ความจริงแห่งชีวิต [51] วิถีจิตขณะแรก กระทำ อาวัชชนกิจ

 
พุทธรักษา
วันที่  16 ก.ค. 2552
หมายเลข  12917
อ่าน  1,094

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

จิตทุกดวงเกิดขึ้นกระทำ​กิจหนึ่งกิจใดแล้วก็ดับไป คือปฏิสนธิจิตทำ​ปฏิสนธิกิจสืบต่อจากจุติจิตของชาติก่อนเพียงหนึ่งขณะเท่านั้น ภวังคจิตทุกดวงทั้งอดีตภวังค์ ภวังคจลนะ ภวังคุปัจเฉทะ ทำ​ภวังคกิจสืบต่อดำรงภพชาตินั้นไว้ เมื่อภวังคุปัจเฉทะดับไปแล้ว วิถีจิตดวงแรกที่เกิดต่อจากภวังคุปัจเฉทะนั้น กระทำอาวัชชนกิจ แปลโดยศัพท์ว่า รำพึงถึงอารมณ์ที่ปรากฏที่ทวาร คือรู้อารมณ์ที่กระทบทวาร ชื่อว่าอาวัชชนะ​ เพราะอรรถว่านำ​ออกไปจากสันดาน (การเกิดดับสืบต่อ) อันเป็นภวังค์ คือ น้อมไปสู่อารมณ์ที่กระทบทวาร ถ้า​เป็น​ทาง​ปัญจ​ทวาร คือ ทาง​ตา ทาง​หู ทาง​จมูก ทาง​ลิ้น ทาง​กาย ปัญจ​ทวา​ราวัช​ชนจิตซึ่ง​เป็น​จิต​ดวงหนึ่ง (ประเภทหนึ่ง) เกิด​ขึ้น​ทำอา​วัช​ชน​กิจ รำพึงถึงอารมณ์ที่กระทบทวารหนึ่งทวารใดใน ๕ ทวาร แต่จิตขณะนั้นยังไม่เห็น ยังไม่ได้ยิน ยังไม่ได้กลิ่น ยังไม่ได้ลิ้มรส ยังไม่ได้รู้สิ่งกระทบสัมผัสกาย ถ้าเป็นทางมโนทวาร คือ ทางใจซึ่งไม่ใช่ทางจักขุปสาท โสตปสาท ฆานปสาท ชิวหาปสาท กายปสาท มโน​ทวา​รา​วัช​ชน​จิต ซึ่ง​เป็น​จิต​อีก​ดวง​หนึ่ง (ไม่ใช่​ปัญจ​ทวา​รา​วัช​ชนจิต) เกิด​ขึ้นทำอา​วัช​ชน​กิจเฉพาะ​ทาง​มโน​ทวาร​ทวาร​เดียว​เท่านั้น

ตัวอย่าง เมื่อรสเกิดขึ้นกระทบกับชิวหาปสาท และกระทบกับภวังค์เป็นอดีต​ภวังค์​ดับไป ภวังค​จล​นะเกิดต่อแล้วดับไป ภวังคุ​ปัจ​เฉ​ทะ​เกิดต่อแล้วดับไป ปัญจ​ทวา​รา​วัช​ชน​จิต​เกิดต่อ รำพึง คือรู้ว่าอารมณ์กระทบชิวหาทวาร​ แต่ยังไม่ได้ลิ้มรสนั้น อุปมาเหมือนขณะที่รู้ว่ามีแขกมาที่ประตู​ แต่ยังไม่เห็นแขก จึงยังไม่รู้ว่าเป็นใคร เพียงแต่รู้ว่ามีแขกมาเท่านั้น ทุกท่านย่อมมีแขกไปมาหาสู่ เวลาคิดถึงแขกก็มักจะคิดถึงคน แต่ความจริงแขกคืออารมณ์ต่างๆ ที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นั่นเอง ขณะเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา สิ่งที่ปรากฏทางตาเป็นแขก ขณะได้ยินเสียง เสียงเป็นแขก ขณะไม่ได้ยินเสียง เสียงไม่ปรากฏ แขกทางหูจึงยังไม่มา ขณะที่รสปรากฏ รสเป็นแขกที่ปรากฏทางลิ้นชั่วขณะแล้วก็ดับไป ขณะใดที่อารมณ์ปรากฏทางทวารใด ขณะนั้นอารมณ์นั้นก็เป็นแขกของทวารนั้น ชั่วระยะสั้นที่สุด​ แล้วก็ดับหมดสิ้นไปไม่กลับมาอีกเลยในสังสารวัฏฏ์


โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ จัดพิมพ์เผยแพร่ โดย คณะกรรมการ ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรษา ครบ ๗๕ พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕

ขอเชิญอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ ...

ปรมัตถธรรมสังเขป

ขอเชิญอ่านตอนต่อไป ...

ความจริงแห่งชีวิต

ขออนุโมทนา


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
เบน
วันที่ 19 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
สุภาพร
วันที่ 23 ก.ค. 2552

กราบเรียนท่านอาจารย์ประเชิญ

รู้อารมณ์กระทบชิวหาทวาร แต่ยังไม่ได้ลิ้มรสนั้น หมายถึง อาหารขณะนั้นกระทบลิ้นแล้ว แต่ยังไม่ได้ลิ้มรสนั้น หมายถึงอย่างไรคะ

ขอความกรุณาให้ความกระจ่างด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Komsan
วันที่ 23 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
prachern.s
วันที่ 23 ก.ค. 2552

รู้อารมณ์กระทบชิวหาทวาร แต่ยังไม่ได้ลิ้มรสนั้น หมายถึง อาหารขณะนั้นกระทบลิ้นแล้ว แต่ยังไม่ได้ลิ้มรสนั้น หมายถึงอย่างไรคะ ขอความกรุณาให้ความกระจ่างด้วยค่ะ

หมายถึง ขณะจิตแรก (ชิวหาทวาราวัชชนะ) ก่อนที่ชิวหาวิญญาณจะเกิดขึ้น ขณะนั้นวิถีจิตมีรสเป็นอารมณ์ แต่ไม่ได้ลิ้มรส เพราะจิตที่ลิ้มรส คือชิวหาวิญาณเท่านั้น จิตอื่นลิ้มรสไม่ได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
พุทธรักษา
วันที่ 23 ก.ค. 2552

ขออนุญาตเรียนเสริมค่ะ

คุณสุภาพร กรุณาพิจารณา ประโยคนี้นะคะ

ขณะที่ "จิต" กระทำอาวัชชนกิจ "จิตขณะนั้น" ยังไม่เห็น ยังไม่ได้ยิน ยังไม่ได้กลิ่น ยังไม่ได้ลิ้มรส ยังไม่ได้รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสกาย กระทำกิจ "รำพึง" คือ รู้ว่า อารมณ์กระทบชิวหาทวารแต่ยังไม่ได้ลิ้มรสนั้น (หมายความว่า กิจ "รำพึง" ไม่ใช่ กิจ "ลิ้มรส")

โดยการอุปมาเหมือนขณะที่รู้ว่ามีแขกมาที่ประตู แต่ยังไม่เห็นแขก จึงยังไม่รู้ว่าเป็นใคร เพียงแต่รู้ว่ามีแขกมาเท่านั้น

นี่คือขณะที่จิตกระทำอาวัชชนกิจ ซึ่งถ้าเป็นทางชิวหาทวาร คือขณะที่รู้ว่ามีแขกมาที่ประตู หมายถึงขณะที่รสเกิดขึ้นกระทบกับชิวหาปสาท แต่ยังไม่เห็นแขก คือ ยังไม่รู้ลักษณะของรส เช่น เปรี้ยว หวาน ฯลฯ จิตที่รู้รส คือ ขณะที่จิตกระทำสายนกิจ คือ ขณะที่รู้ลักษณะของรส เช่น เปรี้ยว หวาน ฯลฯ ที่ปรากฏกับชิวหาวิญญาณ ขณะที่ไม่รู้ว่า "ใคร" มา "ใคร" ในที่นี้หมายถึง รส (เช่น เปรี้ยว หวาน ฯลฯ ) ฉะนั้น ขณะ "รำพึงถึงอารมณ์" (ชิวหาทวาราวัชชนจิต) จึงเป็น ขณะก่อนที่จะ รู้ รส เช่น เปรี้ยว หวาน ฯลฯ และขณะที่ จิต กระทำ อาวัชชนกิจ คือ ขณะที่รำพึงถึงอารมณ์ (รส) ที่มากระทบ ไม่ใช่ขณะเดียวกับ จิต ที่กระทำ สายนกิจ คือ ขณะที่ รู้ "ลักษณะ" ของ รส ต่างๆ เช่น รสเปรี้ยว รสหวาน ฯลฯ

ฉะนั้น "ชิวหาทวาราวัชชนจิต" เกิดก่อน รำพึงถึง รส ที่มากระทบ ชิวหาปสาททางชิวหาทวาร และเมื่อ "ชิวหาทวาราวัชชนจิต" ดับไปแล้ว ก็เป็นปัจจัยให้ "ชิวหาวิญญาณ" เกิดขึ้น รู้ "ลักษณะ" ของ "รส" เช่น รสเปรี้ยว รสหวาน เป็นต้น จึงเป็น จิตคนละขณะ ต่างกิจหน้าที่ แม้ จิตทั้ง ๒ ขณะ เกิดขึ้น รู้ อารมณ์เดียวกัน คือ รส แต่ กระทำกิจในการรู้อารมณ์ คือ รสต่างกัน ตาม "กิจเฉพาะของตนๆ "

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pornpaon
วันที่ 24 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
สุภาพร
วันที่ 24 ก.ค. 2552

ขอกราบขอบพระคุณ อาจารย์ประเชิญ และ คุณพุทธรักษา มากค่ะ ที่ช่วยให้เข้าใจแต่ละวิถีอ่านแล้วพอเข้าใจ แต่ก็ยังยาก (อ่านหลายรอบมาก) เพราะยังไม่มีปัญญาที่จะเข้าใจอย่างลึกซึ้งค่ะ

วิถีจิตเกิดขึ้นคนละขณะ ทำกิจหน้าที่ต่างกัน แต่รวดเร็วมากจนแยกขาดจากกันไม่ได้ต้องมีปัญญาเท่านั้น

ขอกราบขอบพระคุณและอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Jarunee.A
วันที่ 21 เม.ย. 2567

ขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ