วิถีจิตทางปัญจทวาร-วิถีจิตทางมโนทวาร

 
พุทธรักษา
วันที่  9 ก.พ. 2552
หมายเลข  11209
อ่าน  5,271

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

วิถีจิตทางปัญจทวาร มี ๗ วิถี คือ

อาวัชชนวิถีจิต
เป็นวิถีจิตที่ ๑ และถ้าเป็นทางปัญจทวาร คือ ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ก็คือ

ทวิปัญจวิญญาณจิต ดวงหนึ่งดวงใด ทางปัญจทวาร เป็นวิถีจิตที่ ๒ ได้แก่
จักขุวิญญาณ โสตวิญญาณ ฆานวิญญาณ ชิวหาวิญญาณ กายวิญญาณ แล้วแต่ว่าอารมณ์ที่ปรากฏ ที่กระทบปสาทนั้นๆ เป็นอารมณ์อะไร เมื่อวิถีจิตที่ ๒ ดับไปแล้ว เป็นปัจจัยให้เกิดวิถีจิตต่อไป คือ สัมปฏิจฉันนจิต เป็นวิถีจิตที่ ๓ ทำกิจรับอารมณ์ต่อจากวิญญาณจิตที่ดับไป สันตีรณจิต เป็นวิถีจิตที่ ๔ ทำกิจพิจารณาอารมณ์นั้นๆ แล้วดับไป โวฏฐัพพนวิถีจิต เป็นวิถีจิตที่ ๕ กระทำกิจ กำหนดอารมณ์ที่ปรากฏเพื่อกุศลจิต หรือ อกุศลจิต ที่จะเกิดในวิถีจิตต่อไป (ต่อไป) คือ ชวนวิถีจิต เป็นวิถีจิตที่ ๖

"ชวนะ" โดยศัพท์แปลว่า "ไปอย่างเร็ว" หรือจะใช้คำว่า "แล่นไปในอารมณ์" ก็ได้ ชวนวิถีจิต เป็นกุศลจิต ก็ได้ เป็นอกุศลจิต ก็ได้ สำหรับผู้ที่ยังไม่ใช่พระอรหันต์ แต่ผู้ที่เป็นพระอรหันต์แล้ว ดับกุศลจิต และ อกุศลจิตได้แล้วจิตที่ทำ ชวนกิจ (ทั้งทางมโทวาร และ ทางปัญทวาร) สำหรับพระอรหันต์ คือ กิริยาจิต กิริยาจิต ไม่เป็นเหตุที่จะทำให้เกิด วิบากจิต (ผลของกรรม)

ตทาลัมมณวิถีจิต หรือ ตทาลัมพณวิถีจิต เป็นวิถีจิตที่ ๗ จิตดวงนี้ ทำกิจรู้อารมณ์ ต่อจาก ชวนวิถีจิต เหตุเพราะว่า อารมณ์ของชวนวิถีจิต ยังไม่ดับไป คือ ถ้านับอายุของรูปๆ หนึ่ง ที่กระทบกับทวาร รูป ซึ่งมีอายุ ๑๗ ขณะจิต หมายถึง ตั้งแต่

อตีตภวังค์ เป็นขณะจิตที่ ๑

ภวังคจลลนจิต เป็นขณะจิตที่ ๒

ภวังคุปัจเฉทจิต เป็นขณะจิตที่ ๓

อาวัชชนจิต เป็นขณะจิตที่ ๔

ทวิปัญจวิญญาณจิต เป็นขณะจิตที่ ๕

สัมปฏิจฉันนจิต เป็นขณะจิตที่ ๖

สันตีรณจิต เป็นขณะจิตที่ ๗

โวฏฐัพพนจิต เป็นขณะจิตที่ ๘

ชวนจิต ๗ ขณะ เป็นขณะจิตที่ ๙-๑๕

ตทาลัมพณวิถีจิต เป็นขณจิตที่ ๑๖-๑๗ (รูปที่กระทบปสาท ทางทวารใดทวารหนึ่ง ๑ ครั้ง จึงมีอายุเท่ากับจิต ๑๗ ขณะจิต ดังนี้)

วิสัยของผู้ที่เป็น "กามบุคคล" เวลาที่ได้รับอารมณ์ คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ แล้วรูปนั้นยังไม่ดับไปก็เป็นปัจจัยให้ วิบากจิต คือ ตทาลัมพณวิถีจิต เกิดขึ้นรู้อารมณ์นั้นๆ ต่ออีก ๒ ขณะจิต แล้วจึงจบวิถีจิตทางปัญจทวาร (ทั้งหมดนี้ คือ การเกิดขึ้นของวิถีจิต ๗ วิถีจิต ทางปัญจทวาร และอายุของรูปๆ หนึ่ง ที่ตั้งอยู่เท่ากับ ๑๗ ขณะจิต แล้วจึงดับไป)

หลังจากนั้น ก็เป็น ภวังคจิต ต่อไปจนกว่า วิถีจิตต่อไปจะเกิดขึ้น ซึ่งอย่าลืม ว่าขณะใดที่เป็นภวังคจิตนั้น โลกนี้จะไม่ปรากฏความทรงจำ เกี่ยวกับเรื่องราวของบุคคลต่างๆ และเหตุการณ์ต่างๆ ในโลกนี้ จะไม่ปรากฏเลย ขณะที่เป็นภวังคจิต เช่น ขณะที่นอนหลับสนิท

จะไม่มีความรู้ ความจำเรื่องใดๆ ทั้งสิ้น เกี่ยวกับโลกนี้ แล้วถ้า จุติจิต เกิด และทำกิจเคลื่อนจากความเป็นบุคคลนี้ปฏิสนธิจิต จะเกิดต่อทันทีและ "วิถีจิตต่อไป" ก็จะเป็น "เรื่องราวของโลกอื่น"

เพราะฉะนั้น ก็ให้เห็น "ความเป็นไปของขณะจิต" ว่า เป็นเพียงสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเพราะเหตุปัจจัย (สำหรับทางมโนทวาร คือ จิตที่รู้อารมณ์ทางใจ) เมื่อ รูปใด รูปหนึ่งที่กระทบกับวิญญาณจิต ทางทวารใดทวารหนึ่ง ในปัญจทวาร ดับไปแล้ว ภวังคจิตเกิดคั่น ต่อจากนั้น มโนทวารวิถีจิต คือ วิถีจิตทางมโนทวาร ก็เกิดขึ้นทำกิจรู้อารมณ์เดียวกัน คือ อารมณ์ที่ปรากฏทางปัญจทวารวิถีจิตที่เพิ่งดับไป

สำหรับมโนทวารวิถีจิต มีวิถีจิตไม่มากเท่ากับ วิถีจิตทางปัญจทวารวิถีจิต เพราะว่า อารมณ์ที่ปรากฏนั้นๆ ไม่ได้กระทบกับปสาท (โดยตรง) จึง ไม่มี อตีตภวังค์ แต่ว่า ก่อนที่จิตจะมีการรำพึงถึงอารมณ์ ที่รับมาจากทางปัญจทวารวิถีจิต ก็จะต้องมี ภวังคจลนจิต ที่เกิดขึ้นแล้วดับไปแล้ว ภวังคุปัจเฉทจิต ก็ต้องเกิดขึ้น แล้วดับไป ต่อจากนั้น มโนทวาราวัชชนจิต ก็เกิดขึ้น

สำหรับจิตทางมโนทวารวิถีจิต คือ จิตที่ทำอาวัชชนกิจ มี ๑ ดวง คือ มโนทวาราวัชชนจิต ทำกิจรำพึงถึงอารมณ์ ทางมโนทวาร โดยไม่ต้องมีอารมณ์ใดๆ มากระทบทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ในชีวิตประจำวันขณะที่เกิดการนึกถึงเรื่องหนึ่งเรื่องใดก็ตามขณะนั้นเกิดจากเหตุ คือ มโนทวาราวัชชนจิต เกิดก่อน โดยเป็นวิถีจิตทางมโนทวาร เป็นขณะจิตที่ ๑ ทางมโนทวารซึ่ง ทำกิจรำพึงถึงอารมณ์ใดอารมณ์หนึ่งและเมื่อ "จิตขณะนี้" ดับไปแล้วก็เป็น "ชวนวิถีจิต" ซึ่ง เป็นวิถีจิตทางมโนทวาร เป็นขณะจิตที่ ๒ ทางมโนทวาร

สำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์จะนึกถึงอารมณ์นั้น ด้วยกุศลจิต หรือ อกุศลจิต ถ้าเป็นอกุศลจิต เช่น โลภมูลจิต หรือ โทสมูลจิตอกุศลจิตนั้น ก็จะเกิดขึ้น และดับไป ๗ ขณะจิต ต่อจากนั้น ถ้าเป็นอารมณ์ที่แรง ตทาลัมพณจิต ก็เกิดต่อ เป็น วิถีจิตทางมโนทวาร ขณะจิตที่ ๓

ฉะนั้น สำหรับทางมโนทวารวิถีจิตจะมีวิถีจิตเกิดขึ้น ๓ วิถีจิต คือ

อาวัชชนวิถีจิต เป็นวิถีจิตที่ ๑

ชวนวิถีจิต เป็นวิถีจิตที่ ๒

ตทาลัมพณวิถีจิต เป็นวิถีจิตที่ ๓

แนวทางเจริญวิปัสสนาโดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ถอดเทป โดย คุณย่าสงวน สุจริตกุล

ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศลแด่สรรพสัตว์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
สุภาพร
วันที่ 10 ก.พ. 2552

ขออนุโมทนา ค่ะ ขอเรียนถามว่า ขณะที่เป็นโวฎฐัพพนนจิต คือจิตที่นึกคิด จะต่างกับขณะจิตที่เป็นมโนทวารวิถีจิตหรือไม่ หรือว่า มโนทวารวิถีจิต ก็คือขณะจิตที่กำลังคิดถึงสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ไม่ใช่ปัญจทวาร และตทาลัมพณ ก็คือวิถีจิตที่เก็บทั้งกุศลจิตและอกุศลจิตไว้ ขอความกรุณาอธิบาย โวฎฐัพพนนจิต จะเป็นวิถีจิตเดียวกับมโนทวารวิถีหรือไม่ และตทาลัมพณ คือจิตที่เป็นที่เก็บทั้งกุศลและอกุศลไว้สืบต่ออารมณ์ที่จะมากระทบอีกใช่หรือไม่

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
คุณ
วันที่ 10 ก.พ. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
prachern.s
วันที่ 10 ก.พ. 2552

โวฎฐัพพนจิต เป็นจิตขณะเดียวที่เกิดขึ้นกระทำทางให้ชวนะเกิดขึ้น ต่างจากมโนทวารวิถี คือ มีจิตหลายขณะกระทำกิจ

ขอเชิญคลิกอ่าน ...

มโนทวารวิถี

โวฏฐัพพนกิจ

ตทาลัมพณกิจ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
suwit02
วันที่ 10 ก.พ. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pornpaon
วันที่ 13 ก.พ. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ajarnkruo
วันที่ 30 เม.ย. 2553

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ