จิต เจตสิก

 
SURAPON
วันที่  3 พ.ย. 2551
หมายเลข  10278
อ่าน  2,094

คำว่า เจตสิก ผมเพิ่งเข้าใจจากการฟังท่าน อ. สุจินต์ ว่าคือสิ่งที่เกิดขึ้นกับจิต ทุกอย่างทั้งสติ เวทนา สัญญา สังขาร อารมณ์ นิวรณ์5 พอเข้าใจดีขึ้น แต่ขอท่านผู้รู้ช่วยเสริมให้ด้วย หากมีความเข้าใจที่ขาดไป ขอบพระคุณมากครับ และขอให้ อ. สุจินต์สุขภาพแข็งแรง เพื่อเผยแผ่พระธรรมไปนานๆ เพราะท่านอาจารย์แตกฉานในพระไตรปิฎกมากเท่าที่ผมได้ฟังมา ประกอบกับน้ำเสียงที่สุขุมเยือกเย็น น่าฟังจริงๆ


  ความคิดเห็นที่ 1  
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
suwit02
วันที่ 3 พ.ย. 2551

ผมสะกิดใจคำว่า อารมณ์ ของท่านผู้ถาม เพราะ ในภาษาไทยกับภาษาบาลี มีความหมายต่างกัน ขอเชิญท่านทั้งหลาย โปรดแสดงความเห็นว่า อารมณ์ ในภาษาไทยคืออะไร เป็นเจตสิก หรือไม่ และอารมณ์ ในภาษาบาลีคืออะไร เป็นเจตสิก หรือไม่

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
paderm
วันที่ 3 พ.ย. 2551

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

อารมณ์ในภาษาไทย โดยมากใช้เมื่อสบายใจ มีความสุขก็บอกว่าอารมณ์ดี หากวันไหนไม่สบายใจ ไม่มีความสุขก็บอกว่าวันนี้อารมณ์ไม่ดี ดังนั้น ภาษาไทยนำภาษาบาลีมาใช้จึงไม่ตรงความหมายกับคำว่าอารมณ์จริงๆ ในภาษาบาลี ซึ่งที่กล่าวว่าอารมณ์ดีในภาษาไทยก็เป็นสุขเวทนานั่นเอง เป็นเจตสิกเพราะวันไหนมีความสุขใจก็บอกว่าอารมณ์ดี เป็นต้น ส่วนอารมณ์ในภาษาบาลีหมายถึงสิ่งที่จิตรู้ สิ่งที่จิตรู้ (อารมณ์) มีทั้งที่เป็นรูปและเป็นนามครับ สิ่งใดก็ตามที่จิตรู้สิ่งนั้นเป็นอารมณ์

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ ......

สิ่งที่จิตรู้นั้น ภาษาบาลีเรียกว่า อารมณ์

อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 3 พ.ย. 2551

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
suwit02
วันที่ 3 พ.ย. 2551

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pornpaon
วันที่ 4 พ.ย. 2551

ขออนุโมทนาค่ะ . . .

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
khampan.a
วันที่ 4 พ.ย. 2551
ขออนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
bauloy
วันที่ 5 พ.ย. 2551
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่าน....
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ