สติ วิตก ปัญญา [ธรรมสังคณี]

 
orawan.c
วันที่  13 ส.ค. 2552
หมายเลข  13176
อ่าน  2,824

พระอภิธรรมปิฎก
ธรรมสังคณี เล่ม ๑ ภาค ๑ -
หน้าที่ 331

สติ

สตินี้นั้นมีการระลึก (การไม่ฟั่นเฟือน) เป็นลักษณะ ก็อีกนัยหนึ่ง สติมีการระลึกเป็นลักษณะ มีการไม่หลงลืมเป็นรส มีการอารักขา (การรักษาอารมณ์) เป็นปัจจุปัฏฐาน หรือมีการมุ่งต่ออารมณ์ เป็นปทัฏฐาน มีการจำได้อันมั่นคงเป็นปทัฏฐาน หรือว่ามีกายคตาสติปัฏฐาน เป็นต้น เป็นปทัฏฐาน

วิตก

วิตกฺเกตีติ วิตกฺโก วิตกกฺนํ วา วิตกฺโก ธรรมที่ชื่อว่า วิตก เพราะอรรถว่า ตรึก อีกอย่างหนึ่ง การตรึก คือ การจดอารมณ์ ชื่อว่า วิตก. วิตกนี้นั้น มีการยกจิตขึ้นในอารมณ์เป็นลักษณะ วิตกนี้นั้น มีการยกจิตขึ้นในอารมณ์เป็นลักษณะ (อารมฺมเณ จิตฺตสฺสอภินิโรปนลกฺขโณ) วิตกนั้นมีการกระทำให้จิตกระทบอารมณ์บ่อยๆ เป็นรส (อาหนนปริยาหนนรโส) จริงอย่างนั้น
ท่านจึงกล่าวว่า พระโยคาวจรย่อมกระทำจิตนั้น อันวิตกให้กระทบแล้วบ่อยๆ วิตกนั้นมีการนำจิตมาในอารมณ์เป็นปัจจุปัฏฐาน (อารมฺมเณ จิตฺตสฺส อานยปจฺจุปฏฺฐาโน) และมีนามขันธ์ ๓ ที่เหลือ (เวทนา สัญญา วิญญาณขันธ์) เป็นปทัฏฐาน (เสสขนฺธตฺตยปทฏฺฐาโน) .

ปัญญา

ก็ปัญญานี้นั้น มีการส่องแสงเป็นลักษณะ. และมีการรู้ทั่วเป็นลักษณะ เหมือนอย่างว่า เมื่อบุคคลจุดประทีปให้สว่างในเวลากลางคืน ในบ้านที่มีฝา ๔ ด้าน ความมืดย่อมหมดไป แสงสว่างย่อมปรากฏ ฉันใด ปัญญามีการส่องสว่างฉันนั้น เหมือนกัน. ธรรมดาแสงสว่างเสมอด้วยแสงสว่างของปัญญาย่อมไม่มี.

อีกนัยหนึ่ง ปัญญามีการแทงตลอดสภาวะ เป็นลักษณะ หรือการแทงตลอดไม่ผิดพลาด เป็นลักษณะ ดุจการแทงของลูกศรที่นายขมังธนูผู้ฉลาดยิงไป ฉะนั้น มีการส่องให้เห็นอารมณ์เป็นรส ดุจประทีป มีการไม่หลงใหลเป็นปัจจุปัฏฐาน ดุจผู้ชี้ทางแก่บุคคลไปมา ฉะนั้น.


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
suwit02
วันที่ 20 ส.ค. 2552

สาธุ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
Boonyavee
วันที่ 4 มิ.ย. 2556

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
udomjitmanee
วันที่ 7 ม.ค. 2557

กราบเรียนถามว่า คำที่ใช้ในการตอบคำถามนี้ที่ใช้คำว่า "ลักษณะ" " รส (อ่านว่า รด หรือ ระสะคะ) " "ปัจจุปัฏฐาน" และ "ปทัฏฐาน" แปลว่าอะไรคะ กรุณาอธิบายเปรียบเทียบเพื่อความเข้าใจด้วยนะคะ

กราบขอบพระคุณคะ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
ก.ไก่
วันที่ 15 มิ.ย. 2566

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
สิริพรรณ
วันที่ 3 พ.ย. 2567

ปทัฏฐาน คือ เหตุใกล้ให้สภาพธรรมนั้นๆ เกิดขึ้นเป็นไป แสดงถึงความเป็นจริงของสภาพธรรมที่เกิดขึ้นเป็นไปตามเหตุปัจจัย

คลิ๊กอ่านเพิ่มเติมที่
ปัจจุปัฏฐาน ปทัฏฐาน

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ