ให้แล้วไม่เสียดาย (ทสัณณกชาดก)
เรื่องของความยากในการที่จะสละความตระหนี่ แต่ละท่านก็คงจะพิจารณาจิตใจของท่านเองได้ว่า การที่จะสละความตระหนี่นั้น ไม่ง่ายเลย
ขุททกนิกาย ชาดก ทสรรณกชาดก ข้อ ๑๐๐๗ – ข้อ ๑๐๑๓ มีข้อความว่า
พระราชาแห่งแคว้นมคธตรัสถามว่า
บุรุษคนนี้กลืนดาบมีคมกล้า อันเป็นดาบในทสรรณกรัฐ ดื่มกินเลือดผู้อื่นที่ถูกต้องแล้วในท่ามกลางบริษัท เหตุอย่างอื่นที่ทำยากกว่าการกลืนดาบนี้ยังมีอีกไหม ฉันถามท่านถึงเหตุที่ทำได้ยากอย่างอื่น ขอท่านจงบอกแก่ฉัน
ท่านผู้ฟังจะเห็นได้ว่า สิ่งที่คิดว่าทำยาก ก็ยังมีสิ่งอื่นที่ทำยากกว่า เพราะมีบุรุษคนหนึ่งที่สามารถจะกลืนดาบที่มีคมกล้าที่ดื่มกินเลือดของผู้อื่นแล้วในท่ามกลางบริษัท ซึ่งดูเป็นการกระทำที่ยากมาก เพราะฉะนั้น พระราชาจึงตรัสถามว่า มีอย่างอื่นที่ทำได้ยากกว่าอย่างนี้ไหม
อายุรบัณฑิตกราบทูลว่า
บุรุษกลืนดาบอันดื่มกินเลือดของผู้อื่นที่ถูกต้องได้เพราะความโลภ ก็ผู้ใดพูดว่าจะให้สิ่งนั้นสิ่งนี้ คำพูดของผู้นั้นทำได้ยากกว่าการกลืนดาบนั้น เหตุอย่างอื่นทั้งหมดทำได้ง่ายนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชาวมคธ ขอพระองค์โปรดทรงทราบอย่างนี้เถิด.
ถ้ามีความโลภเกิดขึ้น จะให้ทำอะไรก็ได้แม้กลืนดาบ
แต่เพียงแต่จะพูดว่า จะให้ ก็ไม่ง่ายแล้วใช่ไหม ถ้าท่านมีสมบัติอยู่ในความครอบครอง ลองคิดดู แม้แต่จะพูดว่าจะให้ ก็ยังยากกว่าการที่จะกลืนดาบซึ่งดื่มกินเลือดของคนอื่น ซึ่งความตระหนี่ก็ย่อมมีขั้นตอนต่างๆ ด้วย
พระราชาตรัสถามว่า
อายุรบัณฑิตเป็นผู้ฉลาดในอรรถธรรมได้แก้ปัญหาแล้ว บัดนี้ ฉันจะถาม ปุกกุสบัณฑิตบ้าง เหตุอย่างอื่นที่ทำยากกว่าคำพูดนั้นยังมีอยู่หรือ ฉันถามท่านถึงเหตุที่ทำได้ยากอย่างอื่น ขอท่านจงบอกแก่ฉัน
การที่จะให้พูดว่าจะให้ นี่ก็ยาก แต่ต้องมีการยากยิ่งกว่านั้นอีก ซึ่งปุกกุสบัณฑิตทูลว่า
ชนทั้งหลายย่อมไม่รักษาคำพูดไว้ คำที่พูดนั้นก็ไม่มีผล ผู้ใดให้ปฏิญญาไว้ว่า จะให้สิ่งนั้นสิ่งนี้ ไม่อยากได้สิ่งนั้นคืน คำพูดของผู้นั้นทำได้ยากกว่าการกลืนดาบ และกว่าคำพูดว่าจะให้สิ่งนั้นสิ่งนี้นั้นเสียอีก เหตุอย่างอื่นทั้งหมดทำได้ง่าย ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชาวมคธ ขอพระองค์โปรดทรงทราบอย่างนี้เถิด
ถึงแม้ว่าพูดออกไปแล้วว่าจะให้ แต่ก็คงมีมากมายหลายท่านที่ไม่สามารถจะกระทำอย่างที่พูดได้ด้วยเหตุของความตระหนี่ เพราะฉะนั้น ที่พูดว่าจะให้ ก็ยากที่จะพูด และถึงแม้ว่าได้พูดไปแล้ว การที่จะรักษาคำพูดโดยการให้จริงๆ เหมือนอย่างที่พูด ก็ลองพิจารณาว่า จะเป็นสิ่งที่ยากกว่าไหม แต่ว่าถึงแม้อย่างนั้น จะมีอะไรที่ยากกว่านี้อีกไหม
พระราชาตรัสถามว่า
ปุกกุสบัณฑิตเป็นผู้ฉลาดในอรรถธรรมได้แก้ปัญหาแล้ว บัดนี้ ฉันจะถาม เสนกบัณฑิตบ้าง เหตุอย่างอื่นที่ทำยากกว่านั้นยังมีอีกหรือ ฉันถามท่านถึงเหตุที่ทำได้ยากอย่างอื่น ขอท่านจงบอกแก่ฉัน
เสนกบัณฑิตทูลว่า
บุรุษควรจะให้ทาน จะน้อย หรือมากก็ตาม ก็ผู้ใดให้ของรักของตนแล้ว ย่อมไม่เดือดร้อนภายหลัง ข้อนั้นทำได้ยากกว่าการกลืนดาบ กว่าคำว่าจะให้สิ่งนั้นสิ่งนี้ และกว่าการให้ของรักนั้นเสียอีก เหตุอย่างอื่นทั้งหมดทำได้ง่าย ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นจอมแห่งชาวมคธ ขอพระองค์โปรดทรงทราบอย่างนี้เถิด
เยื่อใยของความตระหนี่ยังมีเหลืออยู่ แม้จะพูดว่า จะให้ ซึ่งยากที่จะพูด และได้ให้ตามที่พูดก็ยาก แต่ว่าเมื่อให้แล้ว ที่จะไม่เดือดร้อนใจในภายหลัง ไม่เสียดายนั้นยิ่งยากกว่า นั่นแสดงถึงเยื่อใยของความตระหนี่ที่มี แม้ว่าให้ไปแล้ว
ทุกท่านพิจารณาสภาพของจิตใจได้ว่า ความเหนียวแน่นของอกุศลธรรมแต่ละชนิดมีปรากฏให้เห็น ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากแก่การละ เพราะฉะนั้น การที่จะดับกิเลสเป็นสมุจเฉทไม่เกิดอีกเลยก็ย่อมเป็นสิ่งที่ยาก และเป็นเรื่องที่จะต้องอบรมจนกระทั่งเกิดปัญญาจริงๆ รู้แจ้งสภาพธรรมจริงๆ จึงสามารถดับกิเลสได้
พระราชาตรัสว่า
อายุรบัณฑิตได้แก้ปัญหาแก่ฉันแล้ว อนึ่ง ปุกกุสบัณฑิตก็ได้แก้ปัญหาแก่ฉันแล้ว เสนกบัณฑิตแก้ปัญหาครอบงำปัญหาเสียทั้งหมด ฉันใด ฉันก็ให้ทานนั้นแล้ว หาควรจะเดือดร้อนภายหลังไม่ ฉันนั้น
จบ ทสรรณกชาดกที่ ๖
ที่มา ...
- ขันติวาทีดาบส (ขันติบารมี)
- กามชาดก (ไม่ประมาทในการเจริญกุศล)
- ติลมุฏฐิชาดก (เป็นผู้ที่ว่าง่าย)
- พระสารีบุตรปรินิพพาน
- พึงชนะคนโกรธ ด้วยความไม่โกรธ
- คามนิจันทชาดก
- ทานสูตร และ ทานวัตถุสูตร
- คันธารชาดก (ผู้สะสมสิ่งของ)
- รัฏฐปาลสูตร (ชีวิตของท่านพระรัฐปาละ)
- กุมารลิจฉวีสูตร
- ชนสูตร (เรื่องพราหมณ์ชรา ๒ คน)
- กัณหทีปายนจริยา (สัจจบารมี)
- สัปปุริสสูตร (เรื่องการพูด)
- เรื่องพระสุขเถระ
- ทานบารมี
- อัสสุสูตร (สังสารวัฏฏ์)
- รสพระธรรม
- ฤกษ์ดี (สุปุพพัณหสูตร)
- วิโรจนอสุรินทสูตร และ สุภาษิตชยสูตร
- โกกาลิกสูตร
- พระโสณโกลวิสเถระ
- เสรีสูตร
- มหากัสสปสูตร
- อักโกสกสูตร (ความโกรธ)
- มหาสุญญตสูตร (ความประพฤติที่เหมาะสม)
- พระโลสกติสเถระ (อรรถกถาโลสกชาดก)
- ให้แล้วไม่เสียดาย (ทสัณณกชาดก)
- มิตตามิตตชาดก
- เจติยราชชาดก
- กินททสูตร (การให้)
- สัจจกนิครนถ์โต้วาทะ
- โสณนันทบัณฑิตจริยา
- อกิตติจริยา (ศีลบารมี)
- พระเจ้าปุกกุสาติ 1 (ธาตุวิภังคสูตร)
- พระเจ้าปุกกุสาติ 2 (ธาตุวิภังคสูตร)
- กกจูปมสูตร (การคลุกคลี การเป็นผู้ว่าง่าย)
- จะเป็นคนดีหรือพระโสดาบัน
- ปังกธาสูตร และ ปุปผรัตตชาดก
- ผลของความประมาท (เขตตูปมาเปตวัตถุ)
- เจ้ากรรมนายเวร
- มีธรรมเป็นที่พึ่ง (มหาปรินิพพานสูตร)
- กปิลสูตร และ ยโสชสูตร
- ความประพฤติของพระโพธิสัตว์ ๑ (ทรงบำเพ็ญพระบารมี)
- ความประพฤติของพระโพธิสัตว์ ๒ (ทรงบำเพ็ญพระบารมี)
- ตอบแทนมารดาบิดา
- เรื่องอตุลอุบาสก (ความโกรธ)
- ธนัญชานีสูตร (ฆ่าความโกรธ)
- ทานสูตร และ ราชาสูตร
- นักฟ้อนนามว่า นฏคามณิ และ เรื่องนางรัชชุมาลา
- ภิสชาดก
- มาตุโปสกสูตร และ พหุภาณีสูตร
- หัตถกสูตร (เรื่องหัตถกเทพบุตร)
- อักขณสูตร
- อาสีวิสสูตร (อสรพิษ ๔ จำพวก)
- อิณสูตร