การไม่ทานเนื้อสัตว์

 
Thanapolb
วันที่  26 ต.ค. 2552
หมายเลข  14090
อ่าน  2,707

พระพุทธองค์ทรงกล่าวถึงการไม่ทานเนื้อสัตว์อย่างไรบ้าง และสมัยพระพุทธเจ้ายังทรงมีพระชนม์อยู่ พระองค์ฉันอย่างไร


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 26 ต.ค. 2552
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
CatLetter
วันที่ 26 ต.ค. 2552

พระพุทธองค์มิได้ห้ามการฉันเนื้อสัตว์ และก็ไม่ได้ห้ามมิให้จะไม่ฉันเนื้อสัตว์ การจะรับประทานเนื้อหรือไม่รับประทาน จึงเป็นเรื่องของอัธยาศัยทางโลก ผู้ที่นั่งรถหรูราคาแพง ก็ไม่มีใครทราบได้ว่าเขายึดหรือไม่ยึด ผู้ที่จะรับประทานเนื้อสัตว์หรือจะไม่รับประทานเนื้อสัตว์ ก็ไม่มีใครทราบได้ว่าเขายึดหรือไม่ยึด

หากปัญญาเกิดขึ้นแล้ว และจุดประสงค์เป็นไป การละ เพื่อความเมตตาที่จะเจริญในส่วนตนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็เป็นเรื่องที่น่าอนุโมทนา

ในความเป็นจริงนั้น ไม่มีปรมัตถธรรมที่เป็นเนื้อสัตว์ หรือไม่ใช่เนื้อสัตว์ จิตจะมนสิการในเรื่องของความเป็นธาตุ

บุคคลจะเป็นเช่นไร มีความเห็นเช่นไร ก็เป็นไปตามเหตุปัจจัย รอปัญญาบ่มเพาะตามเหตุปัจจัย สังสารวัฏฏ์นี้เป็นทุกข์ มีแต่ความน่าสลดใจ มนุษย์โลกขวนขวายตะเกียกตะกาย กระเสือกกระสนเพื่อหาทางพ้นทุกข์ แม้เราก็เป็นหนึ่ง จึงควรเมตตา กรุณา เอื้อเฟึ้อ เท่าที่จะทำได้ อย่างน้อย มานานุสัยในตัวตนของเราเอง การถือตน การสำคัญตน การสำคัญในปัญญาของตน ก็จะคลายลง

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
khampan.a
วันที่ 28 ต.ค. 2552

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

พระธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงนั้น เป็นความจริงทั้งหมด ไม่มีเปลี่ยนแปลง พระองค์ทรงแสดงตามความเป็นจริง กุศล เป็นกุศล, กุศล เป็นกุศล, กุศลเป็นธรรมที่ไม่ดี ให้โทษมีผลเป็นทุกข์ เป็นสภาพธรรมที่ควรละ, ส่วนกุศลเป็นธรรมที่ดี ไม่มีโทษ พร้อมทั้งให้ผลเป็นสุข เป็นธรรมที่ควรเจริญ อบรมให้มีขึ้นในชีวิตประจำวัน

บุคคลผู้ที่ได้ฟัง ได้ศึกษา พร้อมทั้งเห็นประโยชน์อันเนื่องมาจากความเข้าใจที่เพิ่มขึ้นไปตามลำดับ ก็จะสามารถละคลายหรือขัดเกลาอกุศลธรรมที่เกิดขึ้นกับตนได้ยิ่งขึ้น พร้อมทั้งมีจิตใจที่น้อมไปในทางกุศลมากยิ่งขึ้นด้วย แม้แต่ในเรื่องของศีล ซึ่งเป็นเรื่องของความประพฤติเป็นไปทางกาย ทางวาจา ผู้ที่เห็นโทษของอกุศล เห็นโทษของความเบียดเบียนผู้อื่นให้เดือดร้อน เป็นต้น ก็มีเจตนาที่จะงดเว้นจากสิ่งที่ไม่ดีเหล่านั้น โดยที่ไม่มีการบังคับเลย เพราะธรรมเป็นอนัตตา ไม่อยู่ในอำนาจบังคับบัญชาของใคร แต่เป็นไปตามเหตุตามปัจจัย

และอาชีพที่คฤหัสถ์ไม่ควรทำก็เช่นเดียวกัน เป็นอาชีพที่เป็นไปเพื่อความเดือดร้อนต่อผู้อื่น ต่อสัตว์อื่น ก็ไม่ควรที่จะประกอบ ไม่ควรที่จะทำ แต่ ... จะห้ามใครได้หรือไม่ว่า อย่าทำอาชีพนี้ อย่าประกอบอาชีพนี้ ก็ห้ามไม่ได้ เพราะเขาสะสมมาที่จะเป็นอย่างนั้น แต่ถ้าเหตุปัจจัยพร้อม เขามีโอกาสได้ฟังพระธรรม ศึกษาพระธรรม มีความเข้าใจพระธรรมไปตามลำดับ ย่อมจะทำให้ค่อยๆ ละอาชีพที่ไม่ควรประกอบเหล่านั้นได้ในที่สุด ครับ

สำหรับประเด็นที่ว่า พระพุทธเจ้าทรงเสวยเนื้อหรือไม่

ถ้าได้อ่านในหลายหัวข้อตามที่อาจารย์ prachern.s ได้อ้างอิงมา ก็จะทำให้เข้าใจได้มากยิ่งขึ้น ครับ

...ขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกๆ ท่านครับ...

 
  ความคิดเห็นที่ 6  
 
เซจาน้อย
วันที่ 30 ธ.ค. 2554

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

ขอบคุณและขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
chatchai.k
วันที่ 12 ก.ค. 2563

ขออนุโมทนาครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
chatchai.k
วันที่ 11 ก.ค. 2564
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ