การสึกจัดเป็นมรณะในวินัยของพระอริยเจ้า [สานุเถรคาถา]

 
เมตตา
วันที่  13 พ.ย. 2552
หมายเลข  14231
อ่าน  1,479

[เล่มที่ 50] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๑ - หน้าที่ 251

ข้อความบางตอนจาก

สานุเถรคาถา

มารดาของสานุสามเณร ฟังคำนั้นแล้ว เมื่อจะแสดงว่าการสึก จัด เป็นมรณะในวินัยของพระอริยเจ้า โดยทำนองแห่งสุดบทที่ว่า ดูก่อนภิกษุ ทั้งหลาย ก็ภิกษุใด ลาสิกขาเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว นั่นเป็นมรณะของเธอ ดังนี้ จึงได้กล่าวคาถา ๒ คาถา ความว่า

ลูกเอ๋ย ญาติและมิตรทั้งหลายย่อมร้องไห้ถึงคน ที่ตายแล้ว หรือยังเป็นอยู่แต่หายไป แต่คนใดละกาม ทั้งหลายแล้ว จะกลับมาในกามนี้อีก ลูกรัก ญาติและ มิตรทั้งหลาย ย่อมร้องไหถึงคนนั้น เพราะเขาเป็นอยู่ ต่อไปอีก ก็เหมือนตายแล้ว แน่ะพ่อ เรายกเจ้าขึ้นจาก เถ้ารึงที่ยังร้อนระอุแล้ว ท่านอยากจะตกลงไปสู่เถ้ารึง อีกหรือ ดังนี้.

บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กาเม จชิตฺวาน ความว่า ละวัตถุกาม ทั้งหลาย โดยมีอัธยาศัยน้อมไปในเนกขัมมะ ก็การละวัตถุกามนั้น พึงทราบ ด้วยสามารถแห่งการละกิเลสกาม ด้วยองค์แห่งมรรคนั้น. ก็บรรพชาท่าน ประสงค์เอาว่า เป็นการสละกาม ในคาถานี้.

บทว่า ปุนราคจฺฉเต อิธ ความว่า กลับมาในเรือนนี้อีกนั่นเอง. ท่านกล่าวหมายถึง การเวียนมาเพื่อความเป็นคนเลว.

บทว่า ต วาปิ ความว่า บุคคลใดบวชแล้วสึก พวกเราย่อมร้องไห้ถึงบุคคลแม้นั้นแหละ ซึ่งเป็นดุจ ตายแล้ว. ถ้าจะมีคำถามขึ้นว่า เพราะเหตุไร ? ตอบว่า เพราะถึงเขาจะเป็น อยู่ต่อไปอีก ก็เหมือนคนตายแล้ว คือ ผู้ใด หลังจากสึกไป ยังมีชีวิตอยู่ ผู้นั้นชื่อว่า ตายแล้วจากประโยชน์ทีเดียว เพราะตายจากคุณธรรม. บัดนี้เพื่อ จะให้สานุสามเณรนั้นเกิดความสลดใจยิ่งขึ้น มารดาจึงกล่าวคำ มีอาทิว่า กุกฺกุฬา ดังนี้.

ใจความของคาถานั้น ก็ว่า ภาวะของคฤหัสถ์ ชื่อว่าเป็นดุจเถ้ารึง เพราะคล้ายกับนรก ชื่อว่า กุกกุฬะ ด้วยอรรถว่าเผาไหม้ เพราะดุจถูกไฟเผา แล้วทั้งกลางวันและกลางคืน อันเราผู้มีความอนุเคราะห์ ยกขึ้นแล้ว คือถอน ขึ้นแล้ว ดูก่อนพ่อสานุ ท่านยังปรารถนาเพื่อจะตกไปสู่เถ้ารึง คือประสงค์จะ ตกไปสู่เถ้ารึงหรือ ดังนี้.

สานุสามเณรฟังคำนั้นแล้ว เกิดความสลดใจ เริ่มวิปัสสนา แล้วบรรลุพระอรหัตต่อกาลไม่นานนัก.

ขออุทิศกุศลให้สรรพสัตว์


  ความคิดเห็นที่ 1  
 
chatchai.k
วันที่ 4 มิ.ย. 2564

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น

 
  ความคิดเห็นที่ 2  
 
chatchai.k
วันที่ 4 มิ.ย. 2564
 
เขียนความคิดเห็น กรุณาเข้าระบบ