ภิกษุณีเถรวาท หมดไปจากโลกแล้ว

 
ภพฺพาคมโน
วันที่  3 พ.ค. 2549
หมายเลข  1171
อ่าน  6,319

เหตุใด ภิกษุณีเถรวาท จึงหมดไปจากโลกคะ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 3 พ.ค. 2549

เหตุที่ทำให้พระภิกษุณีที่ปฏิบัติตรงตามพระธรรมวินัย ไม่มีจนถึงยุคปัจจุบัน น่าจะมีเหตุหลายประการ คือ

๑. เพศหญิงไม่เหมาะที่เป็นเพศสมณะ เพราะไม่เข้มแข็งเหมือนบุรุษเพศ แม้แต่พระพุทธองค์ก็ไม่ทรงประสงค์ให้สตรีบวชในพระธรรมวินัยนี้ เพราะเป็นเหตุให้พระศาสนาเสื่อม

๒. พระวินัยบัญญัติที่มีอยู่สำหรับพระภิกษุณีมีมาก และขั้นตอนการบวชก็ทำได้ยากกว่าพระภิกษุ เช่นผู้ที่ประสงค์จะบวช ต้องประพฤติเป็นนางสิกขมานา รักษาสิกขาบท ๖ ข้อ โดยไม่ขาดเลยต่อเนื่องกัน ๒ ปี ถ้าขาดข้อใดข้อหนึ่ง เมื่อไหร่ต้องเริ่มนับใหม่ และพระภิกษุณีที่เป็นอุปัชฌายะจะบวชพระภิกษุณีได้ ปีละ ๑ รูป และเมื่อปีนี้บวชแล้ว ต้องเว้นไปอีก ๑ ปีจึงจะบวชได้ และที่สำคัญภิกษุณี ต้องถือครุธรรม ๘ ข้อ ตลอดชีวิต

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
study
วันที่ 3 พ.ค. 2549
 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
รังสิต
วันที่ 3 พ.ค. 2549

ยังไม่หมดไปนะครับ แต่พระภิกษุณีมาไม่ถึงเมืองไทยต่างหาก ก็เห็นหลายท่านไปบวชมาจากลังกานี่ครับ พุทธศาสนานิกายบ้านเราก็มาจากลังกาเหมือนกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
สุญญตา
วันที่ 26 ก.ค. 2549

ก็เพราะสตรีออกจากเรือนบวช เป็นบรรพชิตในธรรมวินัยที่ตถาคตประกาศแล้ว บัดนี้ พรหมจรรย์จักไม่ตั้งอยู่ได้นาน สัทธรรมจักตั้งอยู่ได้เพียง ๕๐๐ ปีเท่านั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
สุญญตา
วันที่ 26 ก.ค. 2549

ขอกราบเรียนถามว่า ข้อความข้างต้นหมายถึงอะไรคะ ถ้า พระสัทธรรม ตั้งอยู่ได้เพียง ๕๐๐ ปี เพราะ สตรีบวช....? ตอนนี้ พระสัทธรรม ก็ยังตั้งอยู่ได้เพราะสตรีบวชไม่ใช่หรือคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
study
วันที่ 28 ก.ค. 2549

ในอรรถกถาแก้คำว่า พระสัทธรรม ในที่นี้หมายถึง การบรรลุคุณวิเศษของคนในแต่ละยุค โดยเฉพาะ ๕๐๐ ปีแรก ถ้าผู้หญิงบวชตั้งอยู่เพียงเท่านั้น แต่ทรงบัญญัติครุธรรม ทำให้พระสัทธรรม คือการบรรลุเป็นพระอรหันต์แตกฉานด้วยปฏิสัมภิทา ตั้งอยู่อีก ๕๐๐ ปี รวมเป็น ๑,๐๐๐ ปี

เชิญคลิกอ่านได้ที่ ...

ครุธรรมอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
wirat.k
วันที่ 29 ก.ค. 2549

ไม่บวชก็ศึกษาพระธรรมวินัยได้นี่ครับ ในสมัยนี้หากสะสมบารมีมาแก่กล้ามากพอ เมื่อเหตุสมควรแก่ผล ในกาลนี้หลักฐานจากพระไตรปิฎกก็แสดงไว้ว่า สามารถมีผู้บรรลุธรรมถึงขั้นพระอนาคามีบุคคล และโปรดศึกษาว่า เนกขัมมบารมี หมายความถึงอย่างไร? แล้วผู้ที่คิดอยากบวช ในขณะนี้มีดำริออกจากกาม คือความติดข้องในรูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส แล้วหรือยัง? หรือต้องการชื่อว่าเป็น "นักบวช ... เท่านั้นครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
สุญญตา
วันที่ 30 ก.ค. 2549
ขอเรียนถามอีกครั้งว่า ในยุคนี้ เป็นยุคที่มีแต่พระอนาคามี ไม่มีพระอรหันต์แล้วหรือคะ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
บ้านธัมมะ
วันที่ 30 ก.ค. 2549

[เล่มที่ 37] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย สัตตก-อัฏฐก-นวกนิบาต เล่ม ๔ หน้าที่ 554

ก็คำว่า วสฺสสหสฺสํ นี้ ตรัสโดยมุ่งถึงพระขีณาสพผู้บรรลุปฏิสัมภิทาเท่านั้น แต่เมื่อกล่าวให้ยิ่งไปกว่านั้น ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระขีณาสพผู้สุกขวิปัสสก ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระอนาคามี ๑,๐๐๐ โดยมุ่งถึงพระสกทาคามี ๑,๐๐๐ ปี โดยมุ่งถึงพระโสดาบันปฏิเวธสัทธรรมถูกดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปี โดยอาการดังกล่าวมานี้แม้พระปริยัติธรรมก็ดำรงอยู่ได้ ๕,๐๐๐ ปีนั้นเหมือนกัน เพราะเมื่อปริยัติธรรมไม่มี ปฏิเวธธรรมก็มีไม่ได้ แม้เมื่อปริยัติธรรมไม่มี ปฏิเวธธรรมไม่มี ก็เมื่อปริยัติธรรมแม้อันตรธานไปแล้วเพศ (แห่งบรรพชิต) ก็จักแปรเป็นอย่างอื่นไปแล

จบ อรรถกถาโคตมีสูตรที่ ๑

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
สุญญตา
วันที่ 2 ส.ค. 2549

ท่านอาจารย์คะ ไม่ทราบว่าในพระไตรปิฎกได้กล่าวถึง ใครบ้างที่ ลงโลกันตรนรกคะ แล้วลงไปเพราะกรรมใดคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
study
วันที่ 4 ส.ค. 2549

เชิญคลิกอ่านได้ที่...

กรรมหนักย่อมเกิดในโลกันตรนรก

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
สุญญตา
วันที่ 2 พ.ย. 2549
พระภิกษุณี นิกายอื่น เหมือน พระภิกษุณี ในสมัยพุทธกาลหรือไม่คะ
 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
study
วันที่ 3 พ.ย. 2549

ยังไม่มีข้อมูลของพระภิกษุณีนิกายอื่น ว่า เหมือนพระภิกษุณีในสมัยพุทธกาลหรือไม่ ถ้าปฏิบัติตรงตามพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ทุกข้อ ก็ควรจะเหมือน ถ้าไม่ปฏิบัติตรงตามพระวินัยที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้ทุกข้อ ก็คงไม่เหมือน

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
ภพฺพาคมโน
วันที่ 8 มิ.ย. 2550

พระภิกษุณี นิกายอื่น เหมือน พระภิกษุณี ในสมัยพุทธกาลหรือไม่คะ -- ไม่ค่ะ มีคนบอกว่าภิกษุณีมหายาน มีรำไทเก๊กด้วย

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
kanchana
วันที่ 17 ก.พ. 2551

กราบขอบคุณท่านทุกท่านที่ให้ข้อมูล ฟังมาว่า สิ่งที่ก่อให้เกิดกามสัญญาสูงสุดแก่บุรุษคือสตรี และสิ่งที่ก่อเกิดกามสัญญาสูงสุดแก่สตรีคือบุรุษ ในเมื่อพระไตรปิฎกได้จารึกว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าไม่ปรารถนาให้สตรีบวชเป็นภิกษุณี ดิฉันที่เป็นเพศสตรีเองเข้าใจได้ระดับหนึ่งว่า เราสมควรเป็นอุบาสิกาที่สมบูรณ์ และสามารถบรรลุธรรมได้เช่นกัน

ขอให้กำลังใจกับคนอื่นๆ ที่เป็นสตรีเพศด้วย ที่บ้านธัมมะนี้ท่าน อ.สุจินต์ เป็นตัวอย่างที่สมบูรณ์ที่บำเพ็ญตนเป็นอุบาสิกา สิกขาธรรมมาทั้งชีวิตจนมีสมาชิกมากมายที่สนใจสิกขาธรรมเพิ่มขึ้นๆ ขออนุโมทนาด้วย

ลำพังศีล ๕ ที่บริสุทธิ์ พุทธบริษัทต้องใช้ความพยายาม ตั้งมั่นอย่างสูงแล้ว ขอให้สตรีทั้งหลายที่เป็นอุบาสิกา เป็นตัวอย่างที่ดีนำพากุลบุตรให้ได้สิกขาธรรม และนำกุลธิดาน้อมนำให้ช่วยกันทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาต่อๆ ไป การสิกขาธรรมเป็นเรื่องของแต่ละบุคคล

สรุปแล้วต้องอบรมเจริญธรรมตามกาลบ่อยๆ และคบแต่กัลยาณมิตรในธรรม จะได้แก้ข้อสงสัย ไม่หลงทาง ไปทางโลกุตตรได้ถูก

สาธุ อนุโมทนามิ

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
kanchana
วันที่ 24 ก.พ. 2551

น่าสังเกตว่าตามวัดต่างๆ พิธีบุญ สำนักธรรม ผู้ที่ไปประกอบบุญพิธีต่างๆ มักเป็นสตรีเพศ ทั้งๆ ที่เธอเหล่านั้นไม่สามารถจะบวชได้ และการที่มีสตรีเพศไปมากๆ พระภิกษุสามเณรยิ่งต้องสำรวมกันมาก ถามว่า หากสตรีเพศจะศึกษาธรรมที่บ้านมากๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
wannee.s
วันที่ 24 ก.พ. 2551

พระพุทธเจ้าได้ตรัสว่า ควรปฏิบัติกับผู้หญิง คือไม่เห็นได้เป็นการดี ถ้าจำเป็นต้องเห็นก็อย่าพูดด้วย ถ้าจำเป็นต้องพูดด้วยให้มีสติค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
dhammanath
วันที่ 6 ก.ค. 2553

คุณ kanchana เข้าใจถูกแล้วครับ เอาแค่เสียงอย่างเดียว ท่านกล่าวไว้ว่า ไม่มีเสียงอื่น ชื่อว่าสามารถแผ่ไปทั่วสรีระของบุรุษทั้งหลายแล้วตั้งอยู่ เหมือนเสียงหญิง

พระพุทธเจ้าตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นรูปอื่น เสียงอื่น กลิ่นอื่น ... แม้สักอย่างอันจะยึดจิตของบุรุษตั้งอยู่ เหมือนรูปหญิง เสียงหญิง กลิ่นหญิง ... นะภิกษุทั้งหลาย" และพระองค์ก็ตรัสถึงฝ่ายตรงข้ามกันด้วย คือตรัสว่า "ภิกษุทั้งหลาย เราไม่เห็นรูปอื่น เสียงอื่น กลิ่นอื่น ... แม้สักอย่าง อันจะยึดจิตของสตรีตั้งอยู่ เหมือนรูปบุรุษ เสียงบุรุษ กลิ่นบุรุษ ... นะภิกษุทั้งหลาย"

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
dhammanath
วันที่ 7 ก.ค. 2553

ในมติชนสุดสัปดาห์ ฉบับประจำวันที่ ๗ - ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๕๓ หน้า ๕๘ คอลัมน์ "ธรรมลีลา" โดยฉัตรสุมาลย์ ได้ให้รายละเอียดไว้ว่า ภิกษุณีสงฆ์สายเถรวาทนั้น เป็นสิ่งใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นอย่างจริงจังเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๑ นี้เอง ภิกษุณีเถรวาทในปัจจุบันสืบสายการบวชโดยอุภโตสงฆ์ (สงฆ์สองฝ่าย) คืออาศัยการอุปสมบททางฝ่ายภิกษุณีจีนจากไต้หวัน ที่ถือวินัยธรรมคุปต์ซึ่งเป็นกิ่งนิกายของเถรวาทอีกทีหนี่ง และในนิกายนี้มีสิกขาบทสำหรับภิกษุณี ๓๔๘ ข้อในการอุปสมบทนานาติครั้งนั้น มีการอุปสมบทภิกษุและภิกษุณีประมาณ ๑๔๐ รูป เป็นภิกษุณีศรีลังกา ๒๐ รูป ตัวท่านเองชื่อธัมมนันทา (ผู้เขียน) บวชเป็นภิกษุณี โดยมีภิกษุณีศรีลังกา ชื่อสัทธาสุมนาเป็นปวัตตินี วัดของท่าน คือ วัดทรงธรรมกัลยาณี นอกจากนี้ท่านยังให้รายละเอียดอีกหลายอย่าง สนใจหาอ่านได้ตามที่เขียนไว้ข้างบน

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ