ปุถุชนผู้สดับ กับ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ - อันธปุถุชน

 
พุทธรักษา
วันที่  20 มี.ค. 2552
หมายเลข  11696
อ่าน  3,154

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

คุณอรวรรณ ต่อจากที่ได้ฟัง mp 3 ก็จะกล่าวเรื่อง ปุถุชนผู้ได้สดับ กับ ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ขยายความว่า ปุถุชนผู้ได้สดับ นั้น หมายถึง (ผู้ที่) ฟังเข้าใจ ในสิ่งที่พระองค์ทรงตรัสรู้ (และ) ปัญญา ก็จะเป็นขั้นๆ คือ เมื่อฟังเข้าใจ แล้วมีสัญญาที่มั่นคง (คือ) มี ปัญญา ขั้นสัจจญาณ เกิดขึ้นก็จะทำให้สติ สามารถระลึก รู้ลักษณะ ของสภาพธรรม ที่ปรากฏ ดูเหมือนว่า แม้เป็น ปุถุชนผู้ได้สดับ ก็ยังต้องอาศัย การสะสม และ การฟัง ต้องมีขันติ มีวิริยะ ที่จะเข้าใจ

ท่านอาจารย์ เพราะฉะนั้น ก่อนนี้ เข้าใจคำแปลของ (คำว่า) ปุถุชน แต่ขณะที่เข้าใจอย่างนี้ ซึ้งถึงความเป็นปุถุชนไหม เพียงแปลได้ (ว่า) ปุถุชน คือ ผู้ที่หนาด้วยกิเลส นั่นคือ การแปลคำ แต่เวลาที่ไม่รู้ ลักษณะของสภาพธรรม ที่กำลังปรากฏ ตามความเป็นจริงทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เข้าใจ ลึกกซึ้งไหม ถึงความเป็นปุถุชน

ถ้าเห็นสภาพธรรมตามความเป็นจริงมากแค่ไหนก็เข้าใจถูกแค่นั้น ไม่ใช่เพียงแปลคำ แล้วจำว่า "ปุถุ" แปลว่าอะไร แต่ขณะที่กำลังไม่เข้าใจไม่รู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจนั่นคือ ปุถุชน แน่นอน ยังสงสัยคำนี้ไหมคะ

คุณอรวรรณ ฟังแล้ว จะชัดมาก ว่า สภาพธรรมที่ปรากฏทางตา เห็นเป็นดอกไม้ เห็นเป็นอะไรๆ เห็นเป็นท่านอาจารย์ ก็รู้ว่าทุกครั้งที่เห็น หลังจากเห็น ก็คือ เป็นอวิชชา ก็ไม่สามารถที่จะรู้ ตรงลักษณะ ของสภาพธรรมจริงๆ ก็ข้าม "ปรมัตถธรรม" ไปรู้ ในสิ่งที่ "นึกคิด" ตรงนี้ คือ เป็นปุถุชน ผู้หนาไปด้วยอวิชชา และ หนาไปด้วยโลภะ ที่ติดข้องในสภาพ ที่เป็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด

เพราะฉะนั้น ยิ่งฟัง ก็ยิ่งเห็น ความเป็นผู้ที่หนาไปด้วยกิเลสเมื่อมาฟังที่นี่ ก็จะทราบ ว่า จะพ้นจาก "ความเป็นปุถุชน" (ได้) ด้วย ปัญญา ที่อบรม ให้รู้ความจริงได้ จนจรดเยื่อในกระดูก ด้วย ความเข้าใจ จนกว่าปัญญา ขั้นสัจจญาณ จะเกิดแล้วก็เป็นเหตุปัจจัยให้สติเกิดสามารถระลึกรู้ สภาพธรรม ตามที่ฟังเข้าใจนั้น แต่ดูเหมือนว่าได้สะสมอวิชชา กับ ความติดข้อง มามากจนยิ่งทราบว่า หลังการเห็น การได้ยิน จะเป็น ความไม่รู้ ความติดข้อง ความพอใจซึ่งก็ยิ่งสะสมกิเลสมากขึ้น ซึ่งถ้าไม่ใช่ปัญญา ก็ยาก ที่จะเห็นความจริงได้

ท่านอาจารย์ ก็จะเห็นถึง คุณประโยชน์ ของความเข้าใจ ซึ่งไม่เคยรู้ ไม่เคยเข้าใจเลย ก็เริ่มจะเข้าใจ "คำที่ใช้" ในพระไตรปิฎก ปุถุชน และ กัลยาณปุถุชน ก็ยังดีกว่า อันธปุถุชน ซึ่งมืดบอด ไม่รู้อะไรทั้งสิ้น

คุณอรวรรณ เพราะฉะนั้น คำที่ท่านอาจารย์ กล่าวว่า "สะสมบุญมา ที่จะได้ฟัง พระธรรมคำสอน ก็เป็นการตั้งต้นที่จะได้เริ่มเข้าใจความจริงซึ่งถ้าไม่ได้ฟัง ก็ไม่มีทาง"

ท่านอาจารย์ "ขันติ เป็นตบะอย่างยิ่ง"ใน "พระโอวาทปาติฏิโมกข์"

พื้นฐานอภิธรรมวันอาทิตย์ ที่ ๓๑ สิงหาคม ๒๕๕๑ ณ อาคารมูลนิธิศึกษาและเผยแพร่พระพุทธศาสนา บรรยายโดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ ถอดเทปโดยคุณย่าสงวน สุจริตกุล


ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
JANYAPINPARD
วันที่ 20 มี.ค. 2552

สดับ หมายถึง ปัญญาทั้ง 3 ขั้น ได้แก่

สุตมยปัญญา

จินตามยปัญญา

ภาวนามยปัญญา

...หรือเปล่าคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prachern.s
วันที่ 20 มี.ค. 2552

โดยตรงคำว่าสดับหมายถึง สุตมยปัญญา แต่ก็รวมปัญญาขั้นอื่นด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
suwit02
วันที่ 20 มี.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
เมตตา
วันที่ 20 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wirat.k
วันที่ 21 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
วันชัย๒๕๐๔
วันที่ 21 มี.ค. 2552

"ขันติ เป็นตบะอย่างยิ่ง" ใน "พระโอวาทปาติฏิโมกข์" นะคะ

กราบอนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
saifon.p
วันที่ 21 มี.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 19 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ