ศีลเป็นความประพฤติเป็นไปทางกาย ทางวาจาที่ดีงาม
ศีล มีนัยที่หลากหลายกว้างขวาง แต่โดยมากที่เข้าใจกันนั้น ศีล เป็นความประพฤติเป็นไปทางกาย ทางวาจาที่ดีงาม เป็นการรักษากาย วาจาให้เป็นปกติ เรียบร้อย ผู้ที่รักษาศีล คือ ผู้ที่มีความประพฤติที่ดีงามทั้งทางกาย ทางวาจา ไม่ล่วงละเมิดสิกขาบทข้อต่างๆ คือ ไม่ฆ่าสัตว์ ไม่ลักทรัพย์ ไม่ประพฤติผิดในกาม ไม่พูดเท็จ ไม่ดื่มสุราเมรัยอันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท บุคคลผู้ที่มีศีลนั้นไม่ว่าจะเป็นวัยเด็กก็ดีวัยกลางคนก็ดี วัยชราก็ดี ย่อมเป็นผู้งามตลอดกาลเป็นนิตย์ งามโดยที่ไม่ต้องประดับตกแต่งด้วยเครื่องประดับต่างๆ เลย
ตามความเป็นจริงแล้ว บุคคลผู้ที่จะมีศีล ๕ ที่ครบบริบูรณ์ได้นั้น ต้องเป็นพระโสดาบัน สำหรับผู้ที่เป็นปุถุชน ยังมีโอกาสที่จะล่วงศีลได้ เป็นไปตามกำลังของกิเลส จะเห็นได้ว่า ในชีวิตประจำวัน มีทั้งความติดข้องยินดีพอใจ มีทั้งความโกรธขุ่นเคืองใจ ไม่พอใจ เป็นปกติธรรมดา แต่ถ้าถึงขั้นที่จะล่วงศีลเมื่อไหร่ เมื่อนั้นแสดงให้เห็นถึงกำลังของกิเลสว่ามีมาก เพราะฉะนั้น จึงไม่ควรประมาทกำลังของกิเลสเลย การมีโอกาสได้ฟังพระธรรม ได้ศึกษาพระธรรม อบรมเจริญปัญญาในชีวิตประจำวัน ย่อมเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่การดำเนินชีวิตของแต่ละบุคคลเป็นอย่างดียิ่ง ซึ่งจะทำให้เป็นผู้มีความประพฤติที่ดีงาม ทำในสิ่งที่ควรทำ พูดในสิ่งที่ควรพูด และงดเว้นในสิ่งที่ควรงดเว้น
วิรติเจตสิก สำมาวาจา เว้นจากวจีทุจริต สำมากัมมัต เว้นจากกายทุจริต สัมมาอาชีว เว้นจากวจีและกายทุจริตที่เป็นอาชีพ ทำหน้าที่เว้น ไม่มีตัวตนที่ไปเว้น การฟังธรรมเป็นปัจจัยให้วิรติทั้งสามมีกำลัง ที่จะทำหน้าที่เว้น พูดในสิ่งที่ควรพูด ทำในสิ่งที่ควรทำ คิดในสิ่งที่ควรคิด จึงเป็นการรักษาศึลให้บริสุทธิ เป็นผู้ที่งามตลอดการเป็นนิตย์ ครับ
มีผู้ตอบปัญหาธรรมะในวิทยุว่า ผู้ชายมีภรรยาหลายคนไม่ผิดศีลข้อ 3 ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น และก็มีมากกว่า 1 รายการที่ตอบว่าที่ไม่ผิดเพราะผู้ชายไม่ได้เป็นชู้กับภรรยา คนอื่น และสามารถเลี้ยงดูหญิงคนต่อไปได้ ทำให้คิดว่าที่เราเข้าใจมาตลอดว่าผิด ศีลข้อ 3 นั้นผิดหรือ? มีพระธรรมอ้างอิงหรือไม่ในข้อนี้คะ