จากวิกฤติให้เป็นโอกาส
สภาพธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา เมื่อผู้อื่นประมาทอยู่ ผู้มีปัญญาเห็นภัยจึงอบรมปัญญาของตนเอง เจริญกุศลทุกๆ ประการ ไม่ประมาทอยู่..ชีวิตเหลือน้อยแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๑ -หน้าที่ 354
อปฺปมตฺโต ปมตฺเตสุ สุติเตสุ พหุชาคโร อพลสฺสว สีฆสฺโส หิตฺวา ยาติ สุเมธโ ส. ผู้มีปัญญาดี เมื่อชนทั้งหลายประมาทแล้ว ไม่ประมาท, เมื่อชนทั้งหลายหลับแล้ว ตื่นอยู่โดย มาก ย่อมละบุคคลผู้มีปัญญาทรามไปเสีย ดุจม้าตัวมี ฝีเท้าเร็ว ละทิ้งตัวหากำลังมิได้ไปฉะนั้น
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ -หน้าที่ 45
เทพบุตร. อายุของมนุษย์มีประมาณเท่าไร? เทพธิดา. ประมาณ ๑๐๐ ปี. เทพบุตร. เท่านั้นเองหรือ? เทพธิดา. ค่ะ นาย. เทพบุตร. พวกมนุษย์ถือเอาอายุประมาณเท่านี้เกิดแล้ว เป็นผู้ประมาทเหมือนหลับ ยังกาลให้ล่วงไปหรือ? หรือทำบุญมีทานเป็นต้น? เทพธิดา. พูดอะไร นาย, พวกมนุษย์ประมาทเป็นนิตย์ ประหนึ่งถือเอาอายุตั้งอสงไขยเกิดแล้ว ประหนึ่งว่าไม่แก่ไม่ตาย. ความสังเวชเป็นอันมาก ได้เกิดขึ้นแก่มาลาภารีเทพบุตรว่า ทราบว่า พวก มนุษย์ถือเอาอายุประมาณ ๑๐๐ ปีเกิดแล้ว ประมาทนอนหลับอยู่. เมื่อไรหนอ? จึงจักพ้นจากทุกข์ได้
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ -หน้าที่ 63
พระศาสดา ตรัสว่า ไม่ควรระลึกถึงถ้อยคำที่ชนผู้ไม่เสมอภาคกันเห็นปานนี้กล่าว การไม่คำนึงถึงถ้อยคำเห็นปานนี้แล้ว ตรวจดูกิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำของตนเท่านั้นจึงควร ดังนี้แล้ว ตรัสพระคาถานี้ว่า :- บุคคลไม่ควรทำคำแสยงขนของคนเหล่าอื่นไว้ ในใจ, ไม่ควรแลดูกิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำของคน เหล่าอื่น, พึงพิจารณากิจที่ทำแล้วและยังมิได้ทำ ของตนเท่านั้น
บาทพระคาถาว่า น ปเรส กตากต ความว่า ไม่ควรแลดูกรรมที่ทำแล้วและยังไม่ทำแล้ว ของคนเหล่าอื่น อย่างนั้นว่า " อุบาสกโน้น ไม่มี ศรัทธา ไม่เลื่อมใส, แม้วัตถุมีภิกษาทัพพีหนึ่งเป็นต้นในเรือน เขาก็ไม่ ให้ สลากภัตเป็นต้น
บาทพระคาถาว่า อตฺตโน ว อเวกฺเขยฺย ความว่า กุลบุตรผู้บวชด้วย ศรัทธา เมื่อระลึกถึงโอวาท๑นี้ว่า บรรพชิต พึงพิจารณาเนืองๆ ว่า 'วันคืนล่วงไปๆ เราทำอะไรอยู่" ดังนี้แล้ว ก็พึงแลดูกิจที่ทำแล้วและยังมิได้ ทำของตนอย่างนั้นว่า "เราไม่อาจจะยกตนขึ้นสู่ไตรลักษณ์ คือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา แล้วทำให้เกษมจากโยคะหรือหนอ?
ชีวิตนี้สั้นนัก
(เป็นของน้อยและเปราะบาง)
ขออนุโมทนาค่ะ