ความจริงแห่งชีวิต [166] อายตนะ ๑๒ ธาตุ ๑๘

 
พุทธรักษา
วันที่  24 ก.ย. 2552
หมายเลข  13676
อ่าน  2,900

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

การ​ศึกษา​พระ​ธรรม​เป็น​เรื่อง​ละเอียด​มาก เพราะ​เป็นการ​ศึกษา​สภาพ​ธรรม​ทั้ง​หลาย​ทั้ง​ปวงที่พระ​ผู้​มี​พระ​ภาค​ทรง​ตรัสรู้​ และ​ทรง​พระ​มหา​กรุณา​แสดง​ไว้ เพื่อ​อนุเคราะห์​ให้​พุทธ​บริษัท​ได้เข้าใจ​สภาพ​ธรรม​ที่​ปรากฏ​ตาม​ความ​เป็น​จริง

ใน​อภิ​ธัมมัตถ​วิภา​วิ​นี​ฎีกา ปริ​จ​เฉท​ที่ ๗ มี​ข้อความ​ว่า

ถาม​ว่า เพราะ​เหตุ​ไร แม้​พระ​ผู้​มี​พระ​ภาค​จึง​ทรง​แสดง​ธรรม​ไว้​เป็น​อัน​มากอย่าง​นั้น

แก้​ว่า เพราะ​ทรง​ประสงค์​การ​อนุเคราะห์​สัตว์ ๓ เหล่าฯ จริง​อยู่​ สัตว์​มี ๓ เหล่า ด้วย​อำนาจ ความ​หลง​งมงาย​ใน​นาม ๑ ใน​รูป ๑ และ​ใน​นาม​และ​รูป​ทั้ง​สอง​นั้น ๑ ด้วย​อำ นาจ​แห่ง​อินทรีย์แก่​กล้า ๑ ไม่​แก่​กล้า​นัก ๑ อ่อน ๑ และ​ด้วย​อำนาจ​แห่ง​ความ​ชอบ​คำย่อ ๑ ชอบ​คำปาน​กลาง ๑ ชอบ​คำ พิสดาร (ละเอียด) ๑

บรรดา​สัตว์ ๓ จำพวก​เหล่า​นั้น สัตว์​ผู้​งมงาย​ใน​นาม จะ​รู้​เข้าใจ​ขันธ์​ได้ เพราะ​แจก​นาม​ไว้ ๔ อย่าง​ใน​ขันธ์​นั้นๆ

สัตว์​ผู้​งมงาย​ใน​รูป จะ​รู้​เข้าใจ​อายตนะ​ได้​เพราะ​แจก​รูป​ไว้ ๑๐ อย่าง​กับ​อีก​ครึ่ง​อายตนะฯ (เพราะธัม​มาย​ตนะมี​ทั้ง​นามธรรม​และ​รูป​ธรรม)

สัตว์​ผู้​งมงาย​ใน​นาม​และ​รูป​ทั้ง​สอง​จะ​รู้​เข้าใจ​ธาตุ​ได้ เพราะ​แจก​นาม​และ​รูป ​แม้​ทั้ง​สอง​ไว้​ใน​จำพวก​ธาตุ​นั้น​โดย​พิสดารฯ

อายตนะ ๑๒

อายตนะ​ภาย​ใน ๖ อายตนะ​ภายนอก ๖ คือ

จัก​ขาย​ตนะ ๑ รู​ปาย​ตนะ ๑

โสต​าย​ตนะ ๑ สัท​ทาย​ตนะ ๑

ฆาน​าย​ตนะ ๑ คันธ​าย​ตนะ ๑

ชิ​วหา​ย​ตนะ ๑ รสาย​ตนะ ๑

กา​ยาย​ตนะ ๑ โผฏฐัพ​พาย​ตนะ ๑

มนาย​ตนะ ๑ ธัม​มาย​ตนะ ๑

อายตนะ คือ สภาพ​ปรมั​ตถ​ธรรม​ที่​ประชุม​กัน ​เมื่อ​จิต​เกิด​ขึ้น​รู้​อารมณ์​ขณะ​หนึ่งๆ ซึ่ง​จำแนกเป็น​อายตนะ​ภายใน ๖ และ​อายตนะ​ภายนอก ๖

ปสาท​รูป ๕ และ​จิต ๑ เป็น​อายตนะ​ภายใน ๖ เพราะ​จิต​เป็น​สภาพ​รู้ ​และ​ปสาท​รูป ๕ เป็น​ที่อาศัย​ให้​จิต​รู้​อารมณ์​ จึง​เป็น​ภายในปรมั​ตถ​ธรรม​นอกจาก​นั้น เป็น​ภายนอก​ทั้ง​สิ้น

อายตนะ ๑๒ เป็น​รูป ๑๐ อายตนะ + ครึ่ง (ธัม​มาย​ตนะ) คือ เป็น​รูป​อายตนะ​ภายใน ๕ เป็น​รูป​อายตนะ​ภายนอก ๕ + ครึ่ง​ธัม​มาย​ตนะ (สุขุม​รูป)

อายตนะ ๑๒ เป็น​นาม ๑ อายตนะ + ครึ่ง (ธัม​มาย​ตนะ) คือ เป็น​มนาย​ตนะ​ภายใน ๑ + ครึ่ง​ธัม​มาย​ตนะ (เจตสิก​และ​นิพพาน)

ธาตุ ๑๘

สภาพ​ปรมั​ตถ​ธรรม​ทั้งหมด​เป็น​ธาตุ​แต่ละ​ชนิด เมื่อ​ประมวล​ตาม​ทวาร ๖ เป็น​ธาตุ ๑๘ ดังนี้ คือ

จักขุ​ธาตุ ๑ รูป​ธาตุ ๑ จักขุ​วิญญาณ​ธาตุ ๑

โสต​ธาตุ ๑ สัทท​ธาตุ ๑ โสต​วิญญาณ​ธาตุ ๑

ฆาน​ธาตุ ๑ คันธ​ธาตุ ๑ ฆาน​วิญญาณ​ธาตุ ๑

ชิวหา​ธาตุ ๑ รส​ธาตุ ๑ ชิวหา​วิญญาณ​ธาตุ ๑

กาย​ธาตุ ๑ โผฏฐัพ​พ​ธาตุ ๑ กาย​วิญญาณ​ธาตุ ๑

มโน​ธาตุ ๑ ธัมม​ธาตุ ๑ มโน​วิญญาณ​ธาตุ ๑

วิญญาณ​ธาตุ ได้แก่​จิต ๑๐ ดวง ที่​รู้​ได้​แต่​เฉพาะ​อารมณ์​ของ​ตนๆ เพียง​อารมณ์​เดียว​เท่านั้น

จักขุ​วิญญาณ ๒ ดวง รู้​ได้​แต่​รู​ปา​รมณ์​อย่าง​เดียว

โสต​วิญญาณ ๒ ดวง รู้​ได้​แต่​สัท​ทา​รมณ์​อย่าง​เดียว

ฆาน​วิญญาณ ๒ ดวง รู้​ได้​แต่​คัน​ธาร​มณ์​อย่าง​เดียว

ชิวหา​วิญญาณ ๒ ดวง รู้​ได้​แต่​รสา​รมณ์​อย่าง​เดียว

กาย​วิญญาณ ๒ ดวง รู้​ได้​แต่​โผฏฐัพ​พา​รมณ์​อย่าง​เดียว

มโน​ธาตุ ได้แก่​จิต ๓ ดวง ที่​รู้​อารมณ์​ได้ ๕ อารมณ์ ทาง​ทวาร ๕ เท่านั้น มโน​ธาตุ ๓ ดวง คือ ปัญจ​ทวา​รา​วัช​ชน​จิต ๑ ดวง และสัม​ปฏิ​จ​ฉัน​น​จิต ๒ ดวง

มโน​วิญญาณ​ธาตุ เป็น​จิต​ที่​รู้​อารมณ์​ทาง​มโน​ทวาร​ได้ ​และ​บาง​ดวง​ก็​รู้​อารมณ์​โดย​ไม่​อาศัย​ทวาร​เลย มโน​วิญญาณ​ธาตุ​ ได้แก่​จิต ๗๖ ดวง (เว้น​ทวิ​ปัญจ​วิญญาณ ๑๐ ดวง และ​มโนธาตุ ๓ ดวง)

ประมวล​จิต ๘๙ เป็น​วิญญาณ​ธาตุ ๗ ประเภท คือ

จักขุ​วิญญาณ​ธาตุ ๑

โสต​วิญญาณ​ธาตุ ๑

ฆาน​วิญญาณ​ธาตุ ๑

ชิวหา​วิญญาณ​ธาตุ ๑

กาย​วิญญาณ​ธาตุ ๑

มโน​ธาตุ ๑

มโน​วิญญาณ​ธาตุ ๑

ฉะนั้น ควร​พิจารณา​ว่า​ท่าน​เป็น​ผู้​ที่​งมงาย​ใน​นาม​เท่านั้น หรือ​ว่า​เป็น​ผู้​ที่​งมงาย​ใน​รูป​เท่านั้น หรือ​ว่า​เป็น​ผู้​ที่​งมงาย​อยู่​ทั้ง​ใน​นาม​และ​รูป ถ้า​งมงาย​อยู่​ทั้ง​ใน​นาม​และ​รูป​ ก็​จะ​ต้อง​อาศัย​การฟัง​พระ​ธรรมและ​การ​ศึกษา​พระ​ธรรม​ประการ​ต่างๆ โดย​ละเอียด เพื่อ​ให้​เข้าใจ​สภาพ​ธรรม​ทั้ง​หลาย​อย่าง​ถูก​ต้อง เพื่อ​อบรม​เจริญ​กุศล​ทุก​ประการ และ​เพื่อ​เป็น​ปัจจัย​ให้​สติ​ปัฏ​ฐาน​เกิด​ขึ้น ระลึก​รู้​ลักษณะ​ของ​สภาพ​ธรรม​ที่​ปรากฏ​ตาม​ปกติ​ตาม​ความ​เป็น​จริง

ข้อความ​ใน​อภิ​ธัมมัตถ​วิภา​วิ​นี​ฎีกา ปริ​จ​เฉท​ที่ ๘ มี​ว่า นาม​บัญญัติ​มี ๖ อย่าง คือ

๑. วิช​ชมา​นบัญญัติ เป็น​คำบัญญัติ​เรียก​สภาพ​ธรรม​ที่​มี​จริง เช่น​คำว่า รูป นาม เวทนา สัญญา เป็นต้น

๒. อ​วิช​ชมา​นบัญญัติ เป็น​คำบัญญัติ​ที่​ไม่มี​สภาพ​ธรรม เช่น ไทย ฝรั่ง เป็นต้น ไทย ฝรั่ง​ไม่มี มี​แต่​สภาพ​ธรรม คือ จิต เจตสิก และ​รูป ไทย ฝรั่ง ​เป็น​สมมติ ไม่ใช่​สภาว​ธรรม อกุศล​จิต​เป็นปรมั​ตถธรรม เป็น​สภาพ​ธรรม​ที่​มี​จริง ไม่ใช่​ไทย ฝรั่ง ฉะนั้น อกุศล​จิต​มี กุศล​จิต​มี แต่​ไทย ฝรั่งไม่มี คำว่า​ไทย ฝรั่ง จึง​เป็น​อ​วิช​ชมา​นบัญญัติ

๓. วิช​ชมา​เน​นา​วิช​ชมา​นบัญญัติ บัญญัติ​สิ่ง​ที่​ไม่มี​กับ​สิ่ง​ที่​มี เช่น​พูด​ว่า บุคคล​ชื่อ​ว่าฉฬภิญญา เพราะ​อรรถ​ว่า​มี​อภิญญา ๖ อภิญญา​มี แต่​บุคคล​ไม่มี ฉะนั้น จึง​เป็น​บัญญัติ​สิ่ง​ที่ไม่มี​กับ​สิ่ง​ที่​มี

๔. อ​วิช​ชมา​เน​นวิช​ชมา​นบัญญัติ บัญญัติ​สิ่ง​ที่​มี​กับ​สิ่ง​ที่​ไม่มี เช่น เสียง​ของ​ผู้​หญิง เสียง​มี​จริง แต่​ผู้​หญิง​ไม่มี

๕. วิช​ชมา​เน​นวิช​ชมา​นบัญญัติ บัญญัติ​สิ่ง​ที่​มี​กับ​สิ่ง​ที่​มี เช่น​ คำว่า จักขุ​วิญญาณ จักขุ​มี​จริง เป็น​จักขุ​ปสาท วิญญาณ​มี​จริง​เป็น​สภาพ​รู้

๖. อ​วิช​ชมา​เน​นา​วิช​ชมา​นบัญญัติ บัญญัติ​สิ่ง​ที่​ไม่มี​กับ​สิ่ง​ที่​ไม่มี เช่น พระ​โอรส​ของ​พระ​ราชา (พระ​โอรส​และ​พระ​ราชา​เป็น​สมมติ​บัญญัติ)


โดย อาจารย์สุจินต์ บริหารวนเขตต์ จัดพิมพ์เผยแพร่ โดย คณะกรรมการ ศิลปะและวัฒนธรรม สภาผู้แทนราษฎร เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนม์พรรษา ครบ ๗๕ พรรษาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช วันที่ ๕ ธันวาคม ๒๕๔๕

ขอเชิญอ่านหรือดาวน์โหลดหนังสือ ...

ปรมัตถธรรมสังเขป

ขอเชิญอ่านตอนต่อไป ...

ความจริงแห่งชีวิต

ขออนุโมทนา

ขออุทิศกุศลแด่ คุณพ่อ คุณแม่ และสรรพสัตว์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
พุทธรักษา
วันที่ 24 ก.ย. 2552

กรุณาขยายความด้วยค่ะ บวกครึ่งอายตนะ หมายความว่าอะไรคะ ยังอ่านไม่เข้าใจค่ะ

อายตนะ ๑๒ เป็นรูป ๑๐ อายตนะ + ครึ่ง (ธัมมายตนะ) คือ เป็นรูปอายตนะภายใน ๕ เป็นรูปอายตนะภายนอก ๕ + ครึ่งธัมมายตนะ (สุขุมรูป)

อายตนะ ๑๒ เป็นนาม ๑ อายตนะ + ครึ่ง (ธัมมายตนะ) คือ เป็นมนายตนะภายใน ๑ + ครึ่งธัมมายตนะ (เจตสิกและนิพพาน)

ขอบพระคุณค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
prachern.s
วันที่ 24 ก.ย. 2552

พระผู้มีพระภาคทรงแสดงอายตนะทั้งหมด ๑๒ ประเภท คือ

อายตนะภายใน ๖ อายตนะภายนอก ๖

อายตนะภายใน เป็นรูปล้วนๆ ๕ เป็นนามล้วนๆ ๑

อายตนะภายนอก เป็นรูปล้วนๆ ๕ เป็นทั้งนามและรูป ๑

ดังนั้น อายตนะภายนอกจึงกล่าวว่า เป็นนามครึ่งหนึ่ง เป็นรูปครึ่งหนึ่ง เมื่อรวมอายตนะที่เป็นนาม จึงเป็นหนึ่งครึ่ง อายตนะที่เป็นรูปเท่ากับสิบครึ่ง ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
ups
วันที่ 24 ก.ย. 2552

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
พุทธรักษา
วันที่ 24 ก.ย. 2552

ธัมมายตนะ คือ นามธรรม และรูปธรรม ได้แก่อะไรบ้างคะ.?

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
wannee.s
วันที่ 24 ก.ย. 2552

ได้แก่ เจตสิก ๕๒ ปสาทรูป ๕ สุขุมรูป ๑๖ นิพพาน

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
พุทธรักษา
วันที่ 24 ก.ย. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
พุทธรักษา
วันที่ 26 ก.ย. 2552

ได้ยินจากวิทยุ รายการแนวทางเจริญวิปัสสนา เมื่อวันก่อน ประโยคหนึ่ง ท่านว่าอายตนะ มีโทษมาก แต่ก็มีคุณมาก

แต่มีเหตุที่ทำให้ไม่ได้ฟังคำอธิบายต่อจึงขอความกรุณา ช่วยขยายความด้วยค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
prachern.s
วันที่ 27 ก.ย. 2552

อายตนะมีโทษ เพราะ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ และเพราะอาศัยอายตนะ คือ การเห็น การได้ยินและรูป เป็นต้น ทำให้อกุศลธรรมเจริญ วัฏฏะทุกข์ยาวไกลต่อไป ส่วนคุณ (อัสสาท) ก็คือ สุขโสมนัสที่เกิดขึ้นเพราะอาศัยอายตนะ หรืออีกนัยหนึ่ง เพราะอาศัยการได้เห็นพระอริยะ การได้ฟังพระสัทธรรม จึงมีการประพฤติพรรมจรรย์ จึงพ้นจากวัฏฏะทุกข์นี้ได้ ...

 
  ความคิดเห็นที่ 9  
 
พุทธรักษา
วันที่ 28 ก.ย. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
ํํญาณินทร์
วันที่ 9 ก.ย. 2560

ขอบพระคุณ และขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
chatchai.k
วันที่ 18 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
Jarunee.A
วันที่ 7 ก.ค. 2567

ขอบพระคุณและขออนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ