การปฏิบัติวิปัสสนากัมฐานตามแนวสติปัฏฐาน ๔

 
ใส่ใจในธรรม
วันที่  13 ก.พ. 2552
หมายเลข  11250
อ่าน  2,144

การปฏิบัติวิปัสสนากัมฐานตามแนวสติปัฏฐาน 4 หากเดินจงกรมเพียงอย่างเดียวจะได้เพียง 2 ใน 4 ส่วน (คือ ได้ 1. กายานุปัสสนา และ 2. เวทนานุปัสสนา) ส่วน 3. คือ จิต และ 4. คือ ธรรม ต้องอาศัยการนั่งสมาธิ (แต่ต้องไม่ขึ้นถึง ฌาน) ถูกต้องหรือไม่อย่างไรครับ โปรดอธิบาย

ขอบคุณมากครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
paderm
วันที่ 16 ก.พ. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

การอบรมสติปัฏฐานไมได้หมายความจะต้องไปนั่งสมาธิ ตามความเป็นจริงแล้วสมาธิ คือเอกัคคตาเจตสิกที่กิดกับจิตทุกดวงอยู่แล้ว ขณะนี้ก็มีสมาธิแต่เป็นขณิกสมาธิซึ่งก็ แล้วแต่ว่าจะเป็นไปในฝ่ายกุศลและอกุศล ที่สำคัญการอบรมสติปัฏฐานต้องเริ่มจาก การฟังให้เข้าใจถูกก่อนว่าขณะนี้เป็นธรรม ไม่ต้องไปหา ไม่ต้องไปนั่ง ธรรมมีอยู่แล้ว ขณะนี้ ขาดเพียงสติและปัญญาที่จะรู้ความจริงของสภาพธรรมขณะนี้ และต้องมั่นคง เสมอว่าธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา สติและปัญญาที่จะรู้ความจริงไม่ใช่เกิดจากการนั่ง- สมาธิแต่เกิดจากเหตุที่ถูกต้องคือการฟังพระธรรมเรื่องสภาพธรรมจนเป็นความเข้าใจที่ มั่นคง จนปรุงแต่งให้สติและปัญญาเกิดระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่มีในขณะนี้ ซึ่ง ขณะที่สติและปัญญาเกิดในชีวิตประจำวัน ก็มีสมาธิหรือเอกัคคตาเจตสิกเกิดร่วมด้วยอยู่แล้ว จึงไม่ต้องไปนั่งครับแต่อบรมเหตุคือฟังธรรมให้เข้าใจก่อนว่าธรรมคืออะไร และ เมื่อเข้าใจธรรมจะปฏิบัติหน้าที่เอง ไม่ใช่เราไปปฏิบัติครับ

ขออนุโมทนา

เชิญคลิกอ่านเพิ่มเติมที่นี่ครับ

ทำไมไม่เห็นด้วยกับสมาธิ

การปฏิบัติวิปัสสนาจำเป็นต้องฝึกสมาธิก่อนหรือไม่

อุทิศกุศลสรรพสัตว์

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
ใส่ใจในธรรม
วันที่ 17 ก.พ. 2552

ขอบคุณมากครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ศิณอนงค์
วันที่ 18 ก.พ. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

ลองคลิกฟัง :

ปกิณกธรรม แผ่นที่1 ตอนที่ 020 นาทีที่4ขึ้นไป

ตอนนี้ กล่าวถึง ปัญญาพ้นทุกข์มาจากการไปนั่งสมาธิได้จริงหรือ ผู้ที่สอนให้ไปนั่งทำสมาธิ สอนถูกหรือไม่ รู้จริงหรือไม่ ต้องเข้าใจก่อนว่า สมาธิ คืออะไร ต้องแยกตัวปฏิบัติออกจากชีวิตประจำวันหรือไม่ ขณะที่เข้าใจพระธรรม มีทั้ง "ศีล สมาธิ ปัญญา" พร้อม ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ศิณอนงค์
วันที่ 18 ก.พ. 2552

สมาธิ คือ ความตั้งมั่นแห่งจิต ความไม่ฟุ้งซ่านแห่งจิต โดยปรมัตถธรรม ได้แก่ เอกัคคตาเจตสิก เอกัคคตาเจตสิก (สมาธิ) เกิดร่วมกับจิตทุกประเภท โดยประเภทใหญ่ๆ สมาธิแบ่งเป็น๒ ประเภท คือ สัมมาสมาธิ ๑ มิจฉาสมาธิ ๑ เอกัคคตาที่เกิดร่วมกับกุศลเป็นสัมมาสมาธิ เอกัคคตาที่เกิดร่วมกับอกุศลเป็นมิจฉาสมาธิ

จากกระทู้

สมาธิคืออะไร ปัญญาเกิดจากอะไร

(สัมมาสมาธิเป็นเหตุใกล้ให้เกิดปัญญา แต่สมัยนี้ให้ไปนั่งสมาธิ โดยไม่เข้าใจปรมัตถ-ธรรม ไม่เข้าใจแม้แต่คำว่า ปัญญาคืออะไร ธรรมะคืออะไร ก็เป็นการนั่งเจริญโลภะ ซึ่งเป็นมิจฉาสมาธิ เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ไกล)

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
พุทธรักษา
วันที่ 19 ก.พ. 2552

ถ้านั่งสมาธิ ด้วยจิตที่เป็นอกุศล เช่น โลภะ (ความติดข้องต้องการ) ก็ไม่ถูกต้องค่ะ จึงควรทราบ โดยการศึกษาพระธรรมอย่างละเอียด ว่าอกุศลจิต และ กุศลจิต ต่างกันอย่างไรจุดประสงค์ที่แท้จริงของการปฏิบัตินั้น คืออะไร ควรเป็นผู้ตรงต่อตนเอง ว่า ขณะไหน เป็นกุศล ขณะไหน เป็นอกุศล เพราะไม่มีใครบอกได้ นอกจากตนเอง จิตใจของตน ตนเองเท่านั้นที่รู้ ควรทราบเหตุผลที่แท้จริง ก่อนที่จะทำสิ่งใด ว่า ทำเพื่ออะไร.?หากทำไปด้วยความสงสัย ไม่เข้าใจ ไม่แน่ใจ ไม่รู้ ก็ไม่ควรทำเพราะไม่ใช่การปฏิบัติธรรมที่ถูกต้องแน่นอน และการปฏิบัติธรรม เป็นการถึงเฉพาะ คือการระลึก และ รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏในขณะนี้ตามปกติ ตามความเป็นจริง สภาพธรรมปรากฏให้รู้ในชีวิตประจำวันโดยไม่มีการไปสร้าง รูปแบบใดๆ หรือ สิ่งใดขึ้นมาเพื่อรู้ เพราะนั่น ไม่ใช่ความรู้. สภาพธรรมมีปรากฏให้รู้อยู่แล้ว ในขณะที่เห็นได้ยิน ได้กลิ่น ลิ้มรส กระทบสัมผัส และคิดนึก ตามปกติ ตามความเป็นจริง ในชีวิตประจำวันนี้เอง สติทำกิจระลึก เพื่อ ปัญญาทำกิจรู้ ความแตกต่างของสภาพธรรมทั้งหลายเพื่อประโยชน์สูงสุด คือ การละความเห็นผิด ที่ไปยึดถือสภาพธรรมทั้งหลาย ว่าเป็นตัวตน สัตว์ บุคคล อันเป็นเหตุแห่งการยึดถือ และ ทุกข์ ถามว่า ... แล้วถ้าไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล แล้วเป็นอะไร.? ตอบว่า .... (โดยย่อแล้ว) พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงสอนว่าสรรพสิ่งทั้งหลายที่เคยยึดถือว่า เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด เป็นเรา เป็นของเรา ฯ แท้จริงแล้ว ถ้าไม่ใช่นามธรรม ก็ต้องเป็น รูปธรรมที่เกิดขึ้น แล้วดับไป ตามเหตุตามปัจจัย ไม่มีใครสามารถบังคับบัญชาได้ เริ่มจากการฟัง ให้เข้าใจ ก่อนที่จะไปปฏิบัติ ทั้งๆ ที่ยังสงสัยศึกษาให้เข้าใจก่อน เพื่อเป็นปัจจัยให้เกิดความรู้ ในปฏิบัติที่ถูกต้องต่อไป การฟัง การศึกษาให้เข้าใจนั้น ไม่ใช่เรื่องที่ง่ายเพราะฟังแล้วต้องพิจารณาแล้วพิจารณาอีก จนกว่าจะเข้าใจไม่ใช่ว่าจะรีบร้อนให้เข้าใจได้เร็วๆ หากความสงสัยน้อยลงเท่าไรค วามเข้าใจก็มากขึ้นเท่านั้น

แต่เป็นเรื่องที่จำเป็น ที่ต้องอดทน ที่จะศึกษาให้เข้าใจก่อน จึงจะสามารถอบรมเจริญปัญญา หรือ เจริญวิปัสสนาภาวนา เพื่อละคลายความยึดถือ อันเป็นเหตุแห่งทุกข์ทั้งปวงเสียได้ ซึ่งต้องเป็นการอบรมที่ยาวนานมาก จนไม่ต้องคิดห่วงกังวล การขัดเกลากิเลส ที่สะสมมาเนิ่นนานในสังสารวัฏฏ์ก็ด้วยการเจริญกุศลทุกประการ และ การอบรมเจริญสติปัฏฐาน (มรรคมีองค์ ๘) มีหนทางนี้ หนทางเดียวเท่านั้น ทางลัดไม่มีค่ะ

ขอความเจริญในกุศลธรรมจงมีแก่คุณยิ่งๆ ขึ้นไป ค่ะ


ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 26 ธ.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ