก็เกิดเป็นไปอย่างมากมายมีการท้อถอย มีการเบื่อ หน่ายต่างๆ แต่จากการสะสมการเห็นประโยชน์แม้ทีละเล็กทีละน้อย ถ้าสะสมมากขึ้น จะไหลไปทางอกุศลสักเท่าไหร่ สิ่งที่สะสมมาก็ค่อยดึงกลับมาถึงประโยชน์ของการที่ จะรู้ลักษณะของสภาพธรรมได้โดยการที่ไม่ทิ้งไปเลย แต่ว่าวันหนึ่งๆ เราไหลไป ตามอกุศลมาก อาสวะไหลไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่การสะสมของการเห็น ประโยชน์ของธรรมที่ได้สะสมมาแล้วมากน้อยต่างกันก็ปรากฏกับแต่ละบุคคลว่าเบื่อ หรือเปล่า คิดว่าไม่มีเวลาพอหรือเปล่า บางกาลก็ว่าทำอย่างโน้นสนุกกว่า ดีกว่า หรือ จำเป็นกว่า นั่นก็เป็นเรื่องจริงซึ่งแสดงให้เห็นการสะสมตรงตามความเป็นจริงว่าใครก็ บังคับบัญชาไม่ได้ เพราะฉะนั้นถ้าตราบใดยังเห็นประโยชน์ เห็นคุณค่า แม้ว่าชาตินี้ อาจจะได้เข้าใจธรรมขึ้นเพียงเล็กน้อยแต่ถูก ต่อไปข้างหน้าก็จะไม่หลงผิด ไม่ไปทาง ผิด และก็รู้ว่าอบรมเจริญต่อไปได้
ผู้ฟัง ผมอยากได้ความรู้สึกที่ท่านอาจารย์กำลังพูด ทำยังไงผมถึงจะรู้สึกว่าแม้ ได้เพียงแต่ละนิดๆ ก็น่าจะภูมิใจไปก่อน แล้วอย่างผมสังเกตตัวเองเรื่องศีลก็พยายาม รักษาศีลไปได้บางข้อ ยกตัวอย่างๆ ไม่ดื่มสุรา ผมก็ไม่ดื่มไปเป็นปีสองปี แต่ทำไมกก ลับมาดื่มอีก
ท่านอาจารย์ ยังไม่ใช่พระโสดาบัน
ผู้ฟัง อย่างผมไม่ฆ่าสัตว์ เอายากันยุงทิ้งหมด แต่บางทีโมโหก็เอาอีก
ท่านอาจารย์ อันนี้เป็นความจริง เพราะฉะนั้นจะต้อง ไม่ใช่ไม่รู้จะทำยังไง เ ห็นกำลังของกิเลสที่ยังไม่ได้ดับ กิเลสที่ยังไม่ดับ ถ้ายังไม่มีปัจจัยพอที่จะเกิดก็ยังไม่ เกิด แต่พอมีปัจจัยที่จะเกิดก็เกิด ใครทำอะไรได้ คือให้เข้าใจว่าธรรมเป็นธรรม
ผู้ฟัง ผมเลยจะตีความคำว่า “โลภะ” ถ้าโลภะในทางกุศลก็น่าจะดี ถ้าโลภะในทางอกุศลก็ไม่ได้
ท่านอาจารย์ ดีจนกระทั่งคุณเด่นพงษ์เบื่อ ดีอย่างนั้นไม่ใช่เลย เพราะว่า เขาต้องการแล้วไม่ได้ การที่เราถูกครอบงำด้วยโลภะ ซึ่งพระไตรปิฎกก็ใช้คำว่า “เป็น ทาสของโลภะ” เป็นทาสไม่ใช่แค่วันสองวันเลย จะพ้นจากความเป็นทาสได้ยังไง โล ภะไม่ปล่อยง่าย พร้อมที่จะพาไปทางหนึ่งทางใดได้ที่อยาก พอเบื่อทางนี้ แน่นอน โล ภะพาไปทันที
ผู้ฟัง สรุปว่าโลภะแม้จะเป็นไปในทางกุศลก็ไม่ดี
ท่านอาจารย์ แม้แต่สติสัมปชัญญะเกิดแล้ว โลภะก็ไม่ได้ดับเลย จะ ติดตามไปโดยตลอดจนกระทั่งปัญญารู้จริงๆ จึงละได้ ถ้าปัญญาไม่รู้จริงๆ ก็ละไม่ได้
ผู้ฟัง ก็ให้ค่อยๆ ฟังต่อไปอีก
ท่านอาจารย์ อย่าทิ้งประโยชน์สูงสุดคือความเข้าใจถูก จะเล็ก จะน้อย จะ ช้าจะนานยังไงก็ไม่ทิ้ง
ที่มา ...