รังเกียจโลภะในลักษณะใด?

 
สารธรรม
วันที่  8 พ.ค. 2552
หมายเลข  12287
อ่าน  1,215

(พระเจดีย์ ณ วัดป่าจี้ อ.เมือง จ.เชียงใหม่)

ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย

ข้อความบางตอนจาก แนวทางเจริญวิปัสสนา ครั้งที่ ๙๘๐

บรรยายโดย ท่านอาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์

... รังเกียจโลภะในลักษณะใด? ...

ณะใดที่เกิดระลึกได้ ขณะนั้นเป็นกุศล แต่ว่าก่อนที่จะระลึกอย่างนั้น การเห็นดับไป (เสมือน) พร้อมกับความยินดีพอใจในสิ่งที่เห็น ใครจะรู้

ผู้ที่อบรมเจริญสติปัฏฐานนี้ จะมีความละเอียดขึ้นจากการเห็นอกุศลอย่างแรง เห็นว่าเป็นสิ่งที่เป็นอกุศล แล้วก็มีความรังเกียจในการยึดถือสภาพธรรมนั้นว่าเป็นตัวตนเสียก่อน ไม่ใช่รังเกียจว่าเป็นอกุศลเท่านั้น

นี่เป็นความต่างกัน ส่วนมากเวลาที่อกุศลใดๆ เกิดขึ้นแล้วมีสติที่ไม่ใช่สติปัฏฐานเกิด ก็ระลึกได้ว่า ไม่ควรจะมีความยินดีอย่างนั้นเลย รังเกียจในสภาพของธรรมที่เป็นโลภะ หรือราคะ ว่าเป็นอกุศล แต่ว่าควรจะรังเกียจการยึดถือสภาพธรรมนั้นว่า เป็นตัวตน นี่เป็นความต่างกัน

ท่านผู้ฟังพิจารณาได้ว่า ท่านผู้ฟังรังเกียจโลภะในลักษณะใด? ถ้าท่านรังเกียจโลภะว่า ท่านไม่อยากจะมีโลภะขณะนั้นเป็นการรังเกียจด้วยความเป็นตัวตน ยึดถือโลภะนั้นว่าเป็นเราไม่ควรจะมีโลภะ

ต่เวลาที่สติระลึกรู้ลักษณะของโลภะ แล้วก็รู้ว่า สภาพนั้นไม่ใช่สัตว์ บุคคล ตัวตน มีลักษณะจริงๆ ซึ่งเป็นสภาพที่ยินดีพอใจ ต่างกับลักษณะของโทสะ ต่างกับลักษณะของสภาพเห็นได้ยิน ลักษณะของความพอใจ เป็นเพียงธรรมชนิดหนึ่ง เพราะฉะนั้น รังเกียจในการที่จะยึดถือสภาพธรรมนั้นว่า เป็นตัวตน สัตว์บุคคลโดยการรู้ว่า สภาพธรรมนั้นไม่ใช่ตัวตน สัตว์ บุคคล นั่นเป็นการรังเกียจ ที่จะยึดถือสภาพธรรมว่าเป็นเรา หรือเป็นตัวตนซึ่งเป็น"หนทางที่จะดับสักกายทิฏฐิ" การยึดถือสภาพธรรมใดๆ ว่าเป็นสัตว์ บุคคล ตัวตน

พราะฉะนั้น การอบรมเจริญปัญญาและการที่จะดับกิเลสนี้ต้องเป็นขั้นๆ เพราะถึงแม้ว่าจะรังเกียจโลภะสักเท่าไร แต่ถ้ายังมีความเห็นว่าเป็นเรา เป็นของเรา ก็ไม่ใช่หนทางที่จะดับโลภะ มีแต่ความเดือดร้อนใจ เกิดโทสะ เพราะไม่ชอบโลภะ พราะฉะนั้น ในขณะที่เป็นโทสะ ก็เป็นตัวตนอีก ที่ไม่ชอบโลภะ จนกว่าสติปัฏฐานจะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของโลภะ หรือลักษณะของโทสะ ก็รู้ว่าเป็นแต่เพียงสภาพธรรมแต่ละลักษณะเท่านั้น

พราะฉะนั้น การที่จะดับกิเลส อย่าข้ามขั้น พอรู้ว่ามีโลภะก็เดือดร้อน นั่นไม่ใช่ลักษณะของปัญญา ถ้าเป็นปัญญาแล้วไม่เดือดร้อน เพราะรู้ว่าลักษณะนั้นเป็นสภาพธรรมชนิดหนึ่ง ซึ่งไม่ได้ยั่งยืนเลย เพราะว่าทุกคนที่มีโลภะ อย่าเข้าใจว่าโลภะนั้นยั่งยืน เป็นเพียงชั่วขณะเล็กน้อย แล้วก็ดับ แล้วก็มีสภาพธรรมอื่นเกิดขึ้นปรากฏ เช่น ในขณะที่กำลังเห็นสิ่งหนึ่งสิ่งใด แล้วก็มีความพอใจมากในสิ่งที่เห็น การเห็นก็จริง เป็นสภาพธรรมที่เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ไม่ใช่เป็นขณะที่พอใจ ความพอใจก็จริง ไม่ใช่สภาพธรรมที่เพียงเห็นสิ่งที่ปรากฏ เพราะฉะนั้น สติปัฏฐานสามารถที่จะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม ที่เกิดขึ้น และดับไปอย่างรวดเร็ว ทั้งการเห็นหรือความยินดีพอใจในสิ่งที่เห็น โดยสติเริ่มระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรมแต่ละลักษณะ ทีละลักษณะแล้วก็จะไม่เดือดร้อน เพราะโลภะนั้นไม่ใช่เรา ต่ถ้ารังเกียจโดยความเป็นเรา จะเดือดร้อนมาก แล้วไม่ใช่หนทางที่จะดับโลภะได้ตามความเป็นจริง ตราบใดที่ยังไม่ได้ละสักกายทิฏฐิ ที่ยึดถือสภาพธรรมว่า เป็นตัวตน สัตว์ บุคคลเป็นเรา

(พระเจดีย์ ณ วัดป่าจี้ อ.เมือง จ.เชียงใหม่)

...พระผู้พระภาคเจ้าทรงตรัสไว้ว่า...

[๑๔๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ อย่างไรเล่า?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ ๕ ภิกษุพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ ๕ อย่างไรเล่า?

ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เมื่อกามฉันทะมีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันทะมีอยู่ ณ ภายในจิตของเรา หรือเมื่อกามฉันทะไม่มีอยู่ ณ ภายในจิต ย่อมรู้ชัดว่า กามฉันทะไม่มีอยู่ ภายในจิตของเรา

อนึ่ง กามฉันทะที่ยังไม่เกิดจะเกิดขึ้นด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย กามฉันทะ ที่เกิดขึ้นแล้ว จะละเสียได้ด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย

กามฉันทะที่ละได้แล้ว จะไม่เกิดขึ้นต่อไปด้วยประการใด ย่อมรู้ชัดประการนั้นด้วย.

ด้วยเหตุดังพรรณนามานี้ ภิกษุย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายในบ้างพิจารณาเห็นธรรมในธรรมภายนอกบ้างพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งภายในทั้งภายนอกบ้าง

พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเกิดขึ้นในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือ ความเสื่อมในธรรมบ้าง พิจารณาเห็นธรรม คือ ทั้งความเกิดขึ้นทั้งความเสื่อมในธรรมบ้าง อยู่. อนึ่ง สติของเธอตั้งมั่นอยู่ว่า ธรรมมีอยู่ ก็เพียงสักว่าความรู้ เพียงสักว่าอาศัยระลึกเท่านั้น เธอเป็นผู้อันตัณหาและทิฏฐิไม่อาศัยอยู่แล้ว และไม่ถือมั่นอะไรๆ ในโลก ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้อย่างนี้แล ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นธรรมในธรรม คือ นิวรณ์ ๕ อยู่

(ข้อความบางตอนจาก)

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน

นิวรณบรรพ

ผู้เขียนได้อัญเชิญข้อความในพระสูตรมากล่าวเพียงประเด็นเดียว คือ กามฉันทะ หรือโลภะ เพื่อประกอบกับข้อความที่ท่านอาจารย์ได้บรรยายไว้ สำหรับนิวรณ์ประการอื่นๆ ท่านผู้อ่านที่สนใจที่จะศึกษาเพิ่มเติมท่านสามารถเปิดพระไตรปิฏกอ่านด้วยตัวของท่านเองได้โดยคลิกที่ลิงค์ด้านล่างนี้ครับ

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๖๑๕

... คลิกเพื่ออ่านกระทู้ที่เกี่ยวข้อง ...

เวลาที่มีโลภะกำลังเกิด ควรเจริญสติปํฎฐานอย่างไรครับ

การใช้ปัญญาละโลภะที่ถูกต้อง

ไม่ใช่ให้ละโลภะก่อน

 

ขออุทิศส่วนกุศลแด่สรรพสัตว์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 8 พ.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
kaewin
วันที่ 8 พ.ค. 2552

ความเป็นตัวตนนี่นากลัวเสียจริงๆ ทั้งๆ ที่รู้ว่าโลภะเกิด และรู้ว่า ขณะนั้นจิตเป็นสภาพที่รู้อารมณ์ แต่ว่าหาทางยับยั้งมันได้ยากจริงๆ ประกอบอื่นที่ทำให้เป็นตัวตน

ขึ้นมาทันที เมื่อ อารมณ์เกิด โทสะ ไม่พอใจ ขณะแรกแต่สักแป๊ปโลภะ ทำให้พอใจทำในสิ่งที่ชั่ว มันเป็น สิ่งที่ละได้ยากจริงๆ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
pornpaon
วันที่ 9 พ.ค. 2552

จนกว่าสติปัฏฐานจะระลึกรู้ลักษณะของสภาพธรรม ไม่ว่าจะเป็นลักษณะของโลภะ หรือลักษณะของโทสะ ก็รู้ว่าเป็นแต่เพียงสภาพธรรมแต่ละลักษณะเท่านั้น

กราบขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
opanayigo
วันที่ 9 พ.ค. 2552

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
พุทธรักษา
วันที่ 10 พ.ค. 2552

เริ่มรังเกียจ ... ความไม่รู้.?

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
orawan.c
วันที่ 13 พ.ค. 2552

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 26 พ.ค. 2564

ขออนุโมทนาครับ 

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ