ประโยชน์ตนกับประโยชน์ผู้อื่น สิ่งใดสำคัญกว่า

 
Sam
วันที่  26 ต.ค. 2552
หมายเลข  14091
อ่าน  16,126

ในวัยเด็กนั้น ผมได้รับการอบรมสั่งสอนให้ทำประโยชน์แก่สังคม แก่คนอื่น และไม่ควรเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว แต่ก็ยังแอบสังเกตว่า บางคนที่ทำประโยชน์เพื่อ ตัวเอง หรือสังคมที่ทุกคนต่างรักษาประโยชน์ของตน เช่นในประเทศตะวันตกนั้น เขา ก็ต่างคนต่างทำหน้าที่ของตัวเองให้ดีที่สุด และไม่ก้าวก่ายเรื่องของคนอื่น (ตราบเท่า ที่เรื่องของคนอื่นจะไม่สร้างความเสียหายให้กับตัวเอง) และสังคมของเขาก็เป็นระบบ มี ระเบียบ และเจริญดี โดยเฉพาะในทางวัตถุ

เมื่อได้มีโอกาสศึกษาพระธรรม ทำให้เข้าใจว่าแต่ละคนนั้น เหมือนอยู่ในโลก คนละใบ สิ่งที่เราคิดว่าเรารู้จักคนอื่นนั้น แท้ที่จริงก็เป็นเพียงความคิดของเราเอง ที่ คิดถึงคนอื่นเท่านั้น และการเผยแพร่คำสอนในพระศาสนานี้ ในบางนัยยังถูกบางคนตี ความว่าเป็นแนวทางที่เห็นแก่ตัว มุ่งสู่ความสุขเฉพาะตัว

จึงอยากสนทนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับทุกๆ ท่าน ถึงความคิดเห็นดังที่ กล่าวมาแล้วข้างต้น และเมื่อพิจารณาประโยชน์ในพระศาสนานี้ ระหว่างประโยชน์ตน กับประโยชน์ผู้อื่น สิ่งไหนที่สำคัญและควรใส่ใจมากกว่าครับ


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
prachern.s
วันที่ 26 ต.ค. 2552
ถ้าพูดถึงประโยชน์ ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ของตนประโยชน์ของผู้อื่น ก็ควรใส่ใจ เหมือนกัน ถ้าดีที่สุดก็คือทำประโยชน์ทั้งของตนเองและของผู้อื่นด้วย สำหรับประโยชน์สูงสุดในพระศาสนานี้ คือการอบรมเจริญปัญญาเพื่อการดับกิเลสจนหมดแต่ก่อนจะถึงการดับกิเลสนั้นยังอีกยาวไกลมาก ต้องเริ่มตั้งแต่กุศลจิต ความเห็นถูกความเข้าใจถูกเสียก่อน ดังนั้นกุศลจิตจึงสำคัญในชีวิตประจำวัน ถ้าเราจะเสื่อมจากกุศล เพื่อประโยชน์ของผู้อื่น ไม่สมควรทำ เพราะกุศลจิตคือประโยชน์ของเรา แม้ว่าประโยชน์ของผู้อื่นจะมากเพียงใด เราก็ไม่ควรเสียประโยชน์คือกุศลของตนครับ
 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
พุทธรักษา
วันที่ 26 ต.ค. 2552

ขณะที่จิตเป็นไปใน ทาน ศีล ภาวนา ... ขณะนั้น คือขณะที่เป็นประโยชน์ เพราะขณะนั้น ไม่เบียดเบียนทั้งตนเอง และ บุคคลใดๆ เลย.

เพราะ กุศลธรรม มีแต่คุณ ไม่มีโทษแก่ผู้ใดเลย ... พระศาสดา จึงทรงสรรเสริญการเจริญกุศลทุกประการ จึงกล่าวได้ว่า ... เป็นประโยชน์ตน และ ประโยชน์ผู้อื่น.
ที่สำคัญ ... เริ่มที่ตนเองก่อนค่ะ เริ่มต้นด้วยความเห็นถูก.

ขออนุโมทนาค่ะ.

 
  ความคิดเห็นที่ 3  
 
CatLetter
วันที่ 26 ต.ค. 2552

ก็โลกที่ปรากฏทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ของผู้ที่ไม่ยังไม่เห็นความเป็นจริงของโลกใบนี้เป็นคนละใบกัน เมื่อไรที่ทุกคนเห็นทุกอย่าง ตามความเป็นจริงโลกใบนี้ก็จะเป็นโลกใบเดึยวกัน มองทุกอย่างเห็นเหมือนกันตามความเป็นจริง

ไม่ใช่แนวทางที่เห็นแก่ตัว มุ่งเพื่อประโยชน์ส่วนตน หรือความสุขเฉพาะตน แต่จะเห็นทุกอย่างตามความเป็นจริงของมัน คือความเป็นอนัตตา ก็จะเกิดการละการคลาย การยึด การติด การเบียดเบียนต่อกันและกัน เกิดเป็นการให้ การสละ การเกื้อกูล การเมตตา กรุณาต่อกัน

การศึกษาพระธรรม ไม่เลือกเพศ ไม่เลือกอาชีพ ไม่เลือกเวลา ไม่เลือกสถานที่เมื่อปัญญาถึงระดับหนึ่ง ประโยชน์ของตน หรือประโยช์ของเขาจะไม่มี จะมีแต่การเกื้อกูลในทางที่เป็นกุศลต่อกัน

ศรัทธาเป็นองค์ธรรมหนึ่ง ที่เป็นปัจจัยให้ปัญญาเจริญ หากไม่ได้ศึกษาแก่นแท้พระธรรมจริงๆ ศรัทธาย่อมไม่เกิด สิ่งที่เกิดย่อมเป็นเพียงแค่คิดว่ารู้ เป็นการวนอยู่ภายนอกของกระพึ้ แล้วมีความเห็นต่างกันไปตามการสะสมของแต่ละคน...

 
  ความคิดเห็นที่ 4  
 
majweerasak
วันที่ 27 ต.ค. 2552

ถ้าตั้งใจอ่านให้ดี คำตอบอาจจะอยู่ที่นี่ แนะนำให้อ่านกระทู้นี้ครับ

เรื่องพระอัตตทัตถเถระ

แต่ไม่ควรลืมว่าประโยชน์ในที่นี้ ในเบื้องต้นน่าหมายเอา ความเข้าใจธรรมะ ส่วนประโยชน์สูงสุดคือ พระนิพพาน

 
  ความคิดเห็นที่ 5  
 
majweerasak
วันที่ 27 ต.ค. 2552

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๓ - หน้าที่ ๒๒๕

๑๐. อตฺตทตฺถ ปรตฺเถนพหุนาปิ น หาปเย อตฺตทตฺถมภิญฺาย สทตฺถปสุโต สิยา. " บุคคลไม่พึงยังประโยชน์ของตน ให้เสื่อมเสีย เพราะประโยชน์ของคนอื่นแม้มาก รู้จักประโยชน์ ของตนแล้ว พึงเป็นผู้ขวนขวายในประโยชน์ของตน."

แก้อรรถ เนื้อความแห่งพระคาถานั้นว่า. " บุคคลผู้เป็นคฤหัสถ์ ไม่พึงยังประโยชน์ของตน แม้ประมาณ กากณิก๑หนึ่งให้เสื่อมเสีย เพราะประโยชน์ของคนอื่น แม้ประมาณค่าตั้ง พันทีเดียว. ด้วยว่าประโยชน์ของตนแห่งบุคคลนั้นแล แม้ประมาณกาก-ณิกหนึ่ง ก็ยังของควรเคี้ยวหรือของควรบริโภคให้สำเร็จได้, ประโยชน์ของคนอื่น หาให้สำเร็จไม่. ส่วนสองบาทพระคาถาเหล่านี้ พระผู้มีพระ-ภาคเจ้าไม่ตรัสอย่างนั้น ตรัสด้วยหัวข้อแห่งกัมมัฏฐาน. เพราะฉะนั้นภิกษุตั้งใจว่า ' เราจะไม่ยังประโยชน์ของตนให้เสื่อมเสีย ' ดังนี้แล้ว ก็ไม่พึงยังกิจมีการปฏิสังขรณ์พระเจดีย์เป็นต้น อันบังเกิดขึ้นแก่สงฆ์ หรือวัตถุมีอุปัชฌายวัตรเป็นต้นให้เสื่อมเสีย. ด้วยว่าภิกษุบำเพ็ญอภิสมาจาริก-วัตรให้สมบูรณ์อยู่แล ย่อมทำให้แจ้งซึ่งผลทั้งหลายมีอริยผลเป็นต้น.เพราะฉันนั้น การบำเพ็ญวัตรให้บริบูรณ์แม้นี้ จึงชื่อว่าเป็นประโยชน์ของตนแท้.

อนึ่ง ภิกษุใด มีวิปัสสนาอันปรารภยิ่งแล้ว ปรารถนาการแทง ตลอดว่า 'เราจักแทงตลอดในวันนี้ๆ แหละ ' ดังนี้แล้ว ประพฤติอยู่. ภิกษุนั้น แม้ยังวัตรมีอุปัชฌายวัตรเป็นต้นให้เสื่อมแล้ว ก็พึงทำกิจของตน ให้ได้. ก็ภิกษุรู้จักประโยชน์ของตนเห็นปานนั้น คือกำหนดได้ว่า ่นี้ เป็นประโยชน์ตนของเรา ' พึงเป็นผู้เร่งขวนขวาย ประกอบในประโยชน์ ของตนนั้น. "

ในกาลจบเทศนา พระเถระนั้น ได้ตั้งอยู่ในพระอรหัตตผล เทศนา ได้เป็นประโยชน์แม้แก่ภิกษุผู้ประชุมกันทั้งหลาย ดังนี้แล.

เรื่องพระอัตตทัตถเถระ จบ.

อัตตวรรควรรณนา จบ.

วรรคที่ ๑๒ จบ.

 
  ความคิดเห็นที่ 7  
 
choonj
วันที่ 27 ต.ค. 2552

ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์ของตนหรือของผู้อื่น เมื่อเป็นประโยชน์ก็ดีทั้งนั้น แต่ถ้าจะให้เลือก และเป็นผู้มีความรู้ความสามารถที่จะให้ได้แล้ว ผมว่าประโยชน์ของผู้อื่นน่าจะ มาก่อน เช่นการตอบปัญหาในเว็บไซต์นี้ การให้ การสนทนาธรรม การออกความเห็น ฯลฯ แต่ต้องเป็นประโยชน์จริงๆ ไม่ใช่จะเป็นเหตุเป็นปัจจัย ให้ผู้อื่นได้ประกอบกรรมเลวหรืออกุศลจิตเกิดแก่ตน ในขณะที่เป็นประโยชน์ของผู้อื่นในขณะนั้นเป็นการให้ เป็นทาน อยู่ในศีล และถ้าให้ปัญญาก็เป็นภาวนา ซึ่งเมื่อให้อยู่นั้น ประโยชน์ของตนก็จะตามมา จึงมีคำบอกว่า ให้ทำประโยชน์แก่สังคม

และเมื่อสังคมเต็มไปด้วยประโยชน์ คนที่อยู่ในสังคมก็จะได้ประโยชน์ด้วย การตอบปัญหา การแสดงธรรม การออกความ เห็น ตนก็ได้ประโยชน์ด้วย ครับ ส่วนคนในตะวันตกที่เขาทำหน้าที่ของตนเองให้ดีที่สุดนั้น ในขณะนั้น ก็กำลังทำประโยชน์ของผู้อื่นอยู่ เพราะไม่ทำให้ใครเดือดร้อน และเมื่อมีกำลังความรู้และปัจจัยมากขึ้นก็จะทำประโยชน์ให้สังคมได้อีก ครับ

มีคำกล่าวใว้ว่า เมื่อเกิดมาแล้วก็ต้องศึกษาหาความรู้ มีการงาน ตั้งตัวให้ได้ เมื่อตั้งตัวได้แล้วมีกำลังมีปัจจัย ต่อไปก็คือช่วยสังคม ถ้ายังไม่มีกำลังยังไม่มีปัจจัย ยังไม่พร้อมที่จะให้ ประโยชน์ของผู้อื่นก็เก็บไว้ก่อน ครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 8  
 
Jans
วันที่ 28 ต.ค. 2552

ขอบคุณ และขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 10  
 
Sam
วันที่ 29 ต.ค. 2552

ขอบคุณทุกความคิดเห็น และขออนุโมทนาในกุศลจิตของทุกท่านครับ

 
  ความคิดเห็นที่ 11  
 
pornpaon
วันที่ 29 ต.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 12  
 
hadezz
วันที่ 31 ต.ค. 2552

ขออนุโมทนาค่ะ

 
  ความคิดเห็นที่ 13  
 
Nataya
วันที่ 10 พ.ค. 2562

กราบอนุโมทนาค่ะ

 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ