ความติดข้องของปุถุชนและของพระอริยบุคคล
อ.ธิดารัตน์. อภิชฌาวิสมโลภะความโลภโดยไม่ชอบธรรมคือเพ่งเล็งผู้ อื่น อันนี้คือเป็น ๖ อย่างที่เหลือที่ละโดยอรหัตตมรรค ไม่เข้าใจว่าเลยระดับของพระ อนาคามีมาแล้วๆ ก็ยังมีอภิชฌาวิสมโลภะในระดับไหน ยังมีถัมภะ ความหัวดื้อ สารัม ภะ ความแข่งดี อติมานะ ซึ่งดูหมิ่นท่าน คือไม่เข้าใจว่าเลยพระอนาคามีไปแล้วต้องละ ด้วยอรหัตตมรรค ชื่อเหมือนกับจะมีกำลัง ไม่ทราบว่าท่านอาจารย์จะอธิบายลักษณะ
ท่านอาจารย์ นี่ก็เป็นเหตุที่แสดงว่าแม้แต่คำก็แล้วแต่ที่ใช้ อย่างตอนแรก เราพูดถึงคำว่าพระโสดาบันมีพยาปาทไหม ในความรู้สึกของเราเข้าใจว่าพยาปาทเป็น ยังไง แต่ว่าถ้าในระดับ ก็จะต้องรู้ได้ว่าพยาปาทที่กล่าวที่ว่าพระโสดาบันยังมี ก็คือไม่ ได้ถึงระดับที่จะทำอกุศลกรรม นี่พอมาถึงระดับนี้อีกที่จะต้องละด้วยความเป็นพระ อรหันต์ ก็จะต่างกับที่เราสามารถที่จะรู้ได้ในชีวิตประจำวันในระดับของเรา ที่ว่าอภิชฌาวิ สมโลภะท่านกล่าวถึงโลภะที่ไม่ใช่ปกติธรรมดา สามารถที่จะรู้ได้โดยการที่ว่ามีความ อยากได้ มีความเพ่งเล็ง มีความต้องการของบุคคลอื่น แต่พอมาถึงอันนี้ที่คุณธิดารัตน์ สงสัยก็จะต้องหมายความว่าต้องกล่าวถึงความละเอียดออกไปอีก ว่าในบรรดาคำที่ใช้ คำว่าอภิชฌาวิสมโลภะ ในขั้นของกรรมบถกับขั้นที่ไม่ใช่กรรมบถก็จะต้องมีด้วย และ หมายความอย่างไร นี่ก็เป็นเรื่องที่ว่าถ้าความเป็นพระอริยบุคคลขั้นไหน ก็ดับกิเลสขั้น นั้นโดยไม่มีการเกิดอีกเลย ไม่ว่าจะโดยนัยของอุปกิเลสประเภทไหน เช่น ลักษณะของ การยกตนหรือความสำคัญตน มีกันคนละเล็กคนละน้อย รู้บ้างไหม แม้แต่วาจาที่เอ่ย ด้วยความสำคัญตนที่เหมือนกับว่าไม่รู้เลยว่านั่นเป็นไปด้วยมานะ นั่นก็แสดงให้เห็นว่าถ้า มีการโอ้อวดเมื่อไหร่ อันนั้นรู้เลยว่าคนที่โอ้อวดเป็นยังไง มีความสำคัญในตนถึงขนาด ที่โอ้อวด ถ้าเป็นคนเก่งก็เก่ง จะมีมานะอยู่ เพราะเหตุว่ายังไม่ใช่พระอรหันต์ แต่ว่าถ้าถึง ระดับโอ้อวดในความเก่ง อันนั้นก็แสดงให้เห็นว่าเราสามารถที่จะเห็นในความเป็น อุปกิเลสของอกุศลทั้งหลายเวลาที่แสดงออกมาเป็นประเภทต่างๆ แต่ถ้าถึงอีกระดับ หนึ่งก็ต้องเป็นความละเอียดขึ้น เพราะว่าสำหรับทั่วๆ ไป พอพูดถึงอภิชฌาวิสมโลภะ เราจะหมายความถึงว่าไม่ใช่ปกติที่พอจะรู้ได้
อ.อรรณพ หมายความว่าถ้าเป็นอภิชฌาวิสมโลภะของปุถุชนก็คือหยาบ กระด้างมาก และก็ต่างกับสมโลภะที่เป็นพื้นอยู่
ท่านอาจารย์ อย่างโลภะเวลาที่เราเดินจะไปรับประทานอาหาร กับเวลาที่ กำลังรับประทานอาหารอร่อย และอร่อยมากจนรับประทานคนเดียวจนหมด ไม่คิดถึง เลยว่าคนอื่นเขาก็คงอยากรับประทาน เขาก็คงชอบเหมือนๆ กัน และก็มีอยู่ ๕ คน ไม่ ต้องคิดถึงสัดส่วนอะไรทั้งหมด ก็รับประทานไปจนหมดก็ได้ใช่ไหม เพราะฉะนั้นชีวิต ประจำวันก็คือลักษณะของสภาพธรรมประการต่างๆ แต่ว่าเราก็ไม่เห็นจนกว่าจะได้ฟัง ได้พิจารณาว่าจริงๆ เป็นอย่างนั้นหรือเปล่า
อ.ธิดารัตน์ อย่างโอ้อวดหรือว่าตีเสมอคือมีการออกทางกาย วาจา แสดงว่า หยาบมาก แต่วิสมโลภะโลภะที่ไม่สม่ำเสมอก็คือแม้กระทั่งเกิดกลุ้มรุมจิตแล้วนิดหนึ่ง ท่านก็จัดว่ามันไม่สม่ำเสมอแล้วในขณะนั้น
ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้นจึงแสดงให้เห็นถึงความละเอียดของสภาพธรรม และคำที่ใช้ว่าต้องต่างกันตามระดับของบุคคลที่สามารถจะรู้ได้ด้วย อย่างปัญญาของ พระอนาคามีกับผู้ที่เป็นปุถุชนก็ต่างกันมาก เพราะฉะนั้นปุถุชนก็จะเห็นเพียงระดับ ที่สามารถจะเห็นได้ หรือว่าถ้าท่านเป็นผู้ที่ได้ดับกิเลสอื่นหมด แต่กิเลสนั้นก็ยังมีปรากฏให้เห็น ได้สำหรับท่าน ก็เป็นสิ่งที่ท่านสามารถจะละได้ด้วยอรหัตตมรรค อย่างวิสมโลภะที่ กล่าวถึงเพียงแต่ให้เห็นความต่าง ซึ่งคนที่กำลังรับประทานอาหารอร่อยมาก รับ ประทานคนเดียวจนหมด จะรู้ไหมว่าขณะนั้นเป็นโลภะที่เป็นวิสมโลภะ ที่คนอื่นมอง เห็นว่าไม่ควร นี่เป็นแค่เรื่องอาหาร และถ้าไม่ใช่เรื่องอาหาร เรื่องกิจการงาน เรื่อง หน้าที่ เรื่องทุจริตกรรมต่างๆ ก็ตามระดับ แล้วแต่ว่าสามารถที่จะเห็นได้อย่างหยาบที่ สุดจนกระทั่งถึงค่อยๆ ละเอียดขึ้นๆ จนกว่าจะเห็นสิ่งที่ก็มีลักษณะอย่างเดียวกันแต่ ว่าละเอียดกว่า
ที่มา ...