ปฏิบัติบูชา
[เล่มที่ 13] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้าที่ 421
อรรถกถามหาปรินิพพานสูตร
ท่านอธิบายไว้อย่างนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ เราตถาคตหมอบอยู่แทบบาทมูลของพระพุทธเจ้าพระนามว่าทีปังกร ประชุมธรรม ๘ ประการ เมื่อจะกระทำอภินิหาร มิใช่กระทำอภินิหาร เพื่อประโยชน์แก่พวงมาลัยของหอมและดุริยางค์สังคีต มิใช่บำเพ็ญบารมีทั้งหลาย เพื่อประโยชน์แก่สิ่งเหล่านั้น เพราะฉะนั้น เราตถาคตไม่ชื่อว่า เขาบูชาแล้วด้วยการบูชาอันนี้เลย.
ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสรรเสริญวิบาก ที่แม้พระพุทธญาณก็กำหนดไม่ได้ของการบูชา ที่บุคคลถือเพียงดอกฝ้ายดอกเดียว ระลึกถึงพระพุทธคุณบูชาแล้วไว้ในที่อื่น ในที่นี้กลับทรงคัดค้านการบูชาใหญ่อย่างนี้. ตอบว่า เพราะเพื่อจะทรงอนุเคราะห์บริษัทอย่างหนึ่ง เพื่อประสงค์จะให้พระศาสนาดำรงยั่งยืนอย่างหนึ่ง.
จริงอยู่ พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่พึงคัดค้านอย่างนั้นไซร้ ต่อไปในอนาคต พุทธบริษัทก็ไม่ต้องบำเพ็ญศีลในฐานะที่ศีลมาถึง จักไม่ให้สมาธิบริบูรณ์ในฐานะที่สมาธิมาถึง ไม่ให้ถือห้องคือวิปัสสนาในฐานะที่วิปัสสนามาถึง ชักชวนแล้วชักชวนอีก ซึ่งอุปัฏฐากกระทำการบูชาอย่างเดียวอยู่. จริงอยู่ ชื่อว่าอามิสบูชานั้น ไม่สามารถจะดำรงพระศาสนาแม้ในวันหนึ่งบ้าง แม้ชั่วดื่มข้าวยาคูครั้งหนึ่งบ้าง จริงอยู่วิหารพันแห่งเช่นมหาวิหาร เจดีย์พันเจดีย์ เช่น มหาเจดีย์ ก็ดำรงพระศาสนาไว้ไม่ได้ บุญูผู้ใด ทำไว้ก็เป็นของผู้นั้นผู้เดียว ส่วนสัมมาปฏิบัติ ชื่อว่าเป็นบูชาที่สมควรแก่พระตถาคต เป็นความจริงปฏิบัติบูชานั้นชื่อว่าดำรงอยู่แล้ว สามารถดำรงพระศาสนาไว้ได้ด้วย เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงปฏิบัติบูชานั้น จึงตรัสว่า โย โข อานนฺท เป็นต้น
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ
สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ และขอบพระคุณเป็นอย่างยิ่งค่ะ