ทรงแสดงไว้ว่าการรู้จักคนอื่นจริงๆ แล้วคือคิด เท่านั้นเอง
ผู้ฟัง อย่างสภาพธรรมเป็นสิ่งที่บังคับบัญชาไม่ได้ เพราะฉะนั้นลักษณะความคิดของเราที่จริงๆ แล้วเมื่อศึกษาธรรม การพิจารณาเฉพาะจิต เฉพาะตนมันมีประโยชน์มากกว่าที่จะพิจารณาผู้อื่น แต่ในสภาพชีวิตประจำวัน ส่วนใหญ่เรามักจะพิจารณาผู้อื่น อย่างเช่นลักษณะของโทสะ เราจะเห็นว่าคนอื่นโกรธ แต่ในลักษณะสภาพจิตของตัวเราๆ จะไม่ได้พิจารณา แล้วเราก็บังคับบัญชาไม่ได้ที่จะให้เราคิดพิจารณาเฉพาะโทสะของตัวเรา
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นก็จะเข้าใจความหมายของคำว่า “เป็นผู้มีปกติเจริญสติปัฏฐาน” เพราะว่าขณะนั้นมีลักษณะของปรมัตถธรรมแต่ไม่รู้ แต่ผู้มีปกติก็คือไม่ว่าขณะไหนเมื่อไหร่ก็มีการระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่ปรากฏในขณะนั้นโดยไม่หวังว่าจะต้องรู้ทั่วเร็วๆ นานๆ มากๆ แต่แม้เพียงชั่วขณะที่มีการรู้ลักษณะ ให้ทราบว่าขณะนั้นต่างกับขณะที่ลักษณะนั้นไม่ได้ปรากฏกับสติเพราะว่าสติไม่ได้เกิด และก็เป็นปกติด้วย ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป ยังไงๆ ต้องเป็นประโยชน์ในการที่สามารถจะรู้ลักษณะของสภาพธรรม ก็ทรงแสดงไว้การจะรู้จักคนอื่น จริงๆ แล้วคิดเท่านั้นเอง เพราะว่าโลกจะปรากฏได้ก็ต้องอาศัยทาง ๖ ทาง ตา ๑ หู ๑ จมูก ๑ ลิ้น ๑ กาย ๑ ใจ ๑ ลืมคิดว่าขณะนั้นที่กำลังเป็นคนนั้น เป็นเรื่องราวต่างๆ รู้มา ได้ยินมา ได้ฟังมา อกุศลจิตเกิดมากมายก็คือจิตคิดของเราเองทั้งหมด คนนั้นอยู่ที่ไหน ถ้าเราจะเล่าเรื่องของใครสักคนหนึ่งซึ่งได้กระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใด เวลานี้คนนั้นอยู่ที่ไหน บางคนก็อาจจะตอบว่าเขาไม่ได้อยู่ตรงนี้ เขาอยู่บ้านเขา หรือบางคนอาจจะบอกว่าเขาไปต่างประเทศหรือไปอยู่ที่ไหนก็ตามแต่ๆ นั่นก็ยังคงเป็นความคิดนึก เพราะฉะนั้นปัญญาก็จะค่อยๆ รู้ใกล้สิ่งที่มีกำลังปรากฏในขณะนี้ยิ่งขึ้นว่าไม่ว่าเราจะคิดถึงคนนั้นว่าเขาอยู่ที่นี่เขาอยู่ที่อื่น เขาตายแล้ว เขาจากไปแล้วหรืออะไรทั้งหมด ก็คือเป็นความคิดนึกของเราเองเวลาที่เป็นผู้ที่ปกติเจริญสติปัฏฐาน สติก็จะรู้ลักษณะนั้นว่าเป็นสภาพธรรมที่เป็นสภาพคิด ยังไม่ต้องไปถึงว่าขณะนั้นเป็นกุศลหรืออกุศลเพราะดับแล้ว
ที่มา ...