ความจริงแห่งชีวิต [68] อารมณ์ ของ โวฏฐัพพนวาระ คือ ปริตตารมณ์

 
พุทธรักษา
วันที่  3 ส.ค. 2552
หมายเลข  13070
อ่าน  830

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

บางวาระเมื่ออตีตภวังค์เกิดและดับไปแล้วหลายขณะ ภวังคจลนะก็เกิดและดับไปหลายขณะ ภวังคุปัจเฉทะก็เกิดแล้วดับไป ปัญจทวาราวัชชนจิตเกิดแล้วดับไป ปัญจวิญญาณดวงใดดวงหนึ่งเกิดแล้วดับไป สัมปฏิจฉันนจิตเกิดแล้วดับไป สันตีรณจิตเกิดแล้วดับไป โวฏฐัพพนจิตเกิดแล้วดับไป ๒-๓ ขณะ รูปก็ดับไป ชวนจิตจึงเกิดไม่ได้ วาระนั้นจึงเป็น “โวฏฐัพ​พน​วาระ” เพราะวิถีจิตสิ้นสุดลงที่โวฏฐัพพนจิต สภาพธรรมทั้งปวงตามความเป็นจริงเป็นอย่างนี้ ฉะนั้น เมื่อ​อารมณ์​กระทบ​ปสาท​แต่ละ​วาระ​นั้น ไม่ใช่​ว่า​วิถี​จิต​จะ​ต้อง​เกิด​ดับ​สืบ​ต่อ​ไป​ตลอด​ทั้ง ๗ วิถี เมื่อวิถีจิตไม่เกิดเลยก็เป็นโมฆวาระ เมื่อวิถีจิตสิ้นสุดที่โวฏฐัพพนะ ​ก็เป็นโวฏฐัพพนวาระ อารมณ์ของโวฏฐัพพนวาระเป็นปริตตารมณ์ คือ เป็นอารมณ์ของวิถีจิตเพียงเล็กน้อย โดยเป็นอารมณ์ของวิถีจิตเพียง ๕ วิถีจิตเท่านั้น


โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ จัดพิมพ์เผยแพร่ โดย คณะกรรมการ ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรษา ครบ ๗๕ พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕

ขอเชิญอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ ...

ปรมัตถธรรมสังเขป

ขอเชิญอ่านตอนต่อไป ...

ความจริงแห่งชีวิต

ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศล แด่ คุณพ่อ และ คุณแม่


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
พุทธรักษา
วันที่ 3 ส.ค. 2552

ขอความกรุณา ช่วยยกตัวอย่างขณะที่เป็น "โวฏฐัพพนวาระ" และ "ปริตตารมณ์" ที่เกิดขึ้น ในชีวิตประจำวันเพื่อเทียบเคียง ให้เกิดความเข้าใจ ตามข้อความดังกล่าวด้วยค่ะ และ ข้อความที่ว่า "โวฏฐัพพนจิต"เกิดขึ้น และ ดับไป ๒-๓ ขณะ

๒-๓ ขณะ หมายความว่าอย่างไรคะ.?

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prachern.s
วันที่ 4 ส.ค. 2552

ขณะที่เป็น "โวฏฐัพพนวาระ" ส่วนใหญ่ท่านจะยกตัวอย่างในขณะที่นอนหลับอยู่ แล้วมีอารมณ์มากระทบ เช่น มีคนมาปลุก หรือเสียงฝนตกฟ้าร้อง รู้สึกตัวเพียงเล็กน้อย แล้วก็นอนหลับต่อ เป็นตัวอย่างที่กล่าวโดยกว้างๆ ซึ่งตัวโวฏฐัพพนะจริงๆ เรารู้ไม่ได้ หรือแม้แต่ "ปริตตารมณ์" ก็เช่นเดียวกัน ก็คืออารมณ์เล็กน้อย ไม่ชัดเจน เป็นปัจจัยให้วิถีจิตเกิดขณะจิตน้อย คำว่า ๒-๓ ขณะ ก็คือ แทนที่วิถีจะเป็นชวนวิถี อารมณ์มีอายุเหลือไม่มากพอ วิถีจิตก็เป็นโผฏฐัพพนะต่ออีก ๒ หรือ ๓ ขณะ ต่อจากนั้นก็เป็นภวังค์ต่อครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
พุทธรักษา
วันที่ 4 ส.ค. 2552

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
จักรกฤษณ์
วันที่ 4 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
pornpaon
วันที่ 5 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
Jarunee.A
วันที่ 4 พ.ค. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ