ความจริงแห่งชีวิต [39] ลักษณะของจิต ๖ อย่าง
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น
คำอธิบาย คำว่า “จิต” ในอัฏฐสาลินี จิตตุปปาทกัณฑ์ มีต่อไปว่า
จะอธิบายคำว่า “จิตฺต” ต่อไป ที่ชื่อว่า “จิต” เพราะอรรถว่าคิด อธิบายว่า รู้แจ้งอารมณ์ อีกอย่างหนึ่งเพราะเหตุที่ศัพท์ว่า “จิตฺต” นี้ ทั่วไปแก่จิตทุกดวง ฉะนั้น ในคำว่า “จิตฺต” นี้ 8โลกิยกุศลจิต อกุศลจิต และมหากิริยาจิต จึงชื่อว่า “จิต” เพราะสั่งสมสันดานของตนด้วยสามารถแห่งชวนวิถี ชื่อว่า “จิต” เพราะเป็นธรรมชาติอันกรรม กิเลส สั่งสมวิบาก อนึ่ง แม้จิตทุกดวงชื่อว่า “จิต” เพราะเป็นธรรมชาติวิจิตรตามสมควร ชื่อว่า “จิต” เพราะกระทำให้วิจิตร
ถ้าศึกษาจากตำรารุ่นหลังๆ ที่มีผู้รวบรวมไว้ ตนก็จะทราบว่าอรรถของจิต ๖ อย่างที่กล่าวไว้ในตำรารุ่นหลังๆ นั้น มาจากข้อความในอัฏฐสาลินี อรรถกถาธัมมสังคณีปกรณ์ ซึ่งอธิบายคำว่า “จิต” ที่สามารถจะแยกออกได้เป็นข้อๆ คือ
ชื่อว่า “จิต” เพราะอรรถว่า คิด อธิบายว่า เพราะรู้แจ้งอารมณ์ ๑
ชื่อว่า “จิต” เพราะสั่งสมสันดานของตนด้วยสามารถแห่งชวนวิถี ๑
ชื่อว่า “จิต” เพราะเป็นธรรมชาติอันกรรม กิเลส สั่งสมวิบาก ๑
ชื่อว่า “จิต” เพราะเป็นธรรมชาติวิจิตรตามสมควร ๑ (ข้อนี้ส่วนมากในตำรารุ่นหลังแยกเป็น ๒ คือ เพราะวิจิตรด้วยอารมณ์ ๑ และเพราะวิจิตรด้วยสัมปยุตตธรรม ๑)
ชื่อว่า “จิต” เพราะกระทำให้วิจิตร ๑
ซึ่งก็จะขอกล่าวถึงตามลำดับ เพื่อที่จะให้เข้าใจลักษณะของจิตตามที่กล่าวไว้ในอัฏฐสาลินี
โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ จัดพิมพ์เผยแพร่ โดย คณะกรรมการ ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรษา ครบ ๗๕ พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕
ขอเชิญอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ ...
ขอเชิญอ่านตอนต่อไป ...
... ขออนุโมทนา ...
ขอขอบพระคุณ ท่าน ผู้เอื้อเฟื้อรูปภาพ ค่ะ