กรรมได้แก่ เจตนาเจตสิก

 
เมตตา
วันที่  8 ก.พ. 2552
หมายเลข  11192
อ่าน  1,329

มโนกรรม คือ อภิชฌา ๑ พยาปาทะ ๑ มิจฉาทิฎฐิ ๑ พระผู้มีพระภาคทรงแสดงว่า กรรมได้แก่ เจตนาเจตสิก ไม่ใช่โลภเจตสิก ไม่ใช่โทสเจตสิก ไม่ใช่

มิจฉาทิฎฐิ หรือทิฎฐิเจตสิก เพราะฉะนั้น มโนกรรมก็คือ อกุศลเจตนาที่เกิดร่วม

กับอภิชฌา และได้แก่อกุศลเจตนาที่เกิดร่วมกับพยาปาทะ และได้แก่อกุศล-

เจตนาที่เกิดร่วมกับมิจฉาทิฎฐิ เพราะขณะใดที่อกุศลจิตเกิดขึ้นจะปราศจากอกุศล-

เจตนาไม่ได้เลย แล้วแต่ว่าอกุศลเจตนานั้นเกิดกับอกุศลจิตประเภทใดเช่น ถ้ามีการ

เพ่งเล็งอยากได้ของของคนอื่น ในขณะนั้นเจตนาก็มีโลภก็แรงถึงขั้นต้องการที่จะให้

ของของคนอื่นมาเป็นของตนในทางทุจริต นี่ก็แสดงให้เห็นกำลังของโลภ เพราะ

ฉะนั้น การที่ทรงแสดงว่ามโนกรรมมี ๓ ก็เป็นการแสดงว่าถึงอย่างไรกรรมได้แก่

เจตนาเจตสิกนั่นเอง แต่ว่าเมื่อเจตนาเจตสิกเกิดกับจิตทุกดวง ทำอย่างไรจึงจะรู้ว่า

อกุศลจิตถึงขั้นที่เป็นอกุศลกรรม จึงได้ทรงแสดงมโนกรรมไว้ว่า เมื่ออกุศลจิต

ที่ประกอบด้วยอกุศลเจตนานั้นมีกำลังเพราะประกอบด้วยอภิชฌาในขณะนั้น

เมื่อยังไม่ล่วงออกไปทางกาย หรือทางวาจาจึงเป็นมโนกรรม

........................................................


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 8 ก.พ. 2552

ขอเชิญอ่าน กุศลมโนกรรม

08741 มโนกรรม โดย บ้านธัมมะ

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
pornpaon
วันที่ 8 ก.พ. 2552

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ 270

กถาว่าด้วยทวารแห่งมโนกรรม

ก็บัณฑิตพึงทราบวินิจฉัยในกถาว่าด้วยทวารแห่งมโนกรรมต่อไป

ใจ ๔ อย่าง ด้วยสามารถแห่งจิตที่เป็นกามาวจรจิตเป็นต้น ชื่อว่า มโน

(ใจ) ในบรรดามโนที่เป็นกามาวจรเป็นต้นเหล่านั้น มโนแม้ทั้งหมดมี ๘๙

อย่างคือ มโนที่เป็นกามาวจร ๕๔ อย่าง มโนที่เป็นรูปาวจรมี ๑๕ อย่าง

มโนที่เป็นอรูปาวจรมี ๑๒ อย่าง มโนที่เป็นโลกุตรมี ๘ อย่าง ในบรรดา

มโนเหล่านั้น ธรรมดามโนนี้ไม่ควรกล่าวว่า ไม่เป็นมโน เหมือนอย่างว่า

ธรรมดาว่า เจตนานี้ ไม่ควรกล่าวว่า ไม่เป็นกรรม เพราะโดยที่สุดแม้เจตนา

ที่สัมปยุตด้วยปัญจวิญญาณ (วิญญาณ ๕) ในมหาปกรณ์ก็ทรงแสดงไว้ว่า เป็น

กรรมนั่นแหละ ฉันใด ธรรมดาว่า มโนนี้ก็ไม่ควรกล่าวว่า ไม่ใช่มโนทวาร

ฉันนั้นเหมือนกัน.

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ หน้าที่ 271


ในอธิการว่าด้วยมโนทวารนี้ มีผู้ท้วงกล่าวว่า ธรรมดาว่า กรรมนี้

ย่อมทำซึ่งอะไร ตอบว่า ย่อมประมวลมา ย่อมปรุงแต่ง ย่อมรวบรวม ย่อม

ตั้งใจ ย่อมดำริ ย่อมให้สำเร็จ. ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนี้ เจตนาในปัญจวิญญาณ

ย่อมประมวลมา ย่อมปรุงแต่ง ย่อมรวบรวมซึ่งอะไร ตอบว่า ย่อมประมวลมา

ย่อมปรุงแต่ง ย่อมรวบรวม ซึ่งสหชาตธรรมทั้งหลาย. จริงอยู่ เจตนาใน

ปัญจวิญญาณแม้นั้น ย่อมประมวล ย่อมตกแต่ง ย่อมรวบรวม ย่อมตั้งใจ

ย่อมดำริ ย่อมให้สำเร็จสัมปยุตขันธ์ที่เกิดขึ้นพร้อมกัน. อีกอย่างหนึ่ง มี

ประโยชน์อะไร ด้วยการกล่าวถึงข้อนี้ เพราะท่านได้กล่าวคำนี้ไว้ด้วยสามารถ

แห่งการรวบรวมมโน (ใจ) ไว้ทั้งหมด ก็ในอธิการว่าด้วยมโนทวารนี้ มีคำ

สันนิษฐานดังนี้ มโน ๒๙ อย่าง ด้วยสามารถแห่งกุศลและอกุศลอันเป็นไปใน

ภูมิ ๓ ชื่อว่า ทวารแห่งมโนกรรม แต่เจตนาใดที่ให้สำเร็จในมโนทวารนั้น

ย่อมถือเอาซึ่งอภิชฌา พยาบาท มิจฉาทัสสนะและความไม่มีอภิชฌา ไม่พยา-

บาท และสัมมาทัสสนะด้วยเจตนาใด นี้ชื่อว่า มโนกรรม. เบื้องหน้าแต่นี้

บัณฑิตพึงทราบการกำหนดกรรมและการกำหนดทวารทั้งหมด โดยนัยที่กล่าว

ไว้ในหนหลังนั่นแหละ ดังนี้แล.

จบกถาว่าด้วยทวารแห่งมโนกรรม

ขออนุโมทนาพี่เมตตา

ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
opanayigo
วันที่ 9 ก.พ. 2552

อนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ