การศึกษาธรรม

 
VIRIYO
วันที่  27 ต.ค. 2551
หมายเลข  10217
อ่าน  1,052
การศึกษาธรรมะ อยู่ในส่วนใดของสติปัฏฐาน 4

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 27 ต.ค. 2551

สติปัฏฐาน ๔ คือ กายานุปัสสนา ๑ เวทนานุปัสสนา ๑ จิตตานุปัสสนา ๑ ธัมมานุปัสสนา ๑ ทั้ง ๔ อย่างนี้เรียกว่าอารมณ์ของสติปัฏฐาน ก่อนที่สติปัฏฐานจะเกิดต้องรู้ก่อนว่า กาย เวทนา จิต ธัมมะ คืออะไร มีลักษณะอย่างไร รู้กาย รู้เวทนา รู้จิต รู้ธัมมะ อย่างไรจึงจะเป็นสติปัฏฐาน ขณะนี้มีกาย มีเวทนา มีจิต มีธัมมะไหม ทั้งหมดนี้ต้องศึกษา ต้องเข้าใจ ถ้าไม่ศึกษา ไม่ฟังให้เข้าใจ การที่สติเกิดระลึกกายเวทนา จิต ธัมมะ จึงไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 27 ต.ค. 2551

จากความเห็นที่ 1

ถ้าไม่ศึกษา ไม่ฟังให้เข้าใจ การที่สติเกิดระลึกกาย เวทนา จิต ธัมมะ จึงไม่ใช่ฐานะที่จะมีได้ครับ ..

สาธุ

ขอเชิญอ่านกระทู้

01614 อาหารของสติปัฏฐาน โดย kanchana.c

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
happyindy
วันที่ 27 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ

การศึกษาธรรมะ อยู่ในส่วนใดของสติปัฏฐาน 4 ถามอย่างนี้ แสดงว่า ยังไม่ได้เริ่มศึกษาหรือเพิ่งเริ่มศึกษา งั้นก็เริ่มที่คำว่า "ธรรมะ" คืออะไรก่อน ดีมั้ยคะ

ทุกอย่างเป็นธรรมะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 27 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนาทุกท่านครับ ขอนุญาตินำข้อความตามลิงค์ที่คุณ suwit 02 แนะนำไว้

มาลง เพราะเห็นว่าเป็นประโยชน์มากครับ

โดย kanchana.c อาหารของสติปัฏฐาน

ข้อความจากคำบรรยายบางตอนของท่านอาจารย์ค่ะ

สำหรับท่านที่เห็นประโยชน์ของสติและรู้ว่าสติที่เจริญสมบูรณ์ถึงขั้นคือ ขั้นสติปัฏฐานสามารถที่จะทำให้รู้แจ้งอริยสัจธรรม ดับกิเลสได้เป็นสมุจเฉท แต่ก็ไม่ใช่ว่าสติปัฏฐานจะเกิดได้ตลอดเวลา เพราะฉะนั้นก็ควรที่จะได้เข้าใจว่า อะไรเป็นอาหารของสติ เพราะทุกอย่างที่จะเจริญขึ้น ก็จะต้องมีอาหาร

ข้อความในอังคุตตรนิกาย ปฐมปัณณาสก์ อวิชชาสูตร ข้อความบางตอน มีว่า

ดูกรภิกษุทั้งหลาย เรากล่าววิชชาและวิมุตติว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของวิชชาและวิมุตติ ควรกล่าวว่า โพชฌงค์ ๗ แม้โพชฌงค์ ๗ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของโพชฌงค์ ๗ ควรกล่าวว่า สติปัฏฐาน ๔ แม้สติปัฏฐาน ๔ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติปัฏฐาน ๔ ควรกล่าวว่า สุจริต ๓ (เพื่อที่จะไม่ให้ขาดสติ และประพฤติทุจริต เพราะถ้ากิเลสยังมีกำลังแรง เป็นผู้ที่กระทำทุจริตอยู่เสมอ และหวังที่จะให้สติปัฏฐานเกิด ก็ย่อมเป็นไปไม่ได้ เพราะสติปัฏฐาน เป็นสติขั้นที่สูงกว่าสติทั่วๆ ไป) แม้สุจริต ๓ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสุจริต ๓ ควรกล่าวว่า การสำรวมอินทรีย์ แม้การสำรวมอินทรีย์ เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการสำรวมอินทรีย์ ควรกล่าวว่า สติสัมปชัญญะ แม้สติสัมปชัญญะเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของสติสัมปชัญญะ ควรกล่าวว่าการทำไว้ในใจโดยแยบคาย แม้การทำไว้ในใจโดยแยบคาย เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการกระทำไว้ในใจโดยแยบคาย ควรกล่าวว่าศรัทธา แม้ศรัทธาเราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของศรัทธาควรกล่าวว่า การฟังสัทธรรม แม้การฟังสัทธรรม เราก็กล่าวว่ามีอาหาร มิได้กล่าวว่าไม่มีอาหาร ก็อะไรเป็นอาหารของการฟังสัทธรรม ควรกล่าวว่าการคบ สัปบุรุษ

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ด้วยประการดังนี้ การคบสัปบุรุษที่บริบูรณ์ย่อมยังการฟังสัทธรรมให้บริบูรณ์ การฟังสัทธรรมที่บริบูรณ์ ย่อมยังศรัทธาให้บริบูรณ์ ศรัทธาที่บริบูรณ์ย่อมยังการทำไว้ในใจโดยแยบคายให้บริบูรณ์ การทำไว้ในใจโดยแยบคายที่บริบูรณ์ ย่อมยังสติสัมปชัญญะให้บริบูรณ์ สติสัมปชัญญะที่บริบูรณ์ย่อมยังการสำรวมอินทรีย์ให้บริบูรณ์ การสำรวมอินทรีย์ที่บริบูรณ์ย่อมยังสุจริต ๓ ให้บริบูรณ์ สุจริต ๓ ที่บริบูรณ์ย่อมยังสติปัฏฐาน ๔ ให้บริบูรณ์ สติปัฏฐาน ๔ ที่บริบูรณ์ย่อมยังโพชฌงค์ ๗ ให้บริบูรณ์ โพชฌงค์ ๗ ที่บริบูรณ์ย่อมยังวิชชาและวิมุตติให้บริบูรณ์ วิชชาและวิมุตตินี้มีอาหารอย่างนี้ และบริบูรณ์อย่างนี้ ฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
paderm
วันที่ 27 ต.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

อะไรคือธรรม อะไรคือสติปัฏฐาน 4 ต้องเข้าใจก่อนครับว่าคืออะไร ศึกษาธรรม ธรรม คือสภาพธรรมที่มีจริงในขณะนี้ เห็น ได้ยิน คิดนึก โกรธ เป็นธรรม ศึกษาหรือยัง และ ศึกษาอย่างไรจึงจะชื่อว่าศึกษา เห็นเป็นเราเห็น เป็นเราโกรธ เป็นเราชอบ รู้อย่างนี้ ศึกษาธรรมหรือเปล่า แต่ขณะที่ศึกษาธรรมคือเข้าใจธรรมว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา นั่นคือ ศึกษาเพราะปัญญาเกิดจึงศึกษา ความเห็นถูกเกิดขึ้นจากไม่รู้หรือรู้ผิดคิดว่าเป็นเราที่ เห็น ไม่รู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา ค่อยๆ รู้ขึ้นว่าเป็นธรรมไม่ใช่เราก็ชื่อว่าศึกษาธรรม ศึกษาตามความเป็นจริง เริ่มจากฟังให้เข้าใจก่อนนะครับว่าธรรมคืออะไร เมื่อเข้าใจขึ้นแล้ว ปัญญาเจริญขึ้น ก็เริ่มศึกษาแล้ว แม้จะเรียกหรือไม่เรียกว่ากำลังศึกษาหรืออบรมสติปัฏฐานอยู่ครับ สำคัญที่ความเข้าใจเบื้องต้นครับ

ขออนุโมทนา

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ajarnkruo
วันที่ 28 ต.ค. 2551

การศึกษาธรรมะ คือ การศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจถูก ในความจริงที่เป็นสัจจธรรมที่ตรงตามการตรัสรู้ของพระผู้มีพระภาคเจ้า การศึกษาในส่วนของสติปัฏฐานก็เป็นการศึกษาธรรมะอย่างหนึ่ง แต่คำว่า "การศึกษาธรรมะ" นั้นกว้างขวางมาก ไม่สามารถที่จะจัดลงไปในส่วนของสติปัฏฐาน ๔ เพียงอย่างเดียวได้ เพราะจะทำให้ความหมายแคบเกินไป ในสติปัฏฐาน ๔ นั้น มีธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน แต่การศึกษาธรรมะนั้นกว้างขวางกว่านั้น และลึกซึ้งทั้งพยัญชนะและอรรถ ยากที่จะหยั่งถึง เพราะหลั่งไหลมาจากพระปัญญาคุณของพระผู้มีพระภาค ซึ่งพระองค์ทรงอาศัยพระมหากรุณาคุณแสดงธรรม แก่ผู้ที่เต็มไปด้วยความไม่รู้ ให้ค่อยๆ เกิดความรู้ขึ้น แล้วอาศัยความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องนั้น เป็นที่พึ่งในชาติที่ได้ยินได้ฟังพระธรรมครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
happyindy
วันที่ 28 ต.ค. 2551

อ่านอีก ซาบซึ้งอีก

ขออนุโมทนากุศลจิตสหายธรรมทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
VIRIYO
วันที่ 28 ต.ค. 2551

ขอบคุณมากครับ และขออนุโมทนากับทุกคำตอบ ที่เอื้อเฟื้อแด่ผู้มาใหม่ ซึ่งคงยังจะต้อง อ่านให้มาก ฟังให้มาก และน้อมนำมาพิจารณาให้มาก _/l_

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 28 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ ยินดีที่ท่านพบหนทางแล้ว

ขอให้เจริญในธรรมนะครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
dron
วันที่ 28 ต.ค. 2551

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
Pararawee
วันที่ 29 ต.ค. 2551

สัจจธรรมนั้นจริงที่สุด อนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
khampan.a
วันที่ 29 ต.ค. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การศึกษาธรรม เป็นการศึกษาให้เข้าใจในสิ่งที่มีจริง ที่กำลังปรากฏ สิ่งที่มีจริง ที่กำลังปรากฏนั้น เป็นธรรมที่มีจริงในขณะนี้ ทั้งทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกายและ ทางใจ ไม่พ้นไปจากหกทางนี้เลย ธรรมที่พระผู้มีพระภาคทรงแสดง เป็นสภาพธรรมที่มีจริงทั้งหมด เพื่อให้ผู้ฟัง ผู้ศึกษา มีความเข้าใจที่ถูกต้อง ตามความเป็นจริง เป็นปัญญาของตนเอง จึงต้องเริ่มจากความเข้าใจที่ถูกต้อง ว่าทุกอย่างเป็นธรรม ในเมื่อเป็นธรรม จึงไม่ใช่สัตว์บุคคล ตัวตน เมื่อสั่งสมความรู้ ความเข้าใจที่มั่นคงยิ่งขึ้น ย่อมจะเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้สติสัมปชัญญะ เกิดขึ้นถึงเฉพาะในลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏได้ จึงไม่ต้องใจร้อน ค่อยๆ ศึกษา ค่อยๆ ฟังไป จากที่ไม่เคยรู้มาก่อน (เพราะถูกปกคลุมด้วยอวิชชา) ความรู้ความเข้าใจก็จะค่อยๆ เพิ่มขึ้นเจริญขึ้นไปตามลำดับ ครับ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ