เราอยู่ในโลกของความคิดนึกมากกว่าสิ่งที่กำลังปรากฏ
อ.อรรณพ อยากจะสนทนาว่าทำไมถึงมีโทสะเกิดขึ้น เมื่อมีเหตุปัจจัยก็ มีโทสะเกิดขึ้นใช่ไหม แต่ทำไมเราถึงยังมีโทสะเกิดขึ้นอยู่เรื่อยๆ
ผู้ฟัง เพราะความไม่รู้ และเกิดจากการสะสม
อ.อรรณพ ในชีวิตประจำวันของเรามีจิตเกิดขึ้นขึ้นมากมายหลายขณะๆ ที่หวังเป็นโลภะ ขณะที่ผิดหวังเป็นโทสะนั้น แต่โทสะนั้นเรายังใช้ชื่อว่าผิดหวังเพราะ ว่ามีเหตุมาจากความหวัง เพราะฉะนั้นตราบใดที่มีโลภะ มีความหวัง ก็ยังเป็น ปัจจัยให้เกิดความผิดหวัง
ผู้ฟัง จากการที่เราได้ยิน ได้กลิ่น กระทบสัมผัส เมื่อเห็นแล้ว ได้ ยินแล้ว ได้กลิ่น กระทบสัมผัส หลังจากนั้นก็อาจจะเกิดทั้งโลภะ โทสะซึ่งเป็นเหตุใหม่ จากการศึกษาทางปัญจทวาร หลังจากนั้นก็เป็นทางใจ ถ้าเกิดเป็นโทสะก็เกิดความ ทุกข์ทางใจ โลภะคือมีความติดข้องทางใจ เป็นอย่างนั้นใช่ไหมคะ
ท่านอาจารย์ เดี๋ยวนี้มีเห็นไหม ก็เป็นทางหนึ่งซึ่งมีจริงๆ แต่ว่าจากการ ศึกษาก็ทราบว่าเมื่อวาระของจิตที่รู้สิ่งที่ปรากฏทางตาดับไปแล้ว จะต้องมีภวังค์คั่น ดำรงภพชาติ และมโนทวารวิถีจิตคือจิตที่เกิดโดยไม่ได้อาศัยจักขุทวาร ไม่ได้อาศัยตา แต่เกิดเพราะหลังจากที่ภวังคจิตดับไปแล้ว ก็จะมีจิตที่คิดนึกถึงสิ่งที่ได้ปรากฏทางตา สืบต่อทางใจโดยไม่อาศัยจักขุปสาทจึงชื่อว่าเป็นมโนทวาร เพราะฉะนั้นเวลาที่พูดถึง จักขุทวาร โสตทวาร ฆานทวาร ชิวหาทวาร กายทวารซึ่งเป็นทวาร ๕ ซึ่งเป็นรูป และ จากการศึกษาก็ทราบว่าสิ่งที่ปรากฏทางตาเล็กน้อยสั้นมาก โดยที่ว่าดับไปแล้วจิตจะ เกิดขึ้นรับรู้โดยไม่อาศัยตา แต่รับรู้ต่อหลายวาระ เพราะฉะนั้นวันหนึ่งๆ เราอยู่ในโลก ของความคิดนึกมากกว่าสิ่งที่ปรากฏเพราะว่าปรากฏเพียงสั้นมาก เหมือนเสียงปรากฏ นิดเดียว กลิ่นก็ปรากฏนิดเดียว เพราะฉะนั้นโลกที่มืดสนิท และก็มีสิ่งที่ปรากฏแต่ละ ทาง แม้ว่าเพียงปรากฏสั้นๆ การสะสมของโลภะ และโทสะก็มีแล้วที่จะทำให้เกิด อกุศลจิตที่เป็นโลภมูลจิต หรือโทสมูลจิต หรือโมหมูลจิต เป็นประจำโดยที่ใครยับยั้ง ไม่ได้ เพราะฉะนั้นในขณะนี้ที่เห็น ให้ทราบว่าหลังจากที่มีการเห็นชั่วขณะที่สั้นมาก โดยที่รูปที่ปรากฏทางตายังไม่ดับก็มีอกุศลเกิดแล้วตามการสะสม บางคนสะสมโลภะ มามาก ไม่รู้เลยติดข้องทันทีในสิ่งที่ปรากฏ บางคนก็สะสมความขุ่นใจ ความไม่ชอบใจ มากในสิ่งที่ปรากฏก็เกิดโทสะขึ้นแล้ว ก่อนที่รูปนั้นจะดับ และภวังคจิตเกิดต่อ และทาง ใจก็รับสิ่งนั้นต่อ มีความทรงจำในสิ่งนั้น เพราะฉะนั้นคำถามที่ว่ามีโลภะ หรือโทสะ หรือ โมหะ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ที่กำลังรู้รูปนั้นๆ ที่ยังไม่ดับสั้นมาก ภวังคจิตเกิดคั่น ตอนนี้เรื่องราวของมโนทวารก็มากมายจากการทรงจำในสิ่งที่ปรากฏทางหนึ่งทางใด ปรากฏเป็นเรื่องของสัตว์บุคคลต่างๆ แล้วก็เวลาคิดนึกก็คิดถึงสัตว์บุคคลต่างๆ มากกว่าที่จะคิดถึงสีสันวัณณะต่างๆ อย่างขณะนี้ก็พิสูจน์ได้กำลังนั่งอยู่ในห้องนี้เห็น อะไร เห็นหลายอย่าง แจกันดอกไม้ เห็นไหม สิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ได้มาบอกเลย ไม่ ได้มีความรู้สึกว่าได้จำในสิ่งที่ปรากฏทางตา แต่ทางใจจะจำเป็นเรื่องราวของสิ่งที่ ปรากฏทั้งหมด เห็นแจกัน เห็นคน เห็นโต๊ะ เห็นเก้าอี้ ไม่ได้มีความจำในความเป็นจริง คือสิ่งที่ปรากฏทางตาคือลักษณะนี้คือที่ยังไม่ได้มีการนึกถึงรูปร่างสัณฐานเลย เพราะ ฉะนั้นเวลาที่มีความติดข้องอย่างรวดเร็วก็ไม่รู้ และถ้าทางจักขุทวาร โสตทวารพวกนี้มี ความขุ่นใจแม้เพียงเล็กน้อยในขณะที่รูปนั้นยังไม่ดับ แต่ทางใจจะสืบต่อหลายวาระที่ จะทำให้โลภะหรือโทสะเป็นไปตามสิ่งที่ปรากฏทางนั้นๆ
ผู้ฟัง จากการฟัง เท่ากับว่าขณะที่เห็นๆ แล้ว
ท่านอาจารย์ รูปยังไม่ดับ
ผู้ฟัง เห็นแล้ว ก็มีการเกิดดับต่อไปเรื่อยๆ ขณะที่เป็นชวนจิตทาง ปัญจทวารก็เท่ากับว่าเป็นกุศล อกุศลซึ่งเป็นเหตุใหม่
ท่านอาจารย์ ถูกต้อง
ผู้ฟัง เป็นเหตุใหม่ในการสืบต่อไปถึงทางมโนทวาร และมีภวังค์คั่น ทางมโนทวารเหมือนเป็นผลเกิดความสบายใจหรือความติดข้องทางใจ
ท่านอาจารย์ ไม่ใช่ค่ะ ถ้าใช้คำว่า “ผล” นี่กว้าง แต่ถ้าใช้คำว่า “วิบาก” จะ แคบลง เพราะเหตุว่าผลจากการเห็น และก็เวลาที่โลภะหรือโทสะเกิดก็ตามในรูปที่ยัง ไม่ดับ แต่ละขณะของจิตที่เป็นโลภะ อย่างชวนจิต โลภะจะทำกิจชวนะเกิดดับสืบต่อ ๗ ขณะๆ แรกดับไปแล้ว ขณะที่สองสะสมไปเรื่อยๆ จนกระทั่งเป็นภวังคจิตแล้ว พอ ถึงมโนทวารการสะสมสืบต่อจากโลภะทางตาก็ต่อมาถึงทางใจ ถ้าได้ยินเสียงดังๆ น่า กลัว เกิดโทสะแล้วในเสียงที่กำลังปรากฏ เวลาที่ภวังคจิตเกิดสืบต่อ มโนทวารสะสม โทสะสืบต่อจากทางโสตทวาร นี่คือการสะสมทีละเล็กทีละน้อยของชวนจิต คือกุศล และอกุศลซึ่งเป็นเหตุใหม่ เพราะฉะนั้นถ้าจะกล่าวว่าเป็นผลก็คือว่าเป็นผลสืบเนื่องมา จากทางปัญจทวาร ทางมโนทวารจะเป็นอะไรเป็นผล แต่ไม่ใช่วิบาก ถ้าวิบากแล้วตาย ตัวว่าวิบากนั้นทำกิจอะไรบ้าง แล้วมีประเภทเท่าไหร่ กุศลกรรมที่ได้ทำแล้วทั้งหมด ตั้งแต่เกิดจนถึงขณะนี้ จะเป็นการพูดไม่จริงหรือว่าจะเป็นการถือเอาสิ่งของที่คนอื่นไม่ ได้ให้ หรือว่าเป็นการฆ่าสัตว์ก็ตามแต่ทั้งหมด เวลาที่ให้ผลๆ เป็นอกุศลวิบากจิตเพียง ๗ ไม่เกินกว่านั้นเลย เพราะฉะนั้นคำว่า “วิบาก” คือผลของอกุศลก็ตายตัวว่า อกุศลกรรมที่ทำแล้วจะให้ผลเป็นอกุศลวิบากจิต จะไม่มีมากกว่านั้นเลย แต่ทางฝ่าย กุศลมีมาก ประณีตขึ้น เพราะฉะนั้นนี่เป็นเหตุที่จะรู้ว่าทางมโนทวารที่เกิดชวนจิตจะ เป็นอกุศลประเภทใดสืบต่อจากทางปัญจทวารก็ไม่ใช่วิบาก แต่เป็นการสะสมสืบต่อ จากทางปัญจทวารมาถึงมโนทวาร
ที่มา ...