สติและสติปัฏฐาน

 
audience
วันที่  10 พ.ค. 2549
หมายเลข  1212
อ่าน  1,537
สติและสติปัฏฐานต่างกันอย่างไร

  ความคิดเห็นที่ 1  
 
study
วันที่ 11 พ.ค. 2549

สติ เป็นโสภณธรรมเกิดร่วมกับโสภณจิต โสภณจิตเกิดขึ้นบางครั้งเป็นไปในทาน บ้าง บางครั้งเป็นไปในศีลบ้าง บางครั้งเป็นไปในสมถภาวนาบ้าง บางครั้งเป็นไปใน วิปัสสนาภาวนาบ้าง ฉะนั้น สติจึงมีหลายระดับ

สติ ที่เป็นไปในทาน ศีล สมถะ เป็นสติ แต่ไม่ใช่สติปัฏฐาน ส่วนสติที่ระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมที่กำลังปรากฏ คือ กาย เวทนา จิต และ ธรรม เรียกว่า สติปัฏฐาน

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
คุณประมาท
วันที่ 11 พ.ค. 2549

ทำไมในสติปัฏฐานสูตรจึงมีการแสดงทั้งสมถะและวิปัสสนา ทำให้เกิดมีข้อสังสัยว่า สติในสมถะก็เรียกว่าสติปัฏฐานเหมือนกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
prapas.p
วันที่ 14 พ.ค. 2549

ในสติปัฏฐานทั้ง ๔ ในกายานุปัสสนา.. ทรงแสดงให้เห็นกายในกาย คือ ให้ถ่ายถอน ส่วนของกายในทุกบรรพะ (ทุกหมวด) คือ รูปธรรมที่กายทั้งหมด ไม่ว่าจะเจริญสมถะ หรือวิปัสสนา เมื่อท่านอธิบายการเจริญอานาปานสติ เป็นได้ทั้งสมถะและวิปัสสนา แต่ จุดประสงค์ของการเจริญสติปัฏฐาน คือ สำหรับผู้ที่เจริญอานาปานสติอยู่แล้ว หรือผู้ที่ ควรอบรม พระผู้มีพระภาคการสอนการเจริญอานาปานสติ (ทั้งสองบุคคลคือผู้เจริญ อยู่แล้ว และสามารถที่จะฟังแล้วจึงเจริญได้ ต้องรู้ว่าเราใช่บุคคลทั้งสองที่กล่าวหรือไม่ ต้องตรงกับตัวเอง โดยสอบทานกับพระธรรมวินัยอย่างละเอียด) ส่วนกายานุปัสสนา ทุกหมวด คือ จะเป็นลมหายใจ การนั่งเจริญ ยืน นอน หรือเดิน หรือ อวัยวะ มีผม เป็นต้น.. ไม่ว่ากายเราจะเจริญกุศล สมถะ วิปัสสนา หรือทำอกุศลใดๆ อยู่ก็ตาม ให้ ถ่ายถอนการยึดถือส่วนของกาย ว่าเป็นเรา เป็นตัวตน เมื่อท่านแสดงอย่างนี้ก็ทำให้ ผู้ที่เป็นสาวกสามารถถ่ายถอนตัญหาและทิฏฐิ และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก (ขันธ์ ๕) ได้ และไม่ใช่แสดงแต่เพียงกายานุปัสสนา.. ก็ยังแสดงเวทนาต่างๆ แม้กายจะอยู่ใน อิริยาบถหรือกิริยาใดๆ ตามที่ทรงแสดง ก็ยังให้เห็น เวทนาในเวทนา ว่าก็เป็นเพียง ปรมัตถธรรม ไม่ใช่สัตว์บุคลตัวตนใดๆ จิตก็เช่นเดียวกันและธรรมที่ไม่ใช่กาย เวทนา จิต ก็ให้รู้ว่าธรรมที่เหลือจากที่กล่าวมา ก็ไม่ให้เว้นว่าเป็นสภาวธรรม เพียงสักว่าสติ- ปัฏฐานอาศัยระลึกรู้ทุกอย่างคือปรมัถธรรมตามความเป็นจริง ที่เราเข้าใจผิดว่าเป็นเราเจริญสมถะอย่างใดอย่างหนึ่งในกรรมฐาน ๔๐ อยู่ หรือเราเจริญวิปัสสนาอยู่ หรือทำ อกุศลอยู่

สรุปได้ว่า เมื่อพบข้อความการเจริญสมถะในสติปัฏฐานสูตร ก็อย่าด่วนใจร้อนว่า พยัญชนะว่า สติปัฏฐาน มีการเจริญอานาปานสติ ก็ต้องเจริญตามแบบอย่าง ต้องศึกษา ก่อนว่าหมายถึงกุศลอะไร ใครเจริญ เพื่ออะไร และในตัวอย่างการบรรลุของพระสาวก มากมาย ก็ไม่ได้เจริญแต่อานาปานสติทุกท่านไป แต่ความเข้าใจในเหตุแห่งการละ กิเลสนั่นคือเจริญปัญญา เพื่อรู้ว่าทุกอย่างในชีวิตที่เข้าใจผิดอยู่ว่า เป็นตัวตน สัตว์ บุคคล วัตถุสิ่งต่างๆ ที่แท้แล้วทุกอย่าง คือ ปรมัตถธรรม เมื่อปรมัตถธรรมมีอยู่จริง จึงเกิดการคิดนึกสมมติบัญญัติขึ้นได้ แล้วไม่รู้จึงยึดถือผิด เมื่อพระผู้มีพระภาคแสดงพระไตรปิฏกไว้ ก็สามารถตรวจสอบได้ตามความเป็นจริง ก็จะ พบว่า หากยุคนี้ แล้วต้องอาศัยการฟังมาก ศึกษามาก ไม่เหมือนครั้งพุทธกาล

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
คุณประมาท
วันที่ 15 พ.ค. 2549

ถ้าความหมายของสติปัฏฐาน คือ สติมีหน้าที่ระลึก ปัฏฐานหมายถึงอารมณ์ที่สติระลึก ในสมถะ ก็มีสติที่ระลึก และมีอารมณ์ที่สติระลึกด้วย ทำไมสติปัฏฐานจะหมายถึงสมถะไม่ได้

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
prapas.p
วันที่ 15 พ.ค. 2549

สมถภาวนา มีสติปัญญาความรู้เพียงการ ข่ม กิเลสจากอกุศล ไม่ไช่ความรู้ที่จะ ละ กาย เวทนา จิต ธรรม ว่าเป็น ตัวตน ได้ ซึ่งต่างกันกับสติปัฏฐาน แม้จะมีอารมณ์ที่เหมือนกัน เช่น สติปัฏฐานมีลมหายใจเป็นอารมณ์ สติปัฏฐานรู้ว่าเป็นเพียงรูปธรรม ไม่ใช่ลมหายใจของเราและไม่มีตัวตนที่กำลังรู้ จึงจะละตัณหาและทิฏฐิและไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก (ขันธ์๕) ได้

แต่สมถภาวนารู้ว่า ตัวเรา ด้วย และมีลมหายใจ ของเรา ด้วย และรู้ว่า ตัวตน กำลังสงบจากอกุศล เพราะมีลมหายใจเป็นอารมณ์ จึงไม่ใช่สติปัฏฐาน ชี้ให้เห็นว่า สมถภาวนา มีลมหายใจเป็นอารมณ์เหมือนกัน แต่ต่างกันที่ระดับขั้นของปัญญา

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
saowanee.n
วันที่ 17 พ.ค. 2549

ทำไมสติปัฏฐานจะหมายถึงสมถะไม่ได้?

สติปัฏฐาน is not สมถะ, การเจริญสติปัฎฐาน = การเจริญมรรค. When สติปัฏฐาน arises, there are สมถะ and วิปัสสนา because that particular moment is adhisila, adhicitta and adhipanna (which is samma magga) .

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
คุณประมาท
วันที่ 21 พ.ค. 2549

อนุโมทนาทุกคำตอบค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
prapas.p
วันที่ 22 พ.ค. 2549

จากข้อความในอรรถกถาแห่งธรรมทายาทสูตร ท่านแสดงให้เห็นว่า

1. สมถะนำหน้าวิปัสสนานี้เป็นสมถภาวนา ไม่ใช่สติปัฏฐาน

2. วิปัสสนานำหน้าสมถะ ขอแยกอธิบายเป็นเป็น 3 ข้อ

2.1 สติปัฏฐานที่ยังไม่ถึงวิปัสสนาญาณเอกัคคตาเจตสิก ที่เกิดร่วมด้วย เป็น สมถะ ที่ยังไม่ไช่ความสงบที่มีกำลัง ไม่ใช้ชื่อว่า สมถภาวนา และยังไม่ เรียกว่าสมถะและวิปัสสนาอยู่คู่กัน

2.2 สติปัฏฐานที่เป็น วิปัสสนาญาณ เอกัคคตาเจตสิกที่เกิดร่วมด้วย เป็น สมถะ ที่ถึงความสงบยิ่งขึ้น ไม่เรียกกุศลขั้นสมถภาวนา เพราะเป็นสติ- ปัฏฐาน อรรถกถาบางแห่งเรียกว่าสมถะและวิปัสสนาอยู่คู่กัน เพราะจิต มีเอกัคคตาที่ตั้งมั่นคงมากกว่าสติปัฏฐานที่ไม่ถึงวิปัสสนาญาณ

2.3 สติปัฏฐาน ที่เป็นไปในขณะแห่งโลกุตตรมรรค เอกัคคตาเจตสิก ที่เกิด ร่วมด้วย เป็นสมถะที่ถึงความสงบจนเป็นอัปปนาสมาธิ ไม่เรียกกุศลขั้น สมถภาวนา เพราะเป็นสติปัฏฐาน สมถะและวิปัสสนาอยู่คู่กัน

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
prapas.p
วันที่ 22 พ.ค. 2549

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 28

[๓๑๙] สังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น เป็นไฉน? ผัสสะ เจตนา วิตก วิจาร เอกัคคตา วิริยินทรีย์ สมาธินทรีย์ชีวิตินทรีย์ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสมาธิ วิริยพละ สมาธิพละ อหิริกพละ อโนตตัปปะ โลภะ โมหะ อภิชฌา มิจฉาทิฏฐิ อหิริกะ อโนตตัปปะ สมถะ ปัคคาหะ อวิกเขปะ หรือนามธรรมที่อิงอาศัยเกิดขึ้นแม้อื่นใด เว้นเวทนา ขันธ์ สัญญาขันธ์ วิญญาณขันธ์ มีอยู่ในสมัยนั้น นี้ชื่อว่าสังขารขันธ์ มีในสมัยนั้น ฯลฯ สภาวธรรมเหล่านี้ชื่อว่า ธรรมเป็นอกุศล ฯลฯ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
prapas.p
วันที่ 22 พ.ค. 2549
สรุป คำว่า สมถะ เป็นเอกัคคตาเจตสิกเกิดกับจิตทุกประเภท มีอกุศล กุศล วิบากกิริยา จะเรียกว่า สมถะทั้งหมดเ ป็นสติปัฏฐานไม่ได้ แต่เมื่อกล่าวถึงอธิจิตในสติปัฏฐาน ก็หมายถึงเอกัคคตา (สมถะที่เป็นกุศลธรรม) เกิดร่วมด้วยกับสติปัฏฐาน
 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
saowanee.n
วันที่ 23 พ.ค. 2549

สมาธิหมายถึงความตั้งมั่นแห่งจิต คือ เอกัคคตาเจตสิก เกิด กับจิตทุกประเภท คือ อกุศล กุศล วิบาก กิริยา แต่ สมถะหมายถึงความสงบ คือ กายปสสัทธิเจตสิก และ จิตตปสสัทธิเจตสิก เกิดกับกุศลจิตเท่านั้น เพราะฉะนั้นเมื่อสติปัฏฐานเกิดจึงมีทั้งสมถะ (ความสงบ) และวิปัสสนา (ปัญญา) ทั้งสมถภาวนาและวิปัสสนาภาวนา เป็น มหากุศลญาณสัมปยุต

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
prapas.p
วันที่ 31 พ.ค. 2549

พระอภิธรรมปิฎก ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๒ - หน้าที่ 12, 16, 17-18

บาลีนิทเทสวาร

เชิญคลิกอ่านที่ สมาธิ...สมถะ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
prapas.p
วันที่ 31 พ.ค. 2549
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ