ความจริงแห่งชีวิต [79] ชวนวิถีจิต เสพอารมณ์ซ้ำๆ กัน ๗ ขณะ โดย อาเสวนปัจจัย

 
พุทธรักษา
วันที่  8 ส.ค. 2552
หมายเลข  13125
อ่าน  1,505

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การที่ชวนวิถีจิตเกิดดับเสพอารมณ์ซํ้าถึง ๗ ขณะนั้นเป็นไปโดยปัจจัย คือ ชวนวิถีจิตขณะที่ ๑ เป็นอาเสวนปัจจัยให้ชวนวิถีจิตขณะที่ ๒ เกิดขึ้น ​เสพอารมณ์นั้นซํ้าอีก และชวนวิถีจิตขณะที่ ๒ ก็เป็นอาเสวนปัจจัยให้ชวนวิถีจิตขณะที่ ๓ เกิดขึ้น เสพอารมณ์นั้นซํ้าอีกเรื่อยไป จนถึงชวนวิถีจิตขณะที่ ๗ จึงไม่เป็นอาเสวนปัจจัย อา​เส​วน​ปัจจัย คือ อกุศล​ชวน​วิถี​จิต กุศล​ชวน​วิถีจิต หรือ​กิริยา​ชวน​วิถี​จิต​ที่​ทำให้​จิต​ชาติ​เดียวกัน​เกิด​ขึ้น​ทำชวน​กิจ​ซํ้าอีก จึงมีกำลังทำให้อกุศล​กรรมและ​กุศล​กรรม​เป็นกั​มม​ปัจจัย ให้วิบากจิตซึ่งเป็นผลเกิดขึ้นในอนาคต และเป็น​อุปนิสสย​ปัจจัย ให้อกุศลชวนวิถี และกุศลชวนวิถี และกิริยาชวนวิถีเกิดขึ้นอีกในอนาคต การสั่งสมอกุศลประเภทต่างๆ มากมายหนาแน่นพอกพูนขึ้นนั้น ทำให้ทันทีที่ลืมตาขึ้นเห็นแล้วก็หลงเลย ขณะที่เป็นภวังคจิตนั้นไม่รู้อารมณ์ทางตา ทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เพราะถ้าคิดนึกหรือฝันก็เป็นมโนทวารวิถีจิต ไม่ใช่ภวังคจิต ฉะนั้น ตลอดเวลาที่เป็นภวังคจิตนั้นไม่รู้อารมณ์ใดๆ ของโลกนี้เลย โลกนี้ไม่ปรากฏเลย แต่แม้กระนั้น ในขณะนั้นก็มีอนุสัยกิเลส ไม่ใช่ว่าเมื่อไม่รู้อารมณ์ใดๆ ในโลกนี้แล้วจะไม่มีกิเลส ทั้งนี้เพราะกิเลสมี ๓ ขั้น คือ

อนุสัย​กิเลส เป็นกิเลสอย่างละเอียดที่สะสม นอนเนื่องอยู่ในจิต
ปริ​ยุฏ​ฐาน​กิเลส เป็นกิเลสอย่างกลางที่เกิดร่วมกับชวนวิถีจิต
วี​ติก​กม​กิเลส เป็นกิเลสอย่างหยาบที่เกิดร่วมกับชวนวิถีจิต

ฉะนั้น แม้จิตซึ่งไม่ใช่ชวนวิถีจิตก็มีอนุสัยกิเลส เว้นจิตของพระอรหันต์เท่านั้นที่ไม่มีกิเลสใดๆ เลยทั้งสิ้น

ฉะนั้น ให้ทราบว่า ขณะใดที่วิถีจิตเกิดขึ้นเห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา ได้ยินเสียงที่ปรากฏทางหู ได้กลิ่นทางจมูก ลิ้มรสทางลิ้น กระทบสัมผัสโผฏฐัพพะทางกาย หรือคิดนึกเรื่องราวต่างๆ ทางใจ ขณะนั้นชวนวิถีจิตก็สั่งสมสันดานตนเพิ่มขึ้น ทั้งที่เป็นอกุศล กามาวจรกุศล และกามาวจรกิริยาชวนวิถี

วาระหนึ่งๆ ที่เห็น วิถีจิตทั้ง ๗ วิถี เป็นจักขุทวารวิถี
วาระหนึ่งๆ ที่ได้ยิน วิถีจิตทั้ง ๗ วิถี เป็นโสตทวารวิถี
วาระหนึ่งๆ ที่ได้กลิ่น วิถีจิตทั้ง ๗ วิถี เป็นฆานทวารวิถี
วาระหนึ่งๆ ที่ลิ้มรส วิถีจิตทั้ง ๗ วิถี เป็นชิวหาทวารวิถี
วาระหนึ่งๆ ที่รู้โผฏฐัพพะ วิถีจิตทั้ง ๗ วิถี เป็นกายทวารวิถี
วาระหนึ่งๆ ที่คิดนึก วิถีจิตทั้ง ๓ วิถี เป็นมโนทวารวิถี


โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ จัดพิมพ์เผยแพร่ โดย คณะกรรมการ ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรษา ครบ ๗๕ พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕

ขอเชิญอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ ...

ปรมัตถธรรมสังเขป

ขอเชิญอ่านตอนต่อไป ...

ความจริงแห่งชีวิต

ขออนุโมทนาขออุทิศกุศล แด่ คุณพ่อ และ คุณแม่


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
พุทธรักษา
วันที่ 8 ส.ค. 2552

เพื่อเป็นการทบทวนความเข้าใจเรื่องวิถีจิต ขอความกรุณาช่วยตรวจสอบข้อความที่เรียบเรียงจากความเข้าใจว่า ถูกต้องหรือไม่ด้วยนะคะ

กล่าวโดยนัยของ "วาระ" ซึ่ง วาระ คือ วิถีจิตซึ่งเกิด-ดับ-สืบต่อกันโดยรู้อารมณ์เดียวกัน ทางทวารเดียวกัน

วาระหนึ่งๆ ที่เห็น หมายความว่า วิถีจิต ทั้ง ๗ วิถี เป็น จักขุทวารวิถี คือ จักขุทวาราวัชชนจิต ๑ ขณะ จักขุวิญญาณ ๑ ขณะ สัมปฏิจฉันนจิต ๑ ขณะ สันตีรณจิต ๑ ขณะ โวฏฐัพพนจิต ๑ ขณะ กุศลชวนวิถีจิต หรือ อกุศลชวนวิถีจิต ๗ ขณะ ตทาลัมพนวิถีจิต ๒ ขณะ รวมการเกิด-ดับสืบต่อ-รู้อารมณ์ของ วิถีจิตใน วาระที่เห็น นี้มีจิตเกิด-ดับสืบต่อกัน ทั้งหมด ๑๔ ขณะ วิถีจิตในวาระนี้ทุกขณะเกิด-ดับ-สืบต่อ ที่ จักขุทวาร (จักขุปสาท) เท่านั้น โดยเป็นการรู้อารมณ์ คือ เห็น สีสัน-วัณณะ (รูปารมณ์) ที่ชัดเจนมาก

วาระหนึ่งๆ ที่ได้ยิน หมายความว่า วิถีจิต ทั้ง ๗ วิถี เป็น โสตทวารวิถี คือ โสตทวาราวัชชนจิต ๑ ขณะ โสตวิญญาณ ๑ ขณะ สัมปฏิจฉันนจิต ๑ ขณะ สันตีรณจิต ๑ ขณะ โวฏฐัพพนจิต ๑ ขณะ กุศลชวนวิถีจิต หรืออกุศลชวนวิถีจิต ๗ ขณะ ตทาลัมพนวิถีจิต ๒ ขณะ
รวมการเกิด-ดับสืบต่อ-รู้อารมณ์ของ วิถีจิตใน วาระที่ได้ยิน นี้มีจิตเกิด-ดับสืบต่อกันทั้งหมด ๑๔ ขณะ วิถีจิตในวาระนี้ทุกขณะเกิด-ดับ-สืบต่อ ที่ โสตทวาร (โสตปสาท) เท่านั้น โดยเป็นการรู้อารมณ์ คือ ได้ยินเสียง ที่ชัดเจนมาก

วาระหนึ่งๆ ที่ได้กลิ่น หมายความว่าวิถีจิต ทั้ง ๗ วิถี เป็น ฆานทวารวิถี คือ ฆานทวาราวัชชนจิต ๑ ขณะ ฆานวิญญาณ ๑ ขณะ สัมปฏิจฉันนจิต ๑ ขณะ สันตีรณจิต ๑ ขณะ โวฏฐัพพนจิต ๑ ขณะ กุศลชวนวิถีจิต หรืออกุศลชวนวิถีจิต ๗ ขณะ ตทาลัมพนวิถีจิต ๒ ขณะ
รวมการเกิด-ดับสืบต่อ-รู้อารมณ์ของ วิถีจิตใน วาระที่ได้กลิ่น นี้มีจิตเกิด-ดับสืบต่อกันทั้งหมด ๑๔ ขณะ วิถีจิตในวาระนี้ทุกขณะเกิด-ดับ-สืบต่อ ที่ ฆานทวาร (ฆานปสาท) เท่านั้น โดยเป็นการรู้อารมณ์ คือ ได้กลิ่น ที่ชัดเจนมาก

วาระหนึ่งๆ ที่ลิ้มรส หมายความว่าวิถีจิต ทั้ง ๗ วิถี เป็น ชิวหาทวารวิถี คือชิวหาทวาราวัชชนจิต ๑ ขณะ ชิวหาวิญญาณ ๑ ขณะ สัมปฏิจฉันนจิต ๑ ขณะ. สันตีรณจิต ๑ ขณะ โวฏฐัพพนจิต ๑ ขณะ.กุศลชวนวิถีจิต หรืออกุศลชวนวิถีจิต ๗ ขณะ ตทาลัมพนวิถีจิต ๒ ขณะ รวมการเกิด-ดับสืบต่อ-รู้อารมณ์ของ วิถีจิตใน วาระที่ลิ้มรส นี้มีจิตเกิด-ดับสืบต่อกันทั้งหมด ๑๔ ขณะ วิถีจิตในวาระนี้ทุกขณะเกิด-ดับ-สืบต่อ ที่ ชิวหาทวาร (ชิวหาปสาท) เท่านั้น โดยเป็นการรู้อารมณ์ คือ รู้รส ที่ชัดเจนมาก

วาระหนึ่งๆ ที่รู้โผฏฐัพพะ (คือ วาระที่จิต รู้ เย็น-ร้อน หรือ อ่อน-แข็ง หรือ ตึง-ไหว) หมายความว่าวิถีจิตทั้ง ๗ วิถี เป็น กายทวารวิถี.คือกายทวาราวัชชนจิต ๑ ขณะ กายวิญญาณ ๑ ขณะ สัมปฏิจฉันนจิต ๑ ขณะ สันตีรณจิต ๑ ขณะ โวฏฐัพพนจิต ๑ ขณะ กุศลชวนวิถีจิต หรืออกุศลชวนวิถีจิต ๗ ขณะ.ตทาลัมพนวิถีจิต ๒ ขณะ รวมการเกิด-ดับสืบต่อ-รู้อารมณ์ของ วิถีจิตใน วาระที่ รู้เย็น-ร้อน หรือ อ่อน-แข็ง หรือ ตึง-ไหว นี้มีจิตเกิด-ดับสืบต่อกันทั้งหมด ๑๔ ขณะ วิถีจิตในวาระนี้ทุกขณะเกิด-ดับ-สืบต่อ ที่ กายทวาร (กายปสาท) เท่านั้น โดยเป็นการรู้อารมณ์ คือ รู้เย็น-ร้อน หรือ อ่อน-แข็ง หรือ ตึง-ไหว ที่ชัดเจนมาก

วาระหนึ่งๆ ที่คิดนึก หมายความว่าวิถีจิตทั้ง ๓ วิถี เป็น มโนทวารวิถี.คือมโนทวาราวัชชนจิต ๑ ขณะ.กุศลชวนวิถีจิตทางมทวาร หรืออกุศลชวนวิจิตทางมโนทวาร ๗ ขณะ ตทาลัมพนจิต ๒ ขณะ รวมการเกิด-ดับสืบต่อ-รู้อารมณ์ของ วิถีจิตใน วาระที่คิดนึก นี้มี วิถีจิตเกิด-ดับสืบต่อกันทั้งหมด ๑๐ ขณะ วิถีจิตในวาระนี้ทุกขณะเกิด-ดับ-สืบต่อ ที่ มโนทวาร (หทยรูป) เท่านั้น โดยเป็นการรู้อารมณ์ คือ บัญญัติ หรือเรื่องราว ที่ชัดเจนมาก

ไม่ทราบว่าเข้าใจถูกหรือผิดประการใดหรือไม่ และขอเรียนถามเพิ่มเติม ว่า

๑. ข้อความที่ขีดเส้นใต้ เข้าใจถูกหรือเปล่าคะ

๒. เนื่องจากในกรณีนี้ เป็นการกล่าวถึงวิถีจิตในวาระที่ คิดนึก ซึ่งเป็นบัญญัติแต่ถ้าเป็น วิถีจิตในวาระที่ รู้ "ธรรมารมณ์" เป็นอย่างไรคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
พุทธรักษา
วันที่ 8 ส.ค. 2552

ทั้งนี้ เป็นเพราะว่ากิเลส มี ๓ ระดับขั้น คือ

๑. อนุสัยกิเลส คือ กิเลสอย่างละเอียด ที่สะสม นอนเนื่องอยู่ในจิต

๒. ปริยุฏฐานกิเลส คือ กิเลสอย่างกลาง ที่เกิดร่วมกับ ชวนวิถีจิต

๓. วีติกกมกิเลส คือ กิเลสอย่างหยาบ ที่เกิดร่วมกับ ชวนวิถีจิต

จากข้อความข้างต้น

ขอเรียนถามว่า

๑. อนุสัยกิเลส ไม่ปรากฏให้รู้ได้ใช่ไหมคะ.?

๒. กิเลสอย่างกลาง เป็นอย่างไร.?

๓. กิเลสอย่างหยาบ เป็นอย่างไร.?

๔. กิเลสอย่างกลางและกิเลสอย่างหยาบ เกิดร่วมกับชวนวิถีจิต หมายถึง เกิดร่วมกับชวนวิถีจิตทางปัญจทวาร และชวนวิถีจิตทางมโนทวารด้วยใช่ไหมคะ.?

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
prachern.s
วันที่ 9 ส.ค. 2552

เรียน ความเห็นที่ 1

อารมณ์ทางมโนทวารวิถีมีทั้งปรมัตถ์และบัญญัติ

มโนทวารวิถีรับอารมณ์ต่อจากปัญจทวารวิถีก็มี

มโนทวารวิถีรู้ปรมัตถ์โดยไม่ผ่านปัญจทวารวิถีก็มี

มโนทวารวิถีมีบัญญัติเป็นอารมณ์ก็มี วิถีจิตไม่ถึงตทาลัมพนะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
Sam
วันที่ 9 ส.ค. 2552

ความคิดเห็นที่ 1

วิถีจิตในวาระนี้ทุกขณะเกิด-ดับ-สืบต่อ ที่ จักขุทวาร (จักขุปสาท) เท่านั้น ขออนุญาตเพิ่มเติมความละเอียดเล็กน้อยครับ จักขุทวารวิถีจิตในวาระหนึ่ง ทุกดวง เกิดทางจักขุทวาร (จักขุปสาทรูป) โดยจักขุวิญญาณจิตดวงเดียวเท่านั้น ที่เกิดที่ จักขุวัตถุ (จักขุปสาทรูป) ส่วนจิตอื่นที่เหลือทั้งหมดเกิดที่หทยวัตถุ (หทยรูป) ทางหู จมูก ลิ้น และกาย ก็โดยนัยเดียวกันครับ

วิถีจิตในวาระนี้ทุกขณะเกิด-ดับ-สืบต่อ ที่ มโนทวาร (หทยรูป) เท่านั้น โดยเป็นการรู้อารมณ์ คือบัญญัติ หรือเรื่องราว ที่ชัดเจนมาก

มโนทวารวิถีจิตวาระหนึ่ง จิตทุกดวงเกิดทางมโนทวาร (ภวังคุปัจเฉทจิต) โดยเกิด ที่หทยวัตถุ (หทยรูป) ครับ

การรูปอารมณ์ทางมโนทวารนั้น เป็นไปตามที่ท่านอาจารย์ prachern.s กล่าวไว้ใน ความคิดเห็นที่ 3 ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
Sam
วันที่ 9 ส.ค. 2552

๑. อนุสัยกิเลส ไม่ปรากฏให้รู้ได้ใช่ไหมคะ.?

อนุสัยกิเลส ไม่ปรากฎให้รู้ได้ครับ แต่ในเวลาที่กิเลสอย่างกลางและอย่างหยาบเกิด ขึ้นให้รู้ได้ ก็เป็นเพราะยังมีอนุสัยกิเลสที่ยังเป็นเชื้อเป็นปัจจัยอยู่ครับ

๒. กิเลสอย่างกลาง เป็นอย่างไร.?

กิเลสอย่างกลาง คือกิเลสที่เกิดขึ้นร่วมกับอกุศลจิต แต่ไม่ถึงขั้นล่วงเป็นทุจริตกรรม ครับ

๓. กิเลสอย่างหยาบ เป็นอย่างไร.?

คือกิเลสที่เกิดร่วมกับอกุศลจิต ซึ่งทำให้ล่วงทุจริตกรรมครับ

๔. กิเลสอย่างกลางและกิเลสอย่างหยาบ เกิดร่วมกับชวนวิถีจิต. หมายถึง เกิดร่วมกับชวนวิถีจิตทางปัญจทวาร และชวนวิถีจิตทางมโนทวารด้วยใช่ไหมคะ.?

กิเลสอย่างกลางและกิเลสอย่างหยาบ เกิดร่วมกับอกุศลชวนวิถีจิตทางปัญจทวาร และทางมโนทวารสำหรับผู้ที่ไม่ใช่พระอรหันต์ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
พุทธรักษา
วันที่ 9 ส.ค. 2552

คำว่า "ที่" คำว่า "ทาง" เข้าใจขึ้นแล้วค่ะ

ขอขอบพระคุณ อาจารย์ประเชิญ และ คุณ K สำหรับคำอธิบาย

ขอความกรุณาอธิบายประโยคนี้ด้วยค่ะ

มโนทวารวิถีมีบัญญัติเป็นอารมณ์ก็มี วิถีจิตไม่ถึงตทาลัมพนะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
prachern.s
วันที่ 10 ส.ค. 2552

ตามหลักพระธรรมเรื่องวิถีจิต มีว่า บัญญัติเป็นอารมณ์ของวิถีจิตทางมโนทวาร ขณะที่มโนทวารวิถีมีบัญญัติเป็นอารมณ์ก็มี วิถีจิตไม่ถึงตทาลัมพนะ คือเพียงชวนะเท่านั้น นี้เป็นธรรมดาของวิถีจิต ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
พุทธรักษา
วันที่ 10 ส.ค. 2552

ขอบพระคุณค่ะ

ขออนุโมทนา.

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ