ไม่ถูกใจ.......
การที่เราต้องอดทนต่อการกระทำของผู้อื่นที่ไม่ถูกใจเรา เราสามารถอดทนได้ คือไม่ พูดหรือแสดงความไม่พอใจออกมาให้คนอื่นเห็น แต่ในใจเราทราบดีกว่า เรามีโทสะน้อยๆ และพิจารณาเป็นสภาพธรรมะ ดิฉันเข้าใจถูกต้องหรือไม่
ควรทราบว่าทุกอย่างที่กำลังปรากฏ ล้วนเป็นสภาพธรรมะที่เกิดเพราะปัจจัยทั้งสิ้นเพราะอวิชชาปกปิด เราจึงยึดถือว่าเป็นเราเป็นของเรา เป็นตัวตนของเราอยู่ตลอดความจริงแล้วตามหลักคำสอนมีว่า ความอดทนความอดกลั้นเป็นสิ่งที่ดี เป็นมารยาทสากลที่ทุกเชื้อชาติยอมรับ เมื่อประสบกับสิ่งที่ไม่ถูกใจเรา ถ้าอดกลั้นอดทน คือไม่โกรธ นั่นเป็นการดี แต่จิตต้องเป็นกุศลจึงจะถูกต้อง ในบางครั้งจิตเกิดโทสะไม่พอใจ แต่ไม่ล่วงออกทางกายและทางวาจา ก็ยังดีกว่าคนที่อดทนไม่ได้ มีการกระทำหรือพูดออกไปทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ในขณะนั้นจะพิจารณาอย่างไร คงไม่เป็นรูปแบบว่าต้องอย่างนี้ เท่านั้น แล้วแต่สติจะเกิดน้อมไปพิจารณาอะไรก็เป็นไปตามนั้นครับ
ห้ามไม่ได้เวลาที่อกุศลเกิด แต่สติสามารถเกิดได้สลับกันอกุศล เช่น โทสะเกิดก็รู้ว่า เป็นโทสะ เป็นอกุศลที่ไม่ใช่เรา พระพุทธเจ้าทรงแสดงธรรมว่าผู้ระงับความโกรธ รักษาประโยชน์ทั้งสองฝ่ายค่ะ คือ ไม่ทำตนเองและคนอื่นให้เดือดร้อนค่ะ
เวลาอกุศลเกิด เราจะรู้ว่าจิตเราไม่เบิกบานเลย ซึ่งรู้สึกได้ มันเป็นเรื่องยากจริงๆ ที่จะละความไม่ชอบใจในกรณีที่คนอื่นทำไม่ถูกใจเรา เพราะยังมีเรา
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เมื่อยังไม่ได้รู้แจ้งอริยสัจจธรรม บรรลุถึงความเป็นพระอริยบุคคล ขั้นพระอนาคามีความโกรธ ความขุ่นเคืองใจ เมื่อได้เหตุได้ปัจจัยก็สามารถที่จะเกิดขึ้นได้ ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร เป็นเรื่องปกติธรรมดา ถึงแม้จะเป็นอย่างนี้ แต่เราก็สามารถที่จะอบรมเจริญปัญญา เพื่อรู้ความจริงของสภาพธรรมทั้งหลายทั้งปวงได้ เพราะมีกิเลสมาก อกุศลจิตเกิดมาก จึงต้องอาศัยพระธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง เพื่อความเข้าใจถูก เห็นถูก และเพื่อขัดเกลากิเลสในชีวิตประจำวัน (ผู้มีกิเลส แต่รู้ตามความเป็นจริงว่ามีกิเลส บัณฑิตกล่าวว่า เป็นบุรุษประเสริฐ) ครับ
ขอเชิญคลิกอ่าน เพื่อความเข้าใจเพิ่มเติมได้ที่หัวข้อ...
บุคคลฆ่าความโกรธได้แล้ว ย่อมอยู่เป็นสุข
มีใครคนหนึ่งแนะนำให้ศึกษาพระธรรม
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ
ไม่เพียงแต่เฉพาะโทสะที่เกิดขึ้นกับจิต เพราะมีการคิดถึงการกระทำทางกาย วาจาของบุคคลอื่นเท่านั้น สภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ เป็นสิ่งที่สติควรจะระลึกศึกษาพิจารณาเพื่อให้เกิดความเข้าใจธรรมะตามความเป็นจริงเช่นกัน จนกว่าจะมีความมั่นคงขึ้นๆ ด้วยปัญญาที่เห็นถูกว่า "ธรรมะทั้งหลายไม่ใช่เรา" ครับ ความไม่ถูกใจเป็นธรรมะฝ่ายอกุศลเป็นโทสมูลจิต ถ้ามีเหตุปัจจัยให้เกิดก็เป็นธรรมดาที่จะต้องเกิดเพราะยังไม่ใช่พระอนาคามี ยังไม่ได้ดับความโกรธเป็นสมุจเฉท แต่เริ่มเห็นโทษของโทสะมากขึ้นได้ เมื่อปัญญาเจริญขึ้นครับ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ทุกอย่างสะสมใหม่ได้ ไม่ว่าจะเป็นความอดทน ความมีเมตตาและความเข้าใจว่า เป็นธรรม อบรมสติปัฏฐานอย่างเดียวไม่ได้ แต่ต้องเป็นผู้เห็นโทษของกิเลสในชีวิตประจำวัน จึงอบรมบารมี 10 คือ กุศลธรรมประการต่างๆ แต่ก็จะต้องมีความเข้าใจถูกเบื้องต้นว่า ธรรมเป็นธรรมและเป็นอนัตตา มีเหตุก็เกิดขึ้น แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้วก็สามารถ อบรมปัญญา รู้ว่าเป็นธรรม อบรมกุศลธรรมประการต่างๆ เช่น ขันติ เมตตาโดยอาศัยการฟังพระธรรมในเรื่องกุศลธรรม ก็จะเป็นผู้ขัดเกลากิเลสมากขึ้น ด้วยกุศลธรรมเกิดขึ้นหลังจากกิเลสนั้นเกิดขึ้น สะสมในสิ่งที่ดีใหม่ได้ เมื่อปัญญาเจริญขึ้นก็สะสมความเข้าใจถูกด้วยความเข้าใจว่าเป็นธรรม ซึ่งสติปัฏฐานไม่ได้เกิดง่ายและบ่อย กุศลธรรมประการต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่อบรมได้ควบคู่กันไป มีเมตตาและขันติ เป็นต้น ครับ
เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ ...
มุ่งเจริญสติปัฏฐานอย่างเดียว ไม่พอ
คำว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรากับธาตุเลว คิดอย่างไร !
ป.ล. เรียนคุณ oom ครับ อยากทราบวิธีของคุณ oom ที่กล่าวว่าพิจารณานั้น พิจารณาอย่างไร อธิบายให้ฟังด้วยครับ เพื่อเป็นการร่วมสนทนาเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องครับ
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
หากยอมรับได้ว่า การได้ยิน ได้เห็น สิ่งที่ไม่พอใจแล้วทำให้โกรธเป็นการรับวิบากกรรมที่ได้กระทำไว้ บางครั้งก็ละคลายความโกรธได้ในขณะที่พิจารณาโทษของความโกรธขณะนั้นก็ไม่ได้โกรธ ทุกอย่างเกิดตามเหตุปัจจัยสะสมมาที่จะโกรธก็โกรธ บางครั้งหายโกรธง่าย บางครั้งหายโกรธยาก ตราบใดที่เป็นเราด้วยตัณหา มานะและทิฏฐิ
ตอบคุณความคิดเห็นที่ ๗ เวลาที่โทสะเกิด จะระลึกว่าความโกรธเป็นสภาพธรรมที่กำลังปรากฎ หรือบางครั้งก็พิจารณาว่า โทสะเป็นโทษ เป็นอกุศล ทำให้จิตเศร้าหมองก็ทำให้ละคลายความโกรธลงได้ หรือเพราะความเป็นตัวตนจึงทำให้เกิดโทสะ ใช้แบบนี้ค่ะ
มามูลนิธิฯ เพื่อฟังธรรม เพื่อเข้าใจ เพื่อสงบ เพื่อกุศล แต่ทำไม ไม่ถูกใจ เกิดและก็รู้มาว่าไม่ถูกใจเกิดไม่ใช่คนเดียวหลายๆ คนด้วย ไม่ถูกใจเกิดได้เพราะเหตุและปัจจัย มีเหตุไม่มีปัจจัย ไม่ถูกใจไม่เกิด แต่ทั้งหมดทั้งปวงอยู่ที่ตัวเราไม่ควรโทษเหตุหรือปัจจัย เมื่อโกรธเกิดก็รู้ว่าเป็นธรรม ใหม่ๆ ไม่ถูกใจก็เกิด แต่หนักๆ เข้าไม่ถูกใจไม่เกิด สังขารขันธ์มีกำลัง เป็นการเจริญในธรรมไปในตัว ครับ
ขอบคุณความคิดเห็นที่ ๑๓ อธิบายก็เข้าใจอยู่ แต่ก็ยากค่ะ เพราะกิเลสยังหนาแน่นอยากได้แต่สิ่งที่ถูกใจเรา พอเจอสิ่งที่ไม่ถูกใจก็ดิ้นรนผลักไส เมื่อหลงลืมสติก็ยังเป็นเราตลอด ดิฉันก็พยายามฟังธรรมให้เข้าใจเพื่อสะสมเจริญปัญญาค่ะ
เป็นความคิดที่ถูกต้อง เป็นสติขั้นคิดนึก ก็เป็นสิ่งที่ดีครับ คิดในทางที่ถูก แต่ต้องรู้ว่าที่คิดอย่างนี้ ยังไม่ใช่สติปัฏฐานนะครับ การคิดนึกว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา กับการรู้ลักษณะของสภาพธรรมว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา คนละระดับกันครับ แต่อย่างไรก็ตาม ห้ามคิดไม่ได้ แต่ให้เข้าใจถูกว่าไม่ใช่สติปัฏฐานและก็ฟังพระธรรมต่อไปนะครับ
ขออนุโมทนา
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
เรียนสนทนาเพิ่มเติมอีกนิดครับ
เพื่อความเข้าใจถูกต้องมากขึ้น จากคำที่กล่าวว่า ใช้โยนิโสมนสิการ จริงๆ แล้ว ไม่ได้ใช้ครับ แต่ธรรมขณะใดเป็นกุศลเกิดขึ้น ขณะนั้นก็เป็นโยนิโสมนสิการแล้ว เพราะโยนิโสมนสิการเกิดกับกุศลจิต หากเราคิดว่าจะใช้โยนิโสมนสิการก็เป็นการบังคับ พยายามขัดกับหลักอนัตตา ธรรมมีเหตุปัจจัยจึงเกิดขึ้น ขณะที่เราโกรธ ขณะนั้นเป็นอโยนิโสมนสิการ ก่อนที่จะโกรธเราคิดไหมว่า เราจะอโยนิโสมนสิการนะ แต่เมื่อเกิดขึ้นก็เป็นอโยนิโสมนสิการแล้ว ไม่ได้ใช้ทำนองเดียวกันกับโยนิโสมนสิการครับ ไม่มีใครไปบังคับ ไปพยายามใช้โยนิโสมนสิการ แต่เมื่อกุศล เกิดก็เป็นโยนิโสมนสิการแล้วครับ
ขออนุโมทนาครับ
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์
ขอเรียนถามเรื่องโยนิโสมนสิการค่ะ
โยนิโสมนสิการคือการมองเห็นสิ่งต่างๆ ตามความเป็นจริง เวลาโกรธก็รู้ว่ากำลังโกรธ ความโกรธเป็นโทสะ และเป็นอกุศล รู้แบบนี้เป็นโยนิโสมนสิการได้หรือไม่
ล้วนเป็นสภาพธรรมที่เกิดปรากฏตามเหตุปัจจัย การกระทำของผู้อื่นเป็นสภาพธรรมที่ปรากฏ แท้จริงไม่มีผู้อื่นเลย เป็นจิต เจตสิก รูปปรากฏให้เห็น ได้ยินทางตา ทางหู เป็นวิบากทางตา ทางหู ทางใจ เป็นความยึดถือว่าเป็นเรื่องราวตัวตนของคนๆ นั้น เป็น โมหะ แล้วเราปรุงแต่งต่อเป็นอกุศลคือโทสะ เมื่อธรรมะเกิดขึ้นคือโทสะ เกิดขึ้นทำกิจของมันคือขุ่นใจ ร้อนใจ แล้วดับไป เอาอะไรเป็นแก่นสารไม่ได้เลย เมื่อความโกรธเกิดขึ้น เพราะเหตุ เพราะเหตุปัจจัย มิใช่เพราะใคร ห้ามมิให้เกิดไม่ได้ บังคับบัญชาไม่ได้ เกิดขึ้นทำหน้าที่แล้วก็ดับไปจริงๆ หน้าที่เราคือรู้ว่าเกิดขึ้นแล้วก็เพียรละ คือละอกุศลที่ เกิดขึ้นแล้วมิให้เกิดขึ้นอีก คือการเจริญกุศล นั่นคือเจริญปัญญานั่นเอง จะค่อยๆ ละอกุศลลงได้
ขออนุโมทนา
โยนิโสมนสิการกับอโยนิโสมนสิการทั้ง ๒ อย่างนั้น ที่ชื่อว่า โยนิโสมนสิการ ได้แก่การทำไว้ในใจโดยถูกอุบาย การทำไว้ในใจโดยถูกทาง การนึก การน้อมนึก การผูกใจ การใฝ่ใจ การทำไว้ในใจ ซึ่งจิตในอนิจจลักษณะ เป็นต้น โดยนัยเป็นต้นว่า ไม่เที่ยงหรือโดยสัจจานุโลมิกญาณ นี้เรียกว่า โยนิโสมนสิการ
แสดงว่า เมื่อใดที่กุศลจิตเกิด ขณะนั้นมีโยนิโสมนสิการเกิดร่วมด้วยแล้วใช่หรือไม่ โดยที่เราไม่ต้องไปพิจารณา เพระไม่มีเรา แต่เป็นธรรมะ