ขอความเห็น
1) การอยู่ป่าเป็นวัตรของภิกษุ เชื่อกันว่าเป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี ท่านเห็นด้วยหรือไม่?
2) การสมาทานธุดงค์วัตร เป็นกุศลก็มี เป็นอกุศลก็มี ท่านเห็นด้วยหรือไม่?
3) ธุดงค์วัตร เหมาะกับบุคคลชนิดใด?
๑. การอยู่ป่าเป็นวัตรของภิกษุ จิตเป็นกุศลก็มี จิตเป็นอกุศลก็มี จิตเป็นกิริยาก็มี
๒. การสมาทานธุดงค์วัตร ด้วยจิตเป็นกุศลก็มี จิตเป็นอกุศลก็มี จิตเป็นกิริยาก็มี
๓. ธุดงค์วัตร เหมาะกับผู้มีอัธยาศัย และเห็นประโยชน์ของการประพฤติธุดงค์..
ขอเชิญคลิกอ่าน
ขอนอบน้อมแด่พระรัตนตรัย
การอยู่ป่าเป็นวัตร การสมาธานธุดงค์หรือข้อปฏิบัติอันเป็นไปเพื่อการขัดเกลา ผู้ที่ทำด้วยจิตเป็นกุศลหรืออกุศลก็ได้ครับ เพราะว่าผู้ที่ประพฤติตามข้อปฏิบัติเหล่านั้น ด้วยเหตุแห่งลาภ สักการะ สรรเสริญก็มี ทำกิริยามารยาทเรียบร้อย สมาธานธุดงค์ อยู่ป่าเป็นวัตรด้วยเหตุแห่งลาภ เป็นต้น จิตเป็นอกุศลแน่นอนและย่อมมีอบายไปเบื้องหน้าส่วนผู้ที่อยู่ป่าเป็นวัตร สมาธานธุดงค์ หรือประพฤติข้อปฏิบัติทีขัดเกลาเพื่อเหตุเพื่อละกิเลส รู้แจ้งอริยสัจจธรรมจิตย่อมเป็นกุศลในขณะนั้นครับ
จะเห็นได้ว่าข้อปฏิบัติเพื่อลาภและข้อปฏิบัติเพื่อนิพพานนั้นต่างกัน ถึงแม้ดูภายนอกจะเหมือนกันก็ตามครับ จิตจึงต่างกันแม้การกระทำเหมือนกัน สมดังพระพุทธพจน์ที่ว่า[เล่มที่ 41] พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย คาถาธรรมบท เล่ม ๑ ภาค ๒ ตอน ๒ -หน้าที่ 280 "ก็ข้อปฏิบัติอันเข้าไปอาศัยลาภ เป็นอย่างอื่น, ข้อปฏิบัติอันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน เป็นอย่างอื่น (คนละอย่าง) . ภิกษุผู้เป็นสาวกของพระพุทธเจ้า ทราบเนื้อความนั้นอย่างนี้แล้ว ไม่พึงเพลิดเพลินสักการะ พึงตามเจริญวิเวก." ข้อปฏิบัติ ๒ อย่าง "อย่างนั้น ภิกษุทั้งหลาย ชื่อว่าข้อปฏิบัติอันเข้าไปอาศัยลาภนั้นเป็นอย่างอื่น, ข้อปฏิบัติอันยังสัตว์ให้ถึง พระนิพพาน เป็นอย่างอื่น ก็อบาย ๔ มีประตูอันเปิดแล้วนั้นแลดังอยู่ เพื่อภิกษุผู้รักษาข้อปฏิบัติอันเข้าไปอาศัยลาภ ด้วยสามารถแห่งการสมาทานธุดงค์ มีการอยู่ป่าเป็นต้น ด้วยหวังว่า เราจักได้ลาภด้วยการปฏิบัติอย่างนี้' ส่วนภิกษุผู้ละลาภ และสักการะอันเกิดขึ้น ด้วยข้อปฏิบัติอันยังสัตว์ให้ถึงพระนิพพาน แล้วเข้าไปสู่ป่า เพียรพยายามอยู่ ย่อมยึดเอาพระอรหัตไว้ได้"
1. ถ้าเป็นอัธยาศัย เห็นโทษของการคลุกคลีกับหมู่คณะ เพราะทำให้จิตฟุ้งซ่านไม่ สงบเป็นอกุศล ก็หลีกเร้นไปอยู่ป่าบำเพ็ญสมณธรรม เพื่อขัดเกลากิเลสเป็นกุศลค่ะ
2. การสมาทานธุดงค์วัตร ต้องเป็นบุคคลที่เข้าใจธรรมะจริงๆ มีปัญญาเห็นโทษ ของอกุศล ก็เจริญกุศลยิ่งขึ้นไป ด้วยความตั้งใจที่จะขัดเกลากิเลสจริงๆ เป็นกุศล
3. แล้วแต่ละบุคคล แล้วแต่อัธยาศัยที่สะสมอุปนิสัยมาไม่เหมือนกันค่ะ
ภิกษุที่อาศัยอยู่แถวนิคมบ้านถ้าหากประพฤติไม่เหมาะตามหน้าที่ของบรรพชิต ก็ย่อมไม่เป็นที่น่าเลื่อมใส ไม่จำเป็นต้องกล่าวถึงเมื่ออยู่ป่า (เชิญฟัง เทปวิทยุแผ่นที่ 2 ประมาณครั้งที่ 95-103 ครับ)