เข้าใจความต่างของจิตกับเจตสิก


    ผู้ฟัง ความเจ็บแล้วก็เกิดความเดือดร้อนคือรู้ว่าหลังจากเจ็บเดือดร้อน

    ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นที่ใช้คำว่าหลังจากเจ็บแล้วเดือดร้อนก็แยกกันอยู่แล้ว ใช่ไหม

    ผู้ฟัง แยกกัน แต่ว่าลักษณะที่ปรากฏหลังจากเจ็บคือเดือดร้อน

    ท่านอาจารย์ เดือดร้อน กำลังเดือดร้อน เจ็บเหมือนอย่างเจ็บกายหรือเปล่า เจ็บที่กายกับเดือดร้อนเหมือนกันหรือเปล่า

    ผู้ฟัง ไม่เหมือน

    ท่านอาจารย์ ไม่เหมือนเพราะแยกกันอยู่แล้ว ที่กายก็เป็นทุกขเวทนา ถ้าใจก็ เป็นโทมนัสเวทนา

    ผู้ฟัง ทีนี้เราก็ทราบว่าโทมนัสเวทนาเกิดกับโทสมูลจิต แล้วขณะที่ สติสามารถระลึกได้ว่าเป็นโทมนัสเวทนา

    ท่านอาจารย์ ระลึกลักษณะที่โทมนัสหรือระลึกว่าเป็นโทมนัสเวทนา

    ผู้ฟัง ระลึกลักษณะที่เป็นโทมนัส

    ท่านอาจารย์ สภาพโทมนัสลักษณะเป็นอย่างนั้น

    ผู้ฟัง ถ้าระลึกว่าเป็นโทมนัสเวทนา

    ท่านอาจารย์ ขณะนั้นคิดถึงชื่อ มีชื่ออกมาเลย โทมนัสเวทนา ก็คิดถึงคำแล้ว

    ผู้ฟัง แล้วถ้าระลึกว่าอันนี้เป็นโทสะ

    ท่านอาจารย์ ระลึกว่าก็เป็นชื่ออีก ชื่อโทสะออกมาแล้ว

    ผู้ฟัง กำลังจะเรียนถามว่าลักษณะของโทสมูลจิตกับลักษณะของ โทมนัสเวทนาในสภาพธรรมตามความเป็นจริง จะปรากฏแยกขาดออกจากกันหรือ พิจารณาเห็นได้อย่างไร

    ท่านอาจารย์ นี่คือพื้นฐานพระอภิธรรมคือต้องมีความเข้าใจความต่างของจิต กับเจตสิก จิตเป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งสิ่งที่ปรากฏคืออารมณ์ และเจตสิกที่ เกิดร่วมด้วยก็หลากหลาย แล้วแต่ว่าจะเป็นผัสสะหรือเวทนา เป็นสัญญา เจตนา อะไร ก็หลายประเภทที่เกิดร่วมกัน เพราะฉะนั้นขณะใดก็ตามที่สามารถจะรู้ถึงธาตุที่กำลัง เป็นใหญ่ในการรู้แจ้ง ขณะนั้นต้องต่างกับความรู้สึก เพราะความรู้สึกขณะนั้นก็จะมีถ้า เป็นทางกายก็สุขหรือทุกข์ ถ้าเป็นทางใจก็เป็นโสมนัส โทมนัสหรืออุเบกขา

    ผู้ฟัง ท่านอาจารย์เคยกล่าวว่าอย่างตัวเจตสิก อย่างผัสสะนี่ไม่ สามารถจะรู้ได้ในสภาพธรรม

    ท่านอาจารย์ ตามความเป็นจริง เดี๋ยวนี้มีผัสสเจตสิกเกิดทุกขณะจิตเลย รู้ ได้ไหม

    ผู้ฟัง รู้ด้วยความเข้าใจหรือว่าด้วยความคิดนึก

    ท่านอาจารย์ เข้าใจเรื่องราวว่าขณะใดที่จิตเกิด จะต้องมีเจตสิกเกิดร่วมด้วย อย่างน้อยที่สุด ๗ ประเภทๆ หนึ่งคือผัสสเจตสิก นี่คือเรื่องราว แต่ขณะนี้สติสามารถ จะรู้ลักษณะของผัสสเจตสิกได้ไหม ตามความเป็นจริง

    ผู้ฟัง จริงๆ น่าจะรู้ได้ถ้ามีปัญญา

    ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้ เอาเดี๋ยวนี้

    ผู้ฟัง เดี๋ยวนี้รู้ไม่ได้

    ท่านอาจารย์ แล้วเมื่อไหร่รู้ได้

    ผู้ฟัง ก็ไม่ทราบว่าเมื่อไหร่

    ท่านอาจารย์ ก็ไม่ทราบ เพราะฉะนั้นเรื่องไม่ทราบนี่เป็นเรื่องที่เราไม่รู้ตาม การสะสมว่าแต่ละคนสะสมปัญญาระดับไหน

    ผู้ฟัง แต่อย่างไรก็ตามถ้าเป็นธรรมหรือว่าสิ่งที่พระพุทธเจ้าทรงตรัส ก็ ต้องรู้ได้

    ท่านอาจารย์ ใครรู้ กล่าวไว้ทั้ง ๓ ปิฎกเลย แล้วใครรู้ทั้ง ๓ ปิฎก

    ผู้ฟัง จริงๆ แล้วพระพุทธเจ้ารู้ แต่ว่าสามารถรู้ตามได้ใช่ไหมคะ

    ท่านอาจารย์ ตามกำลัง ไม่อย่างนั้นจะมีสาวกประเภทต่างๆ หรือ ตั้งแต่อัคร สาวก มหาสาวก ปกติสาวก

    ผู้ฟัง แต่ว่าก็มีคำกล่าวว่าเป็นหนึ่ง ไม่มีสอง และไม่เป็นอื่น

    ท่านอาจารย์ ถูกต้อง และใครจะเป็นพระอริยบุคคลต้องรู้แจ้งอริยสัจจธรรมทั้ง ๔ แต่ไม่ได้หมายความว่าปัญญาระดับเดียวกันเท่ากันหมด ท่านพระสารีบุตรรู้เท่าพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าไหม แล้วท่านพระมหาโมคคัลลานะจะรู้เท่าพระสารีบุตรไหม

    ผู้ฟัง กลับมาในเรื่องของลักษณะของจิต และเจตสิก ถ้าลักษณะของ สภาพธรรมใดปรากฏ แล้วสติสามารถระลึกได้ ก็คือสภาพธรรมนั้นให้เราศึกษา แต่ว่า ไม่จำเป็นต้องไปแยกประเภทหรือว่าไปรู้ชื่อใช่ไหม อย่างจิต และเจตสิกเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน เพราะฉะนั้นก็ไม่มีสิทธิ์จะรู้ได้

    ท่านอาจารย์ อย่างความรู้สึกเจ็บเป็นความรู้สึก จริงๆ ก็เปลี่ยนความรู้สึกนั้น ให้เป็นจิตไม่ได้แน่นอน เพราะว่าความรู้สึกที่เป็นทุกข์หรือความรู้สึกที่เป็นสุขก็มี ลักษณะอย่างนั้น แต่ไม่ใช่สภาพของจิตที่เป็นใหญ่เป็นประธานในการรู้แจ้งลักษณะ ของอารมณ์ แต่เวทนาเป็นเพียงความรู้สึกต่างๆ แล้วแต่ว่าจะเป็นสุขหรือเป็นทุกข์ หรือเป็นอุเบกขา

    ผู้ฟัง แต่อย่างไรก็ตามเมื่อสติระลึกรู้สภาพธรรมก็ย่อมจะระลึกรู้สภาพ จิตได้เช่นเดียวกันใช่ไหม

    ท่านอาจารย์ ถ้าไม่อย่างนั้นเราไม่เรียนๆ แล้วรู้ไม่ได้ แต่ว่าเมื่อเรียนแล้วฟัง แล้ว เข้าใจแล้วว่าขณะนั้นมีจิต แล้วรู้ลักษณะของจิตได้อย่างไร นี่คือการที่ปัญญาจะ ต้องอบรมจนกระทั่งรู้ลักษณะของจิตได้ เพราะฉะนั้นก็ต้องฟัง ต้องเรียน ต้องพิจารณา ต้องใส่ใจ ต้องรู้หนทางด้วย ไม่ใช่ให้เราไปจัดสรรว่าให้รู้ลักษณะของจิตว่าต่างกับ เจตสิกนั้นๆ แต่ว่าลักษณะของจิตก็ต่างกับเจตสิก เพราะฉะนั้นเมื่อมีความเข้าใจที่ถูก ต้องจากการฟังว่าสภาพธรรมมีลักษณะจริงๆ เพราะฉะนั้นเวลาที่สติเกิดระลึกก็จะรู้ ลักษณะเฉพาะลักษณะนั้นไม่ปะปนกัน คือถ้าเป็นลักษณะของจิต ขณะนั้นจะเป็น ลักษณะที่เป็นใหญ่เป็นประธาน มนินทรีย์นี่ใหญ่มากไม่มีขอบเขตที่จำกัดเลย เป็นนาม ธาตุไม่ใช่รูปหนึ่งรูปใด อย่างเสียงก็ยังมีเสียงแค่นี้หรือเสียงดังขนาดนั้นก็แล้วแต่ แต่ว่า ลักษณะของนามธาตุก็เป็นเพียงธาตุที่เป็นนาม ที่ไม่มีรูปใดๆ เจือปนเลยทั้งสิ้น และก็ เป็นใหญ่จริงๆ เมื่อเกิดขึ้นก็จะเป็นธาตุรู้ ถ้าขณะนั้นกำลังรู้ลักษณะของสภาพที่เป็น ธาตุรู้ เป็นใหญ่เป็นประธานกำลังรู้สิ่งหนึ่งสิ่งใด ลักษณะนั้นก็เป็นลักษณะของจิต แต่ สำหรับความรู้สึกก็เปลี่ยนไม่ได้อีก จะให้ความรู้สึกเจ็บจะไปเป็นจิตก็ไม่ได้ จะให้ความ รู้สึกเป็นสุขจะไปเป็นจิตก็ไม่ได้ จะให้ความรู้สึกทุกข์โทมนัสจะไปเป็นจิตก็ไม่ได้ และ ลักษณะของสุขเวทนาก็ไม่ใช่ลักษณะของทุกขเวทนา ลักษณะของโสมนัสเวทนาก็ไม่ ใช่ลักษณะของสุขเวทนา เพราะฉะนั้นเมื่อสภาพธรรมเป็นจริงในขณะนั้นที่สติสัมป ชัญ ญะกำลังรู้ตรงลักษณะนั้นจริงๆ ก็จะเริ่มเข้าใจว่าสิ่งที่เราเรียนมาทั้งหมดไม่ใช่ว่าไม่มี และเราอาจจะฟังเรื่องราว และก็ผ่านไปโดยที่ว่าลักษณะนั้นๆ ก็ไม่ได้ปรากฏเลย เพราะ ว่าสติสัมปชัญญะไม่ได้รู้ลักษณะนั้นด้วยความเข้าใจถูก ลักษณะนั้นสั้นมากทุกอย่าง รูป ธาตุก็เกิดดับเร็วแต่นามธาตุก็ยิ่งเร็วกว่านั้น เพราะฉะนั้นในขณะนี้ถ้าสติสัมปชัญญะไม่ เกิดคือลักษณะของสภาพธรรมใดก็ตามที่ปรากฏแล้วดับ ไม่มีทางที่จะประจักษ์แจ้งได้ เลยว่าเป็นธรรมแต่ละลักษณะเพราะว่าเกิดสืบต่ออย่างรวดเร็ว แต่เวลาที่สติ สัมปชัญญะเกิดตรงลักษณะ ไม่มีคำ มีลักษณะที่แสดงสภาพนั้นๆ ว่าเป็นธรรมที่มี ลักษณะนั้น ไม่ใช่ใครเลยทั้งสิ้น แล้วทั้งวันก็คือมีลักษณะของสภาพธรรมเท่านั้นจริงๆ ที่ปรากฏ


    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 156


    หมายเลข 9725
    31 ส.ค. 2567