การฟังธรรมเป็นกุศลวิบากหรือไม่

 
Sam
วันที่  11 ส.ค. 2552
หมายเลข  13145
อ่าน  2,335

การฟังธรรม หรืออ่านหนังสือธรรม ทำให้กุศลจิตที่ประกอบด้วยปัญญาเกิดขึ้นได้

แต่จากการศึกษา ท่านแสดงไว้ว่ากุศลวิบากจิตรู้อารมณ์ที่น่าพึงพอใจ และอกุศลวิบาก

จิตรู้อารมณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจ ซึ่งในบางครั้ง เสียงที่แสดงธรรมก็เป็นเสียงที่ไม่น่าฟัง

เพราะเหตุจากเสียงผู้บรรยายบ้าง ระบบบันทึกบ้าง หรือระบบกระจายเสียงบ้าง ส่วน

การอ่านหนังสือธรรมนั้น บางทีตัวหนังสือก็ไม่น่าอ่าน ไม่สวยงามหรือกระดาษเก่า - ยับ

มาก และมีรอยขาด

นอกจากนี้ การฟังธรรมเข้าใจ และการอ่านธรรมะเข้าใจ เป็นการเข้าใจในบัญญัติ

ส่วนเสียง (บรรยาย) และสี (อักษร) นั้น เป็นปรมัตถธรรม ซึ่งบางคราวก็น่าพึงพอใจ บาง

คราวก็ไม่น่าพึงพอใจ


จึงขออนุญาตเรียนถามทุกท่านครับว่า การฟังธรรม (และการอ่านหนังสือธรรม)

เป็นกุศลวิบากหรือไม่ อย่างไรครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 11 ส.ค. 2552
ในสมัยครั้งพุทธกาล การฟังพระธรรมจากพระพุทธองค์ หรือ ฟังจากท่านพระสารีบุตรท่านพระอานนท์ เป็นต้น ก็ชัดเจนดีว่า จิตที่ได้ยินเป็นกุศลวิบากแน่นอน ส่วนในยุคปัจจุบัน ก็น่าพิจารณาว่า นอกจากผู้แสดงเสียงไม่น่าฟังแล้วแถมยังแสดงผิดจากพระธรรมวินัยอีกด้วย อย่างนี้ไม่ใช่กุศลวิบากแน่ๆ ใช่ไหมครับ...
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
วิริยะ
วันที่ 11 ส.ค. 2552

เป็นการแสดงความคิดเห็นนะคะ มิใช่การให้คำตอบ คิดว่า ด้วยตัวธรรมเองนั้น น่าจะ

เป็นสิ่งที่ดีด้วยตัวของธรรมะเองอยู่แล้ว ฉะนั้น เมื่อมีการฟังธรรมะ ก็น่าจะเป็นกุศลวิบาก

ส่วนข้อขัดข้องต่างๆ ในขณะที่ศึกษาพระธรรม ไม่แน่ใจว่า เป็นอกุศลวิบาก หรือเป็น

อกุศลจิตของเราเอง ตัวเองก็มีอยู่บ่อยๆ ที่ในขณะศึกษาก็ถอนใจเฮือกๆ เพราะไม่

เข้าใจและรู้สึกท้อ ต้องใช้ขันติมากๆ เลยค่ะ คงต้องกลับไปศึกษาเรื่อง อารมณ์ที่

น่าพอใจและอารมณ์ที่ไม่น่าพอใจก่อน หัวข้อนี้ น่าวิเคราะห์ศึกษาค่ะ

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
เมตตา
วันที่ 11 ส.ค. 2552

การฟังพระธรรม หรืออ่านหนังสือพระธรรมก็ต้องพิจารณาไตร่ตรองให้ดีว่าผู้ที่แสดง

พระธรรมหรือผู้ที่เขียนหนังสือพระธรรมนั้น แสดงพระธรรมถูกต้องหรือไม่ หากถูกต้อง

ขณะที่ได้ยินพระธรรมหรือได้อ่านหนังสือพระธรรมขณะนั้นเป็นกุศลวิปาก และขณะที่

เข้าใจขณะนั้นก็เป็นกุศลจิต ส่วนขณะที่ได้ยินเสียงที่แสดงพระธรรมไม่น่าฟัง หรือตัว

หนังสือไม่น่าดู ขณะนั้นก็ต้องเป็นอกุศลวิปาก เพราะเป็นอารมณ์ที่ไม่ดี กุศลจิตก็เกิด

สลับกับอกุศลจิต ขณะเข้าใจพระธรรมเป็นกุศล ขณะที่ไปตรึกถึงเสียงที่ไม่น่าฟังแล้ว

ขุ่นเคืองใจก็เป็นอกุศลค่ะ ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
วันใหม่
วันที่ 11 ส.ค. 2552

ขณะนั้ กำลังเห็นเป็นกุศลวิบากหรืออกุศลวิบาก ขณะนี้กำลังได้ยินเป็นกุศลวิบาก อกุศลวิบาก รู้ได้ไหม สำคัญคือเข้าใจอะไร เข้าใจความจริงของสภาพธรรมที่เป็นนามธรรมและรูปธรรมในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา แม้จะเป็นกุศลวิบากหรืออกุศลวิบากก็คือธรรม ผู้ฟังไม่ต้องหาชื่อมาใส่ว่าวิบากประเภทใด แต่ควรเข้าใจความจริงที่เกิดขึ้นว่าเป็นธรรมไม่ใช่เรา หากสติเกิด ไม่ลืมว่าศึกษาปรมัตถธรรมเพื่อเข้าใจความจริงในขณะนี้ว่าเป็นธรรมไม่ใชเรา สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
พุทธรักษา
วันที่ 11 ส.ค. 2552

คำถามที่ต่างกัน...แต่มีคำตอบที่ตรงกัน.!ซึ่ง วิทยากรหลายท่าน ได้ตอบไว้ชัดเจน. อยู่ที่กระทู้นี้...04922 ค่ะ.
ขออนุโมทนาค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
ประสาน
วันที่ 12 ส.ค. 2552


ขออนุโมทนา

การได้ฟังธรรมเป็นกุศลวิบากแน่ๆ ครับ แต่หลังจากฟังเป็นกุศลหรืออกุศลก็ได้

ไม่ทราบคำตอบนี้ถูกหรือไม่ ขออนุโมทนา เจริญธรรม

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
pornpaon
วันที่ 12 ส.ค. 2552

การได้ยินได้ฟังพระสัทธรรม

เป็นกุศลวิบากที่หากไม่ได้สะสมเหตุมา ย่อมไม่ได้โอกาสที่จะฟัง

แต่หลังได้ยิน กุศลจิตหรืออกุศลจิตที่เกิดดับสลับกันไปในระหว่างการฟังนั้นแหละ

สะสมเป็นเหตุใหม่ รอการให้ผลต่อไปเมื่อถึงเวลา

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
petcharath
วันที่ 12 ส.ค. 2552
ขออนุโมทนาค่ะ
 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
Sam
วันที่ 12 ส.ค. 2552

ขอขอบคุณทุกความคิดเห็นครับ

ในการฟังธรรมหรือศึกษาธรรมนั้น ผมเข้าใจว่าเป็นไปได้สองทางคือ การได้ยิน

เสียงทางหู หรือการเห็นสีทางตา ซึ่งเสียงและสีที่จิตรู้ได้นั้น ไม่ใช่สิ่งเดียวกับพระ

สัทธรรม อันเป็นบัญญัติถึงชื่อและเรื่องราวของสภาพธรรม ที่พระผู้มีพระภาคทรง

บัญญัติแสดงไว้ให้สาวกศึกษาตาม

ประเด็นที่อยากให้ทุกท่านช่วยพิจารณาก็คือ เป็นไปได้หรือไม่ ที่พระสัทธรรม

อันเป็นพุทธบัญญัตินั้น เป็นชื่อ เรื่องราว หรือสัณฐานของปรมัตถธรรม อันได้แก่

เสียง หรือสี ที่เป็นอนิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจ) เพราะสิ่งที่ผมสงสัยนี้ หาก

ลองพิจารณาก็จะเห็นได้ว่า เป็นเรื่องจริงที่เรามีโอกาสประสบอยู่ทุกวัน สำหรับผู้ที่

ศึกษาพระธรรมที่ถูกต้องครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
พุทธรักษา
วันที่ 12 ส.ค. 2552

ประเด็นที่อยากให้ทุกท่านช่วยพิจารณาก็คือ เป็นไปได้หรือไม่ ที่พระสัทธรรม

อันเป็นพุทธบัญญัตินั้น เป็นชื่อ เรื่องราว หรือสัณฐานของปรมัตถธรรม อันได้แก่

เสียง หรือสี ที่เป็นอนิฏฐารมณ์ (อารมณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจ) เพราะสิ่งที่ผมสงสัยนี้ หาก

ลองพิจารณาก็จะเห็นได้ว่า เป็นเรื่องจริงที่เรามีโอกาสประสบอยู่ทุกวัน สำหรับผู้ที่

ศึกษาพระธรรมที่ถูกต้องครับ
.......................................................................กรุณาอธิบายความเห็นของคุณ เรื่อง "ประเด็นที่อยากให้ทุกท่านช่วยพิจารณา".....คุณสงสัยว่าอย่างไรคะ.?.....คุณมีอะไรที่จะแนะนำหรือเปล่า.?เพราะอ่านแล้ว...ไม่แน่ใจ ว่าเข้าใจ "ตรงประเด็น" ที่คุณถาม หรือเปล่า.?
อันที่จริง ข้าพเจ้าเข้าใจว่า การสะสมของแต่ละคน...ไม่มีทางเหมือนกัน ก็จริง.!แต่ ความเข้าใจพระธรรม"ที่ถูกต้อง"....แม้มีอุปสรรคใดๆ ก็ไม่มีอะไรขัดขวางการให้ผลของกรรม...เมื่อ เหตุ สมควรแก่ ผล.
เช่น ข้าพเจ้าเคยอ่านหนังสือนิยายอิงธรรมะเล่มหนึ่ง ซึ่งความตั้งใจครั้งแรกก็ไม่ได้คาดหวังว่าจะต้องได้สาระจากพระธรรมมากไปกว่า การอ่านนิยายทั่วๆ ไปหนังสือเล่มนี้ มี ตั้ง ๓ ภาค ภาคละ ๑ เล่ม แต่ละเล่ม หนา พอๆ กับ หนังสือปรมัตถธรรมสังเขป.
เล่มแรก...ก็สนุกดี ชอบ อ่านเร็วมากเล่มที่สอง...น่าเบื่อมาก ใช้เวลานานกว่าจะจบ แต่ทนอ่านเพราะอยากอ่านให้จบ.แต่ เล่มที่สาม...โดยเฉพาะตอนจบ....กลับพบว่าถ้าอ่านไม่ถึงตอนจบ...ไม่มีทางเข้าใจว่า เรื่องนี้สอนอะไร.!และที่สำคัญ...เรื่องนี้สอนให้รู้ว่าบางครั้ง.....อกุศล ก็เป็นปัจจัยให้เกิด กุศล ได้เหมือนกัน.!
..........?

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
ไตรสรณคมน์
วันที่ 12 ส.ค. 2552

เสียงที่ปรากฏทางหู..............แล้วทำให้ปัญญาเจริญขึ้น (การฟัง)

สิ่งที่ปรากฏทางตา................แล้วทำให้ปัญญาเจริญขึ้น (การอ่าน)

ท่านคิดว่าควรเป็นกุศลวิบากหรืออกุศลวิบากค่ะ?

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
pornpaon
วันที่ 12 ส.ค. 2552

เรียนคุณแซม

หากไม่มีปรมัตถ์ ก็ไม่มีบัญญัติค่ะ

สมมติบัญญัติ มีเพื่อช่วยสื่อให้เข้าใจถูกต้องตรงกันในสิ่งที่กำลังศึกษา

เช่นว่า กำลังศึกษาเรื่องจิต เจตสิก และรูป ซึ่งเป็นปรมัตถธรรม

สมมติบัญญัติ มีไว้เพื่อส่องถึงลักษณะของสภาพธรรมแต่ละประเภท

แต่ไม่ได้มีไว้เพียงเพื่อให้ติดอยู่ที่คำ หรือท่องจำชื่อ

และปัญญาขั้นการฟัง...ขณะนี้ ตามความเข้าใจของดิฉัน

ก็คือการฟังเรื่องราวของธรรมะนั่นเอง

ขออนุโมทนาในกุศลจิตและกุศลวิริยะของทุกท่านค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Sam
วันที่ 13 ส.ค. 2552

เรียนทุกๆ ท่านครับ ผมไม่ได้มีเจตนาที่จะลบหลู่พระสัทธรรม หรือท่านผู้แสดง

ธรรมที่ถูกต้องท่านใดเลยครับ รวมทั้งผมไม่ได้ตั้งใจจะแนะนำอะไร เนื่องจากประเด็น

ที่ตั้งนี้ เป็นเรื่องที่เรามีโอกาสได้พบจริงๆ เช่นครั้งหนึ่งนานมาแล้วผมอยู่ที่ต่างจังหวัด

ได้เปิดวิทยุฟังคำบรรยายของท่านอาจารย์ ซึ่งก็คงเกื้อกูลให้เกิดความเข้าใจได้

อย่างดี แต่ในครั้งนั้น สัญญาณไม่ชัดเจน มีเสียงรบกวนมาก และในการฟัง MP3

บางตอน ผมสังเกตว่าโทนเสียงท่านอาจารย์ไม่เหมือนเดิม ซึ่งน่าจะเกิดจากระบบการ

บันทึกเสียง หรืออาจเกิดจากการแปลงเสียงจากสื่อหนึ่งไปเป็นอีกสื่อหนึ่ง

และผมคิดว่าผู้ศึกษาธรรมไม่ควรเชื่อตามเพียงเพราะมีผู้กล่าวว่า เป็นเช่นนั้น

เป็นเช่นนั้น แต่ควรศึกษาพิจารณาศึกษาด้วยเหตุและผล รวมทั้งหลักฐานที่แสดงไว้

ในพระไตรปิฎกและในตำราอื่นๆ

ความเข้าใจของผมในประเด็นคำถามนี้ :

1. การฟัง ไม่ใช่การได้ยิน

2. การได้ยินเป็นวิบาก เป็นสิ่งที่ไม่ควรคิด (อจินไตย) ซึ่งส่งผลให้เราไม่ควร

ด่วนสรุปว่าสิ่งใดเป็นกุศลวิบากหรืออกุศลวิบาก จนกว่าจะได้พิจารณาจากหลักฐาน

ที่ทรงแสดงไว้

3. อกุศลเป็นเหตุให้กุศลเกิดได้ และสิ่งที่ปรากฏทางตาและทางหูที่จะทำให้

ปัญญาเจริญขึ้น จะเป็นกุศลวิบากหรืออกุศลวิบากก็ได้ เช่น ขณะที่พิจารณาลักษณะ

ของอารมณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจ หรือการพิจารณาบัญญัติเรื่องราวของอารมณ์ที่ไม่น่าพึง

พอใจด้วยโยนิโสมนสิการที่ได้เคยสะสมมาแล้ว (เคยสะสมความเข้าใจธรรมมาแล้ว

และได้มีสัญญาการจำความหมายในภาษานั้นมาแล้ว)

4. จะเป็นกุศลวิบากหรืออกุศลวิบากนั้น ไม่สำคัญเลย เพราะวิบากไม่ใช่

สภาพที่เลว ปานกลาง หรือประณีต และกุศลวิบากเช่นการได้ยินดนตรีที่ไพเราะ ก็

ไม่มีประโยชน์หากไม่ทำให้ปัญญาเจริญขึ้น แต่การได้ยินเสียงที่ไม่น่าฟัง มีประโยชน์

ก็ได้หากทำให้ปัญญาเจริญขึ้น

ผมอยากเรียนให้ทราบว่า ความเข้าใจเหล่านี้เกิดขึ้นได้หลังจากที่ผมได้เรียบ

เรียงเป็นคำถาม และท่านทั้งหลายได้กรุณาให้ความเห็น ไม่เช่นนั้นคงมีเพียงความ

คิดในหัวตัวเองที่วกไปวนมาอยู่เหมือนเดิม หากมีความเห็นคลาดเคลื่อนประการใด

ผมต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ และขอความกรุณาสหายธรรมช่วยแก้ไข และตักเตือน

ด้วยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
พุทธรักษา
วันที่ 13 ส.ค. 2552

เรียน คุณแซม ค่ะ
เข้าใจประเด็นของคุณแล้ว...จึงขอสนทนาด้วย ดังนี้.
การได้ยิน กับ การฟัง นั้น ต่างกันแน่นอนค่ะ.เพราะ ขณะได้ยินเสียง (เสียง) เป็นผลของกรรมที่กระทำแล้วในอดีตแล้วแต่ว่าจะได้ยินเสียงที่น่าพอใจ หรือไม่น่าพอใจ...แต่ "หลังจากนั้น" จิตเป็นกุศล หรือ อกุศล ก็แล้วแต่โยนิโสมนสิการ ของผู้ที่ได้ยิน....และยังมีเหตุ-ปัจจัย ว่าจะฟังต่อ หรือ ไม่ฟังต่อ...อีกด้วย.

ซึ่ง ก็เป็นไปด้วยเหตุ-ปัจจัย ที่ซับซ้อนเกินกว่าใครจะรู้ได้.!รวมทั้ง "การสะสมบุญ" ในอดีต...ซึ่งเรารู้ไม่ได้.!เพราะไม่มีใครรู้ นอกจากพระสัพพัญญุตญาณของพระพุทธเจ้า.!
ตามที่คุณเข้าใจนั้น ข้าพเจ้าเห็นด้วยค่ะ.
แต่ว่า...ผู้ที่ได้ฟังพระธรรมแล้วนั้น...มิได้หมายความว่ามั่นคงในพระธรรมเสมอไปเพราะ อคติ ๔. เป็นต้น.! จึงไม่ควรประมาทอกุศลของตัวเอง และ พิจารณาตัวเอง อยู่เสมอ.! (ซึ่งข้าพเจ้าก็ต้องเตือนตัวเองอยู่บ่อยๆ และปรึกษาบุคคล ผู้เป็น กัลยาณมิตรที่แท้จริง อยู่บ่อยๆ ....เวลาที่อกุศลธรรมกลุ้มรุมจิตใจ.)
ในส่วนที่เป็นความคิดเห็นของข้าพเจ้า ที่จะ ขอเล่าสู่กันฟังเผื่อว่าจะเป็นประโยชน์บ้าง...คือ
สมัยก่อนเมื่อ เกือบ ๓๐ ปี ตอนที่เข้ากรุงเทพมาเพื่อเรียนต่อ...ในช่วงกลางคืน และตอนเช้าๆ ข้าพเจ้าสังเกตเห็นว่า พี่ชายของข้าพเจ้า ท่านเปิดวิทยุฟังรายการธรรมะ หลายรายการ และที่ฟังประจำมิได้ขาด คือ รายการธรรมะ ที่บรรยายโดยท่านอาจารย์สุจินต์....
ครั้งแรก ที่ "ได้ยิน"....ข้าพเจ้าอธิบาย "ด้วยเหตุผล" ไม่ได้.!แต่ "รู้สึกได้" ว่า แปลก.!ตั้งแต่เกิดมา...ไม่เคยได้ยินอะไรอย่างนี้มาก่อน...
และ ตอนนั้น ข้าพเจ้าฟังคำบรรยายของท่านไม่ค่อยรู้เรื่องมากนัก.!แต่ เสียงของท่านที่ได้ยินจากวิทยุ แหลม-สูง และ เร็ว แต่มี "ลักษณะ" มั่นใจในสิ่งที่ท่านกล่าวมาก.!
ในการสนทนาบางช่วง...มีเสียงทั้งของผูหญิง และ เสียงของผู้ชายหลากหลายเสียงมาสนทนาด้วย กับท่าน.ซึ่งบางครั้งก็ไม่น่าฟัง...บางก็ก็น่าฟัง ซึ่ง "ลักษณะของเสียง"นั้น หลากหลาย มาก.!แต่ท่านก็ตอบข้อสงสัย ด้วยความมั่นใจ ไม่ลังเล ฉะฉาน...แต่ ไม่หยาบคาย.!

ด้วยเหตุนี้...ข้าพเจ้าจึงตั้งใจว่า ถ้ามีโอกาส จะต้องไปดูกับตาให้เห็นชัดๆ เลยว่า ท่านเป็นอย่างไรกันแน่.! (ตอนนั้นข้าพเจ้าคิดเดาเอาเองว่าท่านต้องตัวใหญ่ และต้องมี"ลักษณะ" ที่ดุมากๆ )
เมื่อมีโอกาสได้ไปเห็นกับตา...และไปฟังเสียงจริงๆ ของท่าน ขณะที่บรรยายธรรมที่วัดบวรฯ เมื่อนานมาแล้ว....ตรงกันข้ามกับที่ "คิดเอาเอง" อย่างสิ้นเชิง.!
สมกับที่ผู้ใหญ่ท่านสอน ว่า
"...สิ่งที่ผ่านสื่อใดๆ มักจะมีความคลาดเคลื่อน และอาจจะถูกบิดเบือนมาแล้วก็ได้...จึงไม่ควรเชื่อทันที ในสิ่งที่ได้เห็น...และ ไม่ควรเชื่อทันที ในสิ่งที่ได้ยิน........"
ครั้งหนึ่ง ท่านอาจารย์สุจินต์ เคยสอนว่า
"ไม่ควรสรรเสริญหรือติเตียน บุคคลใด...เพียงเพราะ "ลักษณะภายนอก"...."
คำพูดนี้ สมจริงดัง คำสอนของพระพุทธเจ้า ที่ปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎก.!

สหายธรรมท่านหนึ่ง ที่ศึกษาธรรมะด้วยกัน...ก็เคยเตือนว่า
"...เราไม่สามารถ รู้ "นามธรรม" (รู้ใจ) ของบุคคลใดได้...เพราะสิ่งที่ปรากฏให้รู้ได้นั้น เป็นเพียง รูปธรรม เท่านั้น.!..."
และ สหายธรรมท่านนั้น ยังบอกอีกว่า...
"เราต่างก็ต้องเตือนซึ่งกันและกัน เพราะ เราต่างก็ยังเป็นผู้ศึกษาธรรม ที่มีปัญญาน้อยเหลือเกิน ในยุคกาลวิบัติ เช่นนี้.!"หวังว่า คุณแซม คงเบาใจขึ้น...นะคะ.
ขออนุโมทนา ในกุศลจิต ค่ะ.
และ ขอขอบพระคุณ และ อนุโมทนาสำหรับข้อความนี้ที่คุณกล่าวไว้ ว่า

.
.
.

และผมคิดว่าผู้ศึกษาธรรมไม่ควรเชื่อตาม เพียงเพราะมีผู้กล่าวว่า เป็นเช่นนั้น เป็นเช่นนั้น แต่ ควรศึกษาพิจารณาศึกษาด้วยเหตุและผล รวมทั้งหลักฐานที่แสดงไว้ ในพระไตรปิฎกและในตำราอื่นๆ

ความเข้าใจของผมในประเด็นคำถามนี้ :

1. การฟัง ไม่ใช่การได้ยิน

2. การได้ยินเป็นวิบาก เป็นสิ่งที่ไม่ควรคิด (อจินไตย) ซึ่งส่งผลให้ เราไม่ควรด่วนสรุปว่าสิ่งใดเป็นกุศลวิบากหรืออกุศลวิบากจนกว่าจะได้พิจารณาจากหลักฐานที่ทรงแสดงไว้

3. อกุศลเป็นเหตุให้กุศลเกิดได้ และสิ่งที่ปรากฎทางตาและทางหูที่จะทำให้

ปัญญาเจริญขึ้น จะเป็นกุศลวิบากหรืออกุศลวิบากก็ได้ เช่น ขณะที่พิจารณาลักษณะ

ของอารมณ์ที่ไม่น่าพึงพอใจ หรือการพิจารณาบัญญัติเรื่องราวของอารมณ์ที่ไม่น่าพึง

พอใจด้วยโยนิโสมนสิการที่ได้เคยสะสมมาแล้ว (เคยสะสมความเข้าใจธรรมมาแล้ว

และได้มีสัญญาการจำความหมายในภาษานั้นมาแล้ว)

4. จะเป็นกุศลวิบากหรืออกุศลวิบากนั้น ไม่สำคัญเลย เพราะวิบากไม่ใช่ สภาพที่เลว ปานกลาง หรือประณีต และกุศลวิบากเช่นการ ได้ยินดนตรีที่ไพเราะ ก็ ไม่มีประโยชน์ หากไม่ทำให้ปัญญาเจริญขึ้น แต่ การได้ยินเสียงที่ไม่น่าฟัง มีประโยชน์ ก็ได้ หากทำให้ปัญญาเจริญขึ้น.ปล. ตามความเห็นส่วนตัวเพลงบางเพลง นอกจากจะเป็น กุศลวิบาก สำหรับบางบุคคลแล้วยังเป็นเหตุ ให้เกิดปัญญา สำหรับบุคคลนั้นได้ด้วย จริงไหมคะ...?

 
  ความคิดเห็นที่ 15  
 
noynoi
วันที่ 14 ส.ค. 2552

การฟังธรรมเป็นกุศลวิบากหรือไม่?

ได้ยินเสียงพระธรรม เป็นกุศลวิบาก เพราะเป็นเสียงที่ดี

ฟัง ด้วยความใส่ใจ ด้วยการไตร่ตรองพิจารณา

ขณะนั้น คิดว่าเป็นวิบาก หรือเป็นอะไร?

ฟัง ด้วยความขุ่นใจ ด้วยไม่พอใจเสียง

ขณะนั้น คิดว่าเป็นวิบาก หรือเป็นอะไร?

- ขออนุโมทนา -

 
  ความคิดเห็นที่ 16  
 
Sam
วันที่ 14 ส.ค. 2552

เรียนคุณ noynoi ครับ

ฟัง ด้วยความใส่ใจ ด้วยการไตร่ตรองพิจารณา

ขณะนั้น คิดว่าเป็นวิบาก หรือเป็นอะไร?

- เป็นกุศลจิตครับ

ฟัง ด้วยความขุ่นใจ ด้วยไม่พอใจเสียง

ขณะนั้น คิดว่าเป็นวิบาก หรือเป็นอะไร?

- เป็นโทสมูลจิตครับ

ได้ยินเสียงพระธรรม เป็นกุศลวิบาก เพราะเป็นเสียงที่ดี

- ตามความเข้าใจในขณะนี้ เสียงพระธรรมเป็นเสียงที่ดีครับ ส่วนกุศลวิบากนั้นเป็น

จิตที่รู้อารมณ์ (เสียง) ที่น่าพึงพอใจ ซึ่งเสียงที่น่าพึงพอใจที่รู้ด้วยกุศลวิบากจิตนั้น

อาจเป็นเสียงที่ทำให้ลุ่มหลงก็ได้ (เป็นเสียงที่ไม่ดี?)

ผมขออนุญาตแสดงความคิดเห็นตรงตามที่เข้าใจจริงๆ ไม่ได้ต้องการจะโต้

แย้งกัน หากท่านใดพบข้อความที่เป็นหลักฐาน ขอความกรุณานำมาแสดงให้ได้

พิจารณาและศึกษากันต่อไปครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 17  
 
วันใหม่
วันที่ 14 ส.ค. 2552


จากความเห็นที่ 16 ที่ว่า

ผมขออนุญาตแสดงความคิดเห็นตรงตามที่เข้าใจจริงๆ ไม่ได้ต้องการจะโต้

แย้งกัน หากท่านใดพบข้อความที่เป็นหลักฐาน ขอความกรุณานำมาแสดงให้ได้

พิจารณาและศึกษากันต่อไปครับ

อารมณ์ที่น่าพอใจย่อมไม่เปลี่ยน ใครจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม หลังจากได้ยินเสียงที่ดีแล้ว อารมณ์ที่ไม่น่าพอใจ ที่รู้ด้วยจิตได้ยินที่เป็นอกุศลวิบาก เมื่อได้ยินเสียงที่ไม่ดีแล้ว

จะเปลี่ยนเสียงไม่ดีให้ดีก็ไม่ได้ ไม่ว่าจะชอบหรือไม่ชอบก็ตาม เสียงพระธรรมเป็น

อารมณ์ที่ดี รู้ด้วยจิตได้ยินที่เป็นกุศลวิบาก ใครจะชอบไม่ชอบก็ไม่ได้เปลี่ยนอารมณ์นั้น

และสภาพจิตที่รู้อารมณ์นั้น ดังข้อความในพระไตรปิฎก


พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย สคาถวรรค เล่ม ๑ ภาค ๑ - หน้าที่ 463

ก็แต่ว่าสิ่งที่น่าปรารถนาและสิ่งที่ไม่น่าปรารถนานั้น ก็ไม่อาจกำหนดชวนจิตใน

อารมณ์ได้. จริงอยู่ ชวนจิตย่อมยินดีในสิ่งที่น่าปรารถนาก็มี ในสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาก็มียินร้ายในสิ่งที่น่าปรารถนาก็มี ในสิ่งที่ไม่น่าปรารถนาก็มี. ด้วยว่าวิบากจิตย่อมกำหนด

อารมณ์ที่น่าปรารถนาและไม่น่าปรารถนาโดยอารมณ์อันเดียวกัน.จริงอยู่พวกมิจฉาทิฏฐิ

เห็นพระพุทธเจ้าก็ดี พระสงฆ์ก็ดี อารมณ์อันโอฬารมีมหาเจดีย์เป็นต้นก็ดี ย่อมปิดตา

ประสบความเสียใจ ได้ยินเสียงแสดงธรรมก็ปิดหูทั้งสอง แต่จักขุวิญญาณและโสต

วิญญาณก็เป็นกุศลวิบากของพวกเขา. สุกรกินคูถเป็นต้นได้กลิ่นคูถก็เกิดความดีใจว่า

เราจักกินคูถดังนี้ก็จริงอยู่ ถึงกระนั้น จักขุวิญญาณของมันในการเห็นคูถ ฆานวิญญาณในการดมกลิ่นคูถนั้น และชิวหาวิญญาณในการลิ้มรส ย่อมเป็นอกุศลวิบากโดยแท้.

 
  ความคิดเห็นที่ 18  
 
pornpaon
วันที่ 15 ส.ค. 2552

ความคิดเห็นที่ 17

^
^
:
:

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 19  
 
Sam
วันที่ 15 ส.ค. 2552

วิบากแห่งกรรม เป็นอจินไตยหนอ

พุทธวิสัย เป็นอจินไตยหนอ

การสนทนาธรรม ทำปัญญาให้เจริญหนอ

การมีมิตรดี สหายดี เป็นทั้งหมดของพรหมจรรย์หนอ

ขอบคุณทุกความคิดเห็น

และ

ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 20  
 
wannee.s
วันที่ 15 ส.ค. 2552

ในพระไตรปิฏกก็มีแสดงไว้ เช่น ภิกษุแสดงธรรม ค้างคาวถือนิมิตในเสียงธรรม

ทำให้ค้างคาวจุติจากชาตินั้นไปเกิดในสวรรค์ ภายหลังได้มาเกิดเป็นมนุษย์และ

ออกบวชได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 21  
 
BudCoP
วันที่ 17 ส.ค. 2552

การฟังแล้วรู้สึกนึกคิดอย่างไรเป็นเรื่องของชวนะ ไม่ควรปนกับเรื่องของวิบาก ถ้าเป็น

ชวนะ ฟังแล้วจะเป็นกุศลก็ได้ อกุศลก็ได้ กิริยาก็ได้ แต่ถ้าเป็นวิบาก โดยเฉพาะทาง

ปัญจทวารวิถีตอนต้นวาระ (ทวิปัญจวิญญาณ, สัมปฏิจฉันนะ, สันตีรณะ) ที่ไม่ใช่ตทาลัมพนะ, จะเป็นวิบากฝ่ายไหน ก็ขึ้นอยู่กับกรรมที่ไปจัดสรรอารมณ์. ฉะนั้น

อารมณ์ที่ไม่ดี อาจเป็นเสียงตะโกน ตะคอกเป็นต้นก็ได้ เหล่านี้ต้องเป็นอกุศลวิบากโสตวิญญาณแน่นอน, แต่ถ้าเป็นเสียงอาจารย์สุจินต์ โดยปกติก็ต้องเป็นกุศลวิบากเพราะเสียงดี. อนึ่ง โดยทำนองเดียวกัน เราสามารถเชื่อมโยงเหตุผลนี้ไปกับการที่

พระอรหันต์ยังเจ็บได้อยู่ด้วยเช่นกัน.

 
  ความคิดเห็นที่ 22  
 
majweerasak
วันที่ 17 ส.ค. 2552

ขอร่วมแสดงความเห็นนะครับ

ธรรมะเกิดดับเร็วมาก (สุดประมาณ)

กว่าจะรู้คำหนึ่งคำ มีการรู้เสียงมากมายหลายเสียง ไม่ใช่เสียงเดียว และจิตเกิดดับรู้เสียงหลายเสียงหลายวาระ แล้วต่อมาก็รู้อาการ หรือสัณฐานของเสียง แล้วจึงรู้เป็นคำ

กว่าจะรู้คำหนึ่งคำ จึงมีเสียงหลายเสียงเกิดดับ และก็ย่อมเป็นไปได้ว่า กุศลวิบาก เกิดดับ สลับกับอกุศลวิบาก หลายขณะ

ขณะที่ฟังพระธรรม จึงมีทั้งเสียงที่เป็นอนิฐารมณ์ (Noise) และเสียงที่เป็นอิฏฐารมณ์เกิดดับสลับกันครับ

เสียงที่เป็นอิฏฐารมณ์สามารถเป็นปัจจัยให้ได้ฟังและเข้าใจพระธรรมได้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 23  
 
majweerasak
วันที่ 17 ส.ค. 2552

ขอเพิ่มเติมครับ

คำว่า "เกิดดับ สลับกัน" ในความเห็นที่ 22 ไม่ได้หมายความว่าเกิดดับสลับกันทันที

นะครับ

เพราะกุศลวิบาก เกิดคนละวาระกับ อกุศลวิบาก

การรู้เสียงที่เป็นอนิฏฐารมณ์ และการรู้เสียงที่เป็นอิฏฐารมณ์ ก็คนละวาระกัน

 
  ความคิดเห็นที่ 24  
 
majweerasak
วันที่ 17 ส.ค. 2552

แม้แต่ขณะฟังพระธรรม จากผู้ที่มีเสียงไพเราะ ก็ยังมีเสียงอื่นแทรกได้ เช่น เสียงนก เสียงพัดลม เสียงแอร์ เสียงรถยนต์ เสียงคลื่นรบกวนตอนฟังจากวิทยุก็มี แต่ก็เป็นการได้ยินคนละขณะ ตามเหตุ ตามปัจจัย ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 25  
 
พุทธรักษา
วันที่ 17 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 26  
 
Sam
วันที่ 17 ส.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ