การชำระหนี้สงฆ์คืออะไร

 
rukawa119
วันที่  17 ส.ค. 2552
หมายเลข  13235
อ่าน  26,659

พอดีมีคำถามหนึ่งที่เคยได้ยิน เลยอยากเรียนถามท่านอาจารย์ประจำมูลนิธิฯ ว่า

๑. การชำระหนี้สงฆ์คืออะไร มีกล่าวไว้ในพระไตรปิฎกหรือไม่ครับ

๒. ถ้ามี แล้วใครที่ต้องชำระหนี้สงฆ์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 18 ส.ค. 2552

โดยทั่วไปผู้ที่จะมีหน้าที่ชำระหนี้ หมายถึง ผู้นั้นได้ทำการกู้ยืม เพราะมีการกู้ยืม มีหนี้จึงมีการชำระหนี้ ในทางธรรมก็เช่นเดียวกัน ถ้าเราไม่ได้ทำการกู้ยืมของสงฆ์ กิจคือ การชำระหนี้สงฆ์ก็ไม่มี เพราะไม่มีข้อความนี้ในพระไตรปิฎก อรรถกถาและฎีกา แต่การทำบุญถวายทานแก่พระภิกษุสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า เพื่อบูชาพระสังฆรัตนะ ไม่ใช่การชำระหนี้ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
คุณ
วันที่ 18 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
วันใหม่
วันที่ 18 ส.ค. 2552

มีแต่ชำระหนี้ผู้มีบุญคุณและชำระหนี้ที่เป็นอกุศลกรรม

เชิญคลิกอ่านที่นี่

คิดจะชำระหนี้บ้างหรือยัง

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
rukawa119
วันที่ 18 ส.ค. 2552
กราบอนุโมทนาครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
BudCoP
วันที่ 18 ส.ค. 2552

ขอโอกาสร่วมสนทนาครับ

ของสงฆ์ในภาษาบาลีท่านใช้คำว่า "สงฺฆภณฺฑ"

ภิกษุที่หยิบ ยืม แอบใช้ ของสงฆ์ก็ดี ของชาวบ้านก็ดี ไปแล้วทำเสียหาย เป็นต้น ไปบอกเขาแล้วเค้าไม่ยอมให้อภัย เรียกร้องค่าเสียหาย อย่างนี้เรียกว่า "เป็นสินใช้ (หนึ้) " ขออธิบายว่า ทรัพย์สินที่ต้องนำไปชดใช้คืนจนครบจำนวน ในภาษาบาลีใช้คำว่า "คีวา"

ถ้าไปทำของสงฆ์เสียหายทั้งที่รู้ ก็เป็นหนี้สงฆ์ ไม่ว่าจะพระหรือโยม.ถ้าคิดแกล้งจะไม่ชดใช้ ก็เป็นโทษ. ถ้าเป็นพระภิกษุ ของนั้นมีมูลค่า เกิน ๕ มาสก เป็นปาราชิกด้วยทุติยปาราชิกสิกขาบท, สำหรับคฤหัสถ์ ก็เตรียมตัวไปอบาย. คำอธิบายเพิ่มเติม พึงดูใน อรรถกถาทุติยปาราชิกสิกขาบท ค้นคำว่า "สินใช้" ในวินยสังคหอรรถกถา ก็ได้ (อนึ่ง ไม่ใช่คีวาที่แปลว่า คอ ท่านว่า "คีวาย กุณฺฑ-ทณฺฑก-พนฺธน - คีวา ศัพท์ใช้ในอรรถ คอ ทัณฑกรรม และภาระผูกพันธ์" ในที่นี้หมายถึง ทัณฑกรรม ที่ผูกพัน ต้องชดใช้ครับ)

ขอบพระคุณสำหรับโอกาสครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
วิริยะ
วันที่ 19 ส.ค. 2552

สรุปว่า ถ้าทำของของสงฆ์เสียหาย แสดงว่า คนนั้นเป็นหนี้สงฆ์หรือคะ ของที่เสียหายเช่นอะไรบ้างคะ และชำระหนี้อย่างไรคะ ผู้รู้หรือผู้ร่วมสนทนาช่วยบอกหน่อยเถอะค่ะ

ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
prachern.s
วันที่ 19 ส.ค. 2552

ตัวอย่างการทำของสงฆ์เสียหาย เช่น เราไปยืม เสื่อ ถ้วย ชาม ที่วัดมาจัดงานทำบุญเลี้ยงพระที่บ้าน ของที่ยืมมาเกิดแตกหรือชำรุด เราก็ชดใช้โดยซื้อของใหม่แทนของที่แตกไปก็เท่านั้น ไม่ใช่ว่าต้องมีพิธีกรรมอะไรเลยครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
วิริยะ
วันที่ 19 ส.ค. 2552

น่าจะเป็นดังความเห็นที่ 7 กล่าวมา เพราะถ้ามีการชำระหนี้ด้วยเงิน พระท่านก็รับเงินไม่ได้อยู่แล้ว เพียงซื้อของใหม่ไปทดแทนของเก่าก็น่าจะสิ้นเรื่อง

ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
BudCoP
วันที่ 19 ส.ค. 2552

สาธุ ครับ

จริงๆ น่านำเรื่องของสูจิโลมยักษ์มาแสดงด้วยครับ.

อนุโมทนาล่วงหน้า ครับ.

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
pamali
วันที่ 9 ก.พ. 2555

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
jaturong
วันที่ 9 ก.พ. 2555

ขอบคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
เซจาน้อย
วันที่ 13 พ.ค. 2555

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
chatchai.k
วันที่ 9 พ.ค. 2563

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 14  
 
Jarunee.A
วันที่ 13 ส.ค. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ