คำ..สรรเสริญ..ใครไม่ชอบ?
พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า ก็คำ สรรเสริญ นั้นเป็นของน้อย ไม่พอเพื่อสงบกิเลส ความว่า ความสรรเสริญนั้นเป็นส่วนน้อย ต่ำช้า นิดหน่อย ลามก สกปรก ต่ำต้อย จึงชื่อว่า ความสรรเสริญนั้น เป็นของน้อย
แต่ ใครบ้างที่ไม่ชอบ แม้แต่เพียงคำชมเล็กน้อยในเรื่องรูปร่างหน้าตา การแต่ง กาย ชั่วขณะที่เสียงชมเพียงกระทบหูแล้วดับไป ขณะนั้นยินดี พอใจ หวั่นไหว อกุศลจิตเกิดต่อทางมโนทวารอีกหลายวาระ คำชมนิดเดียวก็ติดแล้วในความเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัวตน
ขึ้นอยู่กับสภาพจิตของคนที่สรรเสริญด้วยอะค่ะ
ถ้าสรรเสริญด้วยความจริงใจ ก็หวั่นไหวไปกับโลภะ
ถ้าสรรเสริญด้วยความไม่จริงใจ ก็หวั่นไหวไปกับโทสะ
แต่ถ้าสติเกิด..ก็ อืมม....
เคยได้ยินได้ฟังมาว่า ถ้าอยากให้คนไหนเสียคน ก็ให้ชมเขาบ่อยๆ ค่ะ
คำชม นานๆ จะมี แต่โลภะมีแทรกทุกขณะจิต ชอบไปเถอะครับ คำชม หากเป็นผู้ตรง ควรรู้ตามความจริง
อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 3 โดย ajarnkruo
รอเฉลยอยู่นะครับว่าใครกันนะที่จะไม่ชอบ? เฉลยว่า ผู้ซึ่งอยู่ในมรรคาแห่งการบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ เพราะ
เอฬกสูตร
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ลาภสักการะ และความสรรเสริญ ทารุณ เผ็ดร้อน หยาบคาย เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะ ซึ่งไม่มีธรรมอื่นยิ่งไปกว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แมลงวันกินขี้เต็มท้อง และข้างหน้ายังมีกองขี้ใหญ่ มันพึงดูหมิ่นแมลงวันเหล่าอื่นว่า เรากินขี้ เต็มท้องแล้ว และเรายังมีกองขี้ใหญ่อยู่ข้างหน้าอีกฉันใด ภิกษุบางรูปในธรรมวินัยนี้ อันลาภสักการะและความสรรเสริญครอบงำ ย่ำยีจิตแล้วก็ฉันนั้น
ขอเชิญอ่านกระทู้
ลาภ สักการ ชื่อเสียง เป็นอันตรายแก่การบรรลุธรรม [สุทธกสูตร]
ขออนุโมทนาครับ
จากความคิดเห็นที่ 1
แต่ถ้าสติเกิด ก็ อืมม
เป็นเพียงสิ่งที่ปรากฏทางหูจะเป็นเช่นนั้นได้เมื่อสติปัฏฐานเกิด
อนุโมทนาคะ
แม้เพียงคำชมเล็กๆ น้อยๆ โลภก็ยึดแล้ว ในชีวิตประจำวันโลภเกิดขึ้นเป็นประจำ ทันทีที่เห็น ได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส และคิดนึก ไม่มีใครยับยั้งโลภได้ พระโสดาบัน และพระสกทาคามีก็ยังมีความพอใจในอารมณ์ทั้ง ๖ ยกว้นพระอนาคามี ท่านดับความยินดีพอใจในรูป เสียง กลิ่น รส โผฎฐัพพะ ซึ่งเป็นกามอารมณ์เป็นสมุเฉท
ขออนุโมทนาค่ะ
คำสรรเสริญเหมือนก้อนเขฬะ กับ แมลงวันกินขี้
จะระลึกบ่อยๆ ค่ะ
ขอบพระคุณทุกความเห็น
ผู้ที่ไม่ชอบคำชม (ด้วยกุศลจิต) คือผู้ที่มีปัญญาเห็นโทษของคำชมนั้นครับ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ
อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 11 โดย K
ผู้ที่ไม่ชอบคำชม (ด้วยกุศลจิต) คือผู้ที่มีปัญญาเห็นโทษของคำชมนั้นครับ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ
สาธุ
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
คำสรรเสริญไม่ทำให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดเป็นผู้ที่หมดจดจากกิเลสได้ แต่การดำเนินตามทางที่พระผู้มีพระภาคและพระอริยสาวกทั้งหลายดำเนินมาแล้ว กล่าวคือการอบรมเจริญปัญญา เจริญสติปัฏฐาน เจริญอริยมรรค จึงจะเป็นไปเพื่อการดับกิเลสดับทุกข์ได้ในที่สุด แต่ไม่ใช่ว่าห้ามการสรรเสริญ บุคคลผู้ควรแก่การสรรเสริญเราก็สรรเสริญ ชื่นชมในความดีประการต่างๆ แต่ก็ต้องด้วยกุศลจิตจริงๆ ในชีวิตประจำวันการที่จะได้รับการสรรเสริญ หรือ นินทา ก็เป็นเพราะกรรมที่ได้กระทำแล้ว ผู้ที่ไม่เข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริง ไม่มีปัญญา เมื่อได้รับการสรรเสริญ ก็จะหลงระเริง เพลิดเพลิน มัวเมา หรือในทางตรงกันข้าม ถ้าได้รับการนินทา ก็จะหวั่นไหวไปด้วยความไม่พอใจ ด้วยความโกรธ อย่างรวดเร็ว แต่สำหรับผู้ที่มีปัญญา มีความเข้าใจสภาพธรรมตามความเป็นจริงแล้ว ย่อมจะไม่เป็นเช่นนั้น ดังนั้น การฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญา จึงเป็นที่พึ่งอย่างแท้จริง ครับ
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ
อ้างอิงจาก : ความคิดเห็นที่ 11 โดย K
ผู้ที่ไม่ชอบคำชม (ด้วยกุศลจิต) คือผู้ที่มีปัญญาเห็นโทษของคำชมนั้นครับ ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ "ไม่ชอบด้วยกุศลจิต" นี่เป็นยังไงอะค่ะ?
ขออนุโมทนาคุณคำปั่นค่ะ
เพราะแม้แต่พระศาสดาก็ยังทรงสรรเสริญสาวก เช่นท่านพระสารีบุตร ท่านพระมหา กัสสปะ เป็นต้น อกุศลย่อมไม่เกิดแน่นอน เพราะท่านเป็นพระอรหันต์
เรียน คุณไตรสรณคมน์ (ความคิดเห็นที่ 14) ครับ
ต้องขออภัยคุณไตรสรณคมน์และทุกท่านที่อาจใช้คำที่กำกวม เนื่องจากต้องการคงคำว่า "ไม่ชอบ" เอาไว้เพื่อให้สอดคล้องกับประเด็นของท่านผู้ตั้งกระทู้ครับ
การไม่ชอบด้วยกุศลจิตในที่นี้ ผมหมายถึงการมีปัญญาเห็นโทษนั่นเอง เพราะลาภยศ สรรเสริญ สุข ย่อมเป็นที่ชอบใจของบุคคลโดยทั่วไปเป็นธรรมดา แต่หากเป็นผู้อบรมเจริญความเข้าใจถูกเห็นถูก จะรู้ว่าเมื่อติดในสิ่งเหล่านั้นย่อมทำให้เศร้าโศก เมื่อเสื่อมลาภ เสื่อมยศ นินทา ทุกข์ ครับ และที่สำคัญโลกธรรมทั้งหลายไม่เป็นเหตุอันนำไปสู่การดับทุกข์ได้เลยครับ
พยัญชนะเปลี่ยนได้ เพราะภาษาไทยไม่ตายตัว แต่อรรถของสภาพธรรมนั้นไม่เปลี่ยนปัญญาไม่ชอบ แต่ไม่ได้ขุ่นเคือง เพราะไม่มีโทมนัสเวทนาเกิดร่วมด้วย จิตเป็นกุศลแต่ถ้าลักษณะที่ไม่ชอบนั้นประกอบกับโทมนัสเวทนา อันนี้เกิดกับโทสมูลจิตเต็มๆ ของปฏิกูลที่เคยหลงเสพ หลงชื่นชอบ หลงติด หลงกินเข้าไป ออกฤทธิ์เสียแล้ว แต่ก็ไม่ค่อยยักจะรู้ตัวว่ากินของแสลง (แล้วก็ยังคงเผลอกินอยู่) คงเป็นเพราะตาบอด (อวิชชา) นี่เอง ถึงได้หลงไปกินของไม่ดีอยู่บ่อยๆ
เอ้า! ฟังพระธรรมต่อไปเถิดครับ เพิ่มความฉลาด (ปัญญา) ในการบริโภควันละนิดจิตแจ่มใส
จาก K.PANNIPA.V
พระผู้มีพระภาค ตรัสว่า
ก็คำ สรรเสริญ นั้นเป็นของน้อย ไม่พอเพื่อสงบกิเลส ความว่า ความสรรเสริญนั้นเป็นส่วนน้อย ต่ำช้า นิดหน่อย ลามก สกปรก ต่ำต้อย จึงชื่อว่า ความสรรเสริญนั้น เป็นของน้อย
แต่ ใครบ้างที่ไม่ชอบ แม้แต่เพียงคำชมเล็กน้อยในเรื่องรูปร่างหน้าตา การแต่งกาย ชั่วขณะที่เสียงชมเพียงกระทบหูแล้วดับไป ขณะนั้นยินดี พอใจ หวั่นไหว อกุศลจิตเกิดต่อทางมโนทวารอีกหลายวาระ คำชมนิดเดียวก็ติดแล้วในความเป็นสัตว์ เป็นบุคคล เป็นตัว
ขอนอบน้อมแด่องค์สมเด็จพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
เสียงเป็นธรรม
ได้ยินเป็นธรรม
ได้ยินแล้วคิดเป็นธรรม
คิดแล้วชอบเป็นธรรม
คิดแล้วไม่ชอบเป็นธรรม
ขณะระลึกรู้ลักษณะธรรมที่กำลังปรากฏก็เป็นธรรม
ขออนุโมทนาในกุศลจิตของ K. PANNIPA. V และทุกๆ ท่านค่ะ
คงมีแต่ผู้ตั้งกระทู้เท่านั้น ที่ยอมรับว่า ยังชอบในคำชมแม้เล็กๆ น้อยๆ และยอมรับว่า ไม่ชอบถูกนินทา แต่นินทาใครบ้างหรือไม่?
สมจริงดังที่....
พระผู้มีพระภาคตรัสกับ อตุละอุบาสก ว่า....
การนินทา และสรรเสริญ เป็นของเก่า ชนทั้งหลาย ย่อมนินทาผู้นั่งนิ่งบ้าง ผู้พูดมากบ้าง ผู้พูดพอประมาณบ้าง ผู้ไม่ถูกนินทา ไม่มีในโลก
ผู้ถูกนินทาโดยส่วนเดียว หรือ สรรเสริญ โดยส่วนเดียวไม่มีแล้ว จักไม่มี และไม่มีอยู่ในบัดนี้
(จาก...คาถาธรรมบท)
ขอชมว่า เก่งที่ยอมรับว่าชอบคำชมครับ ชอบคำชมนี้ไม๊ครับ ถ้าชอบ ก็ชมผมหน่อย เพราะผมก็ชอบคำชม
ขอบคุณที่ชม แค่คำว่า "เก่ง" ไม่ได้ยินเป็นเสียง ก็ยังชอบชมคุณด้วย ที่ชอบคำชม (ที่จริงไม่ควรชม จะทำให้เสียคน)
ลืมไปเลยว่า คำชม เป็นธรรมะ
คำชม ไม่พอเพื่อสงบกิเลส
คำชม เหมือนก้อนเขฬะ
คำชม ทำให้เสียคน
ก็ยังติด ยังหนาด้วยกิเลส ยังเป็นตัวตนอย่างเหนียวแน่น เสียคนจริงๆ
อนุโมทนาทุกท่านค่ะ
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
ทุกอย่างเป็นธรรม หนทางการดับกิเลสคือรู้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา เริ่มจากมั่นคงจากขั้นการฟังว่าเป็นธรรม แม้สติยังไม่เกิดว่าคำชม คำติหรือสิ่งต่างๆ เป็นธรรมแต่ก็เริ่มมีความมั่นคงขั้น การฟังว่าเป็นธรรมและเป็นอนัตตา เดือดร้อนกับคำติเพราะไม่มั่นคงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา หวั่นไหวไปกับคำชมเพราะไม่มั่นคงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา เดือดร้อนกับความหวั่นไหวที่เกิดจากการคำชม คำติก็เพราะไม่มั่นคงว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา
ดังนั้นจึงไม่มีตัวตนที่จะเลือกหรือบังคับไม่ให้หวั่นไหวหรือหวั่นไหว หนทางเดียวคือ อบรมปัญญาเพื่อเข้าใจว่าทุกอย่างเป็นธรรมและเป็นอนัตตา เริ่มจากการฟังให้เข้าใจครับ หวั่นไหวเกิดแล้วทำอย่างไรได้ แต่อบรมให้เข้าใจความจริงได้
ขออนุโมทนาครับ
อุทิศกุศลให้สรรพสัตว์