ผู้ไม่หนีกรรม... ท่านพระโมคคัลลานะ

 
WS202398
วันที่  6 ต.ค. 2551
หมายเลข  10074
อ่าน  1,318

เรื่องคร่าวๆ อาจคลาดเคลื่อนนะครับ

ท่านอัครสาวกพระโมคคัลลานะ ท่านเคยถูกโจรไล่ทำร้ายหลายครั้ง ก็ใช้ฤทธิ์หลบหนีเมื่อท่านพิจารณาแล้วทราบว่าเป็นเพราะกรรมในอดีต ครั้งต่อมาท่านไม่หนีจึงถูกทำร้ายเสียชีวิต เหตุใดเมื่อหนีได้ถึงไม่หนี การหนีเป็นสิ่งผิดหรือ หรือครานี้ท่านไม่ยอมหนีก็จริง แต่กรรมเก่าต่างหากที่ทำให้ท่านไม่ยอมหนี มิใช่ไม่สามารถหนี หรือว่าเรื่องนี้ไม่มีเหตุผลอธิบาย เป็นอจินไตย กรณีนี้เข้าข้อใหนครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 10 ต.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

เมื่อกรรมจะให้ผล จะหนีหรือไม่หนีก็ต้องให้ผลอยู่ดี ท่านพิจารณารู้ว่ากรรมจะให้ผล จึงไม่หนีแม้จะมีฤทธิ์ แต่เมื่อกรรมให้ผลก็ทำให้ท่านพระมหาโคคัลลานะไม่สามารถแม้เหาะได้ในขณะนั้น (ขณะกรรมให้ผล) เพราะท่านรู้ว่ากรรมจะให้ผลและไม่สามารถเหาะหนีได้ ท่านจะหนีได้อย่างไร ท่านก็ไม่หนีครับ ซึ่งข้อความที่คุณอ่านในเรื่องนี้ในบางส่วนของพระไตรปิฎก จะไม่ได้แสดงเรื่องการหนีไมได้เมื่อกรรมให้ผล แม้เหาะก็เหาะหนีไม่ได้ จึงขอนำข้อความที่นำมาประกอบในบางส่วนเพื่อให้เข้าใจเพิ่มขึ้นนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
paderm
วันที่ 10 ต.ค. 2551

ขอเชิญคลิกอ่านที่นี่

กำลังแห่งกรรม [อรรถกถา สรภังคชาดก]

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
WS202398
วันที่ 13 ต.ค. 2551

ขอขอบพระคุณ ขออนุโมทนา

กรรมนี่น่ากลัวจริงๆ ครับ หากศรัทธาในเรื่องกรรมมีผล ซึ่งเป็นสัมมาทิฎฐิจริงๆ แล้ว ก็คงไม่กล้าทำบาปแม้นิดหนึ่ง แสดงว่าผมยังไม่ศรัทธาแท้จริงกระมัง?

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
pornpaon
วันที่ 14 ต.ค. 2551

เพราะเป็นปุถุชน ถึงอย่างไรก็ยังหวั่นไหว ผู้ตั้งมั่นคงดีแล้ว คือ พระอริยบุคคล นับแต่พระโสดาบันขึ้นไป ค่อยๆ สะสม อบรมเจริญกุศลเหตุค่ะ แต่ก็ยอมรับความจริงว่า อกุศลเหตุที่สะสมมาในอดีตอนันตชาติของแต่ละคน มากจนประมาณไม่ได้ แม้จะมีกุศลบ้างก็ส่วนน้อย ขอเพียงเข้าใจถูกว่า บุคคลเมื่อสะสมกุศลเหตุและอกุศลเหตุไว้ เมื่อถึงคราวถึงโอกาสที่ กรรมหนึ่งกรรมใดจะให้ผล ไม่มีผู้ใดหนีพ้นค่ะ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 14 ต.ค. 2551

อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ ๓ โดย WS202398

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ไม่ใช่เราที่จะทำหรือไม่ทำบาป เมื่อยังมีกิเลสก็ยังจะต้องมีอกุศลเกิดขึ้น ผู้ที่จะไม่ล่วงศีล ๕ อีกเลย ต้องเป็นพระโสดาบัน ดังนั้นผู้ที่รู้จักเรื่องกรรมจริงๆ ก็คือรู้ว่าขณะไหนเป็นกรรม ขณะไหนเป็นผลของกรรม โดยไม่ใช่คิดเป็นเรื่องราวว่า คนนี้โดนรถชน เป็นผลของกรรมไม่ดี แต่ขณะไหนเล่าที่เป็นผลของกรรมที่ไม่ดี แต่ขณะนี้กำลังมีกรรมและมีผลของกรรม ทีละขณะจิต การอบรมปัญญาจึงต้องรู้ตรงลักษณะของกรรมและผลของกรรม เห็นเป็นผลของกรรม ได้ยินเป็นผลของกรรม รู้ตรงลักษณะนั้นด้วยการอบรมปัญญา (สติปัฏฐาน) ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราที่รับผลของกรรมและทำกรรมครับ คงเห็น แล้วว่าความมั่นคงและเข้าใจเรื่องของกรรมและผลของกรรมเป็นเรื่องของปัญญาจริงๆ

ขออนุโมทนาครับ

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
สุภาพร
วันที่ 15 ต.ค. 2551
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
khampan.a
วันที่ 15 ต.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
ajarnkruo
วันที่ 15 ต.ค. 2551

พระอริยบุคคลท่านมีความเชื่อมั่นคงในกรรมและผลของกรรม ส่วนปุถุชนนั้น มีอวิชชาเหนียวแน่นจึงทำให้ไม่รู้จักกรรมและผลของกรรมตามความเป็นจริงคือ ไม่รู้สภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ว่า ขณะไหนเป็นกรรม ขณะไหนรับผลของกรรม ไม่ใช่เราประกอบกับยังมีกิเลสอื่นๆ อีกมาก จึงทำให้ยังเป็นผู้ที่เต็มไปด้วยความหวั่นไหวนานัปประการคือ หวั่นไหวไปด้วยโลภะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง พระอรหันต์ท่านไม่มีความหวั่นไหวเหมือนผู้ที่ยังมีกิเลส เมื่อถึงกาลที่กรรมจะให้ผล ท่านก็ไม่เดือดร้อนใจว่าท่านจะต้องเจ็บมาก - เจ็บน้อย หรือจะได้รับความสบายกายมากไปหรือน้อยไป เพราะรู้ว่าไม่มีตัวตนที่จะหนี หรือไม่หนี ท่านรู้แต่ไม่เลี่ยงเพราะเลี่ยงไม่ได้ ต้องเป็นไปตามอำนาจของกรรมทั้งหมด แม้แต่พระผู้มีพระภาคผู้เป็นธรรมราชา ก็ยังต้องทรงประชวร และยังต้องทรงดับขันธปรินิพพาน ด้วยอำนาจแห่งกรรมเช่นกันครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
SIRICHAI
วันที่ 17 ต.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า

บัณฑิต กล่าว สติปัฏฐานเป็นการบูชาที่ประเสริฐสุด ข้าพเจ้าขอบูชาสิ่งที่ประเสริฐสุดนั้นแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า ขอบพระคุณท่านทั้งหลายที่ได้ให้ความรู้ และทำให้ผมเพิ่ม หิริโอตัปปะครับ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
choonj
วันที่ 17 ต.ค. 2551

น่าสนใจนะครับ ทำไมท่านอัครสาวกพระโมคคัลลานะหลบหนีหลายครั้ง อาจจะเป็นเพราะสงสารโจรที่จะทำอนันตริยกรรม และก็น่าสนใจอีกที่อะไรกำหนดให้โจรคนนี้ต้องมาทำอนันตริยกรรม แล้วโจรจะได้รับกรรมเบาบางลงหรือเปล่าเมื่อการกระทำนี้เป็นผลของกรรมของท่านอัครสาวก

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
prachern.s
วันที่ 17 ต.ค. 2551

ตอบความเห็นที่ ๑๐

การหลบหลีกอันตรายเป็นธรรมดาของทุกชีวิต แม้พระอรหันต์ท่านก็หลบหลีกเช่นกันไม่มีการกำหนดว่าต้องเป็นโจรคนนี้หรือคนไหน แต่โจรต้องการเงินค่าจ้าง จึงทำสิ่งที่ไม่สมควร ผู้ที่ฆ่าพระอรหันต์เป็นกรรมหนัก (อนันตริยกรรม) เจตนาฆ่าเป็นกรรม ส่วนผู้ถูกฆ่าเป็นผลของอกุศลกรรมเก่า

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
เซจาน้อย
วันที่ 19 ต.ค. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
orawan.c
วันที่ 20 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
ปริศนา
วันที่ 22 ต.ค. 2551

จากความเห็นที่ ๕

แต่ขณะนี้กำลังมีกรรมและมีผลของกรรมทีละขณะจิต การอบรมปัญญาจึงต้องรู้ตรงลักษณะของกรรมและผลของกรรม เห็นเป็นผลของกรรม ได้ยินเป็นผลของกรรม รู้ตรงลักษณะนั้นด้วยการอบรมปัญญา (สติปัฏฐาน) ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราที่รับผลของกรรมและทำกรรมครับ

จากความเห็นที่ ๘

พระอริยบุคคลท่านมีความเชื่อมั่นคงในกรรมและผลของกรรม ส่วนปุถุชนนั้น มีอวิชชา เหนียวแน่นจึงทำให้ไม่รู้จักกรรม และผลของกรรมตามความเป็นจริงคือ ไม่รู้สภาพธรรม ที่กำลังปรากฏในขณะนี้ว่า ขณะไหนเป็นกรรม ขณะไหนรับผลของกรรม ไม่ใช่เรา
ประกอบกับยังมีกิเลสอื่นๆ อีกมาก จึงทำให้ยังเป็นผู้ที่เต็มไปด้วยความหวั่นไหวนานัปประการคือ หวั่นไหวไปด้วยโลภะบ้าง โทสะบ้าง โมหะบ้าง

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
chatchai.k
วันที่ 28 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
chatchai.k
วันที่ 14 มิ.ย. 2564
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ