ความจริงแห่งชีวิต [105] สัมปยุตตธรรม เป็น ลักษณะของนามธรรม

 
พุทธรักษา
วันที่  22 ส.ค. 2552
หมายเลข  13304
อ่าน  1,065

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ในอัฏฐสาลินี จิตตุปปาทกัณฑ์ มีข้อความว่า จริงอยู่เมื่อรูปธรรมและอรูปธรรมเกิดพร้อมกัน รูปย่อมเกิดพร้อม​​กับอรูป แต่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่สัมปยุตต์กัน อรูปก็เหมือนกัน คือเกิดพร้อมกับรูปแต่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่สัมปยุตต์กัน และรูปก็เกิดพร้อมกับรูปแต่ไม่เกี่ยวข้อง ไม่สัมปยุตต์กัน ส่วน​อรูป​โดย​นิยม​ที​เดียว​เกิด​ร่วม​กับ​อรูป เกี่ยวข้อง​และ​สัมปยุต​ต์​กัน​ที​เดียว

ที่ทรงแสดงลักษณะของสัมปยุตตธรรมไว้โดยละเอียดก็เพื่อให้ประจักษ์ชัดจริงๆ ว่า นามธรรมไม่ใช่รูปธรรมนั่นเอง ขณะที่ศึกษา​และฟังพระธรรมนั้น เป็นสังขารขันธ์ที่จะค่อยๆ ปรุงแต่งสติปัญญา จนกว่า​สติปัฏฐานจะเกิด ระลึกพิจารณา​รู้ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมแต่ละลักษณะ จนกว่า​ลักษณะของนามธรรมและรูปธรรมจะปรากฏโดยสภาพที่แยกขาดจากกัน ไม่สัมปยุตต์กัน แม้ว่า​จะเกิดร่วมกัน

ฉะนั้น สัมปยุต​ต​ธรรม​จึง​เป็น​ลักษณะ​ของ​นามธรรม คือ จิต​และ​เจตสิก​ที่​เกิด​ดับ​ร่วม​กัน​และ​รู้​อารมณ์​เดียวกัน

นี่เป็นความต่างกันของนามธรรมและรูปธรรม เหตุเพราะว่ารูปธรรมเกิดพร้อมกัน ดับพร้อมกันจริง แต่รูปธรรมไม่ใช่สภาพรู้ รูปไม่รู้อารมณ์เลย รูปทุกรูปที่เกิดร่วมกันจึงไม่เป็นสัมปยุตตธรรม เพราะสภาพธรรมที่เป็นสัมปยุตตธรรมนั้นต้องเป็นสภาพธรรมที่ร่วมกันสนิทโดยเป็นนามธรรมซึ่งเป็นธาตุรู้ที่เกิดพร้อมกัน รู้อารมณ์เดียวกัน ดับพร้อมกัน และเกิดดับที่เดียวกัน


โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ จัดพิมพ์เผยแพร่ โดย คณะกรรมการ ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรษา ครบ ๗๕ พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕

ขอเชิญอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ ...

ปรมัตถธรรมสังเขป

ขอเชิญอ่านตอนต่อไป ...

ความจริงแห่งชีวิต

ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศล แด่ คุณพ่อ คุณแม่ และสรรพสัตว์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
noynoi
วันที่ 23 ส.ค. 2552

ขออนุโมทนา

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Jarunee.A
วันที่ 28 พ.ค. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ