๓. มหาปรินิพพานสูตร
[เล่มที่ 13] พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑
๓. มหาปรินิพพานสูตร
เรื่องพระเจ้าอชาติศัตรู หน้า 233
กถาว่าด้วยอปริหานิยธรรมของเจ้าวัชชี ๗ หน้า 235
อปริหานิยธรรมอีก ๗ ประการ หน้า 241
อปริหานิยธรรมอีก ๗ ประการ หน้า 243
อปริหานิยธรรมอีก ๗ ประการ หน้า 244
อปริหานิยธรรมอีก ๖ ประการ หน้า 245
พระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา หน้า 247
โทษ ๕ ประการของศีลวิบัติ หน้า 253
อานิสงส์๕ ประการของศีลสัมปทา หน้า 254
พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะถวายภัตตาหาร หน้า 257
คติภายหน้าของผู้ทํากาละแล้ว หน้า 262
นางอัมพปาลีคณิกามาเฝ้า หน้า 268
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระประชวร หน้า 273
ทรงแสดงเรื่องมีตนเป็นเกาะมีตนเป็นสรณะ หน้า 274
ว่าด้วยอานุภาพของอิทธิบาท ๔ หน้า 275
เหตุทําให้แผ่นดินไหว ๘ อย่าง หน้า 280
เรื่องนายจุนทกัมมารบุตร หน้า 296
เรื่องโลหิตปักขันทิกาพาธ หน้า 298
ปุกกุสมัลลบุตรเป็นอุบาสก หน้า 301
ผิวกายพระตถาคตผ่องใสยิ่งใน ๒ กาล หน้า 302
บิณฑบาตทาน ๒ คราว มีผลเสมอกัน หน้า 304
วิธีปฏิบัติในสตรีและพระพุทธสรีระ หน้า 309
ประทานโอวาทแก่พระอานนท์ หน้า 311
ตรัสสรรเสริญพระอานนท์ หน้า 312
ตรัสเรื่องเมืองกุสินารา หน้า 314
ทรงแสดงธรรมแก่สุภัททะ หน้า 318
ประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์ หน้า 320
เรื่องพระมหากัสสปเถระ หน้า 329
เรื่องสุภัททวุฑฒบรรพชิต หน้า 329
เรื่องพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นต้น หน้า 332
อรรถกถามหาปรินิพพานสูตร
ขอเชิญรับฟัง ...
มหาปรินิพพานสูตร
อ่านหัวข้ออื่นๆ ... [เล่มที่ 13]
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 233
๓. มหาปรินิพพานสูตร
เรื่อง พระเจ้าอชาตศัตรูประสงค์ปราบแคว้นวัชชี
[๖๗] ข้าพเจ้า ได้สดับมาแล้วอย่างนี้:-
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จอยู่บนภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์ ก็สมัยนั้นแล พระราชาอชาตศัตรู ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ พระโอรสของพระนางเวเทหี มีพระราชประสงค์จะเสด็จไปปราบปรามแคว้นวัชชี (๑) พระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า เพราะพวกเจ้าวัชชีทั้งหลายเหล่านี้ มีฤทธิ์มากอย่างนั้น มีอานุภาพมากอย่างนั้น เราจักถอนทําลายแคว้นวัชชีเสีย จักทําแคว้นวัชชีให้พินาศ จักทําแคว้นวัชชีให้ถึงความย่อยยับ.
ครั้งนั้นแล พระราชาอชาตศัตรู ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ พระโอรสของพระนางเวเทหี ตรัสกะวัสสการพราหมณ์ ผู้เป็นมหาอํามาตย์ของแคว้นมคธว่า ขอเชิญท่านพราหมณ์จงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วถวายบังคมพระยุคลบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยเศียรเกล้า กราบทูลถามถึงความไร้พระโรคาพาธ ความคล่องพระองค์ พระกําลัง การทรงพระสําราญตามคําของเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระราชาอชาตศัตรูผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ พระโอรสของพระนางเวเทหี ถวายบังคมพระยุคลบาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงความไร้พระโรคาพาธ ความคล่องพระองค์ พระกําลัง การทรงพระสําราญ และท่านจงกราบทูลอย่างนี้ด้วยว่า พระราชาอชาตศัตรู ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ พระโอรสพระนางเวเทหี มีพระราชประสงค์จะเสด็จ
(๑) ดู-อํ สตฺตก. ๒๓/๑๗ - ๒๕
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 234
ไปปราบปรามแคว้นวัชชี พระองค์มีพระดํารัสอย่างนี้ว่า เพราะพวกเจ้าวัชชี ทั้งหลายเหล่านี้ มีฤทธิ์มากอย่างนั้น มีอานุภาพมากอย่างนั้น เราจักถอนทําลายแคว้นวัชชีเสีย จักทําแคว้นวัชชีให้พินาศ จักทําแคว้นวัชชีให้ถึงความย่อยยับ และพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพยากรณ์แก่ท่านอย่างใด ท่านจงจําเอาคําพยากรณ์นั้นให้ดี แล้วมาบอกแก่เรา เพราะว่า พระตถาคตเจ้าทั้งหลาย หาตรัสสิ่งที่ปราศจากความจริงไม่ วัสสการพราหมณ์ มหาอํามาตย์ของแคว้นมคธ กราบทูลรับพระดํารัสพระราชาอชาตศัตรู ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ พระโอรสพระนางเวเทหีว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า แล้วเทียมยานทั้งหลายที่ใหญ่ๆ แล้วขึ้นยานใหญ่ๆ (๑) (คันหนึ่ง) ออกจากกรุงราชคฤห์ ด้วยยานทั้งหลายที่ใหญ่ๆ ไปถึงภูเขาคิชฌกูฏ ไปด้วยยานตลอดพื้นที่ยานไปได้ แล้วลงจากยาน เดินเท้า ขึ้นไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นชื่นชมกับพระผู้มีพระภาคเจ้า กล่าวถ้อยคํา น่าชื่นชมควรรําลึกถึงกันแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง วัสสการพราหมณ์ มหาอํามาตย์ของแคว้นมคธ ผู้นั่งแล้ว ณ ด้านหนึ่ง ได้กราบทูลคําต่อไปนี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระราชาอชาตศัตรู ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ พระโอรสของพระนางเวเทหี ถวายบังคมพระยุคลบาทพระโคดมผู้เจริญด้วยเศียรเกล้า ทูลถามถึงความไร้พระโรคาพาธ ความคล่องพระองค์ พระกําลัง การทรงพระสําราญ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระราชาอชาตศัตรู ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ พระโอรสของพระนางเวเทหี มีพระราชประสงค์จะเสด็จไปปราบปรามแคว้นวัชชี พระองค์ตรัสอย่างนี้ว่า เพราะพวกเจ้าวัชชีทั้งหลายเหล่านี้ มีฤทธิ์มากอย่างนั้น มีอานุภาพมากอย่างนั้น เราจัก
(๑) ยาน หมายถึงรถ มี ๒ ชนิด คือ โยธรถ-รถศึก สัณฐาน ๔ เหลี่ยม ไม่ใหญ่มากจุ คนได้ ๒ หรือ ๓ คน ชนิด ๑. อลังการรถ -รถประดับ ใหญ่ ยาวและกว้าง จุคน ๘ - ๑๐ คน สามารถยืนหรือนั่ง หรือนอนไปบนรถได้สบาย ชนิด ๑. ที่ว่า ยานใหญ่ๆ คงหมายถึง อลังการรถ (ปปญจสูทนี ทุติย ๒๖๑)
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 235
ถอนทําลายแคว้นวัชชีเสีย จักทําแคว้นวัชชีให้พินาศ จักทําแคว้นวัชชีให้ถึง ความย่อยยับ ดังนี้.
กถาว่าด้วยอปริหานิยธรรมของเจ้าวัชชี ๗
[๖๘] สมัยนั้นแล ท่านพระอานนท์ ยืนถวายงานพัดอยู่เบื้องพระปฤษฏางค์ของพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะท่าน พระอานนท์ว่า
(๑) ดูก่อนอานนท์ เธอได้ยินว่าอย่างไร เจ้าวัชชีทั้งหลายยังประชุมกันเนืองๆ ยังประชุมกันมากอยู่หรือ
อา. ข้อนี้ข้าพระองค์ได้ยินว่า เจ้าวัชชีทั้งหลาย ประชุมกันเนืองๆ ประชุมกันมาก พระเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอานนท์ ก็เจ้าวัชชีทั้งหลาย ยังจักประชุมกันเนืองๆ ยังจักประชุมกันอยู่มากตลอดกาลเพียงไร ดูก่อนอานนท์ เจ้าวัชชีทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้
พ. (๒) ดูก่อนอานนท์ เธอได้ยินว่าอย่างไร เจ้าวัชชีทั้งหลาย ยังพร้อมเพียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทํากิจที่พวกเจ้าวัชชีพึงทําอยู่หรือ
อา. ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ยินว่า เจ้าวัชชีทั้งหลาย ยังพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทํากิจที่พวกเจ้าวัชชีพึงทํา พระเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอานนท์ ก็เจ้าวัชชีทั้งหลาย ยังจักพร้อมเพรียงกันประชุม พร้อมเพรียงกันเลิกประชุม พร้อมเพรียงกันทํากิจที่พวกเจ้าวัชชีพึงทําอยู่ตลอดกาลเพียงไร ดูก่อนอานนท์ เจ้าวัชชีทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 236
พ. (๓) ดูก่อนอานนท์ เธอได้ยินว่าอย่างไร เจ้าวัชชีทั้งหลายยังไม่บัญญัติข้อที่ไม่เคยบัญญัติไว้ ไม่เพิกถอนข้อที่บัญญัติไว้แล้ว ยังสมาทานวัชชีธรรมแบบโบราณ ตามที่บัญญัติไว้แล้ว ประพฤติกันอยู่หรือ
อา. ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ยินว่า เจ้าวัชชีทั้งหลายยังไม่บัญญัติข้อที่ไม่เคยบัญญัติไว้ ไม่เพิกถอนข้อที่บัญญัติไว้แล้ว ยังสมาทานวัชชีธรรมแบบโบราณตามที่บัญญัติไว้แล้ว ประพฤติกันอยู่ พระเจ้าข้า
พ. ดูก่อนอานนท์ ก็เจ้าวัชชีทั้งหลาย ยังจักไม่บัญญัติข้อที่ไม่เคยบัญญัติไว้ ไม่เพิกถอนข้อที่บัญญัติไว้แล้ว ยังจักสมาทานวัชชีธรรมแบบโบราณตามที่บัญญัติไว้แล้ว ประพฤติกันอยู่ ตลอดกาลเพียงไร ดูก่อนอานนท์ เจ้าวัชชีทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้
พ. (๔) ดูก่อนอานนท์ เธอได้ยินว่าอย่างไร เจ้าวัชชีทั้งหลาย ยังสักการะ เคารพนับถือบูชา เจ้าวัชชีผู้ใหญ่ผู้เฒ่าของเจ้าวัชชีทั้งหลายและยังเชื่อถือถ้อยคําที่ควรฟังของเจ้าวัชชีผู้ใหญ่ผู้เฒ่าทั้งหลายเหล่านั้น อยู่หรือ.
อา. ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ยินว่า เจ้าวัชชีทั้งหลาย ยังสักการะเคารพ นับถือ บูชา เจ้าวัชชีผู้ใหญ่ผู้เฒ่าของเจ้าวัชชีทั้งหลายและยังเชื่อถ้อยคําที่ควรฟังของเจ้าวัชชีผู้ใหญ่ผู้เฒ่าทั้งหลายเหล่านั้นอยู่ พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอานนท์ ก็เจ้าวัชชีทั้งหลาย ยังสักการะ เคารพนับถือ บูชาเจ้าวัชชีผู้ใหญ่ผู้เฒ่าของเจ้าวัชชีทั้งหลาย และยังเชื่อถือถ้อยคําที่ควรฟังของเจ้าวัชชีผู้ใหญ่ผู้เฒ่าทั้งหลายเหล่านั้นอยู่ ตลอดกาลเพียงไร ดูก่อนอานนท์ เจ้าวัชชีทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้
พ. (๕) ดูก่อนอานนท์ เธอได้ยินอย่างไร เจ้าวัชชีทั้งหลาย ไม่ฉุดคร่า ข่มเหง กักขังกุลสตรีทั้งหลาย (และ) กุมารีของสกุลทั้งหลายอยู่หรือ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 237
อา. ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ยินว่า เจ้าวัชชีทั้งหลาย ไม่ฉุดคร่า ข่มเหง กักขังกุลสตรีทั้งหลาย (และ) กุมารีของสกุลทั้งหลาย พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอานนท์ เจ้าวัชชีทั้งหลาย ไม่ฉุดคร่า ข่มเหง กักขังกุลสตรี ทั้งหลาย (และ) กุมารีของสกุลทั้งหลาย ตลอดกาลเพียงไร ดูก่อนอานนท์ เจ้าวัชชีทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
พ. (๖) ดูก่อนอานนท์ เธอได้ยินว่าอย่างไร เจ้าวัชชีทั้งหลายยังสักการะ เคารพนับถือ บูชาเจดีย์วัชชีทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอก (พระนคร) ของเจ้าวัชชีทั้งหลาย และยังไม่ลดพลีประกอบด้วยธรรมที่เคยถวายแล้ว เคยทําแล้วแก่เจดีย์วัชชีทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอกเหล่านั้นอยู่หรือ.
อา. ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ยินว่า เจ้าวัชชีทั้งหลายยังสักการะ เคารพ นับถือ บูชาเจดีย์วัชชี ทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอกของเจ้าวัชชีทั้งหลาย และยังไม่มีลดหย่อนพลีประกอบด้วยธรรมที่เคยถวายแล้ว เคยทําแล้ว แก่เจดีย์วัชชีทั้งหลายภายในและภายนอกเหล่านั้น พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอานนท์ ก็เจ้าวัชชีทั้งหลายยังจักสักการะ เคารพนับถือ บูชาเจดีย์วัชชีทั้งหลาย ทั้งภายในและภายนอกของเจ้าวัชชีทั้งหลาย และจักยังไม่ลดหย่อนพลีประกอบด้วยธรรมที่เคยถวายแล้ว เคยทําแล้ว แก่เจดีย์วัชชีทั้งหลายทั้งภายในและภายนอกเหล่านั้น ตลอดกาลเพียงไร ดูก่อนอานนท์ เจ้าวัชชีทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
พ. (๗) ดูก่อนอานนท์ เธอได้ยินว่าอย่างไร เจ้าวัชชีทั้งหลายยังจัดอารักขา ป้องกันและคุ้มครองประกอบด้วยธรรมด้วยดีในพระอรหันต์ทั้งหลาย ด้วยตั้งใจว่าทําอย่างไร พระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังไม่มา พึงมาสู่แคว้น และพระอรหันต์ทั้งหลายที่มาแล้ว ขอให้อยู่สบายในแคว้น ดังนี้ หรือ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 238
อา. ข้อนี้ ข้าพระองค์ได้ยินว่า เจ้าวัชชีทั้งหลายยังจัดอารักขา ป้องกัน และคุ้มครองประกอบด้วยธรรมด้วยดีในพระอรหันต์ทั้งหลาย ด้วยตั้งใจว่าทําอย่างไร พระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังไม่มา พึงมาสู่แคว้น และพระอรหันต์ทั้งหลายที่มาแล้ว ขอให้อยู่สบายในแคว้นดังนี้ พระเจ้าข้า.
พ. ดูก่อนอานนท์ ก็เจ้าวัชชีทั้งหลายยังจักเป็นผู้จัดอารักขา ป้องกัน และคุ้มครองประกอบด้วยธรรมด้วยดีในพระอรหันต์ทั้งหลาย ด้วยตั้งใจว่าทําอย่างไร พระอรหันต์ทั้งหลายที่ยังไม่มา พึงมาสู่แคว้น และพระอรหันต์ ทั้งหลายที่มาแล้ว ขอให้อยู่สบายในแคว้น ดังนี้ ตลอดกาลเพียงไร ดูก่อนอานนท์ เจ้าวัชชีทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้ ฉะนี้แล.
[๖๙] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะวัสสการพรหมณ์ มหาอํามาตย์ของแคว้นมคธว่า ดูก่อนท่านพราหมณ์ สมัยหนึ่ง ตถาคตอยู่ ณ วิหารสารันททะเจดีย์ในนครเวสาลี ณ ที่นั้น ตถาคตได้แสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการเหล่านี้ แก่เจ้าวัชชีทั้งหลาย ดูก่อนท่านพราหมณ์ ก็อปริหานิยธรรม ๗ ประการ เหล่านี้ยังจักตั้งอยู่ในเจ้าวัชชีทั้งหลาย และเจ้าวัชชีทั้งหลายยังจักเห็นดีร่วมกันในอปริหานิยธรรม ๗ ประการเหล่านี้ ตลอดกาลเพียงไร ดูก่อนพราหมณ์ เจ้าวัชชีทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้ (๑)
ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว วัสสการพราหมณ์ มหาอํามาตย์ของแคว้นมคธได้กราบทูลคํานี้กะพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ เจ้าวัชชีทั้งหลายประกอบด้วยอปริหานิยธรรมแม้เพียงข้อหนึ่งข้อเดียว ก็พึงหวังความเจริญได้โดยแท้ หาความเสื่อมมิได้ แต่ว่าจะกล่าวอะไร ถึงเจ้าวัชชีทั้งหลายประกอบด้วยอปริหานิยธรรม ๗ ประการ ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ
(๑) ทรงหมายถึง สารันททสูตร วัชชีวัคค, ดู -อํ สตฺตก. ๒๓/๑๕ - ๑๗
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 239
และพระราชาอชาตศัตรู ผู้เป็นใหญ่ในแคว้นมคธ พระโอรสพระนางเวเทหี ไม่ควรทํากะเจ้าวัชชีทั้งหลายด้วยการรบ นอกจากเจรจาปรองดอง นอกจากทําให้แตกกันและกัน ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญสมควรแล้ว ข้าพระองค์จะไป บัดนี้ ข้าพระองค์มีกิจมาก มีเรื่องจะพึงทํามาก.
(พระผู้มีพระภาคเจ้า) ดูก่อนท่านพราหมณ์ บัดนี้ ท่านจงพิจารณา เห็นเป็นกาลสมควรเถิด.
ครั้งนั้นแล วัสสการพราหมณ์ มหาอํามาตย์ของแคว้นมคธชื่นชมอนุโมทนาพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วลุกจากอาสนะกลับไป.
ภิกขุอปริหานิยธรรม ๗
[๗๐] ครั้งนั้นแล เมื่อวัสสการพราหมณ์ มหาอํามาตย์ของแคว้นมคธ กลับไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงไป ภิกษุทั้งหลาย มีจํานวนเท่าใดอยู่อาศัยกรุงราชคฤห์ เธอจงให้ภิกษุเหล่านั้นทั้งหมดประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา ท่านพระอานนท์กราบทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้นพระเจ้าข้า แล้วให้พระภิกษุตามจํานวน ที่อาศัยกรุงราชคฤห์อยู่ทั้งหมดประชุมกันในอุปัฏฐานศาลา แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้ว ยืนอยู่ ณ ด้านหนึ่ง ท่านพระอานนท์ ผู้ยืน อยู่แล้ว ณ ด้านหนึ่งแล ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระภิกษุสงฆ์ประชุมกันแล้ว บัดนี้ เป็นเวลาซึ่งทรงเห็นเป็นกาลสมควร พระเจ้าข้า. ครั้นนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงลุกจากอาสนะเสด็จดําเนินเข้าอุปัฏฐานศาลา ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้แล้ว ครั้นประทับนั่งแล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตจัก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 240
แสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงทําไว้ในใจให้ดี ตถาคตจักกล่าวดังนี้ ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พร้อมแล้ว พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงพระดํารัส ต่อไปนี้.
(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายยังจักประชุมกันเนืองๆ จักประชุมกันอยู่มาก ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลาย ยังจักพร้อมเพรียงกันประชุม จักพร้อมเพรียงกันเลิกประชุม จักพร้อมเพรียงกันทํากิจที่สงฆ์พึงทํา ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลาย ยังจักไม่บัญญัติสิ่งที่ตถาคตมิได้บัญญัติไว้ จักไม่เพิกถอนสิ่งที่ตถาคตบัญญัติไว้แล้ว ยังจักสมาทาน ประพฤติอยู่ในสิกขาบททั้งหลายตามที่ตถาคตบัญญัติไว้แล้ว ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลาย ยังจักสักการะและเคารพ นับถือ บูชา พระภิกษุทั้งหลายผู้เป็นพระเถระผู้รู้กาลนาน ผู้บวชมาแล้วนาน ผู้เป็นบิดาของสงฆ์ เป็นปริณายกของสงฆ์ และยังจักเชื่อถือโอวาทที่พึงฟังของท่านด้วย ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลาย ยังจักไม่ลุอํานาจของตัณหา อันมีปกติให้เกิดในภพใหม่ ที่เกิดขึ้น ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลาย พึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 241
(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลาย ยังเป็นผู้มีความห่วงใย ในเสนาสนะตามราวป่า ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายยังจักเข้าไปตั้งสติไว้ เฉพาะตนว่า ทําอย่างไร เพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ผู้มีศีลเป็นที่รัก ที่ยังไม่มาขอให้มา และเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ผู้มีศีลเป็นที่รัก ที่มาแล้ว ขอให้อยู่สบาย ดังนี้ ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม ๗ ประการเหล่านี้ ยังจักตั้งอยู่ ในภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายยังจักเห็นดีร่วมกันในอปริหานิยธรรม ๗ ประการเหล่านี้ ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
อปริหานิยธรรมอีก ๗ ประการ
[๗๑] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการ อีกหมวดหนึ่งแก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงทําในใจให้ดี ตถาคตจักกล่าว. ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลรับว่า พร้อมแล้ว พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระดํารัสต่อไปนี้.-
(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายยังจักไม่เป็นผู้มีการงานเป็น ที่มายินดี จักไม่ยินดีในการงาน ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งความมีการงานเป็นที่มายินดี ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 242
(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลาย ยังจักไม่มีการพูดคุยกันเป็นที่มายินดี จักไม่ยินดีในการพูดคุยกัน ไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งการพูดคุยกัน ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลาย ยังจักไม่มีการหลับเป็นที่มายินดี จักไม่ยินดีในการหลับ จักไม่ประกอบเนืองๆ ซึ่งความหลับ ตลอดการเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลาย ยังจักไม่มีการคลุกคลีด้วยหมู่คณะเป็นที่มายินดี จักไม่ยินดีในการคลุกคลีด้วยหมู่คณะ จักไม่ประกอบเนืองๆ ในความคลุกคลีด้วยหมู่คณะ ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลาย ยังจักไม่เป็นผู้มีความปรารถนาลามก จักไม่ลุอํานาจของความปรารถนาลามก ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลาย ยังจักไม่มีคนชั่วเป็นมิตร จักไม่มีคนชั่วเป็นสหาย จักไม่มีคนชั่วเป็นเพื่อน ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลายและภิกษุทั้งหลาย ยังจักไม่หยุดเสียในระหว่างด้วยการบรรลุธรรมวิเศษเพียงขั้นต่ํา ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญ อย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม ๗ ประการเหล่านี้ ยังจักตั้งอยู่ในภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายจักเห็นดีร่วมกันในอปริหานิยธรรม ๗ ประการเหล่านี้ ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 243
อปริหานิยธรรมอีก ๗ ประการ
[๗๒] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการอีกหมวดหนึ่ง แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงทําในใจให้ดี ตถาคตจักกล่าวดังนี้. ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นกราบทูลรับว่า พร้อมแล้ว พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีพระดํารัสต่อไปนี้
(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายยังจักเป็นผู้มีศรัทธา ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายยังจักเป็นผู้มีใจมีหิริ ... (๑)
(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ... ยังจักเป็นผู้มีโอตตัปปะ ...
(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ... ยังจักเป็นผู้เป็นพหูสูตร ...
(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ... ยังจักเป็นผู้ปรารภความเพียร ...
(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ... ยังจักเป็นผู้มีสติเข้าไปตั้งไว้ ...
(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ... ยังจักเป็นผู้มีปัญญา ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม ๗ ประการเหล่านี้ ยังจักตั้งอยู่ในภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายจักเห็นดีร่วมกันในอปริหานิยธรรม ๗ ประการเหล่านั้น ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
อปริหานิยธรรมอีก ๗ ประการ
[๗๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการอีกหมวดหนึ่ง แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงทําในใจให้ดี
(๑) ในพระสูตรนี้ บาลีว่า "หิริมนา" แต่ในที่อื่นว่า " หิริมนฺโต-ผู้มีหีริ" อํ. สตฺตก. ๒๓/๒๓.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 244
ตถาคตจักกล่าวดังนี้. ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลรับว่า พร้อมแล้ว พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระดํารัสต่อไปนี้.-
(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายยังจักเจริญสติสัมโพชฌงค์ ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายยังจักเจริญธรรมวิจยสัมโพชฌงค์ ...
(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ... ยังจักเจริญวิริยสัมโพชฌงค์ ...
(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ... ยังจักเจริญปิติสัมโพชฌงค์ ...
(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ... ยังจักเจริญปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ...
(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ... ยังจักเจริญสมาธิสัมโพชฌงค์ ...
(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายยังจักเจริญอุเบกขาสัมโพชฌงค์ ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม ๗ ประการเหล่านี้ ยังจักตั้งอยู่ในภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายยังจักเห็นดีร่วมกันในอปริหานิยธรรม ๗ ประการเหล่านี้ ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
อปริหานิยมธรรมอีก ๗ ประการ
[๗๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตจักแสดงอปริหานิยธรรม ๗ ประการอีกหมวดหนึ่ง แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงทําไว้ในใจให้ดี ตถาคตจักกล่าวดังนี้. ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลรับว่า พร้อมแล้ว พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระดํารัสต่อไปนี้.-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 245
(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายยังจักเจริญอนิจจสัญญา (ความหมายรู้สังขารไม่เที่ยง) ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความ เจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายยังจักเจริญอนัตตสัญญา ...
(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ... ยังจักเจริญอสุภสัญญา ...
(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ... ยังจักเจริญอาทีนวสัญญา ...
(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ... ยังจักเจริญปหานสัญญา ...
(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ... ยังจักเจริญวิราคสัญญา ...
(๗) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายยังจักเจริญนิโรธสัญญา (ความหมายรู้ว่านิพพานเป็นที่ดับ) ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวัง ความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม ๗ ประการเหล่านี้ ยังจักตั้งอยู่ในภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายยังจักเห็นดีร่วมกันในอปริหานิยธรรม ๗ ประการเหล่านี้ ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
อปริหานิยธรรมอีก ๖ ประการ
[๗๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ตถาคตจักแสดงอปริหานิยธรรม ๖ ประการอีกหมวดหนึ่ง (๑) แก่เธอทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงฟัง จงทําไว้ในใจให้ดี ตถาคตจักกล่าวดังนี้. ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้นกราบทูลรับว่า พร้อมแล้ว พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระดํารัสต่อไปนี้.-
(๑) ดู- สาราณียธรรม ๖ ใน อํ. ฉกฺก. ๒๒/๓๒๒.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 246
(๑) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุทั้งหลายยังจักเข้าไปทั้งกายกรรม มีเมตตาในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
(๒) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายยังจักเข้าไปตั้งวจีกรรม มีเมตตาในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
(๓) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายยังจักเข้าไปตั้งมโนกรรม มีเมตตาในเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
(๔) ดูก่อนภิกษุทั้งหลายและภิกษุทั้งหลายยังจักเป็นผู้บริโภคปัจจัยที่แบ่งปันกันโดยลาภทั้งหลายที่เกิดขึ้นโดยชอบธรรม (๑) ได้มาโดยชอบธรรม โดยที่สุดแม้เพียงภิกษานับเนื่องในบาตร เป็นผู้บริโภคร่วมกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีล ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
(๕) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และศีลทั้งหลาย ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไทย ท่านผู้รู้สรรเสริญ ตัณหาและทิฏฐิไม่แปดเปื้อน นําไปสู่สมาธิ ภิกษุทั้งหลายยังจักถึงความเป็นผู้เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย อยู่ในศีลเห็นปานนั้น ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
(๖) ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย และทิฏฐิที่เป็นอริยะเป็นเครื่องนําออกจากทุกข์ ภิกษุทั้งหลายยังจักถึงความเป็นผู้เสมอกันกับเพื่อนพรหมจารีทั้งหลาย ด้วยทิฏฐิเห็นปานนั้น ทั้งในที่แจ้งและในที่ลับ เพื่อความสิ้นไปแห่งทุกข์ทั้งปวง
(๑) บาลีในพระสูตรนี้ " ... .น อปฺปฏิวิภตฺตโภคี ... ." แต่ใน อํ. ฉกฺก. ๒๒/๓๒๒ ไม่มี "น".
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 247
ของผู้กระทํานั้น ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อปริหานิยธรรม ๖ ประการเหล่านี้ ยังจักตั้งอยู่ในภิกษุทั้งหลาย และภิกษุทั้งหลายยังจักเห็นดีร่วมกัน ในอปริหานิยธรรม ๖ ประการเหล่านี้ ตลอดกาลเพียงไร ภิกษุทั้งหลายพึงหวังความเจริญอย่างเดียว หาความเสื่อมมิได้ ฉะนี้แล.
เล่ากันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อเสด็จอยู่บนภูเขาคิชฌกูฏใกล้กรุงราชคฤห์ กระทําธรรมีกถานี้แลเป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายด้วยพระดํารัสว่า ศีล มีอยู่ด้วยประการฉะนี้, สมาธิ มีอยู่ด้วยประการฉะนี้, ปัญญา มีอยู่ด้วยการฉะนี้, สมาธิอันศีลอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก, ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก, จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ก็หลุดพ้นด้วยดีโดยแท้จากอาสวะทั้งหลาย กล่าวคือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ดังนี้.
พระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา
[๗๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ในกรุงราชคฤห์ ตามพระอัธยาศัยแล้ว จึงตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า มาเถิด อานนท์ เราจักเข้า ไปพระราชอุทานอัมพลัฏฐิกา ท่านพระอานนท์กราบทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จถึงพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกาแล้ว เล่ากันว่า ณ ที่นั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ประทับที่พระตําหนักในพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา ทราบว่า แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ ณ พระตําหนักในสวนอัมพลัฏฐิกานั้น ก็ทรงทําธรรมีกถานี้แล เป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ศีล มีอยู่แม้ด้วยประ-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 248
การฉะนี้ สมาธิ มีอยู่แม้ด้วยประการฉะนี้ ปัญญา มีอยู่แม้ด้วยประการฉะนี้ สมาธิอันศีลอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันปัญญาอบรมแล้วก็หลุดพ้นด้วยดีโดยแท้ จากอาสวะทั้งหลายกล่าวคือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ดังนี้.
เมืองนาลันทา
[๗๗] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จอยู่ในพระราชอุทยานอัมพลัฏฐิกา ตามพระอัธยาศัยแล้ว จึงตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า มาเถิดอานนท์ เราจักเข้าไปเมืองนาลันทา ท่าน พระอานนท์กราบทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงเมืองนาลันทา เล่ากันว่า ในเมืองนาลันทานั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ในปาวาริกัมพวัน (๑)
พระสารีบุตรมาเฝ้า
ครั้งนั้นแล (๒) ท่านพระสารีบุตรเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ด้านหนึ่ง ท่านพระสารีบุตรได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้า อย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่น ผู้มีปัญญารู้ยิ่ง ยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ในพระสัมโพธิญาณ ไม่เคยมีมาแล้ว (ในอดีต) และจักไม่มี (ในอนาคต) อีกทั้งไม่มีอยู่ในปัจจุบันนี้.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร วาจาอันอาจหาญโอฬารนี้ บันลือสีหนาทที่เชื่อถือโดยแท้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์เลื่อมใส
(๑) ใน สํ. มหาวาร. ๑๙/-๒๑๑ ว่า เสด็จอยู่ในปาวาริกัมพวัน-สวนมะม่วงของทุสสปาวาริก เศรษฐีดู. สารตฺถปปกาสินี. ตติภาค. น. ๓๐๕.
(๒) บาลีพระสูตรต่อไปนี้ มีกล่าวไว้เบื้องต้นของสัมปสาทนียสูตร ที. ปา. ๑๑/๑๐๘ - ๑๑๐ และสํ. มหาวาร. ๑๙/๒๑๑ - ๒๔๑.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 249
ในพระผู้มีพระภาคเจ้า อย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่น ผู้มีปัญญารู้ยิ่ง ยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้า ในพระสัมโพธิญาณ ไม่เคยมีแล้ว (ในอดีต) และจักไม่มี (ในอนาคต) อีกทั้งไม่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ นี้เธอกล่าวแล้ว ดูก่อนสารีบุตร พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นใด ได้มีแล้วในอดีตกาล เธอกําหนดใจรู้แล้วด้วยใจ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ทุกพระองค์ ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ได้เป็นผู้มีศีลอย่างนี้ แม้ด้วยประการฉะนี้ มีธรรมอย่างนี้ แม้ด้วยประการฉะนี้ เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ แม้ด้วยประการฉะนี้ เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้ด้วยประการฉะนี้ เป็นผู้พ้นพิเศษแล้วอย่างนี้ แม้ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้หรือหนอ.
พระสารีบุตรกราบทูลว่า ข้อนี้ หามิได้ พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสว่า ดูก่อนสารีบุตร แต่พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นใด จักมีในอนาคตกาล เธอกําหนดใจรู้แล้วด้วยใจ ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ทุกพระองค์ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น จักเป็นผู้มีศีลอย่างนี้ แม้ด้วยประการฉะนั้น เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ แม้ด้วยประการฉะนี้ เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ แม้ด้วยประการฉะนี้ เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้ด้วยประการฉะนี้ เป็นผู้พ้นพิเศษแล้วอย่างนี้ แม้ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้หรือ.
พระสารีบุตร. . . ข้อนี้ หามิได้ พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า. . . ดูก่อนสารีบุตร แต่เธอกําหนดใจรู้แล้วด้วยใจ ซึ่งเรา (ตถาคต) ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในกาลบัดนี้ว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้มีศีลอย่างนี้ แม้ด้วยประการฉะนี้ เป็นผู้มีธรรมอย่างนี้ แม้ด้วยประการฉะนี้ เป็นผู้มีปัญญาอย่างนี้ แม้ด้วยประการฉะนี้ เป็นผู้มีธรรมเป็นเครื่องอยู่อย่างนี้ แม้ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้พ้นพิเศษแล้วอย่างนี้ แม้ด้วยประการฉะนี้ ดังนี้หรือ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 250
พระสารีบุตร. . . ข้อนี้ หามิได้ พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า. . . ดูก่อนสารีบุตร และเพราะเธอไม่มีญาณเพื่อกําหนดรู้ด้วยใจในพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในอดีต ในอนาคต และในปัจจุบันนี้ และเมื่อเป็นอย่างนั้น เหตุไร เธอจึงกล่าววาจาอันอาจหาญโอฬารนี้ บันลือสีหนาทที่เชื่อถือได้โดยแท้ ในบัดนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ เสื่อมใสในพระผู้มีพระภาคเจ้าอย่างนี้ว่า สมณะหรือพราหมณ์อื่น ผู้มีปัญญา รู้ยิ่ง ยิ่งกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าในพระสัมโพธิญาณ ไม่เคยมีแล้ว (ในอดีต) และจักไม่มี (ในอนาคต) อีกทั้งไม่มีอยู่ในปัจจุบันนี้ ดังนี้.
พระสารีบุตร. . . ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ไม่มีญาณเพื่อกําหนด รู้ด้วยใจในพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ในอดีต ในอนาคต และในปัจจุบัน ก็แต่ว่าข้าพระองค์รู้ว่าการดําเนิน (โดยอนุมาน) ไปตามทางธรรม พระเจ้าข้า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เปรียบเหมือน นครที่ตั้งอยู่ชายแดนของพระราชา มีประตูมั่นคง มีกําแพงและเสาค่ายแน่นหนา มีประตูเดียว นายประตูของเมืองนั้น เป็นบัณฑิต ฉลาด มีปัญญา คอยห้ามคนทั้งหลายที่ตนไม่รู้จัก อนุญาตคนทั้งหลายที่ตนรู้จักให้เข้าไปในเมืองนั้น นายประตูนั้นเดินไปตามทางโดยเที่ยวสํารวจไปโดยรอบนครนั้น ไม่เห็นรอยต่อของกําแพง หรือช่องว่างของกําแพง แม้เพียงโดยที่สุดแมวลอดออกได้ นายประตูนั้น จึงมีความคิดอย่างนี้ว่า สัตว์มีชีวิตขนาดเขื่องไรๆ เหล่าใดแล เข้ามาในเมืองนี้ก็ดี ออกไปก็ดี สัตว์มีชีวิตเหล่านั้นทั้งหมด เข้าหรือออกโดยประตูนี้ ดังนี้ แม้ฉันใด ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ ก็ฉันนั้นนั่นแล รู้การดําเนินไปตามทางธรรมว่า พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นใด ได้มีแล้วในอดีตกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าทั้งหลายเหล่านั้น ทุกพระองค์ทรงละนิวรณ์ ๕ ประการ ซึ่งเป็นอุปกิเลสของใจ เป็นเครื่องทําปัญญาให้ทุรพล เป็นผู้มีจิตเข้าไปตั้งอยู่ด้วยดีใน
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 251
สติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง ได้ตรัสรู้ยิ่งแล้วซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายเหล่านั้นใด จักมีในอนาคตกาล พระผู้มีพระภาคเจ้าเหล่านั้น ทุกพระองค์ จักทรงละนิวรณ์ ๕ ประการ ซึ่งเป็นอุปกิเลสของใจ เป็นเครื่องทําปัญญาให้ทุรพล เป็นผู้มีจิตเข้าไปตั้งมั่นด้วยดีในสติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง จักตรัสรู้ยิ่งซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้า องค์อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าในบัดนี้ ก็ทรงละแล้วซึ่งนิวรณ์ ๕ ประการ ซึ่งเป็นอุปกิเลสของใจ เป็นเครื่องทําปัญญาให้ทุรพล เป็นผู้มีจิตเข้าไปตั้งอยู่ด้วยดีในสติปัฏฐาน ๔ ทรงเจริญโพชฌงค์ ๗ ตามเป็นจริง ตรัสรู้ยิ่งแล้ว ซึ่งพระสัมมาสัมโพธิญาณ อันยอดเยี่ยม ดังนี้ (๑)
กล่าวกันว่า แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จอยู่ ณ ปาวาริกัมพวัน ในเมืองนาลันทานั้น ก็ทรงทําธรรมีกถานี้แล เป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ศีลมีอยู่ด้วยประการฉะนี้ สมาธิมีอยู่ด้วยประการฉะนี้ ปัญญามีอยู่ด้วยประการฉะนี้ สมาธิอันศีลอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ก็หลุดพ้นด้วยดีโดยแท้ จากอาสวะทั้งหลาย กล่าวคือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ดังนี้.
ปาฏลิคาม
[๗๘] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จอยู่ในเมืองนาลันทา ตามพระอัธยาศัยแล้ว ตรัสกะพระอานนท์ว่า มาเถิด อานนท์ เราจักเข้าไปหมู่
(๑) มีเรื่องเล่าถึงเหตุที่ท่านพระสารีบุตรเถระมาเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าและกราบทูลเรื่องนี้ไว้ในสัมปสาทนียสูตร ใน ทีฆนิกาย ปาฏิกวัคค์ ๑๑/๑๐๘ - ๑๑๐ และดู-สุมงฺคลวิลาสินี, ตติย ภาค, น. ๗๔ - ๘๖.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 252
บ้านปาฏลิคาม. ท่านพระอานนท์กราบทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า.
ครั้งนั้นแล (๑) พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จดําเนินถึงหมู่บ้านปาฏลิคามนั้นแล้ว (๒) อุบาสกทั้งหลายชาวบ้านปาฏลิคาม ได้ยินว่า ข่าวว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จดําเนินถึงปาฏลิคามแล้ว ครั้งนั้นแล อุบาสกทั้งหลายชาวบ้านปาฏลิคาม เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วนั่ง ณ ด้านหนึ่ง อุบาสกทั้งหลายชาวบ้านปาฏลิคามได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า โปรดทรงรับอาคารรับรองเถิด พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วยดุษณีภาพ ครั้งนั้นแล อุบาสกทั้งหลายชาวบ้านปาฏลิคามทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับแล้ว จึงลุกจากที่นั่งถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วกระทําประทักษิณ แล้วเข้าสู่อาคารรับรอง ปูลาดสถานที่ปูลาดไว้ทุกแห่ง แล้วปูอาสนะทั้งหลายไว้ จัดตั้งหม้อน้ำ ยกประทีปน้ำมันขึ้นตั้งไว้ แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้วยืนอยู่ ณ ด้านหนึ่ง อุบาสกทั้งหลายชาวบ้านปาฏลิคาม ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ อาคารรับรอง ข้าพระองค์ทั้งหลายได้ปูลาดสถานที่ปูลาดไว้ทุกแห่งแล้ว ปูอาสนะทั้งหลายไว้แล้ว จัดตั้งหม้อน้ำไว้แล้ว ยกประทีปน้ำมันขึ้นตั้งไว้ บัดนี้ เป็นเวลาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดพิจารณากาลสมควร พระเจ้าข้า ดังนี้.
ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนุ่งสบง ทรงถือบาตร และจีวรเสด็จดําเนินไปยังอาคารรับรอง พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์ ทรงล้าง
(๑) บาลีพระสูตร แต่นี้ไป มีกล่าวถึงใน วินย.มหาวคฺค. ทุติย. ๕/๘๖ - ๙๔.
(๒) บาลีพระสูตร แต่นี้ไป มีกล่าวถึงใน ขุ.อุ. ๒๕/๒๑๕ - ๒๒๒.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 253
พระบาทแล้ว เสด็จเข้าอาคารรับรอง ประทับนั่งพิงเสากลาง ทรงผินพระพักตร์ไปทางทิศบูรพา แม้พระภิกษุสงฆ์ก็ล้างเท้าแล้วเข้าสู่อาคารรับรองแล้ว นั่งพิงผนังด้านตะวันตก หันหน้าไปทางทิศตะวันออก คือ หันหน้าไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเอง แม้อุบาสกทั้งหลายชาวบ้านปาฏลิคาม ก็พากันล้างเท้าแล้ว เข้าสู่อาคารรับรอง แล้วนั่งพิงผนังด้านตะวันออก หันหน้าไปทางทิศตะวันตก คือ หันหน้าไปทางพระผู้มีพระภาคเจ้า เช่นกัน.
โทษ ๕ ประการของศีลวิบัติ
[๗๙] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะอุบาสกทั้งหลายชาว บ้านปาฏลิคามว่า
ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย โทษของศีลวิบัติของบุคคลทุศีลมี ๕ ประการ ๕ ประการเป็นไฉน
(๑) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย บุคคลทุศีล ผู้ปราศจากศีลในโลกนี้ ประสบความเสื่อมโภคะเป็นอันมาก เพราะมีความประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นโทษข้อที่ ๑ ของศีลวิบัติ ของบุคคลทุศีล.
(๒) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก กิตติศัพท์ชั่วของบุคคลทุศีล ผู้ปราศจากศีลก็อื้อฉาวไป นี้เป็นโทษข้อที่ ๒ ของศีลวิบัติ ของบุคคลทุศีล.
(๓) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก บุคคลทุศีล ผู้ปราศจากศีล เข้าสู่บริษัทใดๆ คือขัตติยบริษัทก็ดี พราหมณบริษัทก็ดี คหบดีบริษัทก็ดี สมณบริษัทก็ดี เป็นผู้ไม่องอาจ ขวยเขิน เข้าไป นี้เป็นโทษข้อที่ ๓ ของศีลวิบัติ ของบุคคลทุศีล.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 254
(๔) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก บุคคลทุศีล ผู้ปราศจากศีล เป็นคนหลง ทํากาละ (ตาย) นี้เป็นโทษข้อที่ ๔ ของศีลวิบัติ ของบุคคลผู้ทุศีล.
(๕) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก บุคคลทุศีล ผู้ปราศจากศีล ครั้นร่างกายแตกภายหลังมรณะ จะเข้าไปถึงอบาย ทุคคติ วินิบาต นรก นี้เป็นโทษข้อที่ ๕ ของศีลวิบัติ ของบุคคลผู้ทุศีล.
ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย โทษ ๕ ประการของบุคคลผู้ทุศีล ผู้ปราศจากศีล เหล่านี้แล.
อานิสงส์ ๕ ประการของศีลสัมปทา
[๘๐] ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อานิสงส์ของความถึงพร้อมด้วยศีล ของผู้มีศีล มี ๕ ประการ ๕ ประการเป็นไฉน
(๑) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย บุคคลผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีลในโลกนี้ ได้ประสบโภคะกองใหญ่เพราะมีความไม่ประมาทเป็นเหตุ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๑ ของความถึงพร้อมด้วยศีล ของบุคคลผู้มีศีล.
(๒) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก กิตติศัพท์อันดีงาม ของบุคคลผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล กระฉ่อนไป นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๒ ของความถึงพร้อมด้วยศีล ของบุคคลผู้มีศีล.
(๓) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก บุคคลผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เข้าสู่บริษัทใดๆ คือ ขัตติยบริษัทก็ดี พราหมณบริษัทก็ดี คหบดีบริษัทก็ดี สมณบริษัทก็ดี เป็นผู้องอาจ ไม่ขวยเขิน เข้าไป นี้เป็นอานิสงส์ ข้อที่ ๓ ของความถึงพร้อมด้วยศีล ของบุคคลผู้มีศีล.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 255
(๔) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก บุคคลผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล เป็นผู้ไม่หลงทํากาละ (ตาย) นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๔ ของความถึงพร้อมด้วยศีล ของบุคคลผู้มีศีล.
(๕) ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย และยังมีข้ออื่นอีก บุคคลผู้มีศีล ผู้ถึงพร้อมด้วยศีล ครั้นร่างกายแตกภายหลังมรณะ จะเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ นี้เป็นอานิสงส์ข้อที่ ๕ ของความถึงพร้อมด้วยศีล ของบุคคลผู้มีศีล.
ดูก่อนคหบดีทั้งหลาย อานิสงส์ ๕ ประการของความถึงพร้อมด้วยศีล ของบุคคลผู้มีศีล เหล่านี้แล.
[๘๑] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยิ่งอุบาสกทั้งหลาย ชาวบ้านปาฏลิคาม ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถา ผ่านราตรีไปเป็นส่วนมากแล้ว ทรงส่งกลับ ด้วยพระดํารัสว่า ดูก่อน คหบดีทั้งหลาย ราตรีผ่านไปมากแล้วแล บัดนี้ ท่านทั้งหลายจงพิจารณาเห็นเป็นกาลสมควรเถิด อุบาสกทั้งหลาย ชาวบ้านปาฏลิคาม กราบทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อย่างนั้น พระเจ้าข้า แล้วพากันลุกจากที่นั่ง ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทําประทักษิณแล้ว พากันกลับไป ครั้งนั้นแล เมื่ออุบาสกทั้งหลาย ชาวบ้านปาฏลิคามกลับไปแล้วไม่นาน พระผู้มีพระภาคเจ้า ก็เสด็จเข้าสุญญาคาร.
บ้านปาฏลิคาม
[๘๒] ก็สมัยนั้นแล พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะ มหาอํามาตย์ของแคว้นมคธกําลังให้สร้างเมืองอยู่ในหมู่บ้านปาฏลิคาม เพื่อป้องกันเจ้าวัชชีทั้งหลาย. แต่ทว่า สมัยนั้นแล เทวดาทั้งหลายเป็นอันมากจํานวนพันๆ พากัน หวงแหนพื้นที่ในหมู่บ้านปาฏลิคาม. ในภูมิประเทศใด เทวดาทั้งหลายผู้มี
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 256
ศักดิ์ใหญ่หวงแหนพื้นที่ จิตก็น้อมไปเพื่อให้สร้างนิเวศน์ทั้งหลาย แก่ราชาและราชมหาอํามาตย์ทั้งหลายผู้มีศักดิ์ใหญ่ในภูมิประเทศนั้น ในภูมิประเทศใด เทวดาทั้งหลายชั้นกลางๆ พากันหวงแหนพื้นที่ จิตก็น้อมไปเพื่อให้สร้างนิเวศน์ทั้งหลาย แก่ราชาและราชมหาอํามาตย์ทั้งหลายชั้นกลางๆ ในภูมิประเทศนั้น ในภูมิประเทศใด เทวดาทั้งหลายชั้นต่ําพากันหวงแหนพื้นที่ จิตก็น้อมไปเพื่อให้สร้างนิเวศน์ทั้งหลาย แก่ราชาและราชมหาอํามาตย์ทั้งหลายชั้นต่ําในภูมิประเทศนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นเทวดาทั้งหลายเหล่านั้น จํานวนพันๆ ต่างหวงแหนพื้นที่ในหมู่บ้านปาฏลิคาม ด้วยทิพยจักษุอันบริสุทธิ์ เหนือดวงตามนุษย์ ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จลุกขึ้นในเวลาใกล้รุ่งแห่งราตรี แล้วตรัสแก่พระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ใครหนอให้สร้างเมือง อยู่ในหมู่บ้านปาฏลิคาม.
พระอานนท์กราบทูลว่า พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะ มหาอํามาตย์ของแคว้นมคธ กําลังให้สร้างเมืองอยู่ในหมู่บ้านปาฏลิคาม เพื่อป้องกันเจ้าวัชชีทั้งหลาย พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้า ดูก่อนอานนท์ พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะ มหาอํามาตย์ของแคว้นมคธให้สร้างเมืองในหมู่บ้านปาฏลิคาม เพื่อป้องกันเจ้าวัชชีทั้งหลาย เหมือนอย่างท้าวสักกะทรงปรึกษาหารือกับเทวดาทั้งหลายชั้นดาวดึงส์ ดูก่อนอานนท์ ณ ที่นี้ ตถาคตได้เห็นเทวดาทั้งหลายเป็นอันมาก จํานวนพันๆ ต่างหวงแหนพื้นที่ในหมู่บ้านปาฏลิคาม ด้วยทิพจักษุอันบริสุทธิ์ เหนือดวงตามนุษย์ ในภูมิประเทศใด เทวดาทั้งหลายผู้มีศักดิ์ใหญ่พากันหวงแหนพื้นที่ จิตก็น้อมไปเพื่อให้สร้างนิเวศน์ทั้งหลาย แก่ราชาและราชมหาอํามาตย์ทั้งหลายในภูมิประเทศนั้น ในภูมิประเทศใด เทวดาทั้งหลายชั้นกลางๆ พากันหวงแหนพื้นที่ จิตก็น้อมไปเพื่อให้สร้างนิเวศน์ทั้งหลาย แก่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 257
ราชาและแก่ราชมหาอํามาตย์ทั้งหลายชั้นกลางๆ ในภูมิประเทศนั้น ในภูมิประเทศใด เทวดาทั้งหลายชั้นต่ําพากันหวงแหนพื้นที่ จิตก็น้อมไปเพื่อให้สร้างนิเวศน์ทั้งหลาย แก่ราชาและแก่ราชมหาอํามาตย์ทั้งหลายในภูมิประเทศนั้น ดูก่อนอานนท์ เมืองนี้ยังเป็นที่ชุมนุมชนอารยะอยู่ตราบใด ยังเป็นทางผ่านของพ่อค้าอยู่ตราบใด จักเป็นนครชั้นเลิศ ชื่อปาฏลิบุตร (๑) เป็นที่แก้ห่อสินค้า ดูก่อนอานนท์ นครปาฏลิบุตรจักมีอันตราย ๓ ประการ คือ จากไฟ ๑ จากน้ำ ๑ หรือด้วยแตกสามัคคี ๑
พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะถวายภัตตาหาร
[๘๓] ครั้งนั้นแล พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะ มหาอํามาตย์ของแคว้นมคธ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นชื่นชมกับพระผู้มีพระภาคเจ้า กล่าวถ้อยคําน่าชื่นชมควรรําลึกถึงกันแล้ว จึงนั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะ มหาอํามาตย์ของแคว้นมคธ ผู้นั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่งแล ได้ กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ว่า ขอพระโคดมผู้เจริญ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ โปรดรับภัตตาหาร สําหรับวันนี้เถิด พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วยดุษณีภาพ พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะ มหาอํามาตย์ของแคว้นมคธ ครั้นทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับแล้ว จึงเข้าไปยังเรือนรับรองของตน แล้วสั่งให้ตกแต่งของควรเคี้ยวของควรบริโภคอย่างประณีตไว้ในเรือนรับรองของตน แล้วให้กราบทูลกาลเวลาแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารเสร็จแล้ว.
ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนุ่งสบง ทรงถือบาตรและจีวร พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จดําเนินเข้าไปเรือนรับรองของ
(๑) นครปาฏลิบุตรนี้ ต่อมาเป็นราชธานีของอาณาจักรมคธ ในรัชสมัยของพระเจ้ากาลา โสก หรือในรัชสมัยของพระเจ้าอุเทน พระราชโอรสของพระเจ้าอชาตศัตรู และเป็นนครหลวงที่เจริญรุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของพระเจ้าอโศก ธรรมาธิราช และสมัยราชวงศ์คุปตะ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 258
พราหมณ์สุนีธะแสะวัสสการะ มหาอํามาตย์ของแคว้นมคธ แล้วประทับนั่งบน อาสนะที่เขาปูไว้ ครั้งนั้นแล พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะ มหาอํามาตย์ของแคว้นมคธ อังคาส เลี้ยงดูภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุขด้วยของควรเคี้ยว ควรบริโภคอย่างประณีตด้วยมือของตน ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยเสร็จ ทรงวางพระหัตถ์ลงจากบาตร พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะ มหาอํามาตย์ของแคว้นมคธ ถือเอาอาสนะต่ําที่ใดที่หนึ่งแล้วนั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอนุโมทนากะพราหมณ์สุนีธะและวัสสการะ มหาอํามาตย์ของ แคว้นมคธ ผู้นั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่งด้วยพระคาถาเหล่านี้ ว่า
[๘๔] บุรุษผู้มีเชื้อชาติบัณฑิต เข้าไปอยู่ในประเทศใด พึงเชิญท่านพรหมจารีทั้งหลายผู้มีศีล ผู้สํารวมให้บริโภคในประเทศนั้น แล้วอุทิศทักษิณาให้แก่ เทวดาทั้งหลาย ซึ่งมีอยู่ในประเทศนั้น เทวดาทั้งหลายเหล่านั้น อันบุรุษนั้นบูชาแล้ว ย่อมบูชาตอบ นับถือแล้ว ย่อมนับถือตอบซึ่งบุรุษนั้น เพราะเหตุนั้น เทวดาทั้งหลายจะอนุเคราะห์บุรุษเชื้อชาติ บัณฑิตนั้น เหมือนมารดาอนุเคราะห์บุตรของตน บุรุษผู้ซึ่งเทวดาอนุเคราะห์แล้ว จะประสบแต่สิ่งเจริญทั้งหลายในกาลทุกเมื่อ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 259
โคตมทวาร
[๘๕] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นทรงอนุโมทนาพราหมณ์สุนีธะและวัสสการะ มหาอํามาตย์ของแคว้นมคธ ด้วยพระคาถาเหล่านี้แล้ว เสด็จกลับ ก็สมัยนั้นแล พราหมณ์สุนีธะและวัสสการะ มหาอํามาตย์ของแคว้นมคธ ตามเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้า ตามเสด็จไปโดยเบื้องพระปฤษฏางค์ ด้วยคิดว่า วันนี้ พระสมณโคดมจักเสด็จออกทางประตูใด ประตูนั้นจักมีชื่อว่า โคตมทวาร จักเสด็จข้ามแม่น้ำคงคา โดยท่าใด ท่านั้นจักมีชื่อว่า โคตมติตถะ (๑) ครั้งนั้นแล ประตูที่พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออก ได้มีนามว่า โคตมทวาร ครั้นแล้วพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดําเนินไปยังแม่น้ำคงคา ก็สมัยนั้นแล แม่น้ำคงคา น้ำเต็มฝังเสมอขอบฝัง กาดื่มกินได้ มนุษย์ทั้งหลายผู้ปรารถนาข้ามจากฝังหนึ่งไปยังอีกฝังหนึ่ง บางพวกก็ใช้เรือ บางพวกก็ใช้แพ บางพวกก็ผูกทุ่น
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหายพระองค์บนฝังข้างนี้ของแม่น้ำคงคาแล้วประทับยืนเฉพาะอยู่บนฝังข้างโน้น เหมือนบุรุษผู้มีกําลังพึงเหยียดแขนที่คู้ไว้ออกไป หรือคู้แขนที่เหยียดไว้เข้ามา ผู้ปรารถนาข้ามจากฝังหนึ่งไปยังฝังหนึ่ง บางพวกก็ใช้เรือ บางพวกก็ใช้แพ บางพวกก็ผูกทุ่น ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความหมายนั้นแล้ว ทรงเปล่งอุทานนี้ ใน เวลานั้นว่า
ชนทั้งหลายเหล่าใด จะข้ามสระ คือ ห้วงน้ำ (แม่น้ำ) ชนเหล่านั้น ต้องทํา สะพานผ่านเปือกตมข้ามไป ประชาชน
(๑) โคตมติตถะ ไม่มี เพราะมิได้เสด็จลงท่า.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 260
ยังผูกทุ่นกันอยู่ แต่ชนทั้งหลายผู้มีปัญญา ข้ามกันไปไม่ต้องผูกทุ่น (๑)
จบภาณวารที่ ๑ (๒)
โกฏิคาม
[๘๖] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า มาเถิด อานนท์ เราจักเข้าไปหมู่บ้านโกฏิคามกันเถิด ท่านพระอานนท์กราบทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า.
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่เสด็จดําเนินถึงหมู่บ้านโกฏิคามนั้นแล้ว เล่ากันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ในหมู่บ้านโกฏิคามนั้น ในหมู่บ้านโกฏิคามนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะมิได้ตรัสรู้ เพราะมิได้แทงตลอด อริยสัจจ์ ๔ เราตถาคตและเธอทั้งหลายด้วย จึงโลดแล่นไป เร่ร่อนไป ตลอดกาลยาวนานนี้ อย่างนี้ อริยสัจจ์ ๔ เป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะมิได้ตรัสรู้ เพราะมิได้แทงตลอดอริยสัจจ์ คือ ทุกข์ เราตถาคตและเธอทั้งหลายด้วย จึงโลดแล่นไป เร่ร่อนไป ตลอดกาลยาวนานนี้ อย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะมิได้ตรัสรู้ เพราะมิได้แทงตลอดอริยสัจจ์ คือ เหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ เราตถาคตและเธอทั้งหลายด้วย จึงโลดแล่นไป เร่ร่อนไป ตลอดกาลยาวนานนี้ อย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะมิได้ตรัสรู้ เพราะมิได้แทงตลอดอริยสัจจ์ คือ ความดับทุกข์ เราตถาคตและเธอทั้งหลาย
(๑) ดู-ขุ. อุ. ๒๕/๒๒๒ ด้วย
(๒) ภาณวารแปลว่า วาระแห่งการสวด ตามธรรมดา ๑ ภาณวาร ประกอบด้วยคาถา ๒๕๐ คาถา ๑ คาถา มี ๔ บาท มี ๘ อักษร รวม ๑ คาถา มี ๓๒ อักษร เพราะฉะนั้น ๒๕๐ คาถา จึงเท่ากับ ๘,๐๐๐ อักษร (หรือ ๘,๐๐๐ พยางค์) เป็น ๑ ภาณวาร.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 261
ด้วย จึงโลดแล่นไป เร่ร่อนไป ตลอดกาลยาวนานนี้ อย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เพราะมิได้ตรัสรู้ เพราะมิได้แทงตลอดอริยสัจจ์ คือ ทางปฏิบัติไปสู่ความดับทุกข์ เราตถาคตและเธอทั้งหลายด้วย จึงโลดแล่นไป เร่ร่อนไป ตลอดกาลยาวนานนี้ อย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อริยสัจจ์ คือ ทุกข์นี้นั้น เราตถาคตตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว อริยสัจจ์ คือ เหตุเป็นแดนเกิดแห่งทุกข์ เราตถาคตตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว อริยสัจจ์ คือ ความดับทุกข์ เราตถาคตตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว อริยสัจจ์ คือ ทางปฏิบัติไปสู่ความดับทุกข์ เราตถาคตตรัสรู้แล้ว แทงตลอดแล้ว ตัณหาในภพ เราตถาคตถอนขึ้นแล้ว ตัณหานําไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว บัดนี้ภพต่อไปไม่มี พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงตรัสบทประพันธ์ ต่อไปว่า. -
[๘๗] เพราะไม่เห็นอริยสัจจ์ ๔ ตามความเป็นจริง เราตถาคตและเธอทั้งหลาย จึงเร่ร่อนไปในชาติทั้งหลายเหล่านั้น นั่นแล ตลอดกาลยาวนาน.
บัดนี้อริยสัจจ์ ๔ นี้นั้น เราตถาคตเห็นแล้ว ตัณหานําไปสู่ภพ เราก็ถอนได้แล้ว รากเหง้าของทุกข์ เราก็ถอนทิ้งแล้ว บัดนี้ จะไม่มีเกิดอีกต่อไป (๑)
[๘๘] ทราบว่าแม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ในหมู่บ้านโกฏิคามนั้น ก็ทรงทําธรรมีกถานี้แลเป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายว่า ศีลมีอยู่ด้วยประการฉะนี้ สมาธิมีอยู่ด้วยประการฉะนี้ ปัญญามีอยู่ด้วยประการฉะนี้ สมาธิอันศีลอบรมแล้ว ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้ว
(๑) ดู. วินย. มหาวัคค, ทุติยภาค ๕/๙๓ - ๙๔.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 262
ย่อมมีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ก็หลุดพ้นด้วยดีโดยแท้จากอาสวะทั้งหลาย กล่าวคือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ดังนี้.
หมู่บ้านนาทิกะ (๑)
[๘๙] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ในบ้านโกฏิคาม ตามพระอัธยาศัยแล้ว ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า มาเถิด อานนท์ เราจะเข้าไปยังหมู่บ้านนาทิกะกันเถิด ท่านพระอานนท์กราบทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จดําเนินถึงหมู่บ้านนาทิกะแล้ว เล่ากันว่า ในหมู่บ้านนาทิกะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ในเรือนรับรองก่อด้วยอิฐ.
ครั้งนั้นแล (๒) ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง ท่านพระอานนท์ผู้นั่ง อยู่ ณ ด้านหนึ่งแล ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ว่า.-
คติภายหน้าของผู้ทํากาละแล้ว
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุชื่อว่าสาฬหะ ทํากาละแล้วในหมู่บ้านนาทิกะ เขามีคติอย่างไร มีภพไปถึงภายหน้าอย่างไร.
ภิกษุณี ชื่อว่า นันทา ทํากาละแล้ว ในหมู่บ้านนาทิกะ เขามีคติอย่างไร มีภพไปถึงภายหน้าอย่างไร พระเจ้าข้า.
อุบาสก ชื่อว่า สุทัตตะ ...
อุบาสิกา ชื่อว่า สุชาดา ...
(๑) ในสํ. มหาวาร. ๑๙/๔๔๖ ... ระบุว่า "ญาติเก-ในหมู่บ้านญาติกะ"
(๒) บาลีพระสูตร แต่นี้ไป มีกล่าวถึงใน สํ. มหาวาร. ๑๙/๔๔๗ - ๔๕๑ แต่ละนามบุคคลแผก เพี้ยนเพิ่มเติมบ้าง และมีละเอียดออกไปบ้าง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 263
อุบาสก ชื่อว่า กกุธะ ...
อุบาสก ชื่อว่า การฬิมภะ ...
อุบาสก ชื่อว่า นิกฏะ ...
อุบาสก ชื่อว่า กฏิสสหะ ...
อุบาสก ชื่อว่า ตุฏฐะ ...
อุบาสก ชื่อว่า สันตุฏฐะ ...
อุบาสก ชื่อว่า ภฏะ ...
อุบาสกชื่อ สุภฏะ ทํากาละแล้วในหมู่บ้านนาทิกะ เขามีคติอย่างไร มีภพไปถึงภายหน้าอย่างไร พระเจ้าข้า.
แว่นธรรม
พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงมีพระดํารัสว่า ดูก่อนอานนท์ ภิกษุสาฬหะทําให้แจ้งซึ่งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ หาอาสวะมิได้ เพราะอาสวะทั้งหลายสิ้นไป ด้วยปัญญารู้ยิ่งด้วยตนเองแล้ว เข้าถึงอยู่ในทิฏฐธรรมแล้วแล
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุณีชื่อนันทา เพราะสัญโญชน์ อันเป็นส่วนเบื้องต่ํา ๕ สิ้นไป เป็นผู้ผุดเกิดขึ้น ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้น เป็นผู้ไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
ดูก่อนอานนท์ อุบาสกสุทัตตะ เพราะสัญโญชน์ ๓ อย่างสิ้นไป เพราะราคะ โทสะและโมหะทั้งหลายบางเบา เป็นสกทาคามี จักมาสู่โลกนี้ อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจักทําที่สุดทุกข์
ดูก่อนอานนท์ อุบาสิกาสุชาดา เพราะสัญโญชน์ ๓ อย่างสิ้นไป เป็นโสดาบัน เป็นผู้ไม่ตกต่ําเป็นธรรมดา เป็นผู้แน่นอนแล้ว จะตรัสรู้ในภายหน้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 264
ดูก่อนอานนท์ อุบาสกกกุธะ เพราะ (เขา) สิ้นสัญโญชน์ส่วนเบื้อง ต่ํา ๕ อย่าง เป็นผู้ผุดเกิดขึ้น ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้น เป็นผู้ไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
ดูก่อนอานนท์ อุบาสกการฬิมภะ. . .
ดูก่อนอานนท์ อุบาสกนิกฏะ. . .
ดูก่อนอานนท์ อุบาสกกฏิสสหะ. . .
ดูก่อนอานนท์ อุบาสกตุฏฐะ. . .
ดูก่อนอานนท์ อุบาสกสันตุฏฐ. . .
ดูก่อนอานนท์ อุบาสกภฏะ. . .
ดูก่อนอานนท์ อุบาสกสุภฏะ เพราะ (เขา) สิ้นสัญโญชน์ส่วนเบื้องต่ํา ๕ อย่าง เป็นผู้ผุดเกิดขึ้น ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้น เป็นผู้ไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
ดูก่อนอานนท์ อุบาสกทั้งหลาย ในหมู่บ้านนาทิกะกว่า ๕๐ คน ทํากาละแล้ว เพราะ (เขา) สิ้นสัญโญชน์ส่วนเบื้องต่ํา ๕ อย่าง เป็นผู้ผุดเกิดขึ้น ปรินิพพานในชั้นสุทธาวาสนั้น เป็นผู้ไม่กลับมาจากโลกนั้นเป็นธรรมดา
ดูก่อนอานนท์ อุบาสกทั้งหลายในหมู่บ้านนาทิกะ ๙๖ คน ทํากาละแล้ว เพราะสัญโญชน์ ๓ อย่างสิ้นไป เพราะราคะ โทสะและโมหะบางเบา เป็นสกทาคามี จักมาสู่โลกนี้อีกครั้งเดียวเท่านั้น แล้วจักทําที่สุดทุกข์
ดูก่อนอานนท์ อุบาสกทั้งหลาย ในหมู่บ้านนาทิกะ ๕๑๐ คน ทํากาละแล้ว เพราะสัญโญชน์ ๓ อย่างสิ้นไป เป็นโสดาบัน เป็นผู้ไม่ตกต่ําเป็นธรรมดา เป็นผู้แน่นอน เป็นผู้จะตรัสรู้ในภายหน้า ข้อนั้นไม่เป็นสิ่งอัศจรรย์ เป็นมนุษย์พึงทํากาละ เมื่อบุคคลนั้นๆ ทํากาละแล้ว เธอทั้งหลายก็จักเข้ามาหาตถาคต แล้วถามเนื้อความนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ ข้อนี้เป็นการเบียดเบียนแก่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 265
ตถาคตโดยแท้ ดูก่อนอานนท์ เพราะเหตุนั้นแหละ เรา ตถาคตจักแสดงธรรม บรรยายชื่อว่าแว่นธรรมไว้ ซึ่งอริยสาวกผู้ประกอบด้วยธรรมบรรยายชื่อว่าแว่นธรรมแล้ว เมื่อปรารถนาพึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองว่า ฉันมีนรกสิ้นแล้ว มีกําเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีวิสัยแห่งเปรตสิ้นแล้ว เป็นผู้มีอบายทุคติและวินิบาตสิ้นแล้ว ฉันเป็นพระโสดาบัน เป็นผู้ไม่ตกต่ําเป็นธรรมดา เป็นผู้แน่นอนแล้ว จะตรัสรู้ในภายหน้า.
ดูก่อนอานนท์ ก็ธรรมบรรยาย ชื่อว่า แว่นธรรม ซึ่งอริยสาวก ผู้ประกอบด้วยธรรมบรรยายชื่อว่าแว่นธรรมแล้ว เมื่อปรารถนาพึงพยากรณ์ตนด้วยตนเองว่า ฉันมีนรกสิ้นแล้ว มีกําเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีวิสัยแห่งเปรตสิ้นแล้ว เป็นผู้มีอบายทุคติและวินิบาตสิ้นแล้ว ฉันเป็นพระโสดาบัน เป็นผู้ไม่ตกต่ําเป็นธรรมดา เป็นผู้แน่นอนแล้ว จะตรัสรู้ในภายหน้านั้นเป็น ไฉน
ดูก่อนอานนท์ อริยสาวกในพระศาสนานี้
(๑) เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระพุทธเจ้าว่า แม้ด้วยเหตุนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ เป็นผู้ตรัสรู้โดยชอบด้วยพระองค์เอง เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เป็นผู้เสด็จไปดีแล้ว เป็นผู้รู้โลก เป็นสารถีผู้ฝึกคนที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่งกว่า เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้ทรงจําแนกธรรม ดังนี้.
(๒) เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระธรรมว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสรู้ดีแล้ว ผู้บรรลุพึงเห็นด้วยตนเอง ไม่ประกอบด้วยกาล เรียกคนอื่นมาดูได้ น้อมเข้ามาในตน อันวิญูชนทั้งหลาย พึงรู้เฉพาะตน ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 266
(๓) เป็นผู้ประกอบด้วยความเลื่อมใสไม่หวั่นไหวในพระสงฆ์ว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดี เป็นผู้ปฏิบัติตรง เป็นผู้ปฏิบัติเพื่อรู้ เป็นผู้ปฏิบัติสมควร พระสงฆ์สาวกนี้ คือ ใคร คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่ บุรุษบุคคล ๘ ท่าน นี้คือพระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ควรแก่ของนํามาคํานับ เป็นผู้ควรแก่ของต้อนรับ เป็นผู้ควรแก่ของทําบุญ เป็นผู้ควรแก่การทําอัญชลี เป็นนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า ดังนี้.
(๔) เป็นผู้ประกอบด้วยอริยกันตศีลทั้งหลาย ที่ไม่ขาด ไม่ทะลุ ไม่ด่าง ไม่พร้อย เป็นไท อันวิญูชนสรรเสริญ อันตัณหาและทิฏฐิไม่แปดเปื้อน ดําเนินไปเพื่อได้สมาธิ ดูก่อนอานนท์ ธรรมบรรยายชื่อว่าแว่นธรรมนี้แล ซึ่งพระอริยาสาวกผู้ประกอบด้วยธรรมบรรยายชื่อว่าแว่นธรรมแล้ว เมื่อปรารถนาพึงพยากรณ์ตนได้ด้วยตนเองว่า ฉันมีนรกสิ้นแล้ว มีกําเนิดสัตว์ดิรัจฉานสิ้นแล้ว มีวิสัยแห่งเปรตสิ้นแล้ว เป็นผู้มีอบาย ทุคติและวินิบาต สิ้นแล้ว ฉันเป็นพระโสดาบัน เป็นผู้ไม่ตกต่ําเป็นธรรมดา เป็นผู้แน่นอนแล้ว จะตรัสรู้ในภายหน้า ดังนี้.
ได้ยินว่า แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ ณ เรือนรับรองก่อด้วยอิฐในหมู่บ้านนาทิกะนั้น ก็ทรงทําธรรมีกถานี้แลเป็นอันมาก แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ศีล มีอยู่ด้วยประการฉะนี้ สมาธิ มีอยู่ด้วยประการฉะนี้ ปัญญา มีอยู่ด้วยประการฉะนี้ สมาธิอันศีลอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ก็หลุดพ้นด้วยดีโดยแท้จากอาสวะทั้งหลาย กล่าวคือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ดังนี้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 267
นครเวสาลี
[๙๐] ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ในหมู่บ้านนาทิกะ ตามพระอัธยาศัยแล้วตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า มาเถอะ อานนท์ เราจะเข้าไปนครเวสาลีกันเถิด. ท่านพระอานนท์ กราบทูลแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จดําเนินถึงนครเวสาลีนั้นแล้ว. ทราบว่าในนครเวสาลีนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จประทับในอัมพปาลิวัน.
สติปัฏฐาน-อนุสาสนี
ในอัมพปาลิวันนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ นี้เป็น อนุสาสนีของเรา (มอบให้) แก่เธอ (ทั้งหลาย) (๑)
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีสติอย่างไร.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระศาสนานี้ พิจารณากายในกาย เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติอยู่ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระศาสนานี้ พิจารณาเวทนาใน เวทนา ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระศาสนานี้ พิจารณาจิตในจิต ...
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระศาสนานี้ พิจารณาธรรมในธรรม มีสัมปชัญญะ มีสติอยู่ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีสติอยู่อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะเป็นอย่างไร.
(๑) ตรงนี้ เป็น เต -แก่เธอ แต่ข้างหน้า เป็น โว -แก่เธอทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 268
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในพระศาสนานี้ เป็นผู้ทําความรู้ตัวอยู่เสมอ ในการก้าวไปข้างหน้า ในการถอยกลับ
เป็นผู้ทําความรู้ตัวอยู่เสมอ ในการแลดู ในการเหลียวดู
เป็นผู้ทําความรู้อยู่เสมอ ในการคู้เข้า ในการเหยียดออก
เป็นผู้ทําความรู้ตัวอยู่เสมอ ในการทรงไว้ ซึ่งสังฆาฏิ บาตรและจีวร
เป็นผู้ทําความรู้ตัวอยู่เสมอ ในการกิน ในการดื่ม ในการเคี้ยว ในการลิ้ม
เป็นผู้ทําความรู้ตัวอยู่เสมอ ในการถ่ายอุจจาระและปัสสาวะ
เป็นผู้ทําความรู้ตัวอยู่เสมอ ในการเดิน ในการยืน ในการนั่ง ในการหลับ ในการตื่น ในการพูด ในการนิ่ง.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้มีสัมปชัญญะอยู่อย่างนี้แล.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุพึงเป็นผู้มีสติ มีสัมปชัญญะอยู่ นี้เป็นอนุสาสนีของเรา แก่เธอทั้งหลาย ฉะนั้นแล.
นางอัมพปาลีคณิกามาเฝ้า
[๙๑] นางอัมพปาลี (๑) คณิกา ได้ยินแล้วแลว่า เขาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดําเนินถึงนครเวสาลีแล้ว เสด็จประทับอยู่ในสวนมะม่วงของเรา ใกล้นครเวสาลี ครั้งนั้นแล นางอัมพปาลีคณิกา สั่งให้เทียมยานทั้งหลายที่ดีๆ แล้ว ตนเองขึ้นยานดีๆ คันหนึ่ง ออกจากนครเวสาลีด้วยยานทั้งหลายคันดีๆ เข้าไปยังสวนของตน ไปด้วยยานตลอดพื้นที่ยานไปได้ แล้วลงจากยาน เดินเท้าไป เข้าไปเฝ้าพระผู้มีภาคเจ้า ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ยังนางอัมพปาลีคณิกา ผู้นั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง ให้เห็นแจ้ง ให้รื่นเริง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ
(๑) บาลีพระสูตรแต่นี้ไป มีกล่าวถึงใน วินย. มหาวัคค์, ทุติยภาค ๕/๙๔ - ๙๗.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 269
ด้วยธรรมีกถา ครั้งนั้นแล นางอัมพปาลีคณิกา ผู้ซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ โปรดรับภัตตาหารของหม่อมฉัน สําหรับวันพรุ่งนี้ด้วยเถิด พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วยดุษณีภาพ. ครั้งนั้นแล นางอัมพปาลีคณิกา ครั้นทราบว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับแล้ว ก็ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มี พระภาคเจ้า ทําประทักษิณแล้วกลับไป.
[๙๒] เจ้าลิจฉวีทั้งหลายชาวเมืองเวสาลี ได้ยินแล้วแลว่า เขาว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดําเนินถึงเมืองเวสาลีแล้ว เสด็จประทับอยู่ในอัมพปาลิวัน ใกล้เมืองเวสาลี. ครั้งนั้นแล เจ้าลิจฉวีทั้งหลายเหล่านั้น สั่งให้ เทียมยานทั้งหลายคันใหญ่ๆ แล้วต่างก็ขึ้นยานใหญ่ๆ ออกจากนครเวสาลีด้วยานทั้งหลายใหญ่ๆ ในบรรดาเจ้าลิจฉวีทั้งหลายเหล่านั้น เจ้าลิจฉวีบางพวกสีนิล มีวรรณสีนิล มีผ้านุ่งห่มสีนิล เครื่องประดับสีนิล เจ้าลิจฉวีบางพวกสีหลือง มีวรรณสีเหลือง มีผ้านุ่งสีเหลือง เครื่องประดับสีเหลือง เจ้าลิจฉวีบางพวกสีแดง มีวรรณสีแดง มีผ้านุ่งห่มสีแดง เครื่องประดับสีแดง เจ้าลิจฉวีบางพวกสีขาว มีวรรณสีขาว มีผ้านุ่งห่มสีขาว เครื่องประดับสีขาว.
ครั้งนั้นแล นางอัมพปาลีคณิกา ให้เพลา กระทบกับเพลา ให้ล้อ กระทบกับล้อ ให้แอก กระทบกับแอก ของเจ้าลิจฉวีทั้งหลายหนุ่มๆ . ครั้นแล้ว เจ้าลิจฉวีทั้งหลายเหล่านั้น ได้กล่าวกะนางอัมพปาลีคณิกาว่า แม่อัมพปาลี เหตุไร เจ้าจึงให้เพลากระทบเพลา ล้อกระทบล้อ แอกกระทบแอก ของเจ้าลิจฉวีทั้งหลายที่หนุ่มๆ เล่า. นางอัมพปาลีคณิกา ตอบว่าจริงอย่างนั้นเจ้าค่ะ ข้าแต่ลูกท่าน หม่อมฉันได้กราบทูลนิมนต์พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วย ภิกษุสงฆ์ทรงรับภัตตาหารสําหรับวันพรุ่งนี้ไว้แล้ว. เจ้าลิจฉวีทั้งหลาย นี่แน่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 270
แม่อัมพปาลี โปรดยกภัตตาหารมื้อนี้ให้แก่เรา ด้วยค่าหนึ่งแสนเถิด. อัมพปาลีคณิกาตอบว่า ข้าแต่ลูกท่าน หากเป็นจริง จักทรงประทานนครเวสาลีรวมทั้งรายได้ในชนบทแก่หม่อมฉัน แม้ถึงอย่างนั้น หม่อมฉันก็จักไม่ยกภัตตาหารยิ่งใหญ่ถวาย. ครั้งนั้นแล เจ้าลิจฉวีทั้งหลายเหล่านั้น ต่างส่ายองคุลีกล่าวว่า ท่านผู้เจริญเอย พวกเราพ่ายแพ้นางอัมพปาลีคณิกาเสียแล้ว ท่านผู้เจริญเอย พวกเราถูกนางอัมพปาลีคณิกาลวงเสียแล้ว. ครั้งนั้นแล เจ้าลิจฉวีทั้งหลายเหล่านั้น ก็เข้าไปยังอัมพปาลีวัน.
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทอดพระเนตรเห็นเจ้าลิจฉวีทั้งหลายมาแต่ไกล จึงตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุทั้งหลายเหล่าใด ไม่เคยเห็นเทวดาทั้งหลายชั้นดาวดึงส์ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงดูบริษัทของเจ้าลิจฉวี เหลียวดูบริษัทของเจ้าลิจฉวี จงเปรียบเทียบบริษัทของเจ้าลิจฉวีเหมือนเช่นเทวดาชั้นดาวดึงส์. ครั้งนั้นแล เจ้าลิจฉวีทั้งหลายเหล่านั้นไปด้วยยานตลอดพื้นที่ยานไปได้แล้วลงจากยาน ดําเนินไป เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง พระผู้มีพระภาค เจ้าทรงยังเจ้าลิจฉวีทั้งหลายเหล่านั้น ซึ่งนั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมีกถา. ครั้งนั้นแล เจ้าลิจฉวีทั้งหลายเหล่านั้น ผู้อันพระผู้มีพระเจ้าทรงให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงแล้วด้วยธรรมีกถา ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยพระภิกษุสงฆ์โปรดรับภัตตาหารของหม่อมฉันทั้งหลาย สําหรับวันพรุ่งนี้เถิด พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนลิจฉวีทั้งหลาย ตถาคตรับภัตตาหารของนางอัมพปาลีคณิกา สําหรับวันพรุ่งนี้ไว้ แล้วแล. ครั้งนั้นแล เจ้าลิจฉวีทั้งหลายเหล่านั้น ต่างส่ายองคุลีกล่าวว่า ท่านผู้เจริญเอย พวกเราพ่ายแพ้นางอัมพปาลีคณิกาเสียแล้ว. ท่านผู้เจริญเอย พวก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 271
เราถูกนางอัมพปาลีคณิกาลวงเสียแล้ว. ครั้งนั้นแล เจ้าลิจฉวีทั้งหลายเหล่านั้น ชื่นชมอนุโมทนาพระพุทธภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า ทําประทักษิณ แล้วหลีกไป.
ครั้งนั้นแล นางอัมพปาลีคณิกา สั่งให้เตรียมของควรเคี้ยว ของควรบริโภคอันประณีต ในสวนของตนจนสิ้นราตรีนั้น แล้วให้กราบทูลกาลเวลา แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ได้เวลาแล้ว พระเจ้าข้า ภัตตาหารเสร็จแล้ว. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนุ่งสบง ทรงถือบาตรและจีวร ในเวลาเช้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปสู่ที่อังคาสของนางอัมพปาลีคณิกา ครั้นแล้ว ประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้. ครั้งนั้นแล นางอัมพปาลีคณิกา อังคาสเลี้ยงดู ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธเจ้าเป็นองค์ประมุข ด้วยของควรเคี้ยว ของควรบริโภค อันประณีตด้วยมือของตน. ครั้งนั้นแล ครั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยแล้ว ทรงวางพระหัตถ์ลงจากบาตรแล้ว (๑) นางอัมพปาลีคณิกา ถือเอาอาสนะต่ํา นั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ว่า หม่อมฉันขอถวายอาราม (๒) นี้ แด่ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นองค์ประมุข พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับพระอารามแล้ว. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า ยังนางอัมพปาลีคณิกาให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ทรงลุกจากอาสนะ เสด็จกลับไป (๓)
(๑) ในที่นี้ แปลคําทุติยาวิภัตติ เป็นสัตว์มีวิภัตติ แต่ในวินย. มหาวัคค์ ทุติยภาค ๕/๙๗ มี ฟุตโน้ตว่า "อภิวาเทตฺวา-ถวายบังคม" ต่อคําว่า "โอนีตปตฺตปาณี-วางพระหัตถ์ลงจาก บาตรแล้ว" ถ้าอย่างนี้ เป็นทุติยาวิภัตติ
(๒) ใน วินย. มหาวัคค์ ทุติยภาค ๕/๙๗ ว่า "อมฺพปาลีวนํ - สวนนางอัมพปาลี"
(๓) ใน วินย. มหาวัคค์ ทุติยภาค ๕/๙๗ ว่า "อุฏฺฐายาสนา เยน มหาวนํ เตนุปสงฺกมิ. ตตฺร สุทํ ภควา เวสาลิยํ วิหรติ มหาวเน กูฏาคารสาลายํ -ทรงลุกจากอาสนะ เสด็จเข้าไปป่ามหาวัน ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับ ณ กูฏาคารศาลา ในป่ามหาวัน ใกล้นครเวสาลีนั้น"
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 272
ได้ยินว่า เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จอยู่ ณ อัมพปาลีวัน ใกล้นครเวสาลีนั้น ก็ทรงทําธรรมีกถานี้แลเป็นอันมาก แก่ภิกษุทั้งหลายว่า ศีล มีอยู่ด้วยประการฉะนี้ สมาธิ มีอยู่ด้วยประการฉะนี้ ปัญญา มีอยู่ด้วยประการ ฉะนี้ สมาธิอันศีลอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ก็หลุดพ้นด้วยดี โดยแท้ จากอาสวะทั้งหลาย กล่าวคือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ ดังนี้.
เวฬุวคาม (๑)
[๙๓] ครั้งนั้นแลพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จอยู่ในอัมพปาลีวัน ตามพระอัธยาศัยแล้ว ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า มาเถอะ อานนท์ เราจักเข้าไป ยังหมู่บ้านเวฬุวคามกันเถิด. ท่านพระอานนท์ทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จดําเนินถึงหมู่บ้านเวฬุวคามนั้น. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ หมู่บ้านเวฬุวคามนั้น.
ในหมู่บ้านเวฬุวคามนั้นแล (๒) พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เธอทั้งหลายจงไปเถิด จงไปจําพรรษาตามมิตรสหาย ตามบุคคลที่เคยพบเห็นกัน ตามบุคคลที่เคยคบหากัน โดยรอบนครเวสาลีเถิด ส่วนเรา ตถาคตจะเข้าจําพรรษาในหมู่บ้านเวฬุวคามนี้แล. ภิกษุทั้งหลายเหล่านั้น กราบทูลรับแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า. แล้วไปจําพรรษาตามมิตรสหาย ตามบุคคลที่เคยพบเห็นกัน ตามบุคคลที่เคยคบหากัน โดยรอบนครเวสาลี. ส่วนพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงเข้าจําพระวัสสา (๓) ในหมู่บ้าน เวฬุวคามนั้นเอง.
(๑) บางแห่งเป็น "เวลุวคามก" และเป็น "เพลุวคามก" ก็มี
(๒) บาลีพระสูตรแต่นี้ไป มีกล่าวถึงใน สํ. มหาวาร. ๑๙/๒๐๓ - ๒๐๖.
(๓) พระพรรรษาที่ ๔๕ เป็นพรรษาสุดท้าย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 273
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระประชวร
ครั้งนั้นแล เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าจําพระวัสสาแล้ว ก็เกิดทรงพระอาพาธแรงกล้า มีเวทนาหนักเป็นใกล้สิ้นพระชนม์. กล่าวกันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้ามีพระสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นเวทนานั้น มิได้ทรงกระวนกระวาย. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีพระดําริว่า การที่เราไม่บอกกล่าวกะผู้เป็นอุปัฏฐาก ไม่บอกลาภิกษุสงฆ์แล้วปรินิพพานนั้น เป็นการไม่สมควรแก่เรา อย่างไรก็ตาม เราควรขับไล่อาพาธนี้ให้ถอยไป ด้วยพระวิริยะ แล้วอธิษฐานชีวิตสังขารดํารงอยู่. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขับไล่ พระโรคาพาธนั้นให้ถอยไปด้วยพระวิริยะแล้ว ทรงอธิษฐานชีวิตสังขารดํารง พระชนม์อยู่. ครั้นแล้วพระโรคาพาธนั้นของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็สงบไป (๑)
ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหายจากพระประชวรแล้ว ทรงหายจากพระประชวรแล้วไม่นาน เสด็จออกจากวิหารไปประทับนั่งบนอาสนะ ที่เขาปูไว้ในร่มด้านหลังวิหาร. ครั้งนั้นแล ท่านพระอานนท์ได้เข้าไปเฝ้า ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์ได้เห็น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระสําราญแล้ว ข้าพระองค์ได้เห็นความอดทนของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว พระเจ้าข้า และแม้กระนั้น ร่างกายของข้าพระองค์ ประดุจหนักอึ้ง ทิศทั้งหลายก็ไม่ปรากฏแก่ข้าพระองค์ อีกทั้งธรรมทั้งหลายก็มิแจ่มแจ้งกะข้าพระองค์ เพราะพระอาการทรงประชวรของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็แต่ว่า ข้าพระองค์ได้มีความเบาใจบางประการว่า ตราบเท่าที่พระองค์ยังไม่
(๑) ในอรรถกถา (ทั้งสุมงฺคลวิลาสินี, ทุติยภาค, น. ๑๙๑ และสารตฺถปฺปกาสินี, ตติยภาค, น. ๓๐๐) ว่า พระพุทธองค์ทรงเข้าผลสมาบัติข่มเวทนาขับไล่พระโรคาพาธให้สงบ ไม่เกิดขึ้น ตลอด ๑๐ เดือน จนเสด็จปรินิพพาน แสดงว่าทรงพระประชวรครั้งนี้ ราวปลายเดือน ๘ หรือ ต้นเดือน ๙.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 274
ทรงปรารภภิกษุสงฆ์แล้วทรงมีพระดํารัสอย่างใดอย่างหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า จักยังไม่เสด็จดับขันธปรินิพพาน ดังนี้ พระเจ้าข้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ ก็ภิกษุสงฆ์ยังหวังอะไรในเราตถาคตเล่า ดูก่อนอานนท์ ธรรมที่ตถาคตแสดงแล้ว ได้ทํามิให้มีใน มิให้มีนอก ดูก่อนอานนท์ ตถาคตมิได้มีกํามืออาจารย์ (ปิดบังซ่อนเร้น) ในธรรมทั้งหลาย ดูก่อนอานนท์ ผู้ใดพึงมีความดําริอย่างนี้ว่า ฉันจักบริหารภิกษุสงฆ์ ดังนี้ก็ดี หรือว่า ภิกษุสงฆ์พึงยกย่องฉัน ดังนี้ก็ดี ดูก่อนอานนท์ แน่นอน เขาผู้นั้นพึงปรารภภิกษุสงฆ์แล้ว กล่าวถ้อยคําบางประการ. ดูก่อนอานนท์ ตถาคตมิได้มีความดําริอย่างนี้ว่า เราแลจักบริหารภิกษุสงฆ์ หรือว่า ภิกษุสงฆ์พึงยกย่องเรา ตถาคต ดังนี้. ดูก่อนอานนท์ ตถาคตนั้น ยังจักปรารภภิกษุสงฆ์แล้วกล่าวถ้อยคําไรๆ คราวเดียว. ดูก่อนอานนท์ ก็ในกาลบัดนี้ เรา ตถาคตแก่เฒ่าแล้ว เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยโดยลําดับแล้ว วัยของตถาคต ก็กําลังดําเนินเข้าเป็น ๘๐ ปีอยู่. ดูก่อนอานนท์ เกวียนคร่ําคร่าเดินไปได้ด้วยการแซมด้วยไม้ไผ่แม้ฉันใด ร่างกายของตถาคตก็ดําเนินไปได้ เหมือนด้วยการแซมด้วยไม้ไผ่ ฉันนั้นนั่นแล ดูก่อนอานนท์ ในสมัยใด ตถาคตเข้าถึงเจโตสมาธิ หานิมิตมิได้อยู่ เพราะไม่มนสิการนิมิตทั้งปวง เพราะเวทนาทั้งหลายบางอย่างดับไป ในสมัยนั้น ร่างกายของตถาคตมีความผาสุกยิ่ง (๑) เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เธอทั้งหลายจงมีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นสรณะอยู่เถิด อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะ จงมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นสรณะ อย่ามีสิ่งอื่นเป็นสรณะเลย.
ทรงแสดงเรื่องมีตนเป็นเกาะมีตนเป็นสรณะ
ดูก่อนอานนท์ ก็ภิกษุเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นสรณะอยู่ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นผู้มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นสรณะอยู่ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ อย่างไร.
(๑) แต่นี้ถึงจบภาณวารที่ ๒ ตรงกับ สํ. มหาวาร. ๑๙/ ๒๑๗.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 275
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุในพระศาสนานี้พิจารณากายในกาย เป็นผู้มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติอยู่ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
พิจารณาเวทนาในเวทนาทั้งหลาย ...
พิจารณาจิตในจิต ...
พิจารณาธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติอยู่ กําจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้.
ดูก่อนอานนท์ ภิกษุเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นสรณะ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ เป็นผู้มีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นสรณะอยู่ ไม่มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ ด้วยอาการอย่างนี้แล.
ดูก่อนอานนท์ เพราะว่า ในกาลบัดนี้ก็ดี โดยการที่เราตถาคตล่วงลับไปแล้วก็ดี ภิกษุทั้งหลายพวกใดพวกหนึ่ง จักเป็นผู้มีตนเป็นเกาะ มีตนเป็นสรณะอยู่ ไม่เป็นผู้มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ จักมีธรรมเป็นเกาะ มีธรรมเป็นสรณะอยู่ ไม่เป็นผู้มีสิ่งอื่นเป็นสรณะ ภิกษุทั้งหลายพวกใดพวกหนึ่ง ซึ่งเป็นผู้ใคร่ในการศึกษาเหล่านี้นั้น จักเป็นผู้ประเสริฐสุดยอด ดังนี้แล.
จบ คามกัณฑ์ ในมหาปรินิพพานสูตร
จบภาณวารที่ ๒
ว่าด้วยอานุภาพของอิทธิบาท ๔
[๙๔] (๑) ครั้งนั้นแล ในเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงนุ่งสบง ทรงถือบาตรและจีวรแล้ว เสด็จดําเนินเข้านครเวสาลี เพื่อบิณฑบาต (๒) ครั้นเสด็จดําเนินเพื่อบิณฑบาตในนครเวสาลีแล้ว เสด็จกลับจากบิณฑบาตในเวลา
(๑) บาลีพระสูตรต่อไปนี้ มีกล่าวไว้ใน สํ. มหาวาร. ๑๙/๓๐๒ - ๓๓๘ อํ. อฏฺก. ๒๓/๓๑๘ -๓๒๔, ขุ.อุ. ๒๕/๑๗๖.
(๒) ความในมหาปรินิพพานสูตร ตามที่กล่าวไว้ในคัมภีร์อรรถกถา สุมงฺคลวิสาสินี, ทุติยภาค, น. ๙๓๑ - ๒๐๑ และสารตฺถปฺปกาสินี, ตติยภาค, น. ๓๑๒ - ๓๒๘.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 276
ปัจฉาภัตร ทรงมีพระดํารัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงถือนิสีทนะ (ที่รองนั่ง) เราจักเข้าไปยังปาวาลเจดีย์กันเถิด ท่านพระอานนท์กราบทูลรับว่า พระเจ้าข้า แล้วถือนิสีทนะตามเสด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าไป โดยเบื้องพระปฤษฏางค์. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จดําเนินเข้าไปยังปาวาลเจดีย์ แล้วประทับนั่งบนอาสนะที่ปูไว้แล้ว แม้ท่านพระอานนท์ ก็ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วนั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ ตรัสกะท่านพระอานนท์ ซึ่งนั่งอยู่ ณ ด้านหนึ่ง ดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ นครเวสาลีเป็นที่รื่นรมย์ อุเทนเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ โคตมกเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ พหุปุตตเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ สารันททเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ ดูก่อนอานนท์ ผู้หนึ่งผู้ใด เจริญอิทธิบาท ๔ ทําให้มาก ทําให้เป็นประหนึ่งยาน ทําให้เป็นประหนึ่งวัตถุที่ตั้ง ตั้งไว้เนื่องๆ อบรมไว้ ปรารภด้วยดี โดยชอบ ดูก่อนอานนท์ ผู้นั้น เมื่อปรารถนา ก็พึงดํารง (ชนม์ชีพ) อยู่ได้ตลอดกัป เกินกว่ากัป ดูก่อนอานนท์ ตถาคตแลได้เจริญอิทธิบาท ๔ แล้ว ได้ทําให้มากแล้ว ได้ทําให้เป็นประหนึ่งยานแล้ว ได้ทําให้เป็นประหนึ่งวัตถุที่ตั้งแล้ว ตั้งไว้เนืองๆ แล้ว อบรมแล้ว ปรารภด้วยดี โดยชอบแล้ว ดูก่อนอานนท์ ตถาคตนั้น เมื่อปรารถนา ก็พึงดํารง (ชนม์ชีพ) อยู่ได้ ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป ดังนี้.
แม้เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงทํานิมิตหยาบ ทรงทําโอภาสหยาบ อย่างนี้แล ท่านพระอานนท์ก็มิสามารถรู้ได้ มิได้กราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงดํารงอยู่ตลอดกัปเถิด ขอพระสุคตเจ้าจงดํารงอยู่ตลอดกัปเถิด เพื่อเกื้อกูลแก่ชนจํานวนมาก เพื่อความสุขแก่ชนจํานวนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชาวโลก เพื่อประโยชน์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 277
เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้ คล้ายกับท่านมีจิตถูกมารสิงไว้ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ แม้ครั้งที่ ๒ แล ฯลฯ พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสกะท่านพระอานนท์ แม้ครั้งที่ ๓ แล ดังนี้ว่า ดูก่อนอานนท์ นครเวสาลีเป็นที่รื่นรมย์ อุเทนเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ โคตมกเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ สัตตัมพเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ พหุปุตตเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ สารันททเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ ปาวาลเจดีย์ก็เป็นที่รื่นรมย์ (๑) ดูก่อนอานนท์ ผู้หนึ่งผู้ใดเจริญอิทธิบาท ๔ ทําให้มาก ทําให้เป็นประหนึ่งยาน ทําให้เป็นประหนึ่งวัตถุที่ตั้ง ตั้งไว้เนืองๆ อบรมไว้ ปรารภด้วยดี โดยชอบ ผู้นั้น เมื่อปรารถนา ก็พึงดํารง (ชนม์ชีพ) อยู่ได้ ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป ดูก่อนอานนท์ ตถาคตแลได้เจริญอิทธิบาท ๔ แล้ว ได้ทําให้มากแล้ว ได้ทําให้เป็นประหนึ่งยานแล้ว ได้ทําให้เป็นประหนึ่งวัตถุที่ตั้งแล้ว สั่งสมแล้ว ปรารภเสมอแล้วด้วยดี ดูก่อนอานนท์ ตถาคตนั้นเมื่อปรารถนา ก็พึงดํารงอยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป ดังนี้ แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทํานิมิตหยาบ ทรงทําโอภาสหยาบ อย่างนี้แล ท่านพระอานนท์ก็มิสามารถรู้ มิได้กราบทูลอาราธนาพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงดํารงอยู่ตลอดกัปเถิด ขอพระสุคตเจ้าจงดํารงอยู่ตลอดกัปเถิด เพื่อเกื้อกูลแก่ชนจํานวนมาก เพื่อความสุขแก่ชนจํานวนมาก เพื่ออนุเคราะห์แก่ชนจํานวนมาก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุข แก่เทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ดังนี้.
คล้ายกับท่านมีจิตถูกมารสิงไว้ ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเรียกท่านพระอานนท์มีพระดํารัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงไป บัดนี้ เธอจงสําคัญ กาลอันควรเถิด. ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า ลุกจากอาสนะถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว กระทําประทักษิณนั่งแล้วที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่งในที่ไม่ไกล.
(๑) ดูประวัติย่อๆ ของเจดีย์เหล่านี้ ในปรมตฺถทีปนี อุทานวณฺณนา, น. ๔๐๘.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 278
มารทูลขอให้ปรินิพพาน
[๙๕] ครั้งนั้นแล มารผู้มีบาป เมื่อท่านพระอานนท์หลีกไปไม่นาน เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ยืน ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพาน ขอพระสุคตจงปรินิพพาน ในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป ภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา จักยังไม่ฉลาด ไม่ได้รับแนะนํา ยังไม่แกล้วกล้า ไม่เป็นพหูสูต ไม่ทรงธรรม ไม่ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ไม่ปฏิบัติชอบ ไม่ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตน จักบอก จักแสดง จักบัญญัติ จักแต่งตั้ง จักเปิดเผย จักจําแนก จักทําให้ตื้น จักแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรมไม่ได้ เพียงใด ดูก่อนมารผู้มีบาป เราจักยังไม่ปรินิพพาน เพียงนั้น ก็บัดนี้ ภิกษุผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ฉลาด ได้รับแนะนําดีแล้ว เป็นผู้แกล้วกล้า เป็นพหูสูต เป็นผู้ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้วจักบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จําแนก กระทําให้ตื้น แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรัปวาทที่เกิดขึ้นโดยสหธรรมเรียบร้อย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพาน ขอพระสุคตจงปรินิพพาน ในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็แล พระผู้มีพระภาคได้ตรัสว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป ภิกษุณี ผู้เป็นสาวิกาของเราจักยังไม่ฉลาด ... ก็บัดนี้ ภิกษุณี ผู้เป็นสาวิกาของพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นผู้ฉลาด ... จักแสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรมได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพาน ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 279
ปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็พระผู้มีพระภาคได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนมาร ผู้มีบาป อุบาสกผู้เป็นสาวกของเราจักยังไม่ฉลาด ... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บัดนี้ อุบาสกผู้เป็นสาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้เป็นฉลาดแล้ว ... แสดงธรรมมีปาฎิหาริย์ ขมขี่ปรัปวาทที่เกิดขึ้นเรียบร้อยโดยสหธรรมได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพาน ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า อุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเรายังไม่ฉลาด ... ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็บัดนี้ อุบาสิกา ผู้เป็นสาวิกาของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ฉลาดแล้ว ได้รับแนะนําดีแล้ว เป็นผู้แกล้วกล้า เป็นพหูสูต ทรงธรรมปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของ ตนแล้ว บอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จําแนก กระทําให้ตื้น แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ ข่มขี่ปรัปวาทที่เกิดขึ้นเรียบร้อยโดยสหธรรมได้ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพาน ขอพระสุคตจง ปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็แล พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป พรหมจรรย์นี้ของเรา จักยังไม่สมบูรณ์ แพร่หลาย กว้างขวาง ชนรู้กันโดยมากเป็นปึกแผ่น ตราบเท่าที่พวกเทวดาและมนุษย์ประกาศได้ดีแล้ว เพียงใด เราจักไม่ปรินิพพาน เพียงนั้น ก็บัดนี้พรหมจรรย์นี้ของพระผู้มีพระภาคเจ้าสมบูรณ์แล้ว ... ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพาน ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
ทรงปลงอายุสังขาร
เมื่อมารกราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้ตรัสกะมารผู้มีบาปว่า ดูก่อนมารผู้มีบาป ท่านเป็นผู้ขวนขวายน้อยเถิด ไม่ช้าพระตถาคตจัก
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 280
ปรินิพพาน จากนี้ล่วงไปสามเดือน ตถาคตจักปรินิพพาน. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า มีพระสติสัมปชัญญะ ทรงปลงอายุสังขาร ณ ปาวาลเจดีย์. เมื่อพระผู้มีพระภาคทรงปลงอายุสังขารแล้ว ได้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ น่ากลัว ขนพอง สยองเกล้า กลองทิพย์ก็บันลือลั่น. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความนั้น ทรงเปล่งอุทานนี้ ในเวลานั้นว่า
[๙๖] พระมุนีได้ปลงเสีย ซึ่งกรรมอันชั่ว และกรรมอันไม่ชั่วได้ อันเป็นเหตุให้เกิด ปรุงแต่งภพ ยินดีในภายใน ตั่งมั่นได้ ทําลายกิเลสที่เกิดขึ้นในตนเสีย เหมือนทําลายเกราะฉะนั้น.
[๙๗] ลําดับนั้น ท่านพระอานนท์คิดว่า น่าอัศจรรย์จริงหนอ สิ่งที่ไม่เคยมีก็เกิดขึ้น แผ่นดินใหญ่นี้ไหวได้หนอ แผ่นดินใหญ่นี้ไหวได้จริงหนอ น่ากลัว ขนพอง สยองเกล้า ทั้งกลองทิพย์ก็บันลือลั่น อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็นปัจจัย ทําให้แผ่นดินไหวปรากฏได้. ลําดับนั้น ท่านพระอานนท์ เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. ครั้นท่านพระอานนท์นั่งแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ เหตุไม่เคยมีก็มีขึ้น แผ่นดินใหญ่นี้ไหวได้หนอ แผ่นดินนี้ไหวได้จริงหนอ น่ากลัว ขนพอง สยองเกล้า ทั้งกลองทิพย์ก็บันลือลั่น อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็นปัจจัย ทําให้แผ่นดินไหวได้.
เหตุทําให้แผ่นดินไหว ๘ อย่าง
[๙๘] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เหตุ ๘ อย่าง ปัจจัย ๘ อย่าง ทําให้แผ่นดินไหวได้. เหตุ ๘ อย่าง ปัจจัย ๘ อย่าง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 281
เป็นไฉน. ดูก่อนอานนท์ แผ่นดินใหญ่ตั้งอยู่บนน้ำ น้ำตั้งอยู่บนลม ลมตั้งอยู่บนอากาศ สมัยที่ลมใหญ่พัด เมื่อลมใหญ่พัด ย่อมทําน้ำให้ไหว ครั้นน้ำไหวแล้ว ทําให้แผ่นดินไหว นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่หนึ่ง ทําให้แผ่นดินใหญ่ไหวได้.
ดูก่อนอานนท์ ยังมีอีกข้อหนึ่ง สมณะหรือพราหมณ์ผู้มีฤทธิ์ถึงความชํานาญทางจิต หรือเทวดาผู้มีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก เขาเจริญปฐวีสัญญาเล็กน้อย เจริญอาโปสัญญามาก เขาทําแผ่นดินให้ไหว สะเทือน กําเริบ หวั่นไหว นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่สอง ทําให้แผ่นดินใหญ่ไหวได้.
ยังมีอีกข้อหนึ่ง เมื่อใดพระโพธิสัตว์เคลื่อนจากดุสิต มีสติสัมปชัญญะ ก้าวลงสู่พระครรภ์พระมารดา เมื่อนั้นแผ่นดินนี้ ย่อมไหว สะเทือน กําเริบ หวั่นไหว นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่สาม ทําให้แผ่นดินใหญ่ไหวได้.
ยังมีอีกข้อหนึ่ง เมื่อใดพระโพธิสัตว์ มีสติสัมปชัญญะ ประสูติจากพระครรภ์พระมารดา เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ ย่อมไหว สะเทือน กําเริบ หวั่นไหว นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่สี่ ทําให้แผ่นดินใหญ่ไหวได้.
ยังมีอีกข้อหนึ่ง เมื่อใด ตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ ย่อมไหว สะเทือน กําเริบ หวั่นไหว นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่ห้า ทําให้แผ่นดินใหญ่ไหวได้.
ยังมีอีกข้อหนึ่ง เมื่อใดตถาคต ยังธรรมจักรอันยอดเยี่ยมให้เป็นไป เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ ย่อมไหว สะเทือน กําเริบ หวั่นไหว นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่หก ทําให้แผ่นดินใหญ่ไหวได้.
ยังมีอีกข้อหนึ่ง เมื่อใดตถาคต มีสติสัมปชัญญะ ปลงอายุสังขาร เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ ย่อมไหว สะเทือน กําเริบ หวั่นไหว นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่เจ็ด ทําให้แผ่นดินใหญ่ไหวได้.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 282
ยังมีอีกข้อหนึ่ง เมื่อใด ตถาคตย่อมปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ เมื่อนั้น แผ่นดินนี้ ย่อมไหว สะเทือน กําเริบ หวั่นไหว นี้เป็นเหตุเป็นปัจจัยข้อที่แปด ทําให้แผ่นดินใหญ่ไหวได้.
บริษัท ๘
[๙๙] ดูก่อนอานนท์ บริษัท ๘ เหล่านี้เป็นไฉน. คือ ขัตติยบริษัท พราหมณบริษัท คหปติบริษัท สมณบริษัท จาตุมมหาราชิกบริษัท ดาวดึงส์บริษัท มารบริษัท พรหมบริษัท. เรายังจําได้ว่า เราเข้าไปหาขัตติยบริษัทหลายร้อยครั้ง ณ ที่ขัตติยบริษัทนั้น เราเคยนั่งร่วม เคยปราศรัย เคยสนทนา. วรรณะของพวกนั้นเป็นเช่นใด ของเราเป็นเช่นนั้น เสียงของพวกนั้นเป็นเช่นใด ของเราเป็นเช่นนั้น. เราให้พวกนั้นเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง ด้วยธรรมีกถา พวกนั้นไม่รู้จักเราผู้พูด ว่า ผู้นี้ใครหนอพูดอยู่ จะเป็นเทวดาหรือมนุษย์. ครั้นเราให้พวกนั้นเห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้ร่าเริง แล้วก็หายไป พวกนั้นไม่รู้จักเรา หายไปแล้ว ว่า นี้ใครหนอหายไปแล้ว จะเป็นเทวดาหรือมนุษย์ดังนี้.
ดูก่อนอานนท์ เรายังจําได้ว่า เราเข้าไปหาพราหมณบริษัทหลายร้อยครั้ง ... คหบดีบริษัท ... สมณบริษัท ... จาตุมมหาราชิกบริษัท ... ดาวดึงส์บริษัท ... มารบริษัท ... พรหมบริษัทหลายร้อยครั้ง. แม้ในบริษัทนั้น เราก็เคยนั่งร่วม เคยปราศรัย เคยสนทนา. วรรณะของพวกเขาเป็นเช่นใด ของเราก็เป็นเช่นนั้น ... ผู้นี้ใครหนอแล หายไปแล้ว จะเป็นเทวดาหรือมนุษย์ดังนี้ อานนท์ บริษัท ๘ เหล่านี้แล.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 283
อภิภายตนะ ๘ อย่าง
[๑๐๐] ดูก่อนอานนท์ อภิภายตนะ ๘ อย่างเหล่านี้แล เป็นไฉน. คือ ผู้หนึ่งมีความสําคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกที่เล็ก มีผิวพรรณดีและมีผิวพรรณทราม ครอบงํารูปเหล่านั้นแล้ว มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น นี้เป็นอภิภายตนะข้อที่หนึ่ง. ผู้หนึ่งมีความสําคัญในรูปภายใน เห็นรูปภายนอกใหญ่ มีผิวพรรณดีและมีผิวพรรณทราม ครอบงํารูปเหล่านั้นแล้ว มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น นี้เป็นอภิภายตนะข้อที่สอง. ผู้หนึ่งมีความสําคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกเล็ก มีผิวพรรณดีและมีผิวพรรณทราม ครอบงํารูปเหล่านั้นแล้ว มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น นี้เป็นอภิภายตนะข้อที่สาม. ผู้หนึ่งมีความสําคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกใหญ่ มีผิวพรรณดีและมีผิวพรรณทราม ครอบงํารูปเหล่านั้นแล้ว มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น นี้เป็นอภิภายตนะข้อที่สี่. ผู้หนึ่งมีความสําคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกเขียว สีเขียว แสงเขียว มีรัศมีเขียว ดอกผักตบเขียว สีเขียว แสงเขียว มีรัศมีเขียว หรือว่าผ้าที่ทําในกรุงพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้างเขียว สีเขียว แสงเขียว มีรัศมีเขียว แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสําคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกเขียว สีเขียว แสงเขียว มีรัศมีเขียว ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงํารูปเหล่านั้นแล้ว มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น นี้เป็นอภิภายตนะข้อที่ห้า. ผู้หนึ่งมีความสําคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกเหลือง สีเหลือง แสงเหลือง มีรัศมีเหลือง ดอกกรรณิการ์เหลือง สีเหลือง แสงเหลือง มีรัศมีเหลือง หรือว่าผ้าที่ทําในกรุงพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยง ทั้งสองข้างเหลือง สีเหลือง แสงเหลือง มีรัศมีเหลือง แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสําคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกเหลือง สีเหลือง แสงเหลือง มีรัศมีเหลือง ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงํารูปเหล่านั้นแล้ว มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น นี้เป็นอภิภายตนะข้อที่หก. ผู้หนึ่งมีความสําคัญ ในอรูปภายใน เห็นรูป
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 284
ภายนอกแดง สีแดง แสงแดง มีรัศมีแดง ดอกชะบาแดง สีแดง แสงแดง มีรัศมีแดง หรือว่าผ้าที่ทําในกรุงพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้างแดง สีแดง แสงแดง มีรัศมีแดง แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสําคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกแดง สีแดง แสงแดง มีรัศมีแดง ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงํารูปเหล่านั้นแล้ว มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น นี้เป็นอภิภายตนะข้อที่เจ็ด. ผู้หนึ่งมีความสําคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกขาว สีขาว แสงขาว มีรัศมี ขาว ดาวประกายพรึกขาว สีขาว แสงขาว มีรัศมีขาว หรือว่าผ้าที่ทําในกรุงพาราณสี มีเนื้อเกลี้ยงทั้งสองข้างขาว สีขาว แสงขาว มีรัศมีขาว แม้ฉันใด ผู้หนึ่งมีความสําคัญในอรูปภายใน เห็นรูปภายนอกขาว สีขาว แสงขาว มีรัศมีขาว ฉันนั้นเหมือนกัน ครอบงํารูปเหล่านั้นแล้ว มีความสําคัญอย่างนี้ว่า เรารู้เราเห็น นี้เป็นอภิภายตนะข้อที่แปด. อานนท์ อภิภายตนะ ๘ อย่างเหล่านี้แล.
วิโมกข์ ๘ อย่าง
[๑๐๑] ดูก่อนอานนท์ วิโมกข์ ๘ อย่างเหล่านี้เป็นไฉน. คือ ภิกษุมีรูป ย่อมเห็นรูป นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หนึ่ง. ภิกษุมีความสําคัญในอรูปภายใน ย่อมเห็นรูปภายนอก นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สอง. ภิกษุน้อมใจไปว่า นี้งาม นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สาม. เพราะล่วงรูปสัญญาโดยประการทั้งปวง ดับปฏิฆสัญญา ไม่กระทํานานัตตสัญญาไว้ในใจ ภิกษุเข้าถึงอากาสานัญจายตนะว่า อากาศไม่มีที่สุดอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่สี่. ล่วงอากาสานัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง เข้าถึงวิญญาณัญจายตนะว่า วิญญาณไม่มีที่สุดอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่ห้า. ล่วงวิญญาณัญจายตนะ โดยประการทั้งปวง เข้าถึงอากิญจัญญายตนะว่า ไม่มีอะไรอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่หก. ล่วงอากิญจัญญายตนะโดยประการทั้งปวง เข้าถึงเนวสัญญานาสัญญายตนะอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่เจ็ด. ล่วงเนวสัญญานาสัญญา-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 285
ยตนะ โดยประการทั้งปวง เข้าถึงสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่ นี้เป็นวิโมกข์ข้อที่แปด. อานนท์ วิโมกข์ ๘ อย่างเหล่านี้แล.
เรื่องมาร
[๑๐๒] ดูก่อนอานนท์ สมัยหนึ่ง เราแรกตรัสรู้ พักอยู่ที่ต้นไม้อชปาลนิโครธ ฝังแม่น้ำเนรัญชรา ในอุรุเวลาประเทศ. ครั้งนั้น มารผู้มีบาปได้เข้าไปหาเรา ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. มารผู้มีบาปได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพาน ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อมารกล่าวอย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกะมารผู้มีบาปนั้นว่า มารผู้มีบาป ภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา จักเป็นผู้ฉลาดได้รับแนะนํา แกล้วกล้า พหูสูต ทรงธรรม ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรม เรียนกับอาจารย์ของตนแล้ว จักบอก แสดง บัญญัติ แต่งตั้ง เปิดเผย จําแนก กระทําให้ตื้น ได้แสดงธรรมมีปาฏิหาริย์ข่มขี่ปรัปวาทที่เกิดขึ้นให้เรียบร้อยโดยสหธรรมยังไม่ได้ เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพาน เพียงนั้น. ภิกษุณีผู้เป็นสาวิกาของเรา ... อุบาสกผู้เป็นสาวกของเรา ... อุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเรา ... จักยังไม่ฉลาด ... เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพาน เพียงนั้น.
มารผู้มีบาป พรหมจรรย์นี้ของเรา จักยังไม่บริบูรณ์ กว้างขวาง แพร่หลาย รู้กันโดยมาก เป็นปึกแผ่นตราบเท่าที่พวกเทวดาและมนุษย์ประกาศได้ดีแล้ว เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพาน เพียงนั้น.
พุทธบริษัท ๔
อานนท์ วันนี้เดี๋ยวนี้แล มารผู้มีบาปเข้าไปหาเราที่ปาวาลเจดีย์ ได้ยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. ได้กล่าวกะเราว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 286
ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงปรินิพพาน ขอพระสุคตจงปรินิพพานในบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสว่า มารผู้มีบาป ภิกษุผู้เป็นสาวกของเรา. . . ภิกษุณีผู้เป็นสาวิกาของเรา. . . อุบาสกผู้เป็นสาวกของเรา. . . อุบาสิกาผู้เป็นสาวิกาของเรา. . . จักยังไม่ฉลาด. . . ...พรหมจรรย์ของเรานี้ จักไม่บริบูรณ์ กว้างขวาง แพร่หลาย รู้กันโดยมาก เป็นปึกแผ่นตราบเท่าที่พวกเทวดาเละมนุษย์ประกาศได้ดีแล้ว ยังไม่ได้เพียงใด เราจักยังไม่ปรินิพพานเพียงนั้น. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็ในกาลบัดนี้ พรหมจรรย์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าสมบูรณ์แล้ว กว้างขวาง แพร่หลาย รู้กันโดยมาก เป็นปึกแผ่น ตราบเท่าที่พวกเทวดาและมนุษย์ประกาศได้ดีแล้ว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจะปรินิพพาน ขอพระสุคตจงปรินิพพานในกาลบัดนี้เถิด บัดนี้เป็นเวลาปรินิพพานของพระผู้มีพระภาคเจ้า. เมื่อมารกล่าว อย่างนี้แล้ว เราได้กล่าวกะมารผู้มีบาปนั้นว่า มารผู้มีบาป ท่านจงมีความขวน ขวายน้อยเถิด ไม่นานตถาคตจักปรินิพพาน จากนี้ล่วงไปสามเดือน ตถาคต จักปรินิพพาน อานนท์ ในวันนี้เดี๋ยวนี้แล ตถาคตมีสติสัมปชัญญะปลงอายุ สังขารที่ปาวาลเจดีย์.
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงดํารงอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตจงทรงดํารงอยู่ตลอดกัป เพื่อประโยชน์แก่ชนเป็นอันมาก เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์ เพื่อเกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและนนุษย์. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า อย่าเลย อานนท์ อย่าวิงวอนตถาคตเลย บัดนี้ไม่ใช่เวลาที่จะวิงวอน ตถาคต. แม้ครั้งที่สอง. . . แม้ครั้งที่สาม. . . ท่านพระอานนท์ยังกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงดํารงอยู่ตลอดกัป. . .เพื่อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 287
ความสุขแก่เทวดาและมนุษย์. อานนท์ เธอเชื่อความตรัสรู้ของตถาคตหรือ. ข้าพระองค์เชื่อ. เมื่อเชื่อ ไฉนจึงได้รบเร้าตถาคตถึงสามครั้งเล่า.
ข้าพระองค์ได้ฟังมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า อานนท์ อิทธิบาท ๔ อันผู้ใดผู้หนึ่งเจริญแล้ว ทําให้มากแล้ว ทําให้เป็นดุจยาน ทําให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นแล้ว อบรมปรารภดีแล้ว ตถาคตนั้น เมื่อจํานงอยู่ จะพึงดํารงอยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป. อานนท์ อิทธิบาท ๔ ตถาคตเจริญแล้ว ทําให้มากแล้ว ทําให้เป็นดุจยาน ทําให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นแล้ว อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว อานนท์ ตถาคตเมื่อจํานงอยู่ พึงดํารงอยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป. อานนท์ เธอเชื่อหรือ. ข้าพระองค์เชื่อ.
อานนท์ เพราะฉะนั้น เรื่องนี้เป็นการทําไม่ดีเป็นความผิดพลาดของ เธอผู้เดียว เพราะเมื่อตถาคตทํานิมิตอันหยาบ ทําโอภาสอันหยาบอย่างนี้ เธอไม่สามารถรู้เท่าทันได้ จึงมิได้วิงวอนตถาคตว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงดํารงอยู่ตลอดกัป ขอพระสุคตจงทรงดํารงอยู่ตลอดกัป เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์. ถ้าเธอวิงวอนตถาคต ตถาคตจะพึงห้ามวาจาเธอสองครั้งเท่านั้น ครั้งที่สามตถาคตพึงรับ เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เรื่องนี้เป็นการทําไม่ดี เป็นความผิดพลาดของเธอผู้เดียว.
อิทธิบาทภาวนา
[๑๐๓] ดูก่อนอานนท์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ ใกล้กรุงราชคฤห์. แม้ที่นั้นเราเรียกเธอมาบอกว่า อานนท์ กรุงราชคฤห์น่ารื่นรมย์ ภูเขาคิชฌกูฏน่ารื่นรมย์ ... เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เรื่องนี้เป็นการทําไม่ดี เป็นความผิดพลาดของเธอผู้เดียว.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 288
[๑๐๔] อานนท์ เราอยู่ที่โคตมนิโครธ ในกรุงราชคฤห์นั้น ... เราอยู่ที่เหวเป็นที่ทิ้งโจร ... เราอยู่ที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างภูเขาเวภารบรรพต ... เราอยู่ที่กาฬสิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ ... เราอยู่ที่เงื้อมชื่อสัปปโสณฑิก ณ สีตวัน ... เราอยู่ที่ตโปทาราม ... เราอยู่ที่เวฬุวันกลันทกนิวาปสถาน ... เราอยู่ที่ชีวกัมพวัน ... เราอยู่ที่มัททกุจฉิมฤคทายวัน ในกรุงราชคฤห์นั้น. ณ ที่นั้นเราเรียกเธอมาบอกว่า อานนท์ กรุงราชคฤห์ น่ารื่นรมย์ ภูเขาคิมฌกูฏ โคตมนิโครธ เหวที่ทิ้งโจร ถ้ำสัตตบรรณคูหา ข้างภูเขาเวภารบรรพต กาฬสิลา ข้างภูเขาอิสิคิลิ เงื้อมชื่อว่าสัปปโสณฑิกสีตวัน ตโปทาราม เวฬุวัน กลันทกนิวาปสถาน ชีวกัมพวัน มัททกุจฉิมฤคทายวัน ต่างน่ารื่นรมย์ อิทธิบาท ๔ อันผู้ใดผู้หนึ่งเจริญแล้ว ... เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เรื่องนี้เป็นการทําไม่ดี เป็นความผิดพลาดของเธอผู้เดียว.
[๑๐๕] ดูก่อนอานนท์สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่อุเทนเจดีย์ ในกรุงเวสาลีนี้ ณ ที่นั้นเราเรียกเธอมาบอกว่า กรุงเวสาลีน่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์น่ารื่นรมย์ ... อานนท์ อิทธิบาท ๔ อันผู้ใดผู้หนึ่งเจริญแล้ว ... เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เรื่องนี้เป็นการทําไม่ดี เป็นความผิดพลาดของเธอผู้เดียว.
สังเวชนียกถา
[๑๐๖] ดูก่อนอานนท์ สมัยหนึ่ง เราอยู่ที่โคตมกเจดีย์ในกรุงเวสาลี นี้ ... เราอยู่ที่สัตตัมพเจดีย์ ... เราอยู่ที่พหุปุตตเจดีย์ ... เราอยู่ที่สารันททเจดีย์ ในกรุงเวสาลีนี้. ในวันนี้เอง เราบอกเธอที่ปาวาลเจดีย์ว่า กรุงเวสาลีน่ารื่นรมย์ อุเทนเจดีย์ โคตมกเจดีย์ สัตตัมพเจดีย์ พหุปุตตเจดีย์ สารันททเจดีย์ ปาวาลเจดีย์ ต่างน่ารื่นรมย์ อิทธิบาท ๔ อันผู้ใดผู้หนึ่งเจริญแล้ว ทําให้มากแล้ว ทําให้เป็นดุจยาน ทําให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นแล้ว อบรมแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 289
ปรารภดีแล้ว ผู้นั้นเมื่อจํานงอยู่ พึงดํารงอยู่ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป. อิทธิบาท ๔ ตถาคตเจริญแล้ว ทําให้มากแล้ว ทําให้เป็นดุจยาน ทําให้เป็นที่ตั้ง ให้ตั้งมั่นแล้ว อบรมแล้ว ปรารภดีแล้ว ตถาคตนั้นเมื่อหวังอยู่ พึงดํารงอยู่ได้ตลอดกัป หรือเกินกว่ากัป อานนท์ ตถาคตทํานิมิตอันหยาบ ทําโอภาสอันหยาบ แม้อย่างนี้แล เธอไม่สามารถรู้เท่าทันได้ จึงมิได้วิงวอนตถาคตว่า ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงดํารงอยู่ตลอดกัปเถิด ขอพระสุคตจงทรงดํารงอยู่ตลอดกัปเถิด เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่พวกเทวดาและมนุษย์. อานนท์ ถ้าเธอพึงวิงวอนตถาคต ตถาคตจะพึงห้ามวาจาเธอเสียสองครั้งเท่านั้น ครั้งที่สามตถาคตพึงรับ เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ เรื่องนี้เป็นการทําไม่ดี เป็นความผิดพลาดของเธอผู้เดียว.
เราได้บอกก่อนแล้วไม่ใช่หรือว่า ความเป็นต่างๆ กัน ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่น จากสิ่งและบุคคลเป็นที่รักและที่ชอบใจทั้งหมดนั้นแล มีอยู่ เพราะฉะนั้น จะหาได้ในสิ่งและบุคคลนั้นแต่ที่ไหน สิ่งใดเกิดแล้ว เป็นแล้ว ปรุงแต่งแล้ว มีความทําลายเป็นธรรมดา ความปรารถนาว่าขอสิ่งนั้นอย่าทําลายไปเลย นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. ก็สิ่งใดที่ตถาคตสละแล้ว คายแล้ว พ้นแล้ว ละแล้ววางแล้ว อายุสังขารตถาคตปลงแล้ว วาจาที่ตถาคตกล่าวไว้แล้วโดยส่วนเดียวว่า ไม่ช้าตถาคตจักปรินิพพาน จากนี้ล่วงไปสามเดือนตถาคตจักปรินิพพาน ตถาคตจักกลับคืนสิ่งนั้นเพราะเหตุชีวิตอีก นั้นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้. มาเถิด อานนท์ เราจักเข้าไปยังกูฏาคารศาลาป่ามหาวัน. ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมกับท่านพระอานนท์ เข้าไปยังกูฏาคารศาลาป่ามหาวัน ครั้นแล้วตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ไปเถิด อานนท์ เธอจงให้พวกภิกษุที่อาศัยกรุงเวสาลีอยู่
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 290
ทั้งหมดประชุมกันที่อุปัฏฐานศาลา. ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงให้ภิกษุที่อาศัยกรุงเวสาลีอยู่ทั้งหมดประชุมกันแล้วที่อุปัฏฐานศาลา แล้วเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมยืน ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภิกษุสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว ขอพระองค์ทรงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด.
อภิญญาเทสิตธรรกถา
[๑๐๗] ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า เสด็จไปยังอุปัฏฐานศาลา ประทับนั่งบนอาสนะที่จัดถวาย. ตรัสเรียกภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่าใดที่เราแสดงแล้วเพื่อความรู้ยิ่ง ธรรมเหล่านั้นพวกเธอเรียนแล้ว พึงส้องเสพ พึงเจริญ พึงกระทําให้มากด้วยดี โดยที่พรหมจรรย์นี้ พึงยั่งยืน พึงดํารงอยู่ได้นาน เพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ชนเป็นอันมาก เพื่ออนุเคราะห์โลก เพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่เทวดาและมนุษย์. ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เราแสดงแล้วเพื่อความรู้ยิ่งเป็นไฉน ... คือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพซฌงค์ ๗ อริยมรรคมีองค์๘. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ธรรมเหล่านี้ที่เราแสดงแล้วเพื่อความรู้ยิ่งแก่พวกเธอ ... ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสเตือนภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เราขอเตือนพวกเธอ สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมเป็นธรรมดา ขอท่านทั้งหลายจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด. ไม่ช้าตถาคตจักปรินิพพาน จากนี้ล่วงไปสามเดือนตถาคตจักปรินิพพาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าสุคตศาสดา ครั้นตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[๑๐๘] คนเหล่าใด ทั้งเด็กผู้ใหญ่ ทั้งพาล ทั้งบัณฑิต ทั้งมั่งมีทั้งขัดสน ล้วนมีความ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 291
ตายเป็นเบื้องหน้า. ภาชนะดิน ที่ช่าง หม้อทํา ทั้งเล็กทั้งใหญ่ ทั้งสุกทั้งดิบ ทุกชนิดมีความแตกเป็นที่สุดฉันใด ชีวิต ของสัตว์ทั้งหลาย ก็ฉันนั้น.
พระศาสดาได้ตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
วัยของเราแก่หง่อมแล้ว ชีวิตของเราเป็นของน้อย เราจักละพวกเธอไป เราทําที่พึ่งแก่ตนแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธอจงไม่ประมาท มีสติ มีศีล ด้วยดีเถิด จงเป็นผู้มีความดําริตั้งมั่นด้วยดี จงตามรักษาจิตของตนเถิด.
ผู้ใดจักเป็นผู้ไม่ประมาทอยู่ในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นจักละชาติสงสาร แล้วการทํา ที่สุดทุกข์ได้.
จบตติยภาณวาร
จตุราริยธรรมกถา
[๑๐๙] ครั้งนั้น เวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร เสด็จเข้าไปยังกรุงเวสาลีเพื่อบิณฑบาต เสด็จเที่ยวบิณฑบาตในกรุงเวสาลี ภายหลังภัต เสด็จกลับจากบิณฑบาต ทอดพระเนตรกรุงเวสาลี เป็นนาคาวโลกแล้ว ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ การเห็นกรุงเวสาลีของตถาคตครั้งนี้ จักเป็นครั้งสุดท้าย มากันเถิดอานนท์ เราจักไปยังบ้านภัณฑ-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 292
คาม. ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงบ้านภัณฑคามแล้ว. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ บ้านภัณฑคามนั้น. ณ ที่นั่นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดธรรม ๔ ประการ เราและพวกเธอจึงเร่ร่อนเที่ยวไปสิ้นกาลนานอย่างนี้. ธรรม ๔ ประการเป็นไฉน. เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดศีลอันเป็นอริยะ เราและพวกเธอจึงเร่ร่อนเที่ยวไปสิ้นกาลนาน เพราะไม่รู้แจ้งแทงตลอดสมาธิอันเป็นอริยะ. . . ปัญญาอันเป็นอริยะ. . . วิมุตติอันเป็นอริยะ เราและพวกเธอจึงเร่ร่อนเที่ยวไปสิ้นกาลนานอย่างนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราได้รู้แจ้งแทงตลอด ศีลอันเป็นอริยะ สมาธิ ปัญญา วิมุตติ อันเป็นอริยะแล้ว ภวตัณหาเราถอนเลียแล้ว ตัณหาอันจะนําไปสู่ภพสิ้นแล้ว บัดนี้ภพใหม่ไม่มี. พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้สุคตศาสดา ครั้นได้ตรัสไวยากรณภาษิตนี้แล้ว จึงตรัสคาถาประพันธ์ต่อไปอีกว่า
[๑๑๐] ธรรมเหล่านี้คือ ศีล สมาธิ ปัญญา วิมุตติอันยอดเยี่ยม อันพระโคดมผู้มียศ ตรัสรู้แล้ว ดังนั้นพระพุทธเจ้าทรงบอกธรรมแก่ภิกษุทั้งหลาย เพื่อความรู้ยิ่ง พระศาสดาผู้กระทําซึ่งที่สุดแห่งทุกข์ มีพระจักษุปรินิพพานแล้ว.
[๑๑๑] ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อประทับ ณ บ้านภัณฑคามนั้น ทรงกระทําธรรมีกถานี้แหละเป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายว่า อย่างนี้ศีล อย่างนี้สมาธิ อย่างนี้ปัญญา สมาธิอันศีลอบรมแล้วมีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะ โดยชอบคือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 293
[๑๑๒] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ตามความพอพระทัยในบ้านภัณฑคามแล้ว ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า มาเถิด อานนท์ เราจักไปยัง บ้านหัตถีคาม อัมพคาม ชัมพุคาม และโภคนคร. ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
เรื่องมหาปเทส ๔ อย่าง
ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงโภคนครแล้ว. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับ ณ อานันทเจดีย์ในโภคนครนั้น. ณ ที่นั้นพระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เราจักแสดงมหาปเทส ๔ เหล่านี้ พวกเธอจงฟัง จงตั้งใจฟังให้ดี เราจักกล่าว. ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสดังต่อไปนี้.
[๑๑๓] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย ข้อนี้ข้าพเจ้าได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคําสอนของพระศาสดา พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคํากล่าวของภิกษุนั้น. ครั้นไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านแล้ว พึงเรียนบทพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว สอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย. ถ้าสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้. พึงถึงความตกลงใจในข้อนี้ว่า นี้ไม่ใช่คําสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น และภิกษุนี้จํามาผิดแล้วแน่นอน ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคํากล่าวนั้นเสีย. ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 294
เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้. พึงถึงความตกลงใจในข้อนี้ว่า นี้คําสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น และ ภิกษุนี้จํามาถูกต้องแล้วแน่นอน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจํามหาปเทสข้อที่หนึ่งนี้ไว้.
[๑๑๔] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า สงฆ์พร้อมทั้งพระเถระ พร้อมทั้งปาโมกข์อยู่ในอาวาสโน้น ข้าพเจ้าได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะหน้าของสงฆ์นั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคําสอนของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคํากล่าวของภิกษุนั้น. ครั้นไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านแล้ว พึงเรียนบทพยัญชนะเหล่านั้นให้ดี สอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย. ถ้าเมื่อสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้. พึงถึงความตกลงใจในข้อนี้ว่า นี้ไม่ใช่คําสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น และภิกษุสงฆ์จํามาผิดแล้วแน่นอน ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคํากล่าวนั้นเสีย. ถ้าบทพยัญชนะเหล่านั้น สอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรได้ เทียบเคียงในพระวินัยได้. พึงถึงความตกลงใจในข้อนี้ว่า นี้เป็น คําสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น และภิกษุสงฆ์นั้นจํามาถูกต้องแล้วแน่นอน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจํามหาปเทสข้อที่สองนี้ไว้.
[๑๑๕] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุเป็นพระเถระมากรูปอยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว เป็นผู้ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระเหล่านั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคําสอนของพระศาสดา ดังนี้ พวกเธอไม่พึงชื่นชม. . . เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้. พึงถึงความตกลงใจในข้อนี้ว่า นี้ไม่ใช่คําสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น และ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 295
พระเถระเหล่านั้นจํามาผิดแล้วแน่นอน ดังนั้น พวกเธอพึงทิ้งคํากล่าวนั้นเสีย. ถ้าบทพยัญชนะเหล่านั้นสอบสวนในพระสูตร. . . เทียบเคียงในพระวินัยได้. พึงถึงความตกลงใจในข้อนี้ว่า เป็นคําสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น และพระเถระเหล่านั้นจํามาถูกต้องแล้วแน่นอน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจํามหาปเทสข้อที่สามนี้ไว้.
[๑๑๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ พึงกล่าวอย่างนี้ว่า ภิกษุผู้เป็นเถระอยู่ในอาวาสโน้น เป็นพหูสูต มีอาคมอันมาถึงแล้ว ทรงธรรม ทรงวินัย ทรงมาติกา ข้าพเจ้าได้สดับมา ได้รับมาเฉพาะหน้าพระเถระนั้นว่า นี้เป็นธรรม นี้เป็นวินัย นี้เป็นคําสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้า ดังนี้ พวกเธอ ไม่พึงชื่นชม ไม่พึงคัดค้านคํากล่าวของภิกษุนั้น. ครั้นไม่ชื่นชม ไม่คัดค้านแล้ว เรียนบทพยัญชนะเหล่านั้นให้ดีแล้ว สอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย. ถ้าบทพยัญชนะเหล่านั้นสอบสวนในพระสูตร เทียบเคียงในพระวินัย ลงในพระสูตรไม่ได้ เทียบเคียงในพระวินัยไม่ได้. พึงถึงความตกลงใจในข้อนี้ว่า. . . นี้คําสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น และพระเถระนั้นจํามาถูกต้องแล้วแน่นอน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอพึงทรงจํามหาปเทสข้อที่สี่นี้ไว้. พวกเธอพึงทรงจํามหาปเทส ๔ เหล่านั้นไว้ ด้วยประการฉะนี้.
ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อานันทเจดีย์ในโภคนครนั้น ทรงกระทําธรรมีกถานี้แหละเป็นอันมากแก่ภิกษุทั้งหลายว่า อย่างนี้ศีล อย่างนี้สมาธิ อย่างนี้ปัญญา สมาธิอันศีลอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก ปัญญาอันสมาธิอบรมแล้ว มีผลมาก มีอานิสงส์มาก จิตอันปัญญาอบรมแล้ว ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะโดยชอบคือ กามาสวะ ภวาสวะ อวิชชาสวะ.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 296
เรื่องนายจุนทกัมมารบุตร
[๑๑๗] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในโภคนครตามความพอพระทัยแล้ว ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า มาเถิด อานนท์ เราจักไปยังปาวานคร. ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จถึงปาวานครแล้ว. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ อัมพวันของนายจุนทกัมมารบุตร ในเมืองปาวานั้น.
นายจุนทกัมมารบุตรได้สดับว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จถึงเมืองปาวา ประทับอยู่ ณ อัมพวันของเราในเมืองปาวา จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังนายจุนทกัมมารบุตร ผู้นั่งเรียบร้อยแล้ว ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถา. ลําดับนั้น นายจุนทกัมมารบุตร อันพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ จงทรงรับภัตของข้าพระองค์ เพื่อเสวยในวันพรุ่งนี้เถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรับด้วยดุษณีภาพ.
ลําดับนั้น นายจุนทกัมมารบุตรทราบการรับของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า กระทําประทักษิณแล้วหลีกไป. นายจุนทกัมมารบุตรให้ตระเตรียมของเคี้ยวของฉันอันประณีต และสูกรมัททวะเป็นอันมากในนิเวศน์ของตน โดยล่วงราตรีนั้นไปให้กราบทูลกาล แด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ได้เวลาแล้ว ภัตตาหารสําเร็จแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 297
ถวายสูกรมัททวบิณฑบาต
ครั้งนั้นเวลาเช้า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงนุ่งแล้ว ทรงถือบาตรและจีวร พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์ เสด็จเข้าไปยังนิเวศน์ของนายจุนทกัมมารบุตร ประทับนั่งบนอาสนะที่เขาจัดถวาย. ตรัสกะนายจุนทกัมมารบุตรว่า ดูก่อนจุนท ท่านจงอังคาสเราด้วยสูกรมัททวะที่ท่านตระเตรียมไว้ จงอังคาสภิกษุสงฆ์ด้วย ของเคี้ยวของฉันอย่างอื่นที่ท่านตระเตรียมไว้. นายจุนทกัมมารบุตรทูลรับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงอังคาสพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยสูกรมัททวะที่ตนตระเตรียมไว้ อังคาสภิกษุสงฆ์ด้วยของเคี้ยวของฉันอย่างอื่นที่ตน ตระเตรียมไว้. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะนายจุนทกัมมารบุตรว่า จุนท ท่านจงฝังสูกรมัททวะที่เหลือเสียในหลุม เรายังไม่เห็นบุคคลในโลกพร้อม ทั้งเทวโลก มารโลก พรหมโลก ในหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ เทวดา และมนุษย์ ซึ่งบริโภคสูกรมัททวะนั้นแล้ว จะพึงให้ย่อยไปด้วยดีนอกจากตถาคต. นายจุนทกัมมารบุตรทูลรับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ฝังสูกรมัททวะที่ยังเหลือในหลุมเสีย เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้า ถวายบังคม นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังนายจุนทกัมมารบุตรผู้นั่งเรียบร้อยแล้ว ให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว เสด็จลุกจากอาสนะหลีกไป.
ลําดับนั้น เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยภัตตาหารของนายจุนทกัมมารบุตร เกิดอาพาธอย่างแรงกล้า มีเวทนากล้าเกิดแต่การประชวรลงพระโลหิตใกล้นิพพาน. ได้ยินว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีสติสัมปชัญญะ ทรงอดกลั้นเวทนาเหล่านั้นไว้ มิได้ทรงพรั่นพรึง. รับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า มาเถิด อานนท์ เราจักไปกรุงกุสินารา. พระอานนท์ทูลรับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 298
เรื่องโลหิตปักขันทิกาพาธ
[๑๑๘] ข้าพเจ้าได้ฟังมาแล้วว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสวยภัตตาหารของนายจุนทกัมมารบุตร ทรงอาพาธหนักใกล้นิพพาน.
เมื่อพระศาสดาเสวยสูกรมัททวะแล้วเกิดอาพาธหนัก พระผู้มีพระภาคเจ้าลงพระ-บังคน ได้ตรัสว่าเราจะไปเมืองกุสินารา.
คาถาเหล่านี้ พระสังคีติกาจารย์กล่าวไว้ในเวลาสังคายนา.
[๑๑๙] ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงหลีกออกจากทาง เสด็จเข้าไปยังโคนต้นไม้ต้นหนึ่ง ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ เธอจงช่วยปูผ้าสังฆาฏิพับเป็น ๔ ชั้นให้เรา เราเหนื่อยจักนั่ง. ท่านพระอานนท์ ทูลรับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว จึงปูผ้าสังฆาฏิพับเป็น ๔ ชั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งบนอาสนะที่จัดถวายแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่งแล้ว ตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า อานนท์ เธอจงนําน้ำมาให้เราดื่ม เรากระหายจักดื่มน้ำ. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อกี้นี้เกวียน ๕๐๐ เล่มข้ามไป น้ำนั้นมีน้อยถูกล้อเกวียนบดขุ่นมัวไหลไปอยู่ แม่น้ำกกุธานทีอยู่ไม่ไกล มีน้ำใส จืด เย็น ขาว มีท่าเรียบน่ารื่นรมย์ พระองค์ทรงดื่มน้ำและทรงสรงพระองค์ในแม่น้ำนั้น. แม้ครั้งที่สองพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ตรัสกะท่านพระอานนท์ ... แม้ครั้งที่สาม ... ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ถือบาตรไปยังแม่น้ำนั้น. ครั้งนั้น แม่น้ำนั้นมีน้ำน้อย ถูกล้อเกวียนบดขุ่นมัวไหลไปอยู่ เมื่อท่านพระอานนท์เข้าไปใกล้ น้ำก็กลับใสสะอาด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 299
ไม่ขุ่นมัวไหลไป. ท่านพระอานนท์ได้มีความดําริว่า น่าอัศจรรย์หนอ เหตุไม่เคยมีก็มีมาแล้ว ความที่พระตถาคตมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก ความจริง แม่น้ำนี้นั้นมีน้ำน้อย ถูกล้อเกวียนบดขุ่นมัวไหลไปอยู่ เมื่อเราเข้าไปใกล้ กลับใส สะอาด ไม่ขุ่นมัว ไหลไปอยู่ ตักน้ำด้วยบาตรแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า กราบทูลว่า น่าอัศจรรย์หนอ เหตุไม่เคยมีก็มีมาแล้ว ความที่พระตถาคตมีฤทธิ์มาก มีอานุภาพมาก. เมื่อกี้นี้แม่น้ำนั้นมีน้ำน้อย ถูกเกวียนบดขุ่นมัวไหลไปอยู่ เมื่อข้าพระองค์เข้าไปใกล้ กลับใส สะอาด ไม่ขุ่นมัว ไหลไปอยู่ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงทรงดื่มน้ำ ขอพระสุคตจงทรงดื่มน้ำเถิด พระเจ้าข้า. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงดื่มน้ำแล้ว.
ปุกกุสมัลลบุตร
[๑๒๐] สมัยนั้นแล ปุกกุสมัลลบุตร เป็นสาวกของอาฬารดาบสกาลามโคตร ออกจากเมืองกุสินาราเดินทางไปยังเมืองปาวา. ได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าประทับนั่ง ณ โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง จึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. ได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ เหตุไม่เคยมีก็มีมาแล้ว พวกบรรพชิตย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมอันสงบหนอ เรื่องเคยมีมาแล้ว อาฬารดาบสกาลามโคตรเดินทางหลีกออกจากทาง นั่งพักกลางวันที่โคนต้นไม้ต้นหนึ่งในที่ไม่ไกล ครั้งนั้นเกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่มติดกัน ได้ผ่านอาฬารดาบสกาลามโคตรไปแล้ว บุรุษคนหนึ่งเดินตามหลังหมู่เกวียนมา จึงเข้าไปหาอาฬารดาบสกาลามโคตร ได้ถามว่า ท่านได้เห็นเกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่มผ่านไปบ้างหรือ. เราไม่เห็นเลย. ได้ยินเสียงบ้างหรือ. เราไม่ได้ยิน. ท่านหลับไปหรือ. เราไม่ได้หลับ. ท่านมีสัญญาอยู่หรือ. เป็นอย่างนั้น ท่านนั้นมีสัญญาตื่นอยู่ ไม่เห็นเกวียนประมาณ ๕๐๐
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 300
เล่ม ผ่านติดกันไป ทั้งไม่ได้ยินเสียง ก็ผ้าสังฆาฏิของท่านเปื้อนด้วยธุลีบ้างหรือ. เป็นอย่างนั้น.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ลําดับนั้น บุรุษนั้นได้มีความคิดว่าน่าอัศจรรย์หนอ เหตุไม่เคยเป็นก็ได้เป็นแล้ว พวกบรรพชิตอยู่ด้วยวิหารธรรมอันสงบหนอ อาฬารดาบสกาลามโคตรมีสัญญาตื่นอยู่ ย่อมไม่เห็นเกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่ม ผ่านติดกันไป ทั้งไม่ได้ยินเสียง บุรุษนั้นประกาศความเลื่อมใสอันยิ่งในอาฬารดาบสกาลามโคตรแล้วหลีกไป. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะปุกกุสมัลลบุตรว่า ดูก่อนปุกกุสะ ท่านจะสําคัญข้อนั้นเป็นไฉน ผู้มีสัญญาตื่นอยู่ไม่พึงเห็นเกวียนประมาณ ๕๐๐ เล่ม ผ่านติดกันไป ทั้งไม่ได้ยินเสียงอย่างหนึ่ง ผู้มีสัญญา ตื่นอยู่เมื่อฝนกําลังตก ตกอย่างหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่าอยู่ ไม่พึงเห็น ทั้งไม่พึงได้ยินเสียงอย่างหนึ่ง อย่างไฉนจะทําได้ยากกว่ากัน หรือทําให้เกิดยากกว่ากัน. ปุกกุสมัลลบุตรกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เกวียน ๕๐๐ เล่ม ๖๐๐ เล่ม ๗๐๐ เล่ม ๘๐๐ เล่ม ๙๐๐ เล่ม ๑,๐๐๐ เล่ม ... แสนเล่ม จักทําอะไรได้ ผู้มีสัญญาตื่นอยู่ เมื่อฝนกําลังตก ตกหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่าอยู่ไม่พึงเห็น ทั้งไม่พึงได้ยินเสียงอย่างนี้แหละ ทําได้ยากกว่าและทําให้เกิดยากกว่า.
อัพภูตธรรมกถา
[๑๒๑] ดูก่อนปุกกุสะ สมัยหนึ่ง เราอยู่ในโรงกระเดื่องในเมืองอาตุมา. สมัยนั้น เมื่อฝนกําลังตก ตกอยู่อย่างหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่าอยู่ ชาวนาสองพี่น้องและโคผู้ ๔ ตัว ถูกสายฟ้าฟาดในที่ใกล้โรงกระเดื่อง. ปุกกุสะ ลําดับนั้น หมู่มหาชนในเมืองอาตุมาออกมาแล้ว เข้าไปหาชาวนาสองพี่น้องนั้นและโคผู้ ๔ ตัว ถูกสายฟ้าฟาด. สมัยนั้น เราออกจากโรงกระเดื่อง จงกรมอยู่ในที่แจ้ง
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 301
ใกล้ประตูโรงกระเดื่อง. ครั้งนั้น บุรุษคนหนึ่งออกจากหมู่มหาชนนั้น เข้ามาหาเรา อภิวาทเราแล้ว ยืนอยู่ ณ ที่สมควรส่วนข้างหนึ่ง. เราได้กล่าวกะบุรุษนั้นว่า ดูก่อนผู้มีอายุ หมู่มหาชนนั้น ประชุมกันทําไมหนอ.
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เมื่อกี้นี้ เมื่อฝนกําลังตก ตกอย่างหนัก ฟ้าแลบ ฟ้าผ่าอยู่ ชาวนาสองพี่น้องและโคผู้ ๔ ตัว ถูกสายฟ้าฟาด หมู่มหาชนประชุมกันแล้วในที่นี้ ก็พระองค์อยู่ในที่ไหนเล่า. เราอยู่ในที่นี้เอง. ก็พระองค์ได้เห็นอะไรหรือ. เราไม่ได้เห็น. ก็พระองค์ได้ยินเสียงอะไรหรือ. เราไม่ได้ยิน. ก็พระองค์หลับหรือ. เราไม่ได้หลับ. ก็พระองค์ยังมีสัญญาอยู่หรือ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. ก็พระองค์มีสัญญาตื่นอยู่ เมื่อฝนกําลังตก ตกอย่างหนัก ฟ้าแลบอยู่ ฟ้าผ่าอยู่ ไม่ได้เห็นทั้งไม่ได้ยินเสียงหรือ. อย่างนั้น ท่านผู้มีอายุ. ดูก่อนปุกกุสะ บุรุษนั้นได้มีความคิดอย่างนี้ว่า น่าอัศจรรย์หนอ เหตุไม่เคยมีก็มีมาแล้ว พวกบรรพชิตย่อมอยู่ด้วยวิหารธรรมอันสงบหนอ ดังผู้มีสัญญาตื่นอยู่ เมื่อฝนกําลังตก ตกอย่างหนัก ฟ้าแลบอยู่ ฟ้าผ่าอยู่ ไม่ได้เห็น ไม่ได้ยินเสียง. ประกาศความเลื่อมใสอย่างยิ่งในเรา กระทําประทักษิณแล้วหลีกไป.
ปุกกุสมัลลบุตรเป็นอุบาสก
เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ปุกกุสมัลลบุตรได้กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์โปรยความเลื่อมใสในอาฬารดาบสกาลามโคตรลงในพายุใหญ่ หรือลอยเสียในแม่น้ำมีกระแสเชี่ยว ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก บุคคลหงายของที่คว่ํา เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีบในที่มืด ผู้มีจักษุจักเห็นรูปแม้ฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 302
ทรงประกาศธรรมโดยอเนกปริยายฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ ขอถึงพระผู้มีพระภาค เจ้า พระธรรมและภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้า จงทรงจําข้าพระองค์ว่า เป็นอุบาสกผู้ถึงสรณะตลอดชีวิตตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป.
ลําดับนั้น ปุกกุสมัลลบุตรสั่งบุรุษคนหนึ่งว่า ดูก่อนพนาย ท่านจงช่วยนําคู่ผ้าเนื้อเกลี้ยงมีสีดังทองสิงคีซึ่งเป็นผ้าทรงของเรา. บุรุษนั้นรับคําของปุกกุสมัลลบุตรแล้ว นําคู่ผ้าเนื้อเกลี้ยงมีสีดังทองสิงคี ซึ่งเป็นผ้าทรงมาแล้ว. ปุกกุสมัลลบุตรน้อมคู่ผ้าเนื้อเกลี้ยงมีสีดังทองสิงคี ซึ่งเป็นผ้าทรงนั้น เข้าไปถวายแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ คู่ผ้าเนื้อเกลี้ยงนี้ มีสีดังทองสิงคี เป็นผ้าทรง ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงอาศัยความอนุเคราะห์ ทรงรับคู่ผ้านั้นของข้าพระองค์เถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนปุกกุสะ ถ้าเช่นนั้น ท่านจงให้เราครองผืนหนึ่ง ให้อานนท์ครองผืนหนึ่ง. ปุกกุสมัลลบุตรทูลรับพระดํารัสพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว น้อมถวายพระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงครองผืนหนึ่ง ถวายท่านพระอานนท์ครองผืนหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้า ทรงยังปุกกุสมัลลบุตรให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริงด้วยธรรมีกถาแล้ว ปุกกุสมัลลบุตรอันพระผู้มีพระภาคเจ้าให้เห็นแจ้ง ให้สมาทาน ให้อาจหาญ ให้รื่นเริง ด้วยธรรมีกถาแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายบังคมพระผู้มี พระภาคเจ้ากระทําประทักษิณแล้วหลีกไป.
ผิวกายพระตถาคตผ่องใสยิ่งใน ๒ กาล
[๑๒๒] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ เมื่อปุกกุสมัลลบุตรหลีกไปแล้วไม่นาน ได้น้อมคู่ผ้าเนื้อเกลี้ยงมีสีดังทองสิงดี ซึ่งเป็นผ้าทรงนั้น เข้าไปสู่พระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้า. ผ้าที่พระอานนท์น้อมเข้าไปสู่พระกายของพระมีพระภาคเจ้านั้น ย่อมปรากฏดังถ่านไฟที่ปราศจากเปลวฉะนั้น. ท่านพระอานนท์
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 303
ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ เหตุไม่เคยมี ก็มีมาแล้ว พระฉวีวรรณของพระตถาคตบริสุทธิ์ผุดผ่องยิ่งนัก คู่ผ้าเนื้อเกลี้ยงมีสีดังทองสิงคี ซึ่งเป็นผ้าทรงนี้ ข้าพระองค์น้อมเข้าไปสู่พระกายของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ย่อมปรากฏดังถ่านในที่ปราศจากเปลวฉะนั้น.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ข้อนี้เป็นอย่างนั้น อานนท์ ในกาลทั้ง ๒ กายของตถาคตย่อมบริสุทธิ์ ฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก ในกาลทั้ง ๒ เป็นไฉน คือในเวลาราตรีที่ตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ ๑ ในเวลาราตรีที่ตถาคตปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุ ๑ ในกาลทั้ง ๒ นี้แล กายของตถาคต ย่อมบริสุทธิ์ ฉวีวรรณผุดผ่องยิ่งนัก ดูก่อนอานนท์ ในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้แล ตถาคตจักปรินิพพานในระหว่างไม้สาละทั้งคู่ ในสาลวันแห่ง มัลลกษัตริย์ทั้งหลาย เป็นที่แวะเวียนไป ณ เมืองกุสินารา มาเถิดอานนท์ เราจักไปยังแม่น้ำกกุธานที. ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว.
[๑๒๓] ปุกกุสะนําคู่ผ้าเนื้อเกลี้ยงมีสีดังทองสิงคีเข้าไปถวาย พระศาสดาทรงครองคู่ผ้านั้นแล้วมีวรรณดังทอง งดงามแล้ว.
แม่น้ำกกุธานที
[๑๒๔] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ไปยังแม่น้ำกกุธานที เสด็จลงสู่แม่น้ำกกุธานที ทรงสรงแล้ว ทรงดื่มแล้ว เสด็จขึ้น เสด็จไปยังอัมพวัน ตรัสกะท่านพระจุนทกะว่า ดูก่อนจุนทกะ ท่านจงช่วยปูผ้า สังฆาฏิพับเป็น ๔ ชั้นให้เรา เราเหนื่อยนัก จักนอน. ท่านพระจุนทกะทูลรับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ปูผ้าสังฆาฏิพับเป็น ๔ ชั้น. ลําดับนั้น
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 304
พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสําเร็จสีหไสยา โดยพระปรัศว์เบื้องขวา ทรงซ้อนพระบาทด้วยพระบาท มีสติสัมปชัญญะ ทรงมนสิการอุฏฐานสัญญา. ส่วนท่านพระจุนทกะนั่งเฝ้าอยู่เบื้องพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าในที่นั้นแหละ.
[๑๒๕] พระพุทธเจ้าผู้ศาสดา ผู้พระตถาคต หาผู้เปรียบมิได้ในโลก ทรงเหนื่อย เสด็จถึง แม่น้ำกกุธานที มีน้ำใสจืด สะอาด เสด็จลงแล้ว.
ทรงสรงและทรงดื่มน้ำแล้ว อันหมู่ภิกษุแวดล้อมเสด็จไปในท่ามกลาง พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้ศาสดา ทรงแสวงหาคุณอันยิ่งใหญ่ ทรงเป็นไปในธรรมนี้ เสด็จถึงอัมพวันแล้ว.
ตรัสกะภิกษุชื่อจุนทกะว่า เธอจงช่วยปูลาดผ้าสังฆาฏิพับเป็น ๔ ชั้นให้เรา เราจะนอน พระจุนทกะนั้นมีตนอบรมแล้ว อันพระองค์ทรงเตือนแล้ว รีบปูลาดผ้าสังฆาฏิพับเป็น ๔ ชั้นถวาย พระศาสดาทรงบรรทมแล้ว หายเหนื่อย แม้พระจุนทกะก็นั่งเฝ้าอยู่เฉพาะพระพักตร์ในที่นั้น.
บิณฑบาตทาน ๒ คราวมีผลเสมอกัน
[๑๒๖] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ บางทีใครๆ จะทําความร้อนใจให้เกิดแก่นายจุนทกัมมารบุตรว่า
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 305
ดูก่อนจุนทกะ ไม่เป็นลาภของท่าน ท่านได้ไม่ดีแล้ว พระตถาคตได้บริโภคบิณฑบาตของท่านเป็นครั้งสุดท้ายแล้วเสด็จปรินิพพาน ดังนี้ เธอพึงช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของนายจุนทกัมมารบุตรเสียอย่างนี้ว่า จุนทกะ เป็นลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว พระตถาคตได้บริโภคบิณฑบาตของท่านเป็นครั้งสุดท้ายแล้วเสด็จปรินิพพาน เรื่องนี้เราได้ยินมา ได้รับมาเฉพาะพระพักตร์ของพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า บิณฑบาตสองคราวนี้ มีผลสม่ําเสมอกัน มีวิบากสม่ําเสมอกัน มีผลใหญ่กว่าและมีอานิสงส์ใหญ่กว่าบิณฑบาตอื่นๆ ยิ่งนัก. บิณฑบาตสองคราวเป็นไฉน. คือ พระตถาคตบริโภคบิณฑบาตใดแล้ว ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณอย่างหนึ่ง พระตถาคตบริโภคบิณฑบาตใดแล้ว เสด็จปรินิพพาน ด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุอย่างหนึ่ง บิณฑบาตสองคราวนี้ มีผลสม่ําเสมอกัน มีวิบากสม่ําเสมอกัน มีผลใหญ่กว่าและมีอานิสงส์ใหญ่กว่าบิณฑบาตอื่นๆ ยิ่งนัก กรรมที่นายจุนทกัมมารบุตรสั่งสมก่อสร้างแล้ว เป็นไปเพื่ออายุ ... วรรณะ ... สุขะ ... ยศ ... สวรรค์ ... และเป็นไปเพื่อความเป็นใหญ่ยิ่ง ดูก่อน อานนท์เธอพึงช่วยบรรเทาความร้อนใจของนายจุนทกัมมารบุตรเสียด้วยประการฉะนี้.
พุทธอุทาน
ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทราบความนั้นแล้ว ทรงเปล่ง พระอุทานนี้ในเวลานั้นว่า
[๑๒๗] บุญย่อมเจริญแก่ผู้ให้ เวรย่อมไม่ก่อแก่ผู้สํารวมอยู่ คนฉลาดเทียว ย่อมละกรรมอันลามก เขาดับแล้วเพราะราคะ โทสะ โมสะ สิ้นไป.
จบภาณวารที่ ๔
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 306
บรรทมอนุฏฐานไสยา
[๑๒๘] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า มาเถิดอานนท์ เราจักไปยังฝังโน้นแห่งแม่น้ำหิรัญวดี เมืองกุสินาราและสาลวัน อันเป็นที่แวะพักแห่งมัลลกษัตริย์. ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้า พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ เสด็จไปยังฝังโน้นแห่งแม่น้ำหิรัญวดี เมืองกุสินาราและสาลวัน อันเป็นที่แวะพักแห่งมัลลกษัตริย์ รับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า เธอจงช่วยตั้งเตียงให้เรา หันศีรษะไปทางทิศอุดรระหว่างไม้สาละทั้งคู่ เราเหนื่อยแล้วจักนอน. ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ตั้งเตียงหันพระเศียรไปทางทิศอุดรระหว่างไม้สาละทั้งคู่. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสําเร็จสีหไสยา โดยปรัศว์เบื้องขวาทรงซ้อนพระบาทด้วยพระบาท มีพระสติสัมปชัญญะ.
ทรงปรารภสักการบูชา
[๑๒๙] สมัยนั้น ไม้สาละทั้งคู่เผล็ดดอกบานสะพรั่งนอกฤดูกาล ดอกไม้เหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังพระสรีระของพระตถาคต เพื่อบูชาพระตถาคต. แม้ดอกมณฑารพอันเป็นของทิพย์ก็ตกลงมาจากอากาศ ดอกมณฑารพเหล่านั้น ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังพระสรีระของพระตถาคต เพื่อบูชาพระตถาคต. แม้จุณแห่งจันทน์อันเป็นของทิพย์ ก็ตกลงจากอากาศ จุณแห่งจันทน์เหล่านั้นร่วงหล่นโปรยปรายลงยังพระสรีระของพระตถาคต เพื่อบูชาพระตถาคต. ดนตรีอันเป็นทิพย์เล่า ก็ประโคมอยู่ในอากาศ เพื่อบูชาพระตถาคต. แม้สังคีตอันเป็นทิพย์ ก็เป็นไปในอากาศ เพื่อบูชาพระตถาคต.
ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ไม้สาละทั้งคู่ เผล็ดดอกบานสะพรั่งนอกฤดูกาล ร่วงหล่นโปรยปรายลงยังพระ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 307
สรีระของพระตถาคต เพื่อบูชาพระตถาคต. แม้ดอกมณฑารพอันเป็นของทิพย์ ... แม้จุณแห่งจันทน์อันเป็นของทิพย์ ... แม้ดนตรีอันเป็นทิพย์เล่า ... แม้สังคีตอันเป็นทิพย์ ย่อมเป็นไปในอากาศ เพื่อบูชาพระตถาคต ดูก่อนอานนท์ พระตถาคตจะชื่อว่า อันบริษัทสักการะ เคารพ นับถือ บูชา นอบน้อม ด้วยเครื่องสักการะประมาณเท่านี้หามิได้ ผู้ใดแลจะเป็นภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก หรืออุบาสิกา ก็ตาม เป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่ ผู้นั้นย่อมชื่อว่าสักการะ เคารพ นับถือ บูชา ด้วยการบูชาอย่างยิ่ง เพราะเหตุนั้นแหละ อานนท์ พวกเธอพึงสําเหนียกอย่างนี้ว่า เราจักเป็นผู้ปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม ปฏิบัติชอบ ประพฤติตามธรรมอยู่.
เรื่องอุปวาณเถระ
[๑๓๐] สมัยนั้น ท่านอุปวาณะยืนถวายงานพัดพระผู้มีพระภาคเจ้าเฉพาะพระพักตร์. ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขับท่านพระอุปวาณะว่า ดูก่อนภิกษุ เธอจงหลีกไป อย่ายืนตรงหน้าเรา. ท่านพระอานนท์ได้มีความดําริว่า ท่านอุปวาณะรูปนี้ เป็นอุปัฏฐากอยู่ใกล้ชิดพระผู้มีพระภาคเจ้ามาช้านาน ก็แหละเมื่อเป็นเช่นนั้น ในกาลครั้งสุดท้าย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขับท่านอุปวาณะว่า ดูก่อนภิกษุ เธอจงหลีกไป อย่ายืนตรงหน้าเราดังนี้ อะไรหนอ เป็นเหตุ อะไรหนอเป็นปัจจัย ให้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงขับท่านอุปวาณะว่า ดูก่อนภิกษุ เธอจงหลีกไป อย่ายืนตรงหน้าเรา. ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านอุปวาณะรูปนี้ เป็นอุปัฏฐากอยู่ใกล้ชิดพระผู้มีพระภาคเจ้ามาช้านาน ... พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เทวดาในหมื่นโลกธาตุมาประชุมกันโดยมากเพื่อจะเห็นตถาคต เมืองกุสินาราสาลวันอันเป็นที่แวะพักแห่งมัลลกษัตริย์เพียงเท่าใด โดยรอบถึง ๑๒
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 308
ตลอดที่เพียงเท่านี้ จะหาประเทศแม้มาตรว่าเป็นจรดลงแห่งปลายขนทราย อันเทวดาผู้มีศักดิ์ใหญ่มิได้ถูกต้องแล้วมิได้มี พวกเทวดายกโทษอยู่ว่า เรามาแต่ที่ไกลเพื่อจะเห็นพระตถาคต พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าจะเสด็จอุบัติในโลกในบางครั้งบางคราว ในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้แหละ พระตถาคตจักปรินิพพาน ภิกษุผู้มีศักดิ์ใหญ่รูปนี้ ยืนบังอยู่เบื้องพระพักตร์พระผู้มีพระภาคเจ้า เราไม่ได้เพื่อเห็นพระตถาคตในกาลเป็นครั้งสุดท้าย. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พวกเทวดากระทําไว้ในใจเป็นอย่างไร อานนท์ มีเทวดาบางพวกสําคัญอากาศว่าเป็นแผ่นดิน สยายผมประคองแขนทั้งสองคร่ําครวญอยู่ ล้มลงกลิ้งเกลือกไปมาเหมือนเท้าขาดแล้ว รําพันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักปรินิพพานเสียเร็วนัก พระสุคตจักปรินิพพานเสียเร็วนัก พระองค์ผู้มีพระจักษุในโลกจักอันตรธานเสียเร็วนัก ดังนี้ เทวดาบางพวกสําคัญแผ่นดินว่าเป็นแผ่นดิน ... พระองค์ผู้มีพระจักษุในโลกจักอันตรธานเสียเร็วนัก ดังนี้ ส่วนเทวดาที่ปราศจากราคะแล้ว มีสติสัมปชัญญะ อดกลั้นโดยธรรม สังเวชว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ข้อนั้น จะหาได้ในสังขารนี้แต่ที่ไหน.
สังเวชนียสถาน ๔ ตําบล
[๑๓๑] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ในกาลก่อน พวกภิกษุอยู่จําพรรษาในทิศทั้งหลาย พากันมาเพื่อเห็นพระตถาคต พวกข้าพระองค์ ย่อมได้เห็น ได้เข้าไปนั่งใกล้ภิกษุผู้ให้เจริญใจเหล่านั้น พวกข้าพระองค์ โดยล่วงไปแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้า จักไม่ได้เห็น จักไม่ได้เข้าไปนั่งใกล้ภิกษุผู้ให้เจริญใจ.
ดูก่อนอานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งเหล่านี้ เป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธา. สังเวชนียสถาน ๔ เป็นไฉน. สังเวชนียสถานเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยระลึกว่า พระตถาคตประสูติในที่นี้ ๑ สังเวชนีย-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 309
สถานเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยระลึกว่า พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้ ๑ สังเวชนียสถานเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยระลึกว่า พระตถาคตยังธรรมจักรอันยวดยิ่งให้เป็นไปแล้วในที่นี้ ๑ สังเวชนียสถานเป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธาด้วยระลึกว่า พระตถาคตเสด็จปรินิพพานด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้ ๑ อานนท์ สังเวชนียสถาน ๔ แห่งเหล่านั้นแล เป็นที่ควรเห็นของกุลบุตรผู้มีศรัทธา ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา ผู้มีศรัทธาจักมาด้วยระลึกถึงว่า พระตถาคตประสูติในที่นี้บ้าง พระตถาคตตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณในที่นี้บ้าง พระตถาคตยัง ธรรมจักรอันยวดยิ่งให้เป็นไปในที่นี้บ้าง พระตถาคตเสร็จปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพานธาตุในที่นี้บ้าง ดูก่อนอานนท์ ชนเหล่าใดเที่ยวจาริกไปยังเจดีย์ มีจิตเลื่อมใส จักกระทํากาละ ชนเหล่านั้นทั้งหมดเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์.
วิธีปฏิบัติในสตรี และพระพุทธสรีระ
[๑๓๒] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์จะปฏิบัติในมาตุคามอย่างไร. ไม่ดู อานนท์. เมื่อมีการดูจะพึงปฏิบัติอย่างไร. ไม่พูดด้วยอานนท์. เมื่อมีการพูดจะพึงปฏิบัติอย่างไร. พึงตั้งสติไว้ อานนท์.
[๑๓๓] ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พวกข้าพระองค์จะปฏิบัติในพระสรีระของพระตถาคตอย่างไร. อานนท์ พวกเธออย่าขวนขวายเพื่อบูชาสรีระของพระตถาคตเลย พวกเธอจงสืบต่อในประโยชน์ตน ประกอบตามในประโยชน์ตน ไม่ประมาทในประโยชน์ตน มีตนส่งไปแล้วอยู่เถิด อานนท์ กษัตริย์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง พราหมณ์ผู้เป็นบัณฑิตบ้าง คฤหบดีผู้เป็นบัณฑิตบ้าง เลื่อมใสในพระตถาคตมีอยู่ เขาเหล่านั้นจักกระทําการบูชาสรีระของพระตถาคตเอง.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 310
ก็ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พึงปฏิบัติในพระสรีระของพระตถาคตอย่างไร. พึงปฏิบัติในพระสรีระของพระตถาคต เหมือนที่เขาปฏิบัติในพระสรีระของพระเจ้าจักรพรรดิ. เขาปฏิบัติในพระสรีระของพระเจ้าจักรพรรดิเป็นอย่างไร. อานนท์ เขาห่อพระสรีระของพระเจ้าจักรพรรดิด้วยผ้าใหม่ ครั้นห่อแล้วซับด้วยสําลี ครั้นซับด้วยสําลีแล้ว ห่อด้วยผ้าใหม่ โดยอุบายนี้ ห่อพระสรีระของพระเจ้าจักรพรรดิด้วยผ้า ๕๐๐ คู่ เชิญลงในรางเหล็กอันเต็มด้วยน้ำมัน ครอบด้วยรางเหล็กอื่น กระทําจิตกาธานด้วยของหอมทุกชนิด ถวายพระเพลิงพระสรีระของพระเจ้าจักรพรรดิ สร้างพระสถูปของพระเจ้าจักรพรรดิไว้ในทางใหญ่ ๔ แพร่ง อานนท์ เขาปฏิบัติในพระสรีระของพระเจ้าจักรพรรดิอย่างนี้แล้ว พึงปฏิบัติในพระสรีระของพระตถาคตเหมือนเขาปฏิบัติในพระสรีระของพระเจ้าจักรพรรดิฉะนั้น พึงสร้างพระสถูปของพระตถาคตไว้ในทางใหญ่ ๔ แพร่ง ชนเหล่าใด จักยกขึ้นซึ่งมาลัยของหอมหรือจุณ จักอภิวาท หรือยังจิตให้เลื่อม ใสในพระสถูปนั้น ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ชนเหล่านั้น ตลอดกาลนาน.
ถูปารหบุคคล ๔
[๑๓๔] ดูก่อนอานนท์ ถูปารหบุคคล ๔ เหล่านี้. ถูปารหบุคคล ๔ เป็นไฉน. คือ พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ๑ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า ๑ สาวกของพระตถาคต ๑ พระเจ้าจักรพรรดิ ๑
ดูก่อนอานนท์ เพราะอาศัยอํานาจประโยชน์อะไร พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเป็นถูปารหบุคคล. ชนเป็นอันมาก ย่อมยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี้เป็นพระสถูปของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น ชนเหล่านั้น ยังจิตให้เลื่อมใสพระสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 311
เข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ อานนท์ เพราะอาศัยอํานาจประโยชน์นี้แล พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงเป็นถูปารหบุคคล.
ดูก่อนอานนท์ เพราะอาศัยอํานาจประโยชน์อะไรๆ พระปัจเจกสัมพุทธเจ้า จึงเป็นถูปารหบุคคล ชนเป็นอันมาก ยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี้เป็นสถูปของพระปัจเจกสัมพุทธเจ้านั้น ชนเหล่านั้นยังจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ อานนท์ เพราะอาศัยอํานาจประโยชน์นี้แล พระปัจเจกสัมพุทธาเจ้าจึงเป็นถูปารหบุคคล.
ดูก่อนอานนท์ เพราะอาศัยอํานาจประโยชน์อะไร สาวกของพระตถาคตจึงเป็นถูปารหบุคคล. ชนเป็นอันมาก ยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี้เป็นสถูปสาวกของพระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ชนเหล่านั้นยังจิตให้เลื่อมใสในสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตาย เพราะกายตาย ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ อานนท์ เพราะอาศัยอํานาจประโยชน์นี้แล สาวกของพระตถาคตจึงเป็นถูปารหบุคคล.
ดูก่อนอานนท์ เพราะอาศัยอํานาจประโยชน์อะไร พระเจ้าจักรพรรดิจึงเป็นถูปารหบุคคล. ชนเป็นอันมาก ยังจิตให้เลื่อมใสว่า นี้เป็นพระสถูปของพระธรรมราชาผู้ทรงธรรมพระองค์นั้น ชนเหล่านั้น ยังจิตให้เลื่อมใสในพระสถูปนั้นแล้ว เบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก ย่อมเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์ อานนท์ เพราะอาศัยอํานาจประโยชน์นี้แล พระเจ้าจักรพรรดิจึงเป็นถูปารหบุคคล อานนท์ ถูปารหบุคคล ๔ เหล่านี้แล.
ประทานโอวาทแก่พระอานนท์
[๑๓๕] ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปสู่วิหาร ยืนเหนี่ยวสลักเพชร ร้องไห้อยู่ว่า เรายังเป็นเสขบุคคลมีกิจที่จะต้องทําอยู่ แต่พระศาสดาของเรา
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 312
ซึ่งเป็นผู้อนุเคราะห์เรา ก็จักปรินิพพานเสีย. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งถามภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อานนท์อยู่ที่ไหน. พวกภิกษุกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ท่านพระอานนท์นั่นเข้าไปสู่วิหาร ยืนเหนี่ยวสลักเพชร ร้องไห้อยู่ว่า เรายังเป็นเสขบุคคลมีกิจที่จะต้องทําอยู่ แต่พระศาสดาของเราซึ่งเป็นผู้อนุเคราะห์เรา ก็จักปรินิพพานเสีย. ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงรับสั่งกะภิกษุรูปหนึ่งว่า เธอจงไปเถิด ภิกษุ จงบอก อานนท์ตามคําของเราว่า ท่านอานนท์ พระศาสดารับสั่งหาท่าน. ภิกษุนั้นทูลรับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว เข้าไปหาท่านพระอานนท์ ครั้นเข้าไปหาแล้ว บอกท่านพระอานนท์ว่า ท่านอานนท์ พระศาสดารับสั่งหาท่าน. ท่านพระอานนท์รับคําภิกษุนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นเข้าไปเฝ้าแล้ว ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะท่านพระอานนท์ผู้นั่งเรียบร้อยแล้วว่า อย่าเลยอานนท์ เธออย่าเศร้าโศกร่ําไรไปเลย เราได้บอกไว้ก่อนแล้วไม่ใช่หรือว่า ความเป็นต่างๆ ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่นจากของรักของชอบใจทั้งสิ้นต้องมี ข้อนั้นจะหาได้ในของรักของชอบใจนี้แต่ที่ไหนเล่า สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความทําลายเป็นธรรมดา ความปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าทําลายไปเลย ดังนี้ นั่นไม่เป็นฐานะที่จะมีได้ อานนท์ เธอได้เป็นอุปัฏฐากตถาคต ด้วยกายกรรม วจีกรรม มโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตา เป็นประโยชน์เกื้อกูล เป็นความสุขไม่มีสอง หาประมาณมิได้มาช้านาน เธอได้กระทําบุญไว้แล้ว อานนท์ จงประกอบความเพียรเถิด เธอจักเป็นผู้ไม่มีอาสวะโดยฉับพลัน.
ตรัสสรรเสริญพระอานนท์
ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายใด ได้มีแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 313
ในอดีต ภิกษุผู้อุปัฏฐากของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้นเป็นอย่างยิ่ง เหมือนอานนท์ผู้เป็นอุปัฏฐากแห่งเรา แม้พระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลายใดจักมีในอนาคตกาล ภิกษุผู้อุปัฏฐากของผู้พระมีพระภาคเจ้านั้นเป็นอย่างยิ่ง เหมือนอานนท์ผู้เป็นอุปัฏฐากแห่งเรา อานนท์เป็นบัณฑิต ย่อมรู้ว่า นี้เป็นกาลเพื่อจะเข้าเฝ้าพระตถาคต นี้เป็นกาลของพวกภิกษุ นี้เป็นกาลของพวกภิกษุณี นี้เป็นกาลของพวกอุบาสก นี้เป็นกาลของพวกอุบาสิกา นี้เป็นกาลของพระราชา นี้เป็นกาลของพระราชมหาอํามาตย์ นี้เป็นกาลของพวกเดียรถีย์ นี้เป็นกาลของสาวกเดียรถีย์.
อัพภูตธรรม ๔
[๑๓๖] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัพภูตธรรมน่าอัศจรรย์ ๔ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ในพระอานนท์. อัพภูตธรรม ๔ อย่างเป็นไฉน. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ถ้าภิกษุบริษัท เข้าไปใกล้เพื่อจะเห็นอานนท์ ภิกษุบริษัทนั้น ย่อมยินดีด้วยการที่ได้เห็น ถ้าอานนท์แสดงธรรมในภิกษุบริษัทนั้น ภิกษุบริษัทนั้น ก็ย่อมยินดี แม้ด้วยธรรมที่แสดงแล้ว ภิกษุบริษัทยังไม่อิ่มเลย อานนท์ย่อมนิ่งไป ในเวลานั้น ถ้าภิกษุณีบริษัท ... อุบาสกบริษัท ... อุบาสิกาบริษัท เข้าไปใกล้เพื่อจะเห็นอานนท์ อุบาสิกาบริษัทนั้น ย่อมยินดีด้วยการที่ได้เห็น ถ้าอานนท์แสดงธรรมในอุบาสิกาบริษัทนั้น อุบาสิกาบริษัทนั้น ก็ยินดีแม้ด้วยธรรมที่แสดงแล้ว อุบาสิกบริษัทยังไม่อิ่มเลย อานนท์ย่อมนิ่งไปในเวลานั้น ภิกษุทั้งหลาย อัพภูตธรรมน่าอัศจรรย์ ๔ อย่างเหล่านี้แล มีอยู่ในอานนท์.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัพภูตธรรมน่าอัศจรรย์ ๔ อย่างเหล่านี้ มีอยู่ ในพระเจ้าจักรพรรดิ. ถ้าขัตติยบริษัทเข้าไปเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ ขัตติยบริษัทนั้น ย่อมยินดีด้วยการที่ได้เข้าเฝ้า ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิมีพระดํารัสในขัตติย-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 314
บริษัทนั้น ขัตติยบริษัทนั้นก็ยินดีแม้ด้วยพระดํารัส ขัตติยบริษัทยังไม่อิ่มเลย พระเจ้าจักรพรรดิย่อมทรงนิ่งในเวลานั้น. ถ้าพราหมณบริษัท ... คฤหบดีบริษัท ... สมณบริษัท เข้าไปเฝ้าพระเจ้าจักรพรรดิ สมณบริษัทนั้น ย่อมยินดีด้วยการที่ได้เข้าเฝ้า ถ้าพระเจ้าจักรพรรดิมีพระดํารัสในสมณบริษัทนั้น สมณบริษัทนั้นก็ยินดีแม้ด้วยพระดํารัส สมณบริษัทนั้นยังไม่อิ่มเลย พระจักรพรรดิย่อมทรงนิ่งไปในเวลานั้น.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อัพภูตธรรมน่าอัศจรรย์ ๔ อย่าง มีอยู่ในอานนท์ ฉันนั้นเหมือนกัน ถ้าภิกษุบริษัทเข้าไปใกล้เพื่อจะเห็นอานนท์ ภิกษุบริษัทนั้น ย่อมยินดีด้วยการที่ได้เห็น ถ้าอานนท์แสดงธรรมในภิกษุบริษัทนั้น ภิกษุบริษัทนั้นย่อมยินดี แม้ด้วยธรรมที่แสดงแล้ว ภิกษุบริษัทยังไม่อิ่มเลย อานนท์ย่อมนิ่งไปในเวลานั้น. ถ้าภิกษุณีบริษัท ... อุบาสกบริษัท ... อุบาสิกาบริษัทเข้าไปหาได้เห็นอานนท์ อุบาสิกาบริษัทนั้น ย่อมยินดีด้วยการที่ได้เห็น ถ้าอานนท์แสดงธรรมในอุบาสิกาบริษัทนั้น อุบาสิกาบริษัทนั้น ก็ยินดีแม้ด้วยธรรมที่แสดงแล้ว อุบาสิกาบริษัทยังไม่อิ่มเลย อานนท์ย่อมนิ่งไปในเวลานั้น. ภิกษุทั้งหลาย อัพภูตธรรมน่าอัศจรรย์ ๔ อย่างเหล่านี้แล มีอยู่ในอานนท์.
ตรัสเรื่องเมืองกุสินารา
[๑๓๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้า อย่าเสด็จปรินิพพานในเมืองเล็ก เมืองดอน กิ่งเมืองนี้เลย เมืองใหญ่เหล่าอื่น มีอยู่คือ เมืองจัมปา เมืองราชคฤห์ เมืองสาวัตถี เมืองสาเกต เมืองโกสัมพี เมืองพาราณสี ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานในเมืองเหล่านี้เถิด กษัตริย์มหาศาล พราหมณมหาศาล คฤหบดีมหาศาลที่เลื่อมใสในพระตถาคต มีอยู่มากในเมืองเหล่านี้ ท่านเหล่านั้นจักกระทําสักการะบูชาสรีระของพระตถาคต.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 315
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนอานนท์ เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ เธออย่าได้กล่าวอย่างนี้ว่า เมืองเล็ก เมืองดอน กิ่งเมืองดังนี้เลย แต่ปางก่อน มีพระเจ้าจักรพรรดิทรงพระนามว่ามหาสุทัสสนะ ผู้ทรงธรรม เป็นพระราชาโดยธรรม เป็นใหญ่ในแผ่นดิน มีมหาสมุทร ๔ เป็นขอบเขต ทรงชนะแล้ว มีพระราชอาณาจักรมั่นคง สมบูรณ์ด้วยแก้ว ๗ ประการ เมืองกุสินารานี้ มีนามว่ากุสาวดี เป็นราชธานีของพระเจ้ามหาสุทัสสนะ โดยยาวด้านทิศบูรพาและทิศประจิม ๑๒ โยชน์ โดยกว้างด้านทิศอุดรและทิศทักษิณ ๗ โยชน์ กุสาวดีเป็นราชธานี เป็นเมืองที่มั่งคั่งรุ่งเรือง มีชนมาก มนุษย์หนาแน่น และมีภิกษาหาได้ง่าย ดูก่อนอานนท์ อาลกมันทาราชธานีแห่งเทพเจ้าทั้งหลาย เป็นเมืองที่มั่งคั่งรุ่งเรือง มีชนมาก ยักษ์หนาแน่น และมีภิกษาหาได้ง่าย แม้ฉันใด กุสาวดีราชธานีก็ฉันนั้นเหมือนกัน เป็นเมืองที่มั่งคั่งรุ่งเรือง มีชนมาก มนุษย์หนาแน่น และมีภิกษาหาได้ง่าย กุสาวดีราชธานีมิได้เงียบจากเสียงทั้ง ๑๐ ทั้งกลางวันและกลางคืน คือ เสียงช้าง เสียงม้า เสียงรถ เสียงกลอง เสียงตะโพน เสียงพิณ เสียงขับร้อง เสียงกังสดาล เสียงประโคมและเสียงเป็นที่ ๑๐ ว่า ท่านทั้งหลายจงบริโภค จงดื่ม จงเคี้ยวกิน จงไปเถิด อานนท์ เธอจงเข้าไปในเมืองกุสินาราแล้ว บอกแก่พวกมัลลกษัตริย์เมืองกุสินาราว่า ดูก่อน วาสิฏฐทั้งหลาย พระตถาคตจักปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีในวันนี้ พวกท่านจงรีบออกไปเถิด พวกท่านอย่าได้มีความร้อนใจในภายหลังว่า พระตถาคตได้ปรินิพพานในคามเขตของพวกเรา พวกเราไม่ได้เข้าไปเฝ้าพระตถาคตในกาลครั้งสุดท้าย. ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปในเมืองกุสินารา ลําพังผู้เดียว.
แจ้งข่าวมัลลกษัตริย์
สมัยนั้น มัลลกษัตริย์เมืองกุสินาราประชุมกันอยู่ที่สัณฐาคาร ด้วยกรณียกิจบางอย่าง. ลําดับนั้น ท่านพระอานนท์เข้าไปยังสัณฐาคารของ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 316
มัลลกษัตริย์เมืองกุสินารา ได้บอกแก่พวกมัลลกษัตริย์เมืองกุสินาราว่า ดูก่อน วาสิฏฐทั้งหลาย พระตถาคตจักปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีในวันนี้แหละ พวกท่านจงรีบออกไปเถิด พวกท่านอย่าได้มีความร้อนใจในภายหลังว่า พระตถาคตได้ปรินิพพานในคามเขตของพวกเรา พวกเราไม่ได้เฝ้าตถาคตในกาลครั้งสุดท้าย. พวกมัลลกษัตริย์ พระโอรส สุณิสาและปชาบดีได้สดับคํานี้ของท่านพระอานนท์แล้ว เป็นทุกข์เสียพระทัย เปียมไปด้วยความทุกข์ใจ บาง พวกสยายพระเกศา ประคองหัตถ์ทั้งสองคร่ําครวญอยู่ ล้มลงกลิ้งเกลือกไปมา เหมือนมีพระบาทอันขาดแล้ว ทรงรําพันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าจักปรินิพพานเร็วนัก พระสุคตจักปรินิพพานเร็วนัก พระองค์ผู้มีพระจักษุในโลกจักอันตรธาน เสียเร็วนัก.
ครั้งนั้น พวกมัลลกษัตริย์ พระโอรส สุณิสาและปชาบดีเป็นทุกข์ เสียพระทัย เปียมไปด้วยความทุกข์ใจ เสด็จเข้าไปยังสาลวัน อันเป็นที่แวะพักของพวกมัลลกษัตริย์ เสด็จเข้าไปหาท่านพระอานนท์. ท่านพระอานนท์ได้มีความดําริว่า ถ้าเราให้พวกมัลลกษัตริย์เมืองกุสินาราถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าทีละองค์ๆ พวกมัลลกษัตริย์เมืองกุสินาราจักมิได้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าทั่วกัน ราตรีนี้จักสว่างเสีย ถ้ากระไรเราควรจัดให้พวกมัลลกษัตริย์เมืองกุสินาราถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าโดยลําดับสกุลๆ ด้วยกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ มัลลกษัตริย์มีนามอย่างนี้ พร้อมด้วยโอรส ชายา บริษัทและอํามาตย์ถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยเศียรเกล้า. โดยอุบายเช่นนี้ ท่านพระอานนท์ยังพวกมัลลกษัตริย์เมืองกุสินาราให้ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคเจ้าเสร็จโดยปฐมยามเท่านั้น.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 317
เรื่องสุภัททปริพาชก
[๑๓๘] สมัยนั้น สุภัททปริพาชก อาศัยอยู่ในเมืองกุสินารา. สุภัททปริพาชกได้ฟังว่า พระสมณโคดม จักปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีนั้น วันนี้. ลําดับนั้น สุภัททปริพาชกได้มีความดําริว่า เราได้ฟังคํานั้นของพวกปริพาชกผู้เฒ่าผู้แก่ ซึ่งเป็นอาจารย์และปาจารย์กล่าวอยู่ว่า พระตถาคตอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมอุบัติขึ้นในโลกในบางครั้งบางคราว พระสมณโคดมจักปรินิพพานในปัจฉิมยามแห่งราตรีวันนี้แหละ อนึ่ง ธรรมอันเป็นที่สงสัยนี้ ซึ่งบังเกิดขึ้นแก่เราก็มีอยู่ เราเลื่อมใสในพระสมณโคดมอย่างนี้ว่า พระสมณโคดม ย่อมสามารถเพื่อแสดงธรรมแก่เรา ที่เราจะพึงละธรรมอันเป็นที่สงสัยนี้ได้.
ลําดับนั้น สุภัททปริพาชก เข้าไปหาท่านพระอานนท์ที่สาลวันอันเป็นที่แวะพักของพวกมัลลกษัตริย์ ครั้นเข้าไปหาแล้ว จึงได้กล่าวกะท่านพระ อานนท์ว่า ท่านอานนท์ ข้าพเจ้าได้ฟังคําของพวกปริพาชก ... ที่เราจะพึงละธรรมอันเป็นที่สงสัยนี้ได้ ท่านอานนท์ ข้าพเจ้านั้น ขอได้เฝ้าพระสมณโคดม. เมื่อสุภัททปริพาชกกล่าวอย่างนี้แล้ว ท่านพระอานนท์กล่าวว่า อย่าเลยสุภัททะ อย่าเบียดเบียนพระตถาคตเลย พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเหน็ดเหนื่อย. แม้ครั้ง ที่สอง ... แม้ครั้งที่สามสุภัททปริพาชกก็กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ...
พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ทรงสดับคําเจรจาของท่านพระอานนท์กับสุภัททปริพาชกแล้ว. จึงตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า อย่าเลยอานนท์ อย่าห้ามสุภัททะเลย สุภัททะจงได้เฝ้าพระตถาคตเถิด สุภัททะจักถามปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งกะเรา มุ่งเพื่อความรู้ มิใช่มุ่งเพื่อความเบียดเบียน อนึ่ง เราอันสุภัททะถามแล้ว จักพยากรณ์ข้อความแก่สุภัททนะนั้นได้ เขาจักรู้ข้อความนั้นได้โดยฉับพลัน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 318
ท่านพระอานนท์ได้กล่าวกะท่านสุภัททปริพาชกว่า ไปเถิด สุภัททะ พระผู้มีพระภาคเจ้าประทานโอกาสแก่ท่าน. สุภัททปริพาชกจึงเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ชื่นชมกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ให้ถ้อยคําเป็นที่ชื่นชมให้ระลึกถึงกันผ่านพ้นไปแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง. สุภัททปริพาชกกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ สมณพราหมณ์เหล่าใด เป็นเจ้าหมู่ เป็นเจ้าคณะ เป็นคณาจารย์ มีชื่อเสียง มียศ เป็นเจ้าลัทธิ ชนเป็นอันมากสมมติว่าเป็นคนดี คือ บูรณกัสสปะ มักขลิโคสาละ อชิตเกสกัมพละ ปกุธกัจจายนะ สัญชยเวลัฎฐบุตร นิครณฐนาฎบุตร สมณพราหมณ์เหล่านั้น ทั้งหมดตรัสรู้แล้วตามปฏิญญาของตน หรือทั้งหมดไม่ได้ตรัสรู้ หรือว่าบางพวกไม่ได้ตรัสรู้. อย่าเลยสุภัททะข้อนั้นหยุดไว้ก่อน ...
ทรงแสดงธรรมแก่สุภัททะ
เราจะแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว. สุภัททปริพาชกทูลรับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสุภัททะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ หาไม่ได้ในธรรมวินัยใด แม้สมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็หาไม่ได้ในธรรมวินัยนั้น สุภัททะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ หาได้ในธรรมวินัยใด แม้สมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ หาได้ในธรรมวินัยนั้น สุภัททะ อริยมรรคอันประกอบด้วยองค์ ๘ หาได้ในธรรมวินัยนี้ สมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ก็มีอยู่ในธรรมวินัยนี้ ลัทธิอื่นๆ ว่างจากสมณะผู้รู้ สุภัททะ ก็ภิกษุเหล่านี้ พึงอยู่โดยชอบ โลกจะไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย.
[๑๓๙] ดูก่อนสุภัททะ เรามีวัย ๒๙ ปีบวชแล้ว แสวงหาว่าอะไรเป็นกุศล ตั้งแต่เราบวชแล้ว
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 319
นับได้ ๕๑ ปี แม้สมณะเป็นไปในประเทศแห่งธรรมเป็นเครื่องนําออก ไม่มีในภายนอกแต่ ธรรมวินัยนี้.
สมณะที่ ๑ ที่ ๒ ที่ ๓ ที่๔ ไม่มีลัทธิอื่นว่างจากสมณะผู้รู้. สุภัททะ ภิกษุเหล่านั้นพึงอยู่โดยชอบ โลกไม่พึงว่างจากพระอรหันต์ทั้งหลาย.
ติตถิยปริวาส
[๑๔๐] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว สุภัททปริพาชกกราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ภาษิตของพระองค์แจ่มแจ้งนัก บุคคลหงายของที่คว่ํา เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง หรือส่องประทีปในที่มืด ผู้มีจักษุจักเห็นรูปฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงประกาศธรรม โดยอเนกปริยายฉันนั้นเหมือนกัน ข้าพระองค์นี้ขอถึงพระผู้มีพระภาคเจ้า พระธรรม พระภิกษุสงฆ์ว่าเป็นสรณะ ข้าพระองค์พึงได้บรรพชา อุปสมบทในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ดูก่อนสุภัททะ ผู้ใดเคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ ผู้นั้นต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน. ต่อล่วง ๔ เดือนแล้ว ภิกษุทั้งหลายมีจิตยินดีแล้ว จึงให้บรรพชาอุปสมบทเพื่อความเป็นภิกษุ แต่ว่าเรารู้บุคคลต่างกันในข้อนี้. สุภัททปริพาชกกราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ หากผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ หวังบรรพชาอุปสมบทในธรรมวินัยนี้ จะต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน ต่อล่วง ๔ เดือนแล้ว ภิกษุทั้งหลายมีจิตยินดีแล้ว จึงให้บรรพชาอุปสมบทเพื่อความเป็นภิกษุ ข้าพระองค์จักอยู่ปริวาส ๔ ปี ต่อล่วง ๔ ปีแล้ว ขอภิกษุทั้งหลายมีจิตยินดีแล้ว จงให้บรรพชาอุปสมบทเพื่อความเป็นภิกษุเถิด.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 320
สุภัททสําเร็จอรหัต
ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ ถ้าเช่นนั้น เธอจงให้สุภัททปริพาชกบวชเถิด. ท่านพระอานนท์ทูลรับพระดํารัสของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. สุภัททปริพาชกได้กล่าวกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนท่านอานนท์ผู้มีอายุ ลาภของท่าน ท่านได้ดีแล้ว ที่พระศาสดาทรงอภิเษกด้วยอันเตวาสิกาภิเษกที่เฉพาะพระพักตร์ ในพระศาสนานี้. สุภัททปริพาชก ได้บรรพชาอุปสมบทในสํานักของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว. ก็ท่าน สุภัททะอุปสมบทแล้วไม่นาน หลีกออกไปอยู่แต่ผู้เดียวเป็นผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีตนส่งไปแล้ว อยู่ไม่ช้านานนัก ทําให้แจ้งที่สุดพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยมที่กุลบุตรทั้งหลายผู้มีความต้องการออกจากเรือนบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบด้วยปัญญาอันยิ่งด้วยตนเอง ในทิฏฐธรรมเข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทําทําเสร็จแล้ว กิจเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ท่านสุภัททะรูปหนึ่งได้เป็นพระอรหันต์. ท่านเป็นสักขิสาวกองค์สุดท้าย ของพระผู้มีพระภาคเจ้า.
จบภาณวารที่ ๕
ประทานโอวาทแก่ภิกษุสงฆ์
[๑๔๑] ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะท่านพระอานนท์ว่า ดูก่อนอานนท์ บางที่พวกเธอจะพึงมีความคิดอย่างนี้ว่า ปาพจน์มีพระศาสดาล่วงแล้ว พระศาสดาของพวกเราไม่มี ข้อนี้พวกเธอไม่พึงเห็นอย่างนั้น ธรรมก็ดี วินัยก็ดีอันใดอันเราแสดงแล้ว ได้บัญญัติไว้แล้วแก่พวกเธอ ธรรมและวินัยอันนั้นจักเป็นศาสดาแห่งพวกเธอ โดยกาลล่วงไปแห่งเรา ดูก่อนอานนท์ บัดนี้ พวกภิกษุเรียกกันและกันด้วยวาทะว่าอาวุโสฉันใด โดยล่วงไปแห่งเรา ไม่ควร
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 321
เรียกกันฉันนั้น ภิกษุผู้แก่กว่า พึงเรียกภิกษุผู้อ่อนกว่าโดยชื่อหรือโดยโคตร หรือโดยวาทะว่าอาวุโส ภิกษุผู้อ่อนกว่า พึงเรียกภิกษุผู้แก่กว่าว่า ภนฺเต หรือ อายสฺมา ดูก่อนอานนท์ ถ้าสงฆ์ปรารถนาจะถอนสิกขาบทเล็กน้อยเสียบ้างจงถอนเถิด โดยล่วงไปแห่งเรา พึงลงพรหมทัณฑ์แก่ฉันนภิกษุ โดยล่วงไปแห่งเรา. ท่านพระอานนท์กราบทูลถามว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ก็พรหมทัณฑ์เป็นไฉน. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า ฉันนภิกษุพึงพูดได้ตามที่ตนปรารถนา ภิกษุทั้งหลายไม่พึงว่า ไม่พึงโอวาท ไม่พึงสั่งสอน.
[๑๔๒] ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ความสงสัยเคลือบแคลงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มรรค หรือในข้อปฏิบัติจะพึงมีแก่ภิกษุแม้รูปหนึ่ง พวกเธอจงถามเถิดอย่าได้มี ความร้อนใจภายหลังว่า พระศาสดาอยู่เฉพาะหน้าเราแล้ว เรายังมิอาจทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าที่เฉพาะพระพักตร์. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พวกภิกษุเหล่านั้นก็พากันนิ่งอยู่. แม้ครั้งที่สอง. . . แม้ครั้งที่สามภิกษุเหล่านั้น ก็พากันนิ่งอยู่.
ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ภิกษุทั้งหลาย บางทีพวกเธอไม่ถามแม้เพราะความเคารพในพระศาสดา แม้ภิกษุผู้เป็นสหาย จงบอกแก่ภิกษุผู้สหายเถิด. เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้แล้ว พวกภิกษุเหล่านั้นก็พากันนิ่งอยู่ ท่านพระอานนท์ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ น่าอัศจรรย์ ไม่เคยมีมาแล้ว ข้าพระองค์เลื่อมใสในภิกษุสงฆ์อย่างนี้ว่า ความสงสัยเคลือบแคลงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มรรค หรือในข้อปฏิบัติไม่มีแม้แก่ภิกษุรูปหนึ่ง ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้. ดูก่อนอานนท์ เธอพูดเพราะความเลื่อมใส ตถาคตหยั่งรู้ในข้อนี้เหมือนกันว่า ความสงสัยเคลือบแคลงในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ มรรค หรือข้อปฏิบัติไม่มีแม้
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 322
แก่ภิกษุรูปหนึ่ง ในภิกษุสงฆ์หมู่นี้. บรรดาภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านี้ ภิกษุรูปที่ต่ําที่สุด ก็เป็นโสดาบัน มีอันไม่ตกต่ําเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยง มีอันจะตรัสรู้ในภายหน้า.
พระปัจฉิมวาจา
[๑๔๓] ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งกะภิกษุทั้งหลายว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนพวกเธอว่า สังขารทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา พวกเธอจงยังความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด. นี้เป็นพระปัจฉิมวาจาของพระตถาคต.
ปรินิพพาน
[๑๔๔] ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงเข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้ว เข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว เข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว เข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานแล้ว ทรงเข้าอากาสานัญจายตนะ ออกจากอากาสานัญจายตสมาบัติแล้ว เข้าวิญญาณัญจายตนะ ออกจากวิญญาณัญจายตนสมาบัติแล้ว เข้าอากิญจัญญายตนะ ออกจากอากิญจัญญายตนะสมาบัติแล้ว เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมบัติแล้ว ทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ.
ครั้งนั้น ท่านพระอานนท์ได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้วหรือ ท่านพระอนุรุทธะกล่าวว่า อานนท์ผู้มีอายุ พระผู้มีพระภาคเจ้ายังไม่เสด็จปรินิพพานทรงเข้าสัญญาเวทยิตนิโรธ.
ลําดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากสัญญาเวทยิตนิโรธสมาบัติแล้ว เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนะ ออกจากเนวสัญญานาสัญญายตนสมาบัติแล้ว เข้าอากิญจัญญายตนะ ออกจากอากิญจัญญายตนะสมาบัติแล้ว เข้าวิญญาณัญจา-
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 323
ยตนะ ออกจากวิญญาณัญจายตนสมาบัติแล้ว เข้าอากาสานัญจายตนะ ออกจากอากาสานัญจายตนสมาบัติแล้ว เข้าจตุตถฌาน ออกจากจตุตถฌานแล้ว เข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว เข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว เข้าปฐมฌาน ออกจากปฐมฌานแล้ว เข้าทุติยฌาน ออกจากทุติยฌานแล้ว เข้าตติยฌาน ออกจากตติยฌานแล้ว เข้าจตุตถฌาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงออกจากจตุตถฌานแล้ว เสด็จปรินิพพานในลําดับ (แห่งการพิจารณาองค์ จตุตถฌานนั้น).
[๑๘๕] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว พร้อมกับการปรินิพพานได้เกิดแผ่นดินไหวใหญ่ เกิดความขนพองสยองเกล้าน่าพึงกลัว ทั้งกลองทิพย์ก็บันลือขึ้น.
พรหมกล่าวสังเวคธรรม
[๑๔๖] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว พร้อมกับปรินิพพานท้าวสหัมบดีพรหมได้กล่าวคาถานี้ว่า
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จักต้องทอดทิ้งร่างกายไว้ในโลก แต่พระตถาคตผู้เป็นศาสดาเช่นนั้น หาบุคคลจะเปรียบเทียบมิได้ในโลก เป็นพระสัมพุทธเจ้า ทรงมีพระกําลัง ยังเสด็จปรินิพพาน.
[๑๔๗] เมื่อพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว พร้อมกับปรินิพพาน ท้าวสักกจอมเทพ ได้ตรัสพระคาถาว่า
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ มีความเกิดขึ้นและเสื่อมไปเป็นธรรมดา ย่อมเกิด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 324
ขึ้นและดับไป ความเข้าไปสงบสังขารเหล่านั้นได้เป็นสุข.
[๑๔๘] . . .ท่านพระอนุรุทธะ ได้กล่าวคาถาเหล่านี้ว่า
ลมอัสสาสะปัสสาสะของพระมุนีผู้มีพระทัยตั้งมั่น คงที่ ไม่หวั่นไหว ปรารภสันติ ทํากาละมิได้มีแล้ว.
พระองค์มีพระทัยไม่หดหู่ ทรงอดกลั้นเวทนาได้แล้ว ความพ้นแห่งจิตได้มีแล้ว เหมือนดวงประทีปดับไปฉะนี้.
[๑๔๙] . . .ท่านพระอานนท์ ได้กล่าวคาถานี้ว่า
เมื่อพระสัมพุทธเจ้า ประกอบด้วยอาการอันประเสริฐทั้งปวง ปรินิพพานแล้ว ในครั้งนั้นได้เกิดอัศจรรย์ น่าพึงกลัว และเกิดความขนพองสยองเกล้า.
[๑๕๐] เมื่อพระผู้มีภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว บรรดาภิกษุเหล่านั้น พวกภิกษุยังมีราคะไม่ไปปราศแล้ว บางพวกประคองแขนทั้งสองคร่ําครวญอยู่ ล้มลงกลิ้งเกลือกไปมาเหมือนเท้าขาด รําพันว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานเร็วนัก พระสุคตปรินิพพานเร็วนัก พระองค์ผู้มีพระจักษุในโลกอันตรธานเร็วนัก. ส่วนพวกภิกษุที่มีราคะไปปราศแล้ว มีสติสัมปชัญญะอดกลั้นอยู่ว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ ข้อนั้น จะหาได้ในสังขารนี้แต่ที่ไหน.
[๑๕๑] ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะเตือนภิกษุทั้งหลายว่า อย่าเลยผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านอย่าเศร้าโศกอย่าร่ําไรไปเลย เรื่องนี้พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบอกไว้ก่อนแล้วไม่ใช่หรือว่า ความเป็นต่างๆ ความพลัดพราก ความ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 325
เป็นอย่างอื่นจากสิ่งและบุคคลอันเป็นที่รักที่ชอบใจทั้งสิ้นต้องมี ข้อนั้นจะหาได้ในสิ่งและบุคคลอันเป็นที่รักที่ชอบใจนี้แต่ที่ไหน สิ่งใดเกิดแล้วมีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความทําลายเป็นธรรมดา ความปรารถนาว่า ขอสิ่งนั้นอย่าทําลายไปเลยดังนี้ ไม่เป็นฐานที่จะมีได้พวกเทวดาพากันยกโทษอยู่. ท่านพระอานนท์ถามว่า ท่านอนุรุทธะ พวกเทวดากระทําไว้ในใจเป็นอย่างไร. พระอนุรุทธะตอบว่า อานนท์ มีเทวดาบางพวกสําคัญอากาศว่าเป็นแผ่นดิน สยายผม ประคองแขนทั้งสองคร่ําครวญอยู่ ล้มลงกลิ้งเกลือกไปมาเหมือนเท้าขาด แล้วรําพันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานเร็วนัก พระสุคตปรินิพพานเร็วนัก พระองค์ผู้มีพระจักษุในโลกอันตรธานเร็วนัก มีเทวดาบางพวกสําคัญแผ่นดินว่าเป็นแผ่นดิน สยายผมคร่ําครวญอยู่ ... อันตรธานเร็วนัก. ส่วนเทวดาที่ปราศจากราคะแล้ว มีสติสัมปชัญญะอดกลั้นอยู่ว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ ข้อนั้นจะหาได้ในสังขารนี้แต่ที่ไหน.
ลําดับนั้น ท่านอนุรุทธะและท่านพระอานนท์ยังราตรีที่เหลือนั้น ให้ล่วงไปด้วยธรรมีกถา. ท่านพระอนุรุทธะสั่งท่านพระอานนท์ว่า ไปเถิด อานนท์ ท่านจงเข้าไปเมืองกุสินารา บอกแก่พวกมัลลกษัตริย์เมืองกุสินาราว่า ดูก่อน วาสิฏฐะทั้งหลาย พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ขอพวกท่านจงทราบกาลอันควรในบัดนี้เถิด. ท่านพระอานนท์รับคําท่านพระอนุรุทธะแล้ว เวลาเช้า นุ่งแล้ว ถือบาตรและจีวรเข้าไปเมืองกุสินาราลําพังผู้เดียว.
แจ้งข่าวปรินิพพาน
[๑๕๒] สมัยนั้น พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ประชุมกันที่สัณฐคาร ด้วยเรื่องพระนิพพานนั้น. ลําดับนั้น ท่านพระอานนท์ไปยังสัณฐาคารของเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ได้บอกแก่เจ้ามัลละเมืองกุสินาราว่า ดูก่อนวาสิฏฐะทั้งหลาย
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 326
พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว ขอท่านทั้งหลายจงสําคัญกาลอันควรในบัดนี้เถิด. เจ้ามัลละ โอรส สุณิสา และปชาบดีฟังคํานี้ของท่านพระอานนท์แล้ว มีความทุกข์ เสียพระทัย เปียมด้วยทุกข์ใจ บางพวกสยายผม ประคองพระหัตถ์ทั้งสองคร่ําครวญ ล้มลงกลิ้งเกลือกไปมาเหมือนมีพระบาทขาดแล้ว ทรงรําพันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานเร็วนัก พระสุคตปรินิพพานเร็วนัก พระองค์ผู้มีจักษุในโลกอันตรธานเร็วนัก.
ครั้งนั้น เจ้ามัลละเมืองกุสินารารับสั่งกะพวกบุรุษว่า พวกท่านจงเตรียมของหอมดอกไม้ และเครื่องดนตรีทุกชนิดในเมืองกุสินาราให้พร้อม. เจ้ามัลละเมืองกุสินาราถือเอาของหอมดอกไม้เครื่องดนตรีทุกชนิดและผ้า ๕๐๐ คู่ เสด็จไปยังสาลวันอันเป็นที่แวะพักของพวกเจ้ามัลละ เสด็จเข้าถึงสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า สักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยการฟ้อนรํา ขับร้อง ประโคม ของหอม ดอกไม้ ดาดเพดานผ้า ตกแต่งโรงมณฑล ยังวันนั้นให้ล่วงไปด้วยประการอย่างนี้. พวกเจ้ามัลละมีพระดําริว่า การถวายพระเพลิงพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าในวันนี้หมดเวลาเสียแล้ว พรุ่งนี้พวกเราจักถวายพระเพลิงพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า. พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา สักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยการฟ้อนรํา ขับร้อง ประโคม ของหอม ดอกไม้ ดาดเพดานผ้า ตกแต่งโรงมณฑล ยังวันแม้ที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ ที่ ๖ ให้ล่วงไปแล้ว ครั้นถึงวันที่ ๗ พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารามีพระดําริว่า พวกเราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยการฟ้อนรํา ขับร้อง ประโคม ของหอมดอกไม้ จักเชิญไปทางทิศทักษิณแห่งพระนคร เชิญไปภายนอกพระนคร ถวายพระเพลิงพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าทางทิศทักษิณแห่งพระนคร.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 327
มัลลปาโมกข์ ๘
[๑๕๓] สมัยนั้น มัลลปาโมกข์ ๘ องค์ สระสรงเกล้าแล้วทรงนุ่งผ้าใหม่ ด้วยทรงดําริว่า เราจักยกพระสรีระพระผู้มีพระภาคเจ้า ย่อมไม่อาจจะยกขึ้นได้. พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินราได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ท่านอนุรุทธะ อะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็นปัจจัย มัลลปาโมกข์ ๘ องค์นี้ ผู้สระสรงเกล้าแล้ว ทรงนุ่งผ้าใหม่ ด้วยดําริว่า เราจักยกพระสรีระของพระผู้มีพระภาคจ้า ย่อมไม่อาจยกขึ้นได้. พระอนุรุทธะกล่าวว่า ดูก่อนวาสิฏฐะทั้งหลาย พวกท่านมีความประสงค์อย่างหนึ่ง พวกเทวดามีความประสงค์อย่างหนึ่ง. เจ้ามัลละกาม ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญพวกเทวดามีความประสงค์อย่างไร.
พระอนุรุทธะกล่าวว่า ดูก่อนวาสิฏฐะทั้งหลาย พวกท่านมีความประสงค์ว่า เราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสรีระพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยการ ฟ้อนรํา ขับร้อง ประโคม ดอกไม้ ของหอม จักเชิญไปทางทิศทักษิณแห่งพระนคร แล้วเชิญไปภายนอกพระนคร ถวายพระเพลิงพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าทางทิศทัณษิณแห่งพระนคร เทวดามีความประสงค์ว่า เราสักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยการฟ้อนรํา ขับร้อง ประโคม ดอกไม้ ของหอม อันเป็นทิพย์จักเชิญไปทางทิศอุดรแห่งพระนคร แล้วเข้าสู่พระนครโดยทวารทิศอุดร เชิญไปท่ามกลางพระนคร แล้วออกโดยทวารทิศบูรพา แล้วถวายพระเพลิงพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าที่มกุฏพันธนเจดีย์ของพวกเจ้ามัลละ ทางทิศบูรพาแห่งพระนคร. เจ้ามัลละกล่าวว่า ขอให้เป็นไปตามความประสงค์ของพวกเทวดาเถิด.
สมัยนั้น เมืองกุสินาราดารดาษไปด้วยดอกมณฑารพ โดยถ่องแถวประมาณแค่เข่า จนตลอดที่ต่อแห่งเรือนบ่อของโสโครกและกองหยากเยื่อ ครั้งนั้น พวกเทวดาและพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา สักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 328
สรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยการฟ้อนรํา ขับร้อง ประโคม ดอกไม้ ของหอม ทั้งที่เป็นทิพย์ ทั้งที่เป็นของมนุษย์ เชิญไปทางทิศอุดรแห่งพระนคร แล้วเชิญไปสู่พระนครโดยทวารทิศอุดร เชิญไปท่ามกลางพระนคร แล้วออกไปโดยทวารทิศบูรพา แล้ววางพระสรีระพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ มกุฏพันธนเจดีย์ของพวกเจ้ามัลละ ทางทิศบูรพาแห่งพระนคร. ลําดับนั้น พวกเจ้ามัลละ ได้ถามท่านพระอานนท์ว่า พวกข้าพเจ้าจะพึงปฏิบัติในพระสรีระของพระตถาคตอย่างไร. ท่านพระอานนท์กล่าวว่า ดูก่อนวาสิฏฐะทั้งหลาย พวกท่านพึงปฏิบัติในพระสรีระพระตถาคต เหมือนที่เขาปฏิบัติในพระสรีระของพระเจ้าจักรพรรดิ ฉะนั้น. เขาปฏิบัติในพระสรีระของพระเจ้าจักรพรรดิเป็นอย่างไรเล่า.
ดูก่อนวาสิฏฐะทั้งหลาย เขาห่อพระสรีระของพระเจ้าจักรพรรดิด้วยผ้าใหม่ แล้วซับด้วยสําลี แล้วห่อด้วยผ้าใหม่ โดยอุบายนี้ห่อพระสรีระของพระเจ้าจักรพรรดิด้วยผ้า ๕๐๐ คู่แล้ว เชิญพระสรีระลงในรางเหล็กอันเต็มด้วยน้ำมัน ครอบด้วยรางเหล็กอื่น แล้วกระทําจิตกาธานด้วยไม้หอมทุกชนิด ถวายพระเพลิงพระสรีระของพระเจ้าจักรพรรดิแล้ว สร้างพระสถูปของพระเจ้าจักรพรรดิไว้ที่ที่ทางใหญ่ ๔ แพร่ง เขาปฏิบัติในพระสรีระของพระเจ้าจักรพรรดิด้วยประการฉะนี้แล พวกท่านพึงปฏิบัติในพระสรีระพระตถาคตเหมือนที่เขา ปฏิบัติในพระสรีระของพระเจ้าจักรพรรดิฉะนั้น พึงสร้างพระสถูปพระตถาคตไว้ในหนทางใหญ่ ๔ แพร่ง ชนเหล่าใดจักยกขึ้นซึ่งพวงมาลัยของหอมหรือจุณ จักอภิวาท หรือจักยังจิตให้เลื่อมใสในพระสถูปนั้น ข้อนั้นจักเป็นไปเพื่อประโยชน์เกื้อกูล เพื่อความสุขแก่ชนเหล่านั้น ตลอดกาลนาน.
ลําดับนั้น พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารารับสั่งกะพวกบุรุษว่า ดูก่อนพนาย ถ้าอย่างนั้น พวกท่านจงเตรียมสําลีไว้พร้อมเถิด. พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราห่อพระสรีระพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยผ้าใหม่ แล้วซับด้วยสําลี แล้วห่อ
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 329
ด้วยผ้าใหม่โดยอุบายนี้ ห่อพระสรีระพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยผ้า ๕๐๐ คู่ แล้ว เชิญลงในรางเหล็กอันเต็มด้วยน้ำมัน ครอบด้วยรางเหล็กอื่น แล้วกระทําจิตกาธานด้วยไม้หอมทุกชนิด แล้วจึงเชิญพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าขึ้นสู่จิตกาธาน.
เรื่องพระมหากัสสปเถระ
[๑๕๔] สมัยนั้น พระมหากัสสปะพร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เดินทางจากเมืองปาวาสู่เมืองกุสินารา. ลําดับนั้น ท่านมหากัสสปะแวะออกจากทางแล้วนั่งพักที่โคนไม้ต้นหนึ่ง.
สมัยนั้น อาชีวกคนหนึ่งถือดอกมณฑารพในเมืองกุสินาราเดินทางไกลมาสู่เมืองปาวา. ท่านมหากัสสปะได้เห็นอาชีวกนั้นมาแต่ไกล จึงถามอาชีวกนั้นว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ท่านยังทราบข่าวพระศาสดาของเราบ้างหรือ. อาชีวกตอบว่า เราทราบอยู่ พระสมณโคดมปรินิพพานได้ ๗ วันเข้าวันนี้ นี้ดอกมณฑารพ เราถือมาแต่ที่นั้น บรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุเหล่าใดยังไม่ปราศจากราคะ ภิกษุเหล่านั้นบางพวกประคองแขนทั้งสองคร่ําครวญอยู่ ล้มลงกลิ้งเกลือกไปมาเหมือนเท้าขาดแล้ว รําพันว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานเร็วนัก พระสุคตปรินิพพานเร็วนัก พระองค์ผู้มีพระจักษุในโลกอันตรธานเร็วนัก. ส่วนภิกษุเหล่าใดปราศจากราคะ ภิกษุเหล่านั้นมีสติสัมปชัญญะ อดกลั้นอยู่ว่า สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ ข้อนั้นจะหาได้ในสังขารนี้แต่ที่ไหน.
เรื่องสุภัททวุฑฒบรรพชิต
[๑๕๕] สมัยนั้น บรรพชิตผู้บวชเมื่อแก่ชื่อสุภัททะนั่งอยู่ในบริษัทนั้น. สุภัททวุฑฒบรรพชิตได้กล่าวกะพวกภิกษุว่า อย่าเลยผู้มีอายุ พวกท่านอย่าเศร้าโศก อย่าร่ําไรไปเลย เราพ้นดีแล้ว ด้วยว่าพระมหาสมณะนั้นเบียด
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 330
เบียนพวกเราอยู่ว่า สิ่งนี้ควรแก่เธอ สิ่งนี้ไม่ควรแก่เธอ ก็บัดนี้พวกเราปรารภในสิ่งใด ก็จักกระทําสิ่งนั้น ไม่ปรารถนาสิ่งใด ก็จักไม่กระทําสิ่งนั้น.
ลําดับนั้น พระมหากัสสปะเตือนภิกษุทั้งหลายว่า อย่าเลยผู้มีอายุ พวกท่านอย่าเศร้าโศก อย่าร่ําไรไปเลย พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสสอนไว้อย่างนี้ก่อนแล้วไม่ใช่หรือว่า ความเป็นต่างๆ ความพลัดพราก ความเป็นอย่างอื่น จากสิ่งและบุคคลเป็นที่รักที่ชอบทั้งหมดต้องมี ข้อนั้นจะหาได้ในสิ่งและบุคคลที่รักที่ชอบใจนี้แต่ที่ไหน สิ่งใดเกิดแล้ว มีแล้ว ปัจจัยปรุงแต่งแล้ว มีความทําลายเป็นธรรมดา ความปรารถนาว่าขอสิ่งนี้อย่าทําลายไปเลยดังนี้ ไม่เป็น ฐานะที่จะมีได้.
มัลลปาโมกข์ ๔
[๑๕๖] สมัยนั้น มัลลปาโมกข์ ๔ องค์ สระสรงเกล้าแล้วทรงนุ่งผ้าใหม่ด้วยดําริว่า เราจักยังไฟให้ติดจิตกาธานของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ย่อมไม่อาจให้ติดได้. ลําดับนั้น พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราได้ถามท่านพระอนุรุทธะว่า ท่านอนุรุทธะอะไรหนอเป็นเหตุ อะไรหนอเป็นปัจจัยที่มัลลปาโมกข์ ๔ องค์เหล่านี้ ผู้สระสรงเกล้าแล้ว ทรงนุ่งผ้าใหม่ด้วยดําริว่า เราจักยังไฟให้ติดจิตกาธาน ย่อมไม่อาจให้ติดได้. ท่านพระอนุรุทธะกล่าวว่า ดูก่อนวาสิฏฐะ ทั้งหลาย พวกเทวดามีความประสงค์อย่างหนึ่ง. มัลลปาโมกข์ถามว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกเทวดามีความประสงค์อย่างไร. ท่านพระอนุรุทธะตอบว่า พวกเทวดามีความประสงค์ว่า ท่านพระมหากัสสปะนี้ พร้อมด้วยภิกษุสงฆ์หมู่ใหญ่ประมาณ ๕๐๐ รูป เดินทางไกลจากเมืองปาวามาสู่เมืองกุสินารา จิตกาธานของพระผู้มีพระภาคเจ้าจักยังไม่ลุกโพลงขึ้นจนกว่าท่านพระมหากัสสปะจะถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยมือของตน.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 331
มัลลปาโมกข์กล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ขอให้เป็นไปตามความประสงค์ของพวกเทวดาเถิด.
ถวายพระเพลิง
ลําดับนั้น ท่านพระมหากัสสปะเข้าไปถึงมกุฏพันธนเจดีย์ของพวกเจ้ามัลละในเมืองกุสินารา และถึงจิตกาธานของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ครั้นเข้าไปแล้ว กระทําจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ประนมอัญชลี กระทําประทักษิณจิตกาธาน ๓ รอบ แล้วเปิดทางพระบาท ถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า. แม้ภิกษุ ๕๐๐ รูปเหล่านั้น กระทําจีวรเฉวียงบ่า ประนมอัญชลี กระทําประทักษิณ ๓ รอบแล้ว ถวายบังคมพระบาททั้งสองของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยเศียรเกล้า. เมื่อท่านพระมาหากัสสปะและภิกษุ ๕๐๐ รูปนั้นถวายบังคมแล้ว จิตกาธานของพระผู้มีพระภาคเจ้าก็โพลงขึ้นเอง. เมื่อพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าถูกเพลิงไหม้อยู่ พระอวัยวะส่วนใด คือ พระฉวี พระจัมมะ พระมังสะ พระนหารุ หรือพระลสิกา เถ้าเขม่าแห่งพระอวัยวะส่วนนั้น มิได้ปรากฏเลย เหลืออยู่แต่พระสรีระอย่างเดียว. เมื่อเนยใสและน้ำมันถูกเพลิงไหม้อยู่ เถ้าเขม่ามิได้ปรากฏฉันใด เมื่อพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าถูกเพลิงไหม้อยู่ ... เหลืออยู่แต่พระสรีระอย่างเดียวฉันนั้นเหมือนกัน. บรรดาผ้า ๕๐๐ คู่ เหล่านั้น เพลิงไหม้เพียง ๒ ผืนเท่านั้น คือผืนในที่สุดกับผืนนอก. เมื่อพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าถูกเพลิงไหม้แล้ว ท่อน้ำก็ไหลหลั่งมาจากอากาศดับจิตกาธานของพระผู้มีพระภาคเจ้า. น้ำพุ่งขึ้นแม้จากไม้สาละดับจิตกาธานของพระผู้มีพระภาคเจ้า. พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราดับจิตกาธานของพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยน้ำหอมทุกชนิด. ลําดับนั้น พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราทําสัตติบัญชรในสัณฐาคาร แวดล้อมด้วยธนูปราการ สักการะ เคารพ นับถือ บูชาพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าตลอด ๗ วัน ด้วยการฟ้อนรํา ขับร้อง ประโคม ดอกไม้ ของหอม.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 332
เรื่องพระเจ้าอชาตศัตรูเป็นต้น
[๑๕๗] พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตศัตรูเวเทหิบุตรได้ทรงสดับแล้วว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้วในเมืองกุสินารา จึงทรงส่งทูตไปหาพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เป็นกษัตริย์ แม้เราก็เป็นกษัตริย์ เราควรจะได้ส่วนพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าบ้าง จักได้ทําพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคเจ้า. พวกกษัตริย์ลิจฉวี เมืองเวสาลีได้ทราบว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้วในเมืองกุสินารา. จึงทรงส่งทูตไปหาพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นกษัตริย์ แม้เราก็เป็นกษัตริย์ เราควรจะได้ส่วนพระสรีระของพระผู้มีพระภาคเจ้าบ้าง เราก็จักได้ทําพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคเจ้า. พวกกษัตริย์ศากยะกบิลพัสดุ์ได้สดับว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานในเมืองกุสินารา จึงทรงส่งทูตไปหาพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระญาติอันประเสริฐของพวกเรา ... พวกกษัตริย์ถูลีเมืองอัลลกัปปะ ... พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นกษัตริย์ ... แม้เราก็เป็นกษัตริย์ ... พวกกษัตริย์โกลิยะเมืองรามคาม ... พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นกษัตริย์ แม้เราก็เป็นกษัตริย์ ... พราหมณ์ผู้ครองเมืองเวฏฐทีปะ ... พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เป็นกษัตริย์ แม้เราก็เป็นพราหมณ์ ... พวกกษัตริย์มัลละเมืองปาวาได้ทรงสดับแล้วว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานในเมืองกุสินารา จึงทรงส่งทูตไปหาพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เป็นกษัตริย์ แม้เราก็เป็นกษัตริย์ เราควรจะได้ส่วนพระสรีระผู้มีพระภาคเจ้าบ้าง จักได้กระทําพระสถูปและการฉลองพระสรีระพระผู้มีพระภาคเจ้า เมื่อกษัตริย์และพราหมณ์กล่าวแล้วอย่างนี้ พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราได้ตรัสกะหมู่คณะเหล่านั้นว่า พระผู้มีพระภาคเจ้า ปรินิพพานในคามเขตของพวกเรา พวกเราจักไม่ให้ส่วนพระสรีระพระผู้มีพระภาคเจ้า.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 333
เรื่องโทณพราหมณ์
[๑๕๘] เมื่อพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราตรัสอย่างนี้แล้ว โทณพราหมณ์ได้พูดกะหมู่คณะเหล่านั้นว่า
ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอพวกท่านจงฟังคําอันเอกของข้าพเจ้า พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลาย เป็นผู้กล่าวสรรเสริญขันติ การจะสัมปหารกันเพราะส่วนพระสรีระธาตุของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นอุดมบุคคลเช่นนี้ ไม่ดีเลย.
ขอเราทั้งหลายทั้งปวง จงยินยอมพร้อมใจยินดีแบ่งพระสรีระออกเป็น ๘ ส่วนเถิด ขอพระสถูปจงแพร่หลายไปในทิศทั้งหลาย ชนผู้เลื่อมใสต่อพระพุทธเจ้า ผู้มีพระจักษุมีอยู่มาก.
การแบ่งพระสรีระธาตุ
[๑๕๙] หมู่คณะเหล่านี้กล่าวว่า ข้าแต่พราหมณ์ ถ้าเช่นนั้นขอท่านนั่นแหละ. จงแบ่งพระสรีระธาตุพระผู้มีพระภาคเจ้าออกเป็น ๘ ส่วนเท่าๆ กัน ให้เรียบร้อยเถิด. โทณพราหมณ์รับคําของหมู่คณะเหล่านั้นแล้ว แบ่งพระสรีระธาตุพระผู้มีพระภาคเจ้าออกเป็น ๘ ส่วนเท่ากันเรียบร้อย จึงกล่าวกะหมู่คณะเหล่านั้นว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ขอพวกท่านจงให้ทะนานนี้แก่ข้าพเจ้าเถิด ข้าพเจ้าจักการทําพระสถูปและการฉลองทะนานบ้าง. ทูตเหล่านั้นได้ให้ทะนานแก่โทณพราหมณ์.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 334
[๑๖๐] พวกเจ้าโมริยะเมืองปิปผลิวันได้สดับว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานในเมืองกุสินารา จึงทรงส่งทูตไปหาพวกเจ้ามัลละเมืองกุสินาราว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าก็เป็นกษัตริย์ แม้เราก็เป็นกษัตริย์ เราควรจะได้ส่วนพระสรีระธาตุพระผู้มีพระภาคเจ้าบ้าง จักได้กระทําพระสถูปและการฉลองพระสรีระธาตุพระผู้มีพระภาคเจ้า. พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารากล่าวว่า ส่วนพระสรีระธาตุพระผู้มีพระภาคเจ้าไม่มี เราได้แบ่งพระสรีระธาตุของพระผู้มีพระภาคเจ้าเสียแล้ว ขอพวกท่านจงนําพระอังคารไปแต่ที่นี้เถิด. พวกทูตนั้นนําพระอังคาร ไปจากที่นั้นแล้ว.
[๑๖๑] ครั้งนั้น พระเจ้าแผ่นดินมคธพระนามว่าอชาตศัตรูเวเทหิบุตร ได้กระทําพระสถูปและการฉลองพระสรีระธาตุพระผู้มีพระภาคเจ้าในกรุงราชคฤห์. พวกกษัตริย์ลิจฉวีเมืองเวสาลี ได้กระทําพระสถูป. . . ในเมือง เวสาลี. พวกกษัตริย์ศากยะเมืองกบิลพัสดุ์ ได้กระทําพระสถูป. . . ในเมืองกบิลพัสดุ์. พวกกษัตริย์ถูลีเมืองอัลลกัปปะ ได้กระทําพระสถูป. . . ในเมืองอัลลกัปปะ. พวกกษัตริย์โกลิยะเมืองรามคาม ได้กระทําพระสถูป. . .ในเมืองรามคาม. พราหมณ์ผู้ครองเมืองเวฏฐทีปะ ได้กระทําพระสถูป. . .ในเมืองเวฏฐทีปะ. พวกเจ้ามัลละเมืองปาวา ได้กระทําพระสถูป. . .ในเมืองปาวา. พวกเจ้ามัลละเมืองกุสินารา ได้กระทําพระสถูป. . .ในเมืองกุสินารา. โทณพราหมณ์ได้กระทําพระสถูปและการฉลองทะนาน. พวกกษัตริย์โมริยะเมืองปิปผลิวัน ได้กระทําพระสถูปและการฉลองพระอังคารในเมืองปิปผลิวัน.
พระสถูปบรรจุพระสรีระธาตุมี ๘ แห่ง เป็น ๙ แห่งทั้งบรรจุทะนาน เป็น ๑๐ แห่งทั้งพระสถูปบรรจุพระอังคารด้วยประการฉะนี้ การแจกพระธาตุและการก่อพระสถูปเช่นนี้ เป็นแบบอย่างมาแล้ว.
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 335
พุทธสารีริกธาตุ
[๑๖๒] พระสรีรธาตุของพระพุทธเจ้าผู้มี พระจักษุ ๘ ทะนาน ๗ ทะนาน บูชากันอยู่ในชมพูทวีป ส่วนพระสรีรธาตุอีกทะนานหนึ่งของพระพุทธเจ้า ผู้เป็นบุรุษที่ประเสริฐอันสูงสุด พวกนาคราชบูชากันอยู่ในรามคาม.
พระเขี้ยวแก้วองค์หนึ่งเทวดาชั้นดาวดึงส์บูชาแล้ว ส่วนอีกองค์หนึ่งบูชากันอยู่ในคันธารปุระ อีกองค์หนึ่งบูชากันอยู่ในแคว้นของพระเจ้ากาลิงคะ อีกองค์หนึ่งพระยานาคบูชากันอยู่.
ด้วยพระเดชแห่งพระสรีรธาตุนั่นแหละ แผ่นดินประดับแล้วด้วยนักพรตผู้ประเสริฐที่สุด พระสรีรธาตุของพุทธเจ้าผู้มีจักษุนี้ ชื่อว่าอันเขาสักการะๆ สักการะดีแล้ว.
พระพุทธเจ้าพระองค์ใดอันจอมเทพ พญานาคและจอมนระบูชาแล้ว อันจอมมนุษย์ผู้ประเสริฐสุดบูชาแล้วเหมือนกัน ขอท่านทั้งหลายจงประนมมือถวายบังคม
พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย มหาวรรค เล่ม ๒ ภาค ๑ - หน้า 336
พระสรีรธาตุนั้นๆ ของพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น พระพุทธเจ้าทั้งหลายหาได้ยาก โดยร้อยแห่งกัป.
พระทนต์ ๔๐ องค์บริบูรณ์ พระเกศา และพระโลมาทั้งหมด พวกเทวดานําไปองค์ละองค์นําสืบต่อกันในจักรวาล ดังนี้แล.
จบ มหาปรินิพพานสูตรที่ ๓