พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด
บุคคลนั้นเมื่อเห็นภัยในความสนิทสนม พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด คำว่า ภัย ได้แก่ ชาติภัย ชราภัย พยาธิภัย มรณภัย ราชภัย โจรภัย อัคคีภัย ภัย คือ-
การติเตียน ภัย คือ การติเตียนของผู้อื่น ภัย คือ อาชญา ภัย คือ ทุคติ เป็นต้น
ขอเรียนถามท่านอาจารย์วิทยากรว่า พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรด มี
ความหมายอย่างไรค่ะ ขอขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ
ความหมายทั่วๆ ไปหมายถึง อยู่คนเดียว ไปคนเดียว ไม่มีเพื่อน และผู้เดียว ยังหมายถึง ละตัณหาได้ ปราศจากกิเลส ไม่มีกิเลสตัณหา ดังนั้นคำว่า ผู้เดียว จึงมีอรรถทั้งสองนัยครับ
ผมเป็นคนขี้เหงา เข้าใจตัวเองดี ว่าเที่ยวไปคนเดียวเหมือน นอแรดไม่ได้ เอาฟังและค่อยๆ เข้าใจก่อน ไม่ต้องรีบร้อน
ถ้าบุคคลไม่ได้มิตรสหายเสมอหรือดีกว่าตน พึงเที่ยวไปผู้เดียวเหมือนนอแรดฉะนั้น เพราะคุณของความเป็นสหายของคนพาลไม่มีค่ะ คนที่อยู่คนเดียว คนที่ไปไหนมา ไหนคนเดียว หรือทำอะไรคนเดียว แต่ถ้ายังคิดถึงคนโน้มคนนี้ก็ชื่อว่ามีเพื่อนสองค่ะ
ภิกษุผู้ไม่ประกอบด้วยความเพลิดเพลินและความเกี่ยวข้อง เราเรียกว่ามีปกติอยู่ผู้เดียว
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย สุตตนิบาต เล่ม ๑ ภาค ๕ - หน้าที่ 227
บุคคลปรารภความเพียรเพื่อบรรลุ ปรมัตถประโยชน์ มีจิตไม่หดหู่ มีความ ประพฤติไม่เกียจคร้าน มีความบากบั่นมั่นคง ถึงพร้อมแล้วด้วยกำลังกายและกำลังญาณ
พึงเที่ยวไปผู้เดียว เหมือนนอแรด ดังนี้.เป็นข้อความจากพระไตรปิฎก ... ผู้เดียวหมายถึง ละตัณหาได้ ปราศจากกิเลส ไม่มีกิเลสตัณหาและอีกความหมายทั่วๆ ไปหมายถึง อยู่คนเดียว ไปคนเดียว ไม่มีเพื่อน
เชิญคลิกอ่าน ...
เข้าใจชัดเจนมากค่ะ
ขอขอบพระคุณ และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านค่ะ
เอ.....จะขัดแย้งกับข้อความในพระสูตรนี้มั้ยค่ะ.....ท่านวิทยากร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่มที่ ๔๑ - หน้าที่ ๔๔๖
"การนอนจนตะวันขึ้น (นอนตื่นสาย) ความ เกียจคร้าน ความดุร้าย การผัดวันประกันพรุ่ง การ เดินทางไกลของคนคนเดียว การเข้าไปเสพภรรยาของ ผู้อื่น พราหมณ์ ท่านจงเสพกรรม ๖ อย่าง นี้เถิด, สิ่งมิใช่ประโยชน์ [ความพินาศ] จักมีแก่ท่าน."
เข้าใจว่า ท่านคงแสดงโดยนัยที่่ต่างกันใช่มั้ยค่ะ?
อ้างอิงจาก : หัวข้อ 12567 ความคิดเห็นที่ 7 โดย ไตรสรณคมน์
เอ ... จะขัดแย้งกับข้อความในพระสูตรนี้มั้ยค่ะ ... ท่านวิทยากร
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่มที่ ๔๑ - หน้าที่ ๔๔๖
"การนอนจนตะวันขึ้น (นอนตื่นสาย) ความ เกียจคร้าน ความดุร้าย การผัดวันประกันพรุ่ง การ เดินทางไกลของคนคนเดียว การเข้าไปเสพภรรยาของ ผู้อื่น พราหมณ์ ท่านจงเสพกรรม ๖ อย่าง นี้เถิด, สิ่งมิใช่ประโยชน์ [ความพินาศ] จักมีแก่ท่าน."
เข้าใจว่า ท่านคงแสดงโดยนัยที่ต่างกันใช่มั้ยค่ะ?
ผมไม่ใช่วิทยากร แต่ขออนุญาตแสดงความเห็นว่า
ถ้อยคำในกระทู้นี้ และ ในกระทู้
ผู้เที่ยวไปคนเดียวเหมือนนอแรด [ขัคควิสาณสูตร]
เป็นถ้อยคำของพระปัจเจกพุทธเจ้า (หากไม่นับพระศาสดาแล้ว) ซึ่งเป็นบรรพชิตผู้เลิศกว่าบรรพชิตทั้งปวง ส่วนพระคาถาที่ยกมานั้น พระศาสดาทรงแสดงแก่ คฤหัสถ์ ไม่ใช่บรรพชิต อนึ่ง ในการเดินทางไกล พระศาสดาทรงอนุญาตให้พระภิกษุ เดินทางไปกับชาวเกวียนได้ด้วย
ขออนุโมทนาครับ