ความจริงแห่งชีวิต [142] ปสาทรูป 5 เป็น ปัจจัย โดยเป็น อินทริยปัจจัย

 
พุทธรักษา
วันที่  12 ก.ย. 2552
หมายเลข  13515
อ่าน  1,003

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ความจริงสภาพธรรมแต่ละประเภทมีความสำคัญเฉพาะของตนๆ พระผู้มีพระภาคมิได้ทรงแสดงเฉพาะเหตุปัจจัยเพียงปัจจัยเดียว มิได้ทรงแสดงเฉพาะอารมณ์ซึ่งเป็นปัจจัยให้จิตเกิดขึ้น รู้อารมณ์นั้นโดยอารมณ์นั้นเป็น "อา​รัม​มณ​ปัจจัย" แก่จิตเพียงปัจจัยเดียว พระผู้มีพระภาคทรงแสดงปัจจัยต่างๆ โดยครบถ้วนละเอียด โดยประเภทปัจจัยใหญ่ๆ ๒๔ ปัจจัย และทรงแสดงปัจจัยย่อยของบางปัจจัยในปัจจัยใหญ่ ๒๔ ปัจจัยนั้นด้วย

จักขุปสาทรูปเกิดขึ้นเพราะปัจจัยอื่นๆ ไม่ใช่เพราะเหตุปัจจัย และจักขุปสาทก็เป็นปัจจัยด้วยโดยเป็นสภาพที่เป็นใหญ่ เป็นอินทริยปัจจัย คือ เป็นปัจจัยโดยเป็นสภาพที่เป็นใหญ่ในกิจหน้าที่ของตน จักขุปสาทเป็นจักขุนทรีย์ เป็นรูปซึ่งมีสภาพเป็นใหญ่ในการเป็นปัจจัยให้จักขุวิญญาณเกิดขึ้น เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตาถ้า​ไม่มีจักขุปสาท โสตปสาท ฆานปสาท ชิวหา​ปสาท และกายปสาท รูปร่างกายนี้จะเหมือนอะไร ก็เหมือนท่อนไม้ ไม่เห็น ไม่ได้ยิน ไม่ได้กลิ่น ไม่ได้ลิ้มรส ไม่รู้สิ่งที่กระทบสัมผัส ฉะนั้น ปสาทรูปทั้ง ๕ นี้จึงเป็นปัจจัยโดยเป็น อิน​ทริย​ปัจจัย คือ เป็นใหญ่เฉพาะในกิจของตน เช่น จักขุปสาทรูป เป็นใหญ่ในการกระทบรูปา​รมณ์ เป็นปัจจัยให้จักขุวิญญาณเกิดขึ้น เห็นสิ่งที่ปรากฏทางตา เพราะรูปอื่นไม่สามารถจะกระทำกิจนี้ได้ และสิ่งที่ปรากฏทางตา​จะปรากฏชัดเจนหรือไม่ชัด ก็แล้วแต่สภาพความใสของจักขุปสาทรูป ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับเจตนา​หรือความปรารถนา​ความต้องการของใครเลย แต่ขึ้นกับอินทริยปัจจัยของการเห็น คือ จักขุปสาทรูป


โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ จัดพิมพ์เผยแพร่ โดย คณะกรรมการ ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรษา ครบ ๗๕ พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕

ขอเชิญอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ ...

ปรมัตถธรรมสังเขป

ขอเชิญอ่านตอนต่อไป ...

ความจริงแห่งชีวิต

ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศล แด่ คุณพ่อ คุณแม่ และ สรรพสัตว์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
วิริยะ
วันที่ 14 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
Jarunee.A
วันที่ 22 มิ.ย. 2567

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ