คิดไม่ตก

 
จักรกฤษณ์
วันที่  24 ก.ค. 2552
หมายเลข  12984
อ่าน  4,186

การที่คนเรายิ่งเรียนมากยิ่งรู้มาก เมื่อมีปัญหาหรือเกิดข้อขัดข้องใด ก็อยากที่จะแก้ไขหรือพยายามหาทางออก ยิ่งเก่ง ยิ่งต้องแก้ปัญหาให้ได้ หาทางออกให้เจอ เมื่อเจอทางตัน

อาการของการคิดไม่ตกเกิดขึ้น

ฉลาดมากปัญหาก็ยากซับซ้อนมากขึ้น เมื่อแก้ไขไม่ได้ ยอมแพ้ คิดจนตก ดังนี้

การปลงตก การยอมปล่อยวาง โดยยอมรับความไม่เที่ยง

ถือได้ว่า จิตลักษณะดังกล่าว ประกอบด้วยสัมมาสติ เสมอเหมือนผู้เข้าใจธรรมะและเจริญสติตามปกติ ที่หมั่นอบรมเจริญกันหรือไม่ครับ หรือมีความต่างกันอย่างไร คนบางคนกลับสามารถเข้าใจธรรมะได้ลึกซึ้งขึ้น เมื่อประสบปัญหา เคราะห์กรรม วิบัติ กับตัวเอง จะถือว่าได้เปรียบคนส่วนใหญ่ที่ไม่มีโอกาสเช่นนั้นหรือไม่ครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 25 ก.ค. 2552

ภาษาทั่วไปที่กล่าวว่า การปลงตก การยอมปล่อยวาง หมายถึง การคิดได้ การทำใจได้ หรือยอมรับได้ หรือความเสียใจลดลงบ้างซึ่งมิได้หมายถึงเขามีสติสัมปชัญญะ หรือสติปัฏฐานแต่อย่างใด แต่ถ้าเป็นผู้ที่มีปัญญารู้แจ้งอริยสัจจธรรม ดับความโศกได้อย่างถาวรเป็นปัญญาระดับโลกุตตระ ไม่ใช่ความคิดขั้นธรรมดา อนึ่งผู้ที่สะสมปัญญามาจนบริบูรณ์แล้ว แม้ว่าจะไม่ประสบกับปัญหาชีวิต เขาก็สนใจที่จะแสวงหาการพ้นไปจากวัฏฏะได้เช่นกัน ดังนั้นควรจะอยู่ปัญญามากกว่าเพราะผู้ที่ประสบกับปัญหาบางคนที่ไม่สนใจธรรมะก็มีมากกว่าคนที่สนใจธรรมะแต่ก็มีส่วนอยู่บ้างที่ว่า เมื่อประสบทุกข์จึงแสวงหาทางดับทุกข์ หันหน้าเข้าวัด..

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
noynoi
วันที่ 25 ก.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
akrapat
วันที่ 25 ก.ค. 2552

จริงๆ น่าจะเป็นการพิจารณาไตรลักษณ์ด้วยการคิด อยู่ในขั้นของจินตามยปัญญา ก็ถือว่าเป็นการเอาตัวรอดในสถานการณ์นั้น เพราะในเมื่อสติปัฎฐานยังไม่เกิดก็ต้อง พิจารณาแบบนี้ละครับ แม้กระทั่งบางท่านเมื่อจิตมีกามราคะมากๆ สติไม่ระลึกในขณะที่จิตมีราคะ บางท่านก็พิจารณาอสุภ ก็ถือว่าเป็นสมถะอย่างหนึ่ง อย่างน้อยก็ดีกว่าการ การหนีอารมณ์ โดยวิธีการที่ผิดปกติ เช่น ไปดื่มเหล้า

เพราะโดยปกติของผู้ที่มีปกติของการเจริญสติปัฎฐาน อารมณ์ที่เศร้าหมอง ฟุ้งซ่าน คิดไม่ตก ล้วนเป็นอกุศลจิต ถ้าสติเกิดระลึกได้ อารมณ์เหล่านั้น ก็จะดับทันที เพราะสติปัฎฐาน เป็นมหากุศลจิต และจิตที่เป็นกุศล จะเกิดร่วมกับ จิตที่เป็น อกุศลไม่ได้ หรือถ้ามีปัญญาเกิดร่วมด้วย ก็จะไม่อาลัยอาวรกับ อารมณ์นั้นโดยเห็นไม่ใช่เรา แต่ยังไม่ใช่ปัญญาในขั้นอริยมรรคนะครับ เพราะขั้นนี้ กิเลส บางอย่างดับแล้วดับเลย

เป็นความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ ผิดถูกขออโหสิกรรมด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 25 ก.ค. 2552

ที่ "คิดไม่ตก" เพราะว่ายัง "คิดไม่ถูก" การอบรมเจริญปัญญาเป็นการสะสมเหตุปัจจัยให้คิดได้ถูกขึ้นค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
suwit02
วันที่ 25 ก.ค. 2552

สาธุ

[เล่มที่ 35] พระสุตตันตปิฎก อังคุตตรนิกาย จตุกนิบาต เล่ม ๒ - หน้า 303

ปโตทสูตร ม้าอาชาไนยและบุรุษอาชาไนย ๔ จำพวก


บุรุษอาชาไนยผู้เจริญบางคนในโลกนี้ ไม่ได้ฟังว่าในบ้านหรือในนิคมโน้น. มีหญิงหรือชายถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยา และ ไม่ได้เห็นหญิงหรือชายผู้ถึงความทุกข์ หรือทำกาลกิริยาเอง ทั้งญาติหรือสายโลหิตของเขาก็ไม่ถึงทุกข์ หรือทำกาลกิริยา แต่เขาเองทีเดียว อันทุกขเวทนาเป็นไปทางสรีระ กล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ แทบจะนำชีวิตไปเสีย ถูกต้องแล้ว เขาจึงสลด ถึงความสังเวชเพราะเหตุนั้น เป็นผู้สลดแล้ว เริ่มตั้งความเพียรไว้โดยแยบคาย มีใจเด็ดเดี่ยว ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่ง ปรมสัจจะด้วยนามกาย และเห็นแจ้งแทงตลอดด้วยปัญญา ม้าอาชาไนยตัวเจริญถูกแทงด้วยปฏักถึงกระดูก จึงสลด ถึงความสังเวช แม้ฉันใด เรากล่าวบุรุษอาชาไนยผู้เจริญนี้เปรียบฉันนั้น

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
pornpaon
วันที่ 25 ก.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
ทศพล.com
วันที่ 25 ก.ค. 2552

งั้นก็เอาแบบธรรมดาก่อน ถอย ทำได้หรือเปล่า บางคนไม่ต้องเก่งก็ทำได้
ขอกราบอนุโมทนาด้วยความเคารพ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
wannee.s
วันที่ 26 ก.ค. 2552

ปัญญาทางโลกกับปัญญาทางธรรมต่างกัน ปัญญาทางธรรมทำให้ดับต้นเหตุคือ

อวิชชาความไม่รู้ ขณะที่คิดไม่ออก ปลงไม่ตก ขณะนั้นรู้ได้เลยว่าปัญญาไม่เกิดค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 27 ก.ค. 2552

ขอขอบพระคุณและอนุโมทนาอาจารย์ประเชิญและทุกท่าน

ขออนุโมทนา คุณSuwit02 ที่ได้ยกพระสูตร ปโตทสูตร มาแสดง

ทำให้เข้าใจได้ชัดเจนครับว่า บุรุษอาชาไนย ๔ ประเภท

ท่านสลด สังเวช แล้วเริ่มตั้งความเพียรไว้โดยแยบคาย มีใจเด็ดเดี่ยว ย่อมกระทำให้แจ้งซึ่งปรมสัจจะและแทงตลอดด้วยปัญญา

เมื่อได้ฟัง ได้เห็นบุคคลผู้อื่น หรือญาติของตน เป็นทุกข์หรือตายจากไป หรือแม้แต่เมื่อประสบทุกข์แก่ตนเอง ตามลำดับ

แต่ปุถุชนไม่สลด สังเวช แม้ประสบทุกขเวทนากล้าแข็ง เผ็ดร้อน ไม่น่ายินดี ไม่น่าพอใจ แทบจะนำชีวิตไปเสีย ประดุจปฏักทิ่มแทงลึกถึงกระดูกของม้าอาชาไนย

ด้วยเหตุนี้เอง ที่ทำให้คิดไม่ตก เพราะไม่เคยสลด สังเวช จริงๆ

เมื่อจะสลด สังเวช ก็มักจะช้าไปแล้วสำหรับภพนี้ชาตินี้

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
พุทธรักษา
วันที่ 27 ก.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น..
.
.

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรคเล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ ๓๕๕


๗. สุพรหมสูตร


[๒๖๙] สุพรหมเทวบุตร ยืนอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่งแล้ว ได้กราบทูล พระผู้มีพระภาคเจ้า ด้วยคาถาว่า

จิตนี้ สะดุ้งอยู่เป็นนิตย์ ใจนี้ หวาดเสียวอยู่เป็นนิตย์ ทั้งเมื่อกิจ ไม่เกิดขึ้น ทั้งเมื่อเกิดขึ้นแล้วก็ตาม ถ้าความไม่สะดุ้งกลัว มีอยู่ ข้าพระองค์ทูลถามแล้ว.......
โปรดตรัสบอก "ความไม่สะดุ้งนั้น" แก่ข้าพระองค์เถิด.

[๒๖๕] พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า
เรายังมองไม่เห็น "ความสวัสดีแห่งสัตว์ทั้งหลาย" นอกจาก ปัญญา และ ความเพียร นอกจาก ความสำรวมอินทรีย์ นอกจาก ความสละวางทุกสิ่งทุกอย่าง. สุพรหมเทวบุตรได้กล่าวดังนี้แล้ว ฯลฯ ก็อันตรธานไปในที่นั้นเอง.

.......................................................................จาก สุพรหมสูตร.

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ