ทาน ๓ อย่าง
ผู้ฟัง แต่ถ้าอุทิศส่วนกุศลหมายถึงคนที่ตายไปแล้ว ผมคิดอย่างนั้น สมมติว่าผมจะไปทำบุญงานศพ ใส่ซองไป ๕๐ บาท ๑๐๐ บาท ๒๐๐ บาท ก็แล้วแต่ แล้วผมก็จะเขียนว่าอุทิศส่วนกุศลให้ผู้ตาย ถ้าเผื่อในกรณีอย่างนั้น เราไม่รู้จะเรียกว่าอนุโมทนายังไง
อ.กุลวิไล ถ้าเป็นกุศลที่เราจะอุทิศให้กับผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว เป็นหนึ่งในบุญกิริยาวัตถุ กุศลที่เราทำแล้วสามารถที่จะอุทิศให้ผู้อื่นล่วงรู้ แล้วก็อนุโมทนาได้ แต่ก็แล้วแต่ว่าอยู่ในภพภูมิที่เขาสามารถจะรับได้ แต่แล้วแต่ว่าเป็นการอนุโมทนาในกุศลของผู้อื่น หรือทำกุศลแล้วอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้อื่น
ผู้ฟัง สมมติว่าผมทำกฐินให้คุณพ่อลงไปแสนบาทล้านบาท ผมก็อุทิศส่วนกุศลให้คุณพ่อที่ล่วงลับไปแล้วๆ คนที่มาข้างๆ ก็มาอนุโมทนาด้วย อย่างนั้นถูกไหม ผมติดใจตรงใช้คำ
ท่านอาจารย์ จริงๆ แล้วควรความต่างกันในเรื่องของทานว่ามี ๓ อย่าง ทานคือการให้ซึ่งบุคคลนั้นเป็นผู้ให้ ขณะที่ให้สำเร็จเสร็จไปแล้ว กุศลนั้นก็เสร็จแล้ว ได้กระทำไปแล้ว แต่ว่าเมื่อได้กระทำกุศลไปแล้วก็ยังสามารถที่จะเกิดกุศล อุทิศกุศลที่ได้ทำให้บุคคลที่สามารถรู้อนุโมทนาคือให้เขาเกิดกุศลจิตของเขา นี่อีกประการหนึ่ง แยกจากขณะที่ทานกุศลได้กระทำแล้ว เพราะว่าบางคนทำทานกุศลแต่ไม่ได้อุทิศส่วนกุศลก็มี อย่างเวลาที่ฟังพระธรรมเสร็จแล้วต่างคนต่างกลับหรือว่าอุทิศส่วนกุศล ก็เป็นกุศลอีกประเภทหนึ่งหรืออีกประการหนึ่ง เพราะฉะนั้นนอกจากมีทานการให้ด้วยตัวเอง ก็ยังมีการอุทิศส่วนกุศลคือกุศลที่ได้กระทำแล้วให้คนอื่นสามารถที่จะอนุโมทนาถ้าเขาสามารถจะรู้ได้ แต่ถ้าเขาไม่รู้ เขาก็ไม่อนุโมทนา กุศลจิตเขาก็ไม่เกิด แต่ผู้ที่อุทิศ ขณะอุทิศเป็นกุศลจิต ก็หลังจากที่ทานกุศลได้กระทำแล้วก็ยังมีปฏิทานคือการอุทิศส่วนกุศลให้บุคคลอื่นด้วย แล้วก็อย่างที่กล่าวว่าถ้าเป็นผู้ที่ยังไม่สิ้นชีวิต เราก็อาจจะเรียนให้บุคคลนั้นทราบด้วยตนเองเพื่อกุศลจิตของท่านจะเกิด แต่ท่านล่วงลับไปแล้วเราก็ไม่สามารถจะรู้ได้ว่าท่านอยู่ในภูมิไหนภพไหน เพราะฉะนั้น ก็อุทิศไปเพื่อว่าเมื่อท่านสามารถที่จะรู้ได้ก็จะเกิดกุศลจิตอนุโมทนา แต่เรื่องของท่านจะเกิดกุศลจิตหรือไม่เกิดเราไม่สามารถจะล่วงรู้ได้ แต่จิตเราที่เกิดขณะอุทิศก็เป็นกุศล ก็อีกอย่างหนึ่ง และอีกอย่างหนึ่งคือยินดีด้วยในกุศลของบุคคลอื่นที่ใช้คำว่าอนุโมทนา แม้แต่ไม่พูด แต่ขณะที่กำลังอนุโมทนาคือยินดีด้วยในกุศลของคนอื่น ขณะนั้นก็เป็นกุศลประเภทนี้
ที่มา ...