ธรรมทาน*
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า
ดีละ มหาบพิตร ตถาคตบำเพ็ญบารมี ๓๐ ทัศ บริจาคมหาบริจาค ๕ คือ บริจาคอวัยวะ ๑ บริจาคทรัพย์ ๑ บริจาคบุตร ๑ บริจาคภรรยา ๑ บริจาคชีวิต ๑ แทงตลอดพระสัพพัญญุตญาณแล้ว ก็เพื่อตัดความสงสัยของชนผู้เช่นพระองค์นี่แหละ ขอพระองค์จงทรงสดับปัญหาที่พระองค์ถามแล้วเถิด
บรรดาทานทุกชนิด ธรรมทานเป็นเยี่ยม บรรดารสทุกชนิด รสแห่งพระธรรมเป็นยอด บรรดาความยินดีทุกชนิด ความยินดีในธรรมประเสริฐ ส่วนความสิ้นไปแห่งตัณหาประเสริฐที่สุดแท้ เพราะความเป็นเหตุให้สัตว์บรรลุพระอรหัต ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า
ธรรมทานย่อมชนะทานทั้งปวง รสแห่งธรรมย่อมชนะรสทั้งปวง ความยินดีในธรรมย่อมชนะความยินดีทั้งปวง ความสิ้นไปแห่งตัณหาย่อมชนะทุกข์ทั้งปวง
ที่มา ...
แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ 1496
คำอธิบายต่อไปมีว่า
บทว่า สัพพทานัง เป็นต้น ความว่า ก็ถ้าบุคคลพึงถวายไตรจีวรเช่นกับใบตองอ่อน (คือ เป็นไตรจีวรอย่างดี) แด่พระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และ พระอรหันต์ทั้งหลายผู้นั่งติดๆ กันในห้วงจักรวาลตลอดถึงพรหมโลก การอนุโมทนา ที่พระพุทธเจ้าเป็นต้นทรงทำด้วยพระคาถา ๔ บาทในสมาคมนั้นประเสริฐ
ก็ทานนั้น หามีค่าถึงเสี้ยวที่ ๑๖ แห่งพระคาถานั้นไม่ การแสดงก็ดี การกล่าวสอนก็ดี การสดับก็ดีซึ่งธรรม เป็นของใหญ่ ด้วยประการฉะนี้
อนึ่ง บุคคลใดให้ทำการฟังธรรม (คือ จัดให้มีการฟังธรรม) อานิสงส์เป็น อันมากก็ย่อมมีแก่บุคคลนั้นแท้ ธรรมทานนั่นแหละที่พระพุทธเจ้าเป็นต้นให้เป็นไปแล้ว แม้ด้วยอำนาจอนุโมทนา โดยที่สุดด้วยพระคาถา ๔ บาท ประเสริฐที่สุดกว่าทาน ที่ทายกบรรจุบาตรให้เต็มด้วยบิณฑบาตอันประณีตแล้วถวายแก่บริษัทเห็นปานนั้น นั่นแหละบ้าง ประเสริฐกว่าเภสัชทานที่ทายกบรรจุบาตรให้เต็มด้วยเนยใสและน้ำมันเป็นต้นแล้วถวายบ้าง ประเสริฐกว่าเสนาสนทานที่ทายกให้สร้างวิหารเช่นกับมหาวิหารและปราสาทเช่นกับโลหปราสาทตั้งหลายแสนแล้วถวายบ้าง ประเสริฐกว่าการบริจาคที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีเป็นต้นปรารภวิหารทั้งหลายแล้วทำบ้าง เพราะเหตุไร
เพราะว่าชนทั้งหลาย เมื่อจะทำบุญเห็นปานนั้น ต่อฟังพระธรรมแล้วเท่านั้น จึงทำได้ ไม่ได้ฟังก็หาทำได้ไม่ ก็ถ้าว่าสัตว์ทั้งหลายไม่พึงฟังธรรมไซร้ เขาก็ไม่พึงถวายข้าวยาคูประมาณกระบวยหนึ่งบ้าง ภัตประมาณทัพพีหนึ่งบ้าง เพราะเหตุนี้ธรรมทานนั่นแหละ จึงประเสริฐที่สุดกว่าทานทุกชนิด
ประโยชน์ของธรรมทานต่อไป คือ
อีกอย่างหนึ่ง เว้นพระพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้าเสีย แม้พระสาวกทั้งหลายมีพระสารีบุตรเป็นต้นผู้ประกอบด้วยปัญญา ซึ่งสามารถนับหยาดน้ำได้ ในเมื่อฝนตกตลอดกัปทั้งสิ้น ก็ยังไม่สามารถบรรลุโสดาปัตติผลเป็นต้นโดยธรรมดาของตนได้ ต่อฟังธรรมที่พระอัสสชิเถระเป็นต้นแสดงแล้ว จึงทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลและทำให้แจ้งซึ่งสาวกบารมีญาณด้วยพระธรรมเทศนาของพระศาสดา เพราะเหตุแม้นี้มหาบพิตร ธรรมทานนั่นแหละจึงประเสริฐที่สุด เพราะเหตุนั้นพระศาสดาจึงตรัสว่า สัพพทานัง ธัมมทานัง ชินาติ
ที่มา ...
- การอบรมและศึกษาพระธรรม
- ขันธ์ห้า กับปรมัตถธรรม ๑
- ขันธ์ห้า กับปรมัตถธรรม ๒
- พื้นฐานรูปธรรม ๒
- รูปและสมุฏฐานที่เกิด
- วิถีจิตและทวาร
- จุติจิตและปฏิสนธิจิต
- กิจของจิตโดยย่อ ๑
- กิจของจิตโดยย่อ ๒
- เหตุเจตสิก
- ปสาทรูป อิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์
- ความเข้าใจเรื่องสมาธิ ๑
- ความเข้าใจเรื่องสมาธิ ๒
- ความเข้าใจเรื่องสมาธิ ๓
- ความเข้าใจเรื่องสมาธิ ๔
- ฌาน
- ฌานจิตเช่นไรจึงเป็นบาทของวิปัสสนา ๑
- ฌานจิตเช่นไรจึงเป็นบาทของวิปัสสนา ๒
- สนทนาเรื่องอานาปานสติ ๑*
- สนทนาเรื่องอานาปานสติ ๒
- สนทนาเรื่องอานาปานสติ ๓
- เบื้องต้นของสติปัฏฐาน ๑
- เบื้องต้นของสติปัฏฐาน ๒
- เบื้องต้นของสติปัฏฐาน ๓
- เบื้องต้นของสติปัฏฐาน ๔
- เบื้องต้นของสติปัฏฐาน ๕
- เบื้องต้นของสติปัฏฐาน ๖
- เบื้องต้นของสติปัฏฐาน ๗
- เบื้องต้นของสติปัฏฐาน ๘
- เบื้องต้นของสติปัฏฐาน ๙
- ศีลกับสติปัฏฐาน
- ทะเลภาพ ทะเลชื่อ จิตสั่ง
- การอบรมสติที่ถูกทาง ๑
- การอบรมสติที่ถูกทาง ๒
- การอบรมสติที่ถูกทาง ๓
- การศึกษาตัวจริงของธรรมะ ๑
- การศึกษาตัวจริงของธรรมะ ๒
- การศึกษาตัวจริงของธรรมะ ๓
- รู้สภาพธรรมโดยลักษณะไม่ใช่โดยชื่อ ๑
- รู้สภาพธรรมโดยลักษณะไม่ใช่โดยชื่อ ๒
- รู้สภาพธรรมโดยลักษณะไม่ใช่โดยชื่อ ๓
- ระลึกลักษณะที่กำลังปรากฏ ๑
- ระลึกลักษณะที่กำลังปรากฏ ๒
- ระลึกลักษณะที่กำลังปรากฏ ๓
- สติจะดูหรือจะรู้
- ทำสติ-การจงใจหรือเลือกอารมณ์
- สิ่งที่ปรากฏทางตา
- อริยาบถบรรพ ๑
- อริยาบถบรรพ ๒
- รู้รูปนั่งหรือสิ่งที่ปรากฏ
- กำลังปรากฏ คือหนึ่งใน..
- เครื่องเนิ่นช้าของสติปัฏฐาน
- ระลึกตามกำลังปัญญา
- สติปัฏฐานสู่วิปัสสนาญาน
- ธรรมทาน*