ลักษณะของการกระทบกระทั่ง


    ผู้ฟัง ถามว่าปฏิฆสัมปยุตต์นี่เป็นโมจตุกะๆ ก็ต้องมีอีก ๓ ดวงเกิดร่วมด้วย ปฏิฆสัมปยุตต์เข้าใจว่าประกอบด้วยอิสสา มัจฉริยะ และกุกกุจจะ ใช่ไหม

    อ.ธิดารัตน์ ที่ถามว่าโมจตุกะก็หมายถึงว่าหมวด ๔ มีโทสะเป็นต้น คือธรรมที่สามารถจะเกิดร่วมกับโทสเจตสิกได้ แต่จะไม่เกิดพร้อมกัน อย่างขณะที่อิสสาเกิดร่วมกับโทสะ มัจฉริยะก็จะไม่เกิดร่วมด้วย ในขณะที่มัจฉริยะเกิด อิสสาก็จะไม่เกิดร่วมด้วย อิสสา มัจฉริยะ กุกกุจจะ จะไม่เกิดพร้อมกัน จะประกอบกับโทสเจตสิกเหมือนกัน แต่ทีละขณะจิต

    ท่านอาจารย์ ถ้าพูดถึงอกุศลจิต ๓ ประเภท โลภมูลจิต โทสมูลจิต โมหมูลจิต สำหรับโลภมูลจิตกับโมหมูลจิต เรารู้ไหมส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้น เราจะได้ยินคำว่า“สัมปยุตตธรรม” เวลาที่พูดถึงธรรมที่เกิดร่วมกับจิต แล้วก็แสดงถึงชื่อของสิ่งนั้นด้วย เช่น โลภมูลจิต จะมีคำว่า “ทิฏฐิคตสัมปยุตตัง” แสดงให้เห็นว่าถ้าไม่มีทิฏฐิความเห็นเกิดร่วมด้วย ขณะนั้นก็เป็นโลภะที่ไม่ได้ปรากฏให้รู้ได้เลย เวลานี้ได้ยินเสียง โลภะหรือเปล่า โมหะหรือเปล่า ถ้าไม่รู้ก็แสดงให้เห็นว่าไม่มีอะไรสัมปยุตต์ใช่ไหม ทิฏฐิความเห็นก็ไม่เกิดร่วมด้วย วิจิกิจฉาความสงสัยก็ไม่ได้เกิดร่วมด้วย แต่ว่าสำหรับปฏิฆสัมปยุตต์เป็นสภาพธรรมที่แม้เป็นโทสะ เป็นสภาพที่ประทุษร้ายจิตขณะที่เกิดขึ้น แต่รู้โดยปฏิฆสัมปยุตต์ เพราะเหตุว่า สามารถที่จะมีลักษณะของความที่เป็นปฏิฆะกระทบกระทั่ง ซึ่งปกติวันหนึ่งๆ เหมือนไม่กระทบอะไรใช่ไหม เห็นก็ผ่านไป ได้ยินก็ผ่านไป แต่พอไม่พอใจนิดหนึ่งลักษณะขณะนั้นเป็นลักษณะของการกระทบกระทั่งที่จะทำให้ความรู้สึกไม่แช่มชื่นเกิดขึ้น สามารถที่จะปรากฏให้รู้ได้ โกรธไม่พอใจ ลักษณะนั้นหยาบกระด้าง และกระทบกระทั่งให้สามารถที่จะรู้ได้ในขณะนั้น


    ที่มา ...

    พื้นฐานพระอภิธรรม ตอนที่ 171


    หมายเลข 9959
    3 ก.ย. 2567